วิเชษฐ การุณยวนิช
วิเชษฐ การุณยวนิช | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ผู้บัญชาการทหารเรือ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 – 30 กันยายน พ.ศ. 2536 | |
ก่อนหน้า | พลเรือเอก ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ |
ถัดไป | พลเรือเอก ประเจตน์ ศิริเดช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 เมษายน พ.ศ. 2476 |
เสียชีวิต | 18 กันยายน พ.ศ. 2565 (89 ปี) |
คู่สมรส | คุณหญิง จรินทร์ การุณยวนิช |
พลเรือเอก วิเชษฐ การุณยวนิช เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารเรือไทย และเป็นกรรมการมูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์[1]
ประวัติ
[แก้]พลเรือเอก วิเชษฐ การุณยวนิช เกิดเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2476 จบการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต จากโรงเรียนนายเรือ เคยรับราชการเป็นทหารประจำกองทัพเรือไทย เคยดำรงตำแหน่งสูงสุดคือ ผู้บัญชาการทหารเรือ ในระหว่างปี พ.ศ. 2534 ถึงปี พ.ศ. 2536[2]
ต่อมาในการก่อการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) พล.ร.อ.วิเชษฐ ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ[3] และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน[4] และในปี พ.ศ. 2535 เป็นสมาชิกวุฒิสภา[5] และได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544
ในปี พ.ศ. 2557 พลเรือเอก วิเชษฐ เป็นหนึ่งในกลุ่มบุคคลที่เข้าร่วมประชุมหารือจัดตั้ง "รัฐบุคคล" เพื่อแสวงหาทางออกประเทศไทย[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[9]
- พ.ศ. 2535 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[10]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[11]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[12]
- พ.ศ. 2535 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "กรรมการมูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-06-19.
- ↑ ผู้บัญชาการกองทัพเรือ
- ↑ ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๗ (ไม่เป็นกฎหมาย เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติและคณะที่ปรึกษา)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
- ↑ "สมาชิกวุฒิสภา ชุดที่ 6" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-18.
- ↑ เปิดคลิปวงประชุมประกาศจัดตั้งกลุ่ม "รัฐบุคคล" - อดีตบิ๊กหลายวงการหารือทางออกประเทศ !?[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๒๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ ๙๒ ตอนที่ ๑๕๕ ง ฉบับพิเศษ หน้่า ๓๘, ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๔๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๓๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๙ ตุลาคม ๒๕๓๕
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2476
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ทหารเรือชาวไทย
- ผู้บัญชาการทหารเรือไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- บุคคลจากโรงเรียนนายเรือ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา