ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลเชียงราย ยูไนเต็ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด
ชื่อเต็มสิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด
ฉายากว่างโซ้งมหาภัย
ก่อตั้งพ.ศ. 2552
สนามสิงห์ เชียงราย สเตเดียม
ความจุ12,000 ที่นั่ง
เจ้าของบริษัท เชียงราย ยูไนเต็ด คลับ จำกัด
ประธานมิตติ ติยะไพรัช
ผู้ฝึกสอนชาบี โมโร
ลีกไทยลีก
2566–67ไทยลีก, อันดับที่ 14
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลสิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด (อังกฤษ: Singha Chiangrai United) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย เป็นทีมฟุตบอลจากจังหวัดเชียงราย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2552 ปัจจุบันลงแข่งขันอยู่ในไทยลีก

ประวัติสโมสร

[แก้]

ก่อตั้งและเลื่อนชั้นสู่ลีกสูงสุด (2552–2554)

[แก้]

สโมสรก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2552 โดยใช้ชื่อว่า "สโมสรฟุตบอลเชียงราย ยูไนเต็ด" มีนายมิตติ ติยะไพรัชเป็นผู้ก่อตั้งและเป็นประธานสโมสร ซึ่งนายมิตตินั้นมีความชื่นชอบกีฬาฟุตบอลมาแต่เดิมและต้องการมีสโมสรฟุตบอลเป็นของตนเอง ประจวบกับการเกิดขึ้นของลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ในปีพ.ศ. 2552 นายมิตติจึงตัดสินใจส่งทีมลงแข่งขันในปีนั้นในฐานะทีมฟุตบอลของจังหวัดเชียงราย และได้เลือกใช้ "กว่างโซ้ง" เป็นสัญลักษณ์ทีม สื่อถึงความเป็นนักสู้ และใช้สีส้มเป็นเสื้อทีมเหย้า ในช่วงแรกนั้นการบริหารทีมเป็นไปอย่างลำบากเนื่องจากคนในจังหวัดยังไม่ตื่นตัวกับฟุตบอลไทยมากนัก แต่การคุมทีมของ ธวัชชัย ดำรงอ่องตระกูล ได้ช่วยให้สโมสรมีผลงานในสนามที่น่าพอใจและเริ่มเป็นที่สนใจมากขึ้น สามารถจบอันดับหนึ่งของตารางลีกภูมิภาค ภาคเหนือ ด้วยสถิติไร้พ่าย ก่อนจะจบอันดับที่ 2 ในรอบเพลย์ออฟ และได้สิทธิ์เลื่อนชั้นสู่ไทยลีกดิวิชั่น 1 ในฤดูกาล พ.ศ. 2553

ในลีกดิวิชั่น 1 นั้น เชียงราย ยูไนเต็ด เริ่มต้นฤดูกาลได้อย่างไม่ดีนักเนื่องจากโค้ชธวัชชัยได้ย้ายไปคุมทีมพัทยา ยูไนเต็ด ทำให้ทีมในช่วงแรกนั้นยังไม่สามารถทำผลงานได้ดี อีกทั้งยังมีการเปลี่ยนตัวผู้ฝึกสอนบ่อย อย่างไรก็ตาม นายมิตติได้ตัดสินใจเลือก สเตฟาโน คูกูรา ผู้ฝึกสอนชาวบราซิลเข้ามาคุมทีมในช่วงกลางฤดูกาล ภายใต้การคุมทีมของคูกูรา เชียงราย ยูไนเต็ดสามารถทำอันดับได้ดีขึ้นเรื่อยๆ จากอันดับที่ 13 ของตารางขึ้นมาอยู่อันดับต้นๆ และจบฤดูกาลด้วยอันดับที่สาม ทำให้ได้สิทธิ์เลื่อนชั้นไปเล่นไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2554 เป็นทีมสุดท้ายของปี

ช่วงเวลาในไทยพรีเมียร์ลีก (2554–2559)

[แก้]

แม้จะเป็นทีมใหม่ในลีกสูงสุดของประเทศ แต่เชียงราย ยูไนเต็ดก็สามารถทำผลงานได้อย่างน่าพอใจ โดยเฉพาะผลงานการเล่นในฐานะทีมเหย้า โดยมีนักฟุตบอลอย่างวสันต์ นาทะสันและลีอังดรู อัสซัมเซาเป็นคู่กองหน้าตัวความหวังของทีม อย่างไรก็ตามในฤดูกาล 2554 เชียงราย ยูไนเต็ดกลับประสบปัญหาหลายประการ โดยเฉพาะในเรื่องสนามแข่งขัน ที่ต้องย้ายสนามเหย้าบ่อยครั้งเนื่องจากปัญหาจากความล่าช้าในการปรับปรุงสนามกีฬากลางขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายและปัญหาเรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บริเวณมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นเหตุให้เชียงราย ยูไนเต็ดไม่สามารถใช้สนามทั้งสองได้ ทำให้สโมสรจำเป็นต้องย้ายไปใช้สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปีอยู่ระยะหนึ่ง ส่งผลกระทบต่อรายได้ของสโมสรอย่างหนัก แต่ด้วยการเรียกร้องของชาวเชียงราย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงจึงอนุญาตให้สโมสรสามารถใช้สนามของมหาวิทยาลัยได้อีกครั้ง หลังประสบปัญหาดังกล่าว นายยงยุทธ ติยะไพรัชผู้เป็นพ่อของนายมิตติได้เข้ามาช่วยเหลือด้วยการสนับสนุนให้ทีมมีสนามเป็นของตัวเอง ด้วยเหตุนี้จึงได้เริ่มมีการก่อสร้างสนามเหย้าขึ้นบนที่ดินใกล้กันกับสนามบินนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย แม้จะมีปัญหามากมาย แต่เชียงรายยูไนเต็ดก็สามารถจบฤดูกาลได้ด้วยอันดับที่ 10 ของตารางได้

ในฤดูกาล 2555 สนามยูไนเต็ด สเตเดียม ได้เปิดใช้อย่างเป็นทางการ และได้รับการตอบรับจากแฟนบอลอย่างกว้างขวาง โดยเชียงรายจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 9 อย่างไรก็ตาม ในฤดูกาล 2556 เชียงราย ยูไนเต็ดกลับประสบปัญหาในเรื่องฟอร์มการแข่งขันที่ย่ำแย่ ทำให้ทีมต้องอยู่อันดับในโซนตกชั้นอยู่เป็นเวลานาน แม้จะมีการปลด สเตฟาโน คูกูรา ออกแล้วแต่การคุมทีมของ เฮงค์ วิสมัน ผู้ฝึกสอนชาวฮอลแลนด์ ก็ไม่สามารถพาทีมทำผลงานได้ดีขึ้นได้แต่อย่างใด เมื่อล่วงเข้าสู่ช่วงปลายฤดูกาล เชียงราย ยูไนเต็ดจึงได้ อนุรักษ์ ศรีเกิด เข้ามาช่วยแก้วิกฤตและรอดจากการตกชั้นได้สำเร็จ ในฤดูกาล 2557-2559 อดีตนักเตะของเชียงราย ยูไนเต็ดอย่างธีรศักดิ์ โพธิ์อ้น ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นผู้ฝึกสอน มีแนวทางการทำทีมที่เน้นการพัฒนาเยาวชน ซึ่งหนึ่งในเยาวชนอย่างเอกนิษฐ์ ปัญญา ก็สามารถสร้างสถิติเป็นผู้ทำประตูที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ได้ ณ ขณะนั้น ตลอดช่วงสามปีของการคุมทีมของธีรศักดิ์ เชียงราย ยูไนเต็ดยังคงเกาะอยู่ในกลุ่มกลางตารางได้อย่างต่อเนื่อง

ประสบความสำเร็จภายใต้การสนับสนุนของสิงห์ (2559–2564)

[แก้]

ในฤดูกาล 2559 สิงห์ปาร์ค ของบริษัทสิงห์ ได้เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนหลักของทีม ทำให้เชียงราย ยูไนเต็ดเริ่มมีเงินทุนในการพัฒนาทีมมากขึ้น โดยสามารถดึงนักเตะชื่อดังอย่างฐิติพันธ์ พ่วงจันทร์เข้ามาร่วมทีมได้ เมื่อจบฤดูกาล สโมสรได้แยกทางกับธีรศักดิ์ โพธ์อ้น และได้แต่งตั้งอาเลชังดรี กามา อดีตผู้ฝึกสอนของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดเข้ามาเป็นผู้ฝึกสอน ในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560 นาย มิตติ ติยะไพรัช ประธานสโมสรได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวยืนยันว่าได้ทำการเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น สโมสรฟุตบอลสิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด รวมถึงเปลี่ยนชื่อสนามเป็นสิงห์ สเตเดียม เนื่องจากได้ผลิตภัณฑ์สิงห์ได้เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนหลัก โดยในฤดูกาล 2560 เชียงราย ยูไนเต็ดได้ยกระดับทีมขึ้นมาเป็นทีมเจ้าบุญทุ่มอย่างเต็มตัวด้วยงบการทำทีมกว่า 300 ล้านบาท ได้มีซื้อตัวนักฟุตบอลชื่อดังและสามารถดึงตัวผู้เล่นระดับแถวหน้า อาทิ ธนบูรณ์ เกษารัตน์ เข้าทีมมาด้วยค่าตัว 50 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าตัวนักเตะไทยที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังได้เซ็นสัญญากับนักฟุตบอลดาวรุ่งจากเมืองทอง ยูไนเต็ดอีกกว่า 5 คน ได้แก่ พิธิวัต สุขจิตธรรมกุล, ศิวกรณ์ เตียตระกูล, ชัยวัฒน์ บุราณ, สุริยา สิงห์มุ้ย และ ชินภัทร ลีเอาะ ที่ภายหลังได้พัฒนาฝีเท้าจนกลายเป็นนักเตะตัวหลักของทีมไปในที่สุด

ฤดูกาล 2560 ภายใต้การคุมทีมของกามา เชียงราย ยูไนเต็ดสามารถทำผลงานได้ดีกว่าทุกปีที่ผ่านมา โดยสามารถจบฤดูกาลได้ในอันดับที่ 4 ได้ตำแหน่งรองแชมป์ฟุตบอลรายการโตโยต้า ลีกคัพ และคว้าแชมป์ช้าง เอฟเอคัพ มาครองได้สำเร็จเป็นแชมป์แรกในประวัติศาสตร์สโมสร ด้วยการเอาชนะทีมแบ็งค็อก ยูไนเต็ดไป 4-2 พร้อมได้สิทธิ์ในการเล่นรอบเพลย์ออฟรายการเอเอฟซี แชมป์เปียนลีก ฤดูกาลถัดไป และแม้ในฤดูกาล 2561 นั้น เชียงราย ยูไนเต็ดจะประสบปัญหาหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น การที่ผู้เล่นตัวหลักทั้ง ธนบูรณ์ เกษารัตน์ และ ฐิติพันธ์ พ่วงจันทร์ ย้ายออกจากทีม การลาออกของรองประธานสโมสรผู้เป็นกำลังหลักในการบริหารอย่าง ธนพล วิระเทพสุภรณ์ หรือแม้แต่การที่ทีมไม่สามารถรักษาฟอร์มการเล่นที่คงเส้นคงวาในฟุตบอลลีกได้ แต่เชียงราย ยูไนเต็ดก็ยังคงรักษาฟอร์มการเล่นในฟุตบอลถ้วยได้อย่างยอดเยี่ยมจนสร้างประวัติศาสตร์คว้า "ทริปเปิลแชมป์" ได้เป็นครั้งแรกของสโมสร (ช้าง เอฟเอคัพ, โตโยต้า ลีกคัพ และ ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ) ก่อนที่ทางสโมสรจะตัดสินใจแยกทางกับอาเลชังดรี กามาในนัดสุดท้ายของฤดูกาล ซึ่งเป็นนัดที่เชียงราย ยูไนเต็ดเอาชนะบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดไปได้ 3-2 และสามารถป้องกันแชมป์ช้าง เอฟเอคัพ พร้อมรับสิทธิ์ไปเล่นรอบเพลย์ออฟรายการเอเอฟซี แชมป์เปียนลีกได้เป็นปีที่สองติดต่อกัน

ในช่วงก่อนเริ่มฤดูกาล 2562 นายมิตติ ติยะไพรัชได้ตัดสินใจสละตำแหน่งประธานสโมสรให้แก่นางสาวปวิศรัฐฐ์ ติยะไพรัช ผู้เป็นน้องสาว เนื่องจากตนต้องการทำงานด้านการเมืองกับทางพรรคไทยรักษาชาติ อย่างเต็มที่ ก่อนจะถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 10 ปีและกลับเข้ามารับตำแหน่งประธานที่ปรึกษาของสโมสรในภายหลัง เมื่อฤดูกาล 2562 เปิดฉากขึ้น เชียงราย ยูไนเต็ดภายใต้การคุมทีมของผู้ฝึกสอนคนใหม่อย่าง ไอล์ตัน ซิลวา ก็สามารถทำผลงานได้ดีและสม่ำเสมอกว่าในฤดูกาลที่ผ่านมา สืบเนื่องจากผู้เล่นชาวไทยที่มีความเข้าใจรูปแบบการเล่นของทีมบวกกับความเด็ดขาดในการทำประตูของคู่กองหน้าอย่าง บิลล์ โรซีมาร์ และ วิลเลียม เอนรีเก แม้ทีมจะตกรอบฟุตบอลถ้วยทุกรายการ แต่ก็ยังคงสามารถรักษาผลงานในลีกได้จนก้าวขึ้นมาเบียดแย่งตำแหน่งจ่าฝูงกับบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในช่วงท้ายได้อย่างสูสีจนต้องตัดสินแชมป์กันในนัดสุดท้ายของฤดูกาล โดยก่อนการแข่งขันนั้น เชียงราย ยูไนเต็ดมีคะแนนทั้งหมด 55 แต้ม ในขณะที่ทางบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดมีคะแนนรวม 57 แต้ม นำเป็นจ่าฝูงของลีก แต่เมื่อจบการแข่งขันนัดสุดท้าย ทั้งสองทีมกลับมีเท่ากันที่ 58 แต้ม เนื่องจากเชียงราย ยูไนเต็ดสามารถเอาชนะสุพรรณบุรี เอฟซี ไปได้ 5–2 ส่วนบุรีรัมย์นั้นพลาดท่าเสมอกับสโมสรเชียงใหม่ เอฟซี 1-1 เมื่อคะแนนของทั้งสองทีมเท่ากัน จึงจำเป็นต้องมีการตัดสินด้วยกฏเฮดทูเฮด ซึ่งเชียงรายนั้นมีเฮดทูเฮดที่ดีกว่าบุรีรัมย์ (เสมอ 0-0 ในเกมเยือน และชนะ 4-0 ในเกมเหย้า) ทำให้เชียงราย ยูไนเต็ดพลิกสถานการณ์และคว้าแชมป์ไทยลีกสมัยแรกมาครองได้สำเร็จในที่สุด

แม้สโมสรจะประสบปัญหาเรื่องรายได้จากการระบาดของโรคโควิด-19 ในฤดูกาล 2563-64 แต่เชียงราย ยูไนเต็ดก็สามารถประคับประคองสถานะของทีมให้ไปต่อได้ โดยได้มีการลดงบประมาณการทำทีมและแต่งตั้งให้เอเมอร์สัน ปาไรร่า เป็นผู้ฝึกสอนชั่วคราว ก่อนที่จะจบฤดูกาลด้วยการคว้าแชมป์ช้าง เอฟเอคัพมาครองได้เป็นสมัยที่ 3

ปัจจุบัน (2564–)

[แก้]

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 สโมสรได้เปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น สโมสรฟุตบอลลีโอ เชียงราย ยูไนเต็ด และเปลี่ยนชื่อสนามแข่งขันจาก สิงห์ สเตเดี้ยม เป็น “ลีโอ เชียงราย สเตเดียม”[3] อย่างไรก็ตาม ในฤดูกาล 2564–65 เชียงรายจบเพียงอันดับที่ 5 ในลีก และไม่สามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยภายในประเทศได้เลย นอกจากนี้ พวกเขายังตกรอบแบ่งกลุ่มของเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2022

ต่อมาเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ทางสโมสรได้เปลี่ยนชื่อสโมสรกลับมาเป็น “สโมสรฟุตบอลสิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด” อีกครั้ง และเปลี่ยนชื่อสนามแข่งขันเป็น “สิงห์ เชียงราย สเตเดียม”[4]

สนาม

[แก้]

ก่อนที่สโมสรฟุตบอลเชียงราย ยูไนเต็ดจะมีสนามเหย้าเป็นของตัวเอง พวกเขาเคยต้องเช่าสนามหลายแห่งเพื่อใช้ในการแข่งขันนับตั้งแต่ก่อตั้งสโมสรในปีพ.ศ. 2552 และต้องประสบปัญหาการไม่มีสนามเหย้าใช้แข่งขันในจังหวัดของตัวเองอยู่ระยะหนึ่ง ด้วยปัญหาความล่าช้าในการปรับปรุงสนามกีฬากลางจังหวัดขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และจากปัญหาแอลกอฮอล์ในมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นต้น โดยสนามที่สโมสรเคยใช้ในการแข่งขันก่อนจะมีสนามเป็นของตัวเองคือ สนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, สนามกีฬากลางจังหวัดเชียงราย และสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี โดยการที่ต้องไปแข่งขันที่จังหวัดเชียงใหม่นั้นได้ส่งผลกระทบต่อรายได้สโมสรเป็นอย่างหนัก ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการสนับสนุนให้สโมสรมีสนามเป็นของตัวเองขึ้น โดยสนามเหย้าถาวรของสโมสรนั้นได้เริ่มมีการก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2554 ก่อนเปิดใช้ในปี พ.ศ. 2555

สิงห์ เชียงราย สเตเดียม

[แก้]
สิงห์ เชียงราย สเตเดียม

สิงห์ เชียงราย สเตเดียม เป็นสนามเหย้าของ สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด แรกเริ่มใช้ชื่อว่า ยูไนเต็ด สเตเดียม ตั้งอยู่ ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย หน้าท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวง เชียงราย เริ่มเปิดใช้นัดแรกในวันที่ 7 กรกฎาคม 2555 ซึ่งเป็นการรับการมาเยือนของเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด โดยผลการแข่งขันจบลงด้วยผลเสมอ 1-1 และได้มีการต่อเติมและปรับปรุงสนามอยู่โดยตลอด จนกระทั่งบริษัท สิงห์ ได้เข้ามาสนับสนุนสโมสร จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อสนามเป็น สิงห์ สเตเดียม นับตั้งแต่ฤดูกาล 2560 นอกจากนี้ยังได้มีการปรับปรุงสนามให้ทันสมัยและผ่านมาตราฐานของเอเอฟซี อาทิเช่น การติดเก้าอี้ทุกที่นั่งของสนาม สนามแห่งนี้มีความจุราว 12,000 ที่นั่ง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2564 บริษัท ไทยลีก จำกัด ได้ทำการอนุมัติในการเปลื่ยนชื่อสนามจาก สิงห์ สเตเดียม เป็น ลีโอ เชียงราย สเตเดียม ตามชื่อผู้สนับสนุนหลักคือ เบียร์ลีโอ[5]

ประวัติการใช้งานสนามเหย้า

[แก้]
ปี ชื่อสนาม ที่ตั้ง ลีก
19/4/52-13/6/52 สนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ต.ท่าสุด อ.เมือง จ.เชียงราย ดิวิชั่น2 โซนภาคเหนือ
11/7/52-10/10/53 สนามกีฬากลางจังหวัดเชียงราย ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย ดิวิชั่น2 โซนภาคเหนือ,ดิวิชั่น1
13/3/54-4/6/54 สนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ต.ท่าสุด อ.เมือง จ.เชียงราย ไทยลีก
1/8/54-10/9/54 สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ไทยลีก
18/9/54-3/6/55 สนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ต.ท่าสุด อ.เมือง จ.เชียงราย ไทยลีก
7/7/55-ปัจจุบัน สิงห์ เชียงราย สเตเดียม (ยูไนเต็ด สเตเดียม) ต.บ้านดู่ อ.เมือง จ.เชียงราย ไทยลีก

ผู้เล่น

[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย อภิรักษ์ วรวงษ์
2 DF ไทย บรรพกิจ พรหมณี
3 DF ไทย ธนะศักดิ์ ศรีใส
4 DF ไทย ปิยพล ผานิชกุล
5 DF เกาหลีใต้ ลี จุง-มูน
6 DF บราซิล วิคเตอร์ โอลิเวียร่า
7 FW ไทย เศรษฐสิทธิ์ สุวรรณเศรษฐ์
8 MF บราซิล ฮาล์ฟ มาชาโด ดิแอส
9 FW ไทย ชิตชนก ไชยเสนสุรินธร
10 FW บราซิล โรดรีกินโญ่
11 FW บราซิล คาร์ลอส อิวรี่
13 FW ไทย ภัทร สร้อยมาลัย
15 DF ไทย สันติภาพ แย้มแสน
17 MF ไทย จอนาตา แวร์ซูรา
18 FW จีน กัว เถียน หยู
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
19 GK ไทย เกียรติพล อุดม (ยืมตัวจาก บีจี ปทุม ยูไนเต็ด)
20 MF ไทย ทักษ์ดนัย ใจหาญ
21 DF ไทย สุรดิษ ปาเต๊ะ
27 MF ไทย อภิศร ภูมิชาติ
29 MF ไทย อติคุณ มีท้วม
30 DF ไทย สุริยา สิงห์มุ้ย (กัปตันทีม)
32 MF ไทย มนตรี พรหมสวัสดิ์
37 DF ไทย อรุชา โพธิ์ดง
39 GK ไทย ฟารุส ปาตี
40 FW ไทย ชินวัตร ประจวบมอญ
50 MF ไทย องศา สิงห์ทอง
55 DF ไทย ธนวัฒน์ พิมพ์โยธา
77 FW ประเทศพม่า วิน เนียง ตุน
88 MF สิงคโปร์ แฮรีส สจ๊วร์ต
99 FW ไทย สิทธิโชค กันหนู

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
46 DF ไทย ภราดร พัฒนะพล (ไป สโมสรฟุตบอลสุโขทัย จนจบฤดูกาล)

เจ้าหน้าที่สโมสร

[แก้]
ตำแหน่ง ชื่อ
ประธานสโมสร ไทย มิตติ ติยะไพรัช
ผู้จัดการทีม ไทย มิตติ ติยะไพรัช
หัวหน้าผู้ฝีกสอน สเปนฝรั่งเศส ชาบี โมโร่
ผู้ช่วยผู้ฝีกสอน บราซิล ราตินโญ่
ผู้ฝีกสอนผู้รักษาประตู บราซิล อาร์นัลโด้
ไทย ชาญยุทธ บุญมาก
ผู้ฝึกสอนกายภาพ ไทย อิศรวัตร ฝ่ายคุณวงศ์
นักกายภาพบำบัด บราซิล ดิเอโก้ เฮนริเก้
ไทย ไพสิฐ เขียวฉอ้อน
นักวิเคราะห์เกม ญี่ปุ่น ยูกิ ซูซูกิ
ทีมสตาฟ์ ไทย สุรพัฒน์ จันเทวี
ไทย ธนวรรษ บำรุงวงศ์
ไทย พิทยุตม์ สุทธนะ
ไทย ภานุพัฒน์ จันสีลา
ไทย ภัทร สิงห์สุวรรณ

รายชื่อหัวหน้าผู้ฝึกสอน

[แก้]
ชื่อและสัญชาติ ช่วงเวลา เกียรติประวัติ
ไทย สฤษดิ์ วุฒิช่วย 2552
ไทย ธวัชชัย ดำรงอ่องตระกูล 2552 ชนะเลิศ ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ภาคเหนือ ฤดูกาล 2552
รองชนะเลิศ ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2552 (เลื่อนชั้น)
ไทย อภิสิทธิ์ อิ่มอำไพ ธันวาคม 2552 – กุมภาพันธ์ 2553
ไทย ขจร ปุณณะเวส กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2553
ไทย รังสิมันต์ สงเคราะห์ธรรม พฤษภาคม – กรกฎาคม 2553
บราซิล สเตฟาโน คูกูรา กรกฎาคม 2553 – มิถุนายน 2556 อันดับที่ 3 ไทยลีกดิวิชัน 1 ฤดูกาล 2553 (เลื่อนชั้น)
เนเธอร์แลนด์ Henk Wisman กรกฎาคม – กันยายน 2556
ไทย อนุรักษ์ ศรีเกิด กันยายน – ตุลาคม 2556
ไทย ธีระศักดิ์ โพธิ์อ้น พฤศจิกายน 2556 – พฤศจิกายน 2559
บราซิล อาเลชังดรี กามา ธันวาคม 2559 – ตุลาคม 2561 ชนะเลิศ ช้าง เอฟเอคัพ 2560
ชนะเลิศ ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2561
ชนะเลิศ โตโยต้า ลีกคัพ 2561
ชนะเลิศ ช้าง เอฟเอคัพ 2561
บราซิล โชเซ่ อัลเวส บอร์จีส ตุลาคม 2561 – กุมภาพันธ์ 2562
บราซิล ไอล์ตง ดูซ ซังตูซ ซิลวา กุมภาพันธ์ – พฤศจิกายน 2562 ชนะเลิศ ไทยลีก ฤดูกาล 2562
ญี่ปุ่น มาซามิ ทากิ ธันวาคม 2562 – ตุลาคม 2563 ชนะเลิศ ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2563
บราซิล แอแมร์ซง ปึไรรา ตุลาคม 2563 – ธันวาคม 2565 ชนะเลิศ ช้าง เอฟเอคัพ 2563–64
บราซิล กาบรีแยล มากัลไยส์ ธันวาคม 2565 – พฤษภาคม 2567
สเปน ชาบี โมโร กรกฎาคม 2567

สถิติของสโมสร

[แก้]

ผลงานตามฤดูกาลแข่งขัน

[แก้]
ฤดูกาล ลีก[6] เอฟเอคัพ ลีกคัพ ถ้วยพระราชทาน ก./ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ผู้ทำประตูสูงสุด
ระดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย คะแนน อันดับ ชื่อ จำนวนประตู
2552 ดิวิชัน 2 ภาคเหนือ 20 17 3 0 62 16 54 อันดับที่ 1  –  –  –  – วัชรากร ไกลถิ่น 19
ดิวิชัน 2 8 3 3 2 12 11 12 อันดับที่ 2  –  –  –  –
2553 ดิวิชัน 1 30 15 8 7 44 32 53 อันดับที่ 3 รอบที่สาม รอบที่สอง  –  – วสันต์ นาทะสัน 13
2554 ไทยพรีเมียร์ลีก 34 11 11 12 47 52 44 อันดับที่ 10 รอบที่สี่ รอบก่อนรองชนะเลิศ  –  – วสันต์ นาทะสัน 18
2555 ไทยพรีเมียร์ลีก 34 11 11 12 40 47 44 อันดับที่ 9 รอบรองชนะเลิศ รอบที่สาม  –  – นันทวัฒน์ แทนโสภา 8
2556 ไทยพรีเมียร์ลีก 32 8 10 14 32 45 34 อันดับที่ 11 รอบก่อนรองชนะเลิศ รอบที่สาม  –  – เลอันโคร อัสซัมเซา 9
2557 ไทยพรีเมียร์ลีก 38 13 16 9 55 47 55 อันดับที่ 7 รอบรองชนะเลิศ รอบที่สี่  –  – เรนาน มาเกรวช 17
2558 ไทยพรีเมียร์ลีก 34 12 8 14 42 57 44 อันดับที่ 9 รอบก่อนรองชนะเลิศ รอบแรก  –  – เรนาน มาเกรวช 10
2559 ไทยลีก 31 13 6 12 42 43 45 อันดับที่ 8 รอบที่สี่ รอบที่สอง  –  – เวลลิงตัน บรูโน่ 10
2560 ไทยลีก 34 18 6 10 67 42 60 อันดับที่ 4 ชนะเลิศ รองชนะเลิศ  –  – ฟีลิปเป้ อาเซเวโด 18
2561 ไทยลีก 34 15 10 9 52 36 55 อันดับที่ 5 ชนะเลิศ ชนะเลิศ ชนะเลิศ รอบเพลย์ออฟ โรซิมาร์ อามันซีโอ 9
2562 ไทยลีก 30 16 10 4 53 28 58 อันดับที่ 1 รอบก่อนรองชนะเลิศ รอบรองชนะเลิศ รองชนะเลิศ รอบเพลย์ออฟ โรซิมาร์ อามันซีโอ 13
2563–64 ไทยลีก 30 16 6 8 48 32 54 อันดับที่ 4 ชนะเลิศ ยกเลิกการแข่งขัน ชนะเลิศ รอบแบ่งกลุ่ม โรซิมาร์ อามันซีโอ 16
2564–65 ไทยลีก 30 13 8 9 33 35 47 อันดับที่ 5 รอบ 16 ทีมสุดท้าย รอบรองชนะเลิศ รองชนะเลิศ รอบแบ่งกลุ่ม เฟลิเป้ ดา ซิลวา,อัครวินทร์ สวัสดี 5
2565–66 ไทยลีก 30 12 8 10 44 42 44 อันดับที่ 5 รอบก่อนรองชนะเลิศ รอบ 32 ทีมสุดท้าย  – รอบแบ่งกลุ่ม วิกตูร์ การ์ดูซู 11
2566–67 ไทยลีก 30 8 10 12 31 35 34 อันดับที่ 11 รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบก่อนรองชนะเลิศ  –  – โรซิมาร์ อามันซีโอ 7
2567–68 ไทยลีก  –  –
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับที่สาม เลื่อนชั้น ตกชั้น

ผลงานระดับทวีป

[แก้]
ฤดูกาล การแข่งขัน รอบ คู่แข่ง เหย้า เยือน รวม
2018 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือกรอบ 2 อินโดนีเซีย บาหลี ยูไนเต็ด 2–1
(ต่อเวลา)
รอบเพลย์ออฟ จีน เซี่ยงไฮ้พอร์ต 0–1
2019 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือกรอบ 2 ประเทศพม่า ย่างกุ้งยูไนเต็ด 3–1
รอบเพลย์ออฟ ญี่ปุ่น ซานเฟรชเช ฮิโรชิมะ 0–0
(ต่อเวลา)
(3–4 p)
2020 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก กลุ่ม อี ออสเตรเลีย เมลเบิร์นวิกตอรี 2–2 0–1 อันดับที่ 4
จีน เป่ย์จิงกั๋วอัน 0–1 1–1
เกาหลีใต้ โซล 2–1 0–5
2021 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก กลุ่ม เอช เกาหลีใต้ ช็อนบุกฮย็อนแดมอเตอส์ 1–3 1–2 อันดับที่ 3
สิงคโปร์ ทัมปิเนสโรเวอร์ 1–0 3-0
ญี่ปุ่น กัมบะ โอซากะ 1–1 1–1
2022 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก กลุ่ม เจ ฮ่องกง คิตฉี 2–3 0–1 อันดับที่ 3
จีน เซี่ยงไฮ้พอร์ต ถอนตัว
ญี่ปุ่น วิสเซล โคเบะ 0–0 0–6

เกียรติประวัติ

[แก้]

ฟุตบอลลีก

[แก้]

ฟุตบอลถ้วย

[แก้]

สโมสรพันธมิตร

[แก้]

พันธมิตรต่างประเทศ

[แก้]

พันธมิตรในประเทศ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Report from goal.com". Chiangrai United vs Bangkok United. Retrieved 25 November 2017.
  2. "Match Play Chiangrai United Players". thaileague.co.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-10. สืบค้นเมื่อ 26 October 2019.
  3. ไฟเขียว ‘ลีโอ เชียงราย’ลุยบอลไทยลีก1
  4. ถือฤกษ์ดี11.11 !เชียงราย กลับมาใช้ชื่อเดิมลุยไทยลีก
  5. ไฟเขียว ‘ลีโอ เชียงราย’ลุยบอลไทยลีก1
  6. King, Ian; Schöggl, Hans & Stokkermans, Karel (20 March 2014). "Thailand – List of Champions". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 29 October 2014. Select link to season required from chronological list.
  7. กว่างโซ้งจับมือเจจูร่วมมือระยะยาว

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]