ข้ามไปเนื้อหา

ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระวังสับสนกับ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ด้านหน้าศูนย์การแพทย์
แผนที่
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ ถนนรังสิต-นครนายก ตำบลองครักษ์
อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก, ประเทศไทย
หน่วยงาน
รูปแบบทุนรัฐบาล
ประเภทโรงพยาบาลเพื่อการเรียนการสอน
สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บริการสุขภาพ
แผนกฉุกเฉินมี
จำนวนเตียง433 เตียง[1]
ลิงก์
เว็บไซต์medicine.swu.ac.th/msmc/

ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นโรงพยาบาลในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ ถนนรังสิต-นครนายก ตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เป็นโรงพยาบาลสำหรับการเรียนการสอนและฝึกวิชาชีพของคณะแพทยศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์ และ คณะกายภาพบำบัด ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ควบคู่ไปกับโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอีกแห่งคือศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในจังหวัดนนทบุรี

ประวัติ

[แก้]

ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เริ่มโครงการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2535 เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเจริญพระชนมายุ ครบ 35 พรรษา และก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2542 และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 โดยมีวัตถุประสงค์คือเป็นสถาบันในการจัดการเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์และนิสิตคณะอื่นๆ ในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเป็นแหล่งวิจัยที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะการวิจัยในทางคลินิค ซึ่งมีพื้นที่การดำเนินงานครอบคลุมทั้งสิ้น 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง และชลบุรี

บริการทางการแพทย์

[แก้]

ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ เป็นโรงพยาบาลขนาด 360 เตียง พื้นที่ทั้งสิ้น 58,595 ตารางเมตร โดยได้เปิดบริการรักษาด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ปัจจุบันเปิดบริการทั้งสิ้น 11 สาขา คือ สาขาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา, สาขากุมารเวชศาสตร์, สาขาอายุรศาสตร์, สาขาศัลยศาสตร์, สาขาศัลยศาสตร์ออโธปิดิกส์, สาขาทันตกรรม, สาขารังสีวิทยา, สาขาโสต ศอ นาสิก, สาขาจักษุ, สาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู และสาขาจิตเวชศาสตร์ ในตอนแรก ทางโรงพยาบาลได้เปิดรับรักษาผู้ป่วยในจำนวน 30 เตียง จนได้ขยายศักยภาพการดำเนินงานเพิ่มขึ้นตามลำดับ เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการของผู้รับบริการที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันสามารถรับรักษาผู้ป่วยในได้ทั้งสิ้น 500 เตียง

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]