ข้ามไปเนื้อหา

ท่าอากาศยานหาดใหญ่

พิกัด: 06°55′59″N 100°23′34″E / 6.93306°N 100.39278°E / 6.93306; 100.39278
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สนามบินหาดใหญ่)
ท่าอากาศยานหาดใหญ่
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
เจ้าของกระทรวงคมนาคม
ผู้ดำเนินงานบมจ.ท่าอากาศยานไทย
ที่ตั้งตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ประเทศไทย
ฐานการบินไทยแอร์เอเชีย
ไทยไลอ้อนแอร์
เหนือระดับน้ำทะเล90 ฟุต / 27 เมตร
พิกัด06°55′59″N 100°23′34″E / 6.93306°N 100.39278°E / 6.93306; 100.39278
เว็บไซต์hatyai.airportthai.co.th
แผนที่
แผนที่
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
08/26 10,007 3,050 ยางมะตอย

ท่าอากาศยานหาดใหญ่ หรือ สนามบินหาดใหญ่ (IATA: HDY, ICAO: VTSS) เป็นท่าอากาศยานที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ (International Airport)[1] ตั้งอยู่เลขที่ 99 หมู่ 3 ถนนสนามบิน ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา 90115 บริหารงานโดย บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โดยมีผู้อำนวยการท่าอากาศยานหาดใหญ่ดูแล เป็นท่าอากาศยานที่สำคัญ เนื่องจากเป็นประตูสำหรับชาวมุสลิมที่ต้องการไปแสวงบุญที่นครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ท่าอากาศยานหาดใหญ่มีเที่ยวบินมากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ รองจาก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ตามลำดับ ปัจจุบันมีผู้โดยสารประมาณ 4,800,000 คน โดยเส้นทางในประเทศและต่างประเทศ เที่ยวบิน 9,203 เที่ยวบินและสินค้าประมาณ 12,965 ตันใช้บริการท่าอากาศยานแห่งนี้ ทั้งนี้ ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ มีความสามารถในการรองรับเที่ยวบินได้ 48 เที่ยวบิน/ชม. รองรับผู้โดยสารได้ปีละ 3,000,000 คน และรองรับสินค้าได้ ปีละ 41,800 ตัน รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ได้สูงสุด Boeing 747-400

Boeing 747-3B3 ของสายการบินมาฮานแอร์ลำที่เคยทำการบินปี2553

โครงสร้าง

[แก้]

ปีกทิศตะวันออก

[แก้]

โถงกลางอาคาร

[แก้]
  • บริเวณตรงกลางของตึกเป็นโถงผู้โดยสารขาเข้า
    • สายพานที่ 1 และ 2 สำหรับผู้โดยสารภายในประเทศ
    • สายพานที่ 3 สำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ และผู้โดยสาร CIQ
  • มีร้านค้าขายสินค้าที่ระลึก ร้านหนังสือ ร้านอาหาร และบริษัทรถเช่า
  • สำนักงานประชาสัมพันธ์ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ทอท.)

ปีกทิศตะวันตก

[แก้]
  • ด้านทิศตะวันออกเป็นทางเข้าสู่ตัวอาคารผูโดยสารอีกทางหนึ่ง
  • ห้องสุขา
  • มีเคาน์เตอร์เช็คอินของไทยแอร์เอเชีย สกู๊ต
  • สำนักแพทย์(ห้องพยาบาล) ท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ทอท.)
  • เป็นที่ตั้งของไปรษณีย์ไทย สาขาท่าอากาศยานหาดใหญ่

อาคารผู้โดยสารชั้นที่ 2

[แก้]

ก่อนเข้าประตู (Gate)

[แก้]
  • ร้าน Thai Coffee (กาแฟไท)
  • ร้าน คุณโจ ของฝาก
  • จุดคัดกรองเอกสารรับวัคซีน COVID-19

ปีกทิศตะวันตก

[แก้]

โถงกลางอาคาร

[แก้]
  • บริเวณตรงกลางเป็นห้องอาหารเหิรนภา
  • ห้องรับรองพิเศษ Coral Executive Lounge

ปีกทิศตะวันออก

[แก้]
  • ด้านทิศตะวันออกเป็นส่วนของผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ
  • รองรับการ Transfer ของผู้โดยสารที่มีเที่ยวบินต่อไปยังต่างประเทศของ การบินไทย ไทยแอร์เอเชีย ไทยไลอ้อนแอร์ และนกแอร์
    • ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานหาดใหญ่
    • จุดตรวจความปลอดภัย วัตถุอันตราย DGR
    • ร้านสินค้าปลอดภาษี King Power
    • มีประตูทางออก 2 ประตู โดยประตูทางออก 5 และ 6 เป็นสะพานเชื่อมเข้าสู่เครื่องบิน ที่รองรับเครื่องบินตั้งแต่ Airbus330 จนถึง Boeing 747-400
    • ด่านตรวจสัตว์น้ำท่าอากาศยานหาดใหญ่
    • ด่านศุลกากรท่าอากาศยานหาดใหญ่

การพัฒนาท่าอากาศยาน

[แก้]

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ตระหนักถึงความสำคัญการดำเนินธุรกิจท่าอากาศยานโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการพัฒนาท่าอากาศยานหาดใหญ่ จะเป็นการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานหาดใหญ่ให้สามารถรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศและผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นได้จนถึงปี 2568 กล่าวคือ จะพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถของระบบทางวิ่งทางขับจากเดิม 20 เที่ยวบินต่อชั่วโมง ให้เพิ่มเป็น 34 เที่ยวบิน ต่อชั่วโมง, ปรับปรุงอาคารผู้โดยสารให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นจาก 2.55 ล้านคนต่อปีเป็น 5 ล้านคนต่อปี, ปรับปรุงอาคารคลังสินค้า ให้สามารถรองรับได้เพิ่มขึ้นจาก 13,800 ตันต่อปี เป็น 25,000 ต่อปี และขยายพื้นที่จอดรถยนต์ให้รองรับเพิ่มขึ้นจาก 650 คัน เป็น 1,100 คัน โดยมีเนื้องานตามโครงการพัฒนาท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ปี 2558-2560) ดังนี้

  • โครงการงานออกแบบก่อสร้างทางขับขนานเส้นใหม่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของทางวิ่ง จำนวน 2 เส้น (อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะดำเนินการเป็นแบบ Partial Parallel Taxiway หรือ Parallel Taxiway)
  • โครงการงานออกแบบก่อสร้างอาคารผู้โดยสารใหม่ จำนวน 2 หลัง
  • โครงการงานออกแบบก่อสร้าง ขยายและปรับปรุงลานจอดอากาศยานให้สามารถรองรับอากาศยานได้พร้อมกัน 15 หลุมจอด
  • โครงการงานออกแบบก่อสร้างอาคารคลังสินค้าใหม่งานออกแบบก่อสร้างอาคารสนับสนุน เช่น อาคาร/ลานจอดรถยนต์โดยสาร อาคารศูนย์รักษาความปลอดภัย อาคาร GSE อาคารอเนกประสงค์
  • โครงการงานออกแบบและก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค ทหญ. ซึ่งประกอบด้วยระบบไฟฟ้า ระบบน้ำประปา ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบสื่อสาร และระบบเก็บขยะ

การเดินทางเข้าสู่ตัวเมือง

[แก้]
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4135 หรือถนนสนามบินพาณิชย์
  • รถลีมูซีน
  • รถสองแถวเข้าสู่ตัวเมืองหาดใหญ่
  • มินิบัส หาดใหญ่-สนามบินหาดใหญ่ 60 บาทตลอดสาย
  • รถตู้สายโสภา

สายการบินที่ให้บริการ

[แก้]
สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
การบินไทย เฉพาะฮัจญ์ มะดีนะฮ์ ขาเข้า/ขาออก ระหว่างประเทศ
เจดดาห์ ขาออก/ขาเข้า ระหว่างประเทศ
flyadeal เฉพาะฮัจญ์
มะดีนะฮ์ ขาเข้า/ขาออก ระหว่างประเทศ
เจดดาห์ ขาออก/ขาเข้า ระหว่างประเทศ
การบินไทย กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
โฮจิมินห์ อนาคต ระหว่างประเทศ
นกแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
นกแอร์ เหมาลำทหาร/ตำรวจ
ขอนแก่น ภายในประเทศ
พิษณุโลก ภายในประเทศ
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ[2] ภายในประเทศ
ไทยไลอ้อนแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
อุดรธานี ภายในประเทศ
บางกอกแอร์เวย์ส ภูเก็ต ภายในประเทศ
กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ ยกเลิกก่อน กลับมาในอนาคต ภายในประเทศ
สมุย ยกเลิกก่อน กลับมาในอนาคต ภายในประเทศ
เบตง อนาคต ภายในประเทศ
กัวลาลัมเปอร์ อนาคต ระหว่างประเทศ
สิงคโปร์ อนาคต ระหว่างประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
เชียงใหม่ ภายในประเทศ
กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ บินอีกครั้ง 1 ก.ค. 67 ภายในประเทศ
ขอนแก่น ยกเลิกก่อน กลับมาในอนาคต ภายในประเทศ
กัวลาลัมเปอร์ ระหว่างประเทศ
สิงคโปร์ ยกเลิกก่อน กลับมาในอนาคต ระหว่างประเทศ
บาติกแอร์ มาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์ บินอีกครั้ง 13 ก.ย. 67 ระหว่างประเทศ
สกู๊ต สิงคโปร์ ระหว่างประเทศ

สายการบินที่เคยให้บริการ

[แก้]
สายการบิน จุดหมายปลายทาง
เดินอากาศไทย กรุงเทพ,ภูเก็ต,สุราษฎร์ธานี,ตรัง,ปัตตานี,นราธิวาส,ปีนัง,กัวลาลัมเปอร์
การบินไทย กัวลาลัมเปอร์,เชียงใหม่,นราธิวาส,บันดาร์เซอรีเบอกาวัน,ภูเก็ต,สิงคโปร์
นกแอร์ ภูเก็ต,เชียงใหม่,อุบลราชธานี
ภูเก็ตแอร์ ภูเก็ต
มาเลเซียแอร์ไลน์ กัวลาลัมเปอร์,ปีนัง
ซิลค์แอร์ สิงคโปร์
แฮปปี้แอร์ ภูเก็ต
กานต์แอร์ อู่ตะเภา
ไทยไลอ้อนแอร์ สุบังจายา,เมดาน,หัวหิน,สุราษฎร์ธานี,เชียงใหม่
ไทยแอร์เอเชีย ยะโฮร์บะฮ์รู,เชียงราย,อู่ตะเภา
แอร์เอเชีย กัวลาลัมเปอร์
คุนหมิงแอร์ไลน์ คุนหมิง
บาติกแอร์ มาเลเซีย ปีนัง,สุบัง
เจ็ทสตาร์เอเชียแอร์เวย์ สิงคโปร์
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ เชียงราย
ไทยสมายล์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ

สถิติ

[แก้]
ปี (พ.ศ.) ผู้ใช้บริการ (คน) เปลี่ยนแปลง จำนวนเที่ยวบิน
2551 1,284,866 -
2552 1,389,873 เพิ่มขึ้น 8.17% -
2553 1,505,906 เพิ่มขึ้น 8.35% -
2554 1,869,113 เพิ่มขึ้น 24.12% 14,032
2555 2,127,483 เพิ่มขึ้น 13.82% -
2556 2,465,370 เพิ่มขึ้น 15.88% 17,056
2557 3,147,281 เพิ่มขึ้น 47.66% 22,319
2558 3,568,093 เพิ่มขึ้น 21.19% 24,258
2559 3,871,468 เพิ่มขึ้น8.50% 26,862
ที่มา: บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)[3]

อุบัติเหตุ/อุบัติการณ์

[แก้]
  • วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2530 เดินอากาศไทย เที่ยวบินที่ 365 โดยเครื่องบินออกเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต เครื่องบินได้ตกบริเวณทะเลภูเก็ตโดยมีลูกเรือ 9 คน และผู้โดยสาร 74 คน เสียชีวิตทั้งหมดและไม่พบผู้รอดชีวิต [4] [อุบัติเหตุ]
  • 3 เมษายน 2548 กลุ่มแบ่งแยกดินแดนปัตตานีได้มีการวางระเบิดห้องผู้โดยสารขาออก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต2ราย และบาดเจ็บ10ราย
  • 2 พฤษภาคม พ.ศ.2558 เมื่อเวลาประมาณ 10.30 น. เครื่องบินโบอิ้ง 737-900ER HS-LTQ สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ (Thai Lion Air) เที่ยวบินที่ SL8531 ประสบเหตุตกร่องพื้นอ่อนของรันเวย์ ระหว่างจะนำเครื่องขึ้น เพื่อมุ่งหน้าสู่ท่าอากาศยานดอนเมืองไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต [อุบัติการณ์]
  • 4 ธันวาคม พ.ศ.2559 สายการบินไทยไลออนแอร์ เที่ยวบิน SL703 เครื่องบินโบอิ้ง 737-900ER ขณะที่กำลังจะออกเดินทาง มีผู้โดยสารวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งคุยเล่นกันว่า มีระเบิดบนเครื่องบิน ภายหลังการตรวจสอบไม่พบว่า มีสิ่งผิดปกติแต่อย่างใด ส่งผลให้เที่ยวบินล่าช้ากว่ากำหนด 1 ชั่วโมง และผู้โดยสารกลุ่มดังกล่าวถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย[5]
  • 14 มกราคม พ.ศ.2560 เครื่องบินขับไล่กริพเพ่น 39 ตกที่กองบิน 56 สนามบินหาดใหญ่ ขณะขึ้นบินแสดงโชว์ผาดโผน เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ปี 2560 นักบินเสียชีวิต1ราย [อุบัติเหตุ]
  • 20 เมษายน พ.ศ.2562 : สายการบินไทยแอร์เอเชีย เที่ยวบิน FD3111 เครื่องบินแอร์บัส เอ320-216 ทะเบียน HS-ABN เส้นทางจากท่าอากาศยานหาดใหญ่ ไปยังท่าอากาศยานดอนเมือง เกิดเหตุเครื่องบินขัดข้อง สายการบินได้เปลี่ยนลำโดยสลับนำเครื่องบินอีกลำหนึ่ง ทะเบียน HS-BBA ของเที่ยวบินถัดไปเปลี่ยนมารับ ผู้โดยสารของเที่ยวบินนี้แทน รวมแล้วเที่ยวบินล่าช้ากว่ากำหนดเวลาเดิม 2 ชั่วโมง 35 นาที ส่วนลำเดิมที่ขัดข้องก็ได้แก้ไขแล้วเสร็จและใช้บินเที่ยวบินใหม่แทน
  • 11 กุมภาพันธ์ 2564 มีชายสติไม่ดีโทรขู่วางระเบิดถึง3 ครั้ง สุดท้ายตำรวจ ส.ภ.คลอยหอยโข่ง ได้ดำเนินคดีเรียบร้อย
  • 27 มกราคม 2565 มีทหารเรืออ้างเป็นองครักษ์ ขู่พกระเบิด20 ลูก,ปืน,มีด บอกว่าจะเคลียร์กับนายกให้ ล่าสุดสั่งลงโทษทางวินัยเรียบร้อยแล้ว
  • 21 ตุลาคม 2567 มีเด็กวัยรุ่นกลุ่มหนึ่ง พูดเล่นกัน จะวางระเบิดสนามบินหาดใหญ่

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]
  • 6 เมษายน 2563 เที่ยวบินพิเศษ SL117 สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ ทะเบียน HS-LUH B737-800NG จากท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตา นำผู้โดยสารติดเชื้อโควิด19 กลับมาประเทศไทย จำนวน 61 ราย (ดาวะห์) และนักบินไทยไลอ้อนแอร์ ที่ตกค้างในประเทศอินโดนีเซีย กลับมากักตัว ณ ประเทศไทย

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง รายชื่อสนามบินที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ (International Airport) พ.ศ. ๒๕๖๖
  2. "New Routes New Experience 5 new routes celebration". ไทยเวียดเจ็ทแอร์. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. Airports of Thailand Public Company Limited. Statistics for airports operated by Airports of Thailand Public Company Limited, namely, Suvarnabhumi Airport, Phuket Airport, Chiang Mai Airport, Don Mueang Airport, Hat Yai Airport and Chiang Rai Airport[ลิงก์เสีย] (ไทย)
  4. รายละเอียดเครื่องบินตก 2530
  5. สาวขู่ “ระเบิด” ไลอ้อนแอร์หาดใหญ่ ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา! เผยเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการ