ข้ามไปเนื้อหา

การบุกครองนอร์ม็องดี

พิกัด: 49°25′05″N 01°10′35″W / 49.41806°N 1.17639°W / 49.41806; -1.17639
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ยุทธการแห่งนอร์มังดี)
ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่สอง

ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรพยายามยึดหัวหาดนอร์ม็องดี
วันที่6 มิถุนายน – 30 สิงหาคม ค.ศ. 1944
(2 เดือน 3 สัปดาห์ 3 วัน)
สถานที่
ภาคเหนือของประเทศฝรั่งเศส
ผล ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ
คู่สงคราม
ฝ่ายอักษะ
 เยอรมนี
 สาธารณรัฐสังคมอิตาลี[a]
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
  • 1,452,000 นาย (ในวันที่ 25 กรกฎาคม)[b]
  • 2,052,299 นาย (ในช่วงสิ้นสุดเดือนสิงหาคม)[7]
  • 380,000 นาย (ในวันที่ 23 กรกฎาคม)[8]
  • รวมประมาณ 640,000 นาย[9]
  • 2,200 นาย[10] – รถถังกับปืนใหญ่จู่โจม 2,500 คัน[11][12]
ความสูญเสีย
  • 226,386 นาย[13][c]
  • อากาศยาน 4,101 ลำ[13]
  • รถถังประมาณ 4,000 คัน[14]
  • 288,695[15] ถึง 530,000 นาย[16]
  • อากาศยาน 2,127 ลำ[17]
  • รถถังกับปืนใหญ่จู่โจมสูญหาย 1,500[18] ถึง 2,400 คัน[11]

ประชาชนเสียชีวิต:

  • ถูกฆ่าก่อนการทิ้งระเบิดโจมตี 11,000–19,000 คน[19]
  • ถูกฆ่าในระหว่างการโจมตี 13,632–19,890 คน[20]
  • รวม: ถูกฆ่า 25,000–39,000 คน

ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด (อังกฤษ: Operation Overlord) เป็นชื่อรหัสของ การรุกรานนอร์ม็องดี คือการรบระหว่างกองทัพฝ่ายอักษะนาซีเยอรมนีที่ประจำการอยู่ในยุโรปตะวันตก กับกองกำลังสัมพันธมิตรกว่า 3 ล้านนายที่ทำการบุกข้ามช่องแคบอังกฤษมาจากฐานที่ตั้งชั่วคราวในแนวรบที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ (ส่วนใหญ่มาจากเมืองพอร์ทสมัธ) มายังหัวหาดนอร์ม็องดีในฝรั่งเศสที่กองทัพเยอรมนียึดมาได้ เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2487 (เรียก ดีเดย์)

กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรนั้นประกอบไปด้วยทหารจากหลายประเทศด้วยกันได้แก่สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และแคนาดา นอกจากนี้ทหารจากกองกำลังฝรั่งเศสเสรีและโปแลนด์ก็ได้รวมเข้ากับกองกำลังสัมพันธมิตรด้วย เมื่อทหารที่ทำการจู่โจมจากเกาะอังกฤษเข้าสู่ฝรั่งเศสได้แล้ว ยังมีกองทหารจากหลายประเทศเข้ามาร่วมกับพันธมิตรหลังจากนั้นด้วย ได้แก่ เบลเยียม เชโกสโลวาเกีย กรีซ เนเธอร์แลนด์ และนอร์เวย์

การบุกหัวหาดนอร์ม็องดีอย่างแท้จริงเริ่มต้นตั้งแต่คืนวันที่ 5 มิถุนายน โดยมีเครื่องบินทิ้งพลร่มและเครื่องร่อนลงมา และกองทัพอากาศฝ่ายพันธมิตรเริ่มเปิดการทิ้งระเบิดใส่กองทัพเยอรมันที่ประจำอยู่ตามเมืองริมชายฝั่งของฝรั่งเศส รวมถึงการยิงปืนใหญ่จากเรือรบพันธมิตร จนกระทั่งการบุกข้ามทะเลของกองกำลังหลักเริ่มต้นขึ้นในตอนเช้าของวันที่ 6 และดำเนินต่อไปอีก 2 เดือน จนถึงการปลดปล่อยกรุงปารีสในตอนปลายของเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2487 ที่ปิดฉากการรบนี้ลง

แผนการครั้งนี้ ถูกกำหนดวันไว้คือวันที่ 5 มิถุนายน โดยจะมีพลร่มลงไปหลังแนวก่อน คือวันที่ 4 มิถุนายน แต่สภาพอากาศเลวร้าย จึงเลื่อนมาอีก 1 วัน เมื่อถึงเที่ยงคืนวันที่ 5 มิถุนายน พลร่ม และเครื่องร่อนได้ลงหลังแนวรบ เพื่อตัดกำลัง และ คุมสะพาน ไม่ให้พวกเยอรมันที่อยู่หลังแนวรบ ส่งกำลังมาหน้าแนวได้ทัน ได้มีการทิ้งหุ่นพลร่มปลอมในบางจุดด้วย

เมื่อเช้าวันที่ 6 มิถุนายน กองทัพเรือขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ยาตราเข้ามาในอ่าวนอร์ม็องดี บนหาดมีเครื่องกีดขวางมากมาย ทำให้แม้แต่เรือเล็กก็ไม่สามารถเข้าหาตัวหาดได้มากนัก เมื่อขึ้นไปบนหาด ถูกต่อต้านโดยปืนใหญ่ ปืนกลหนัก เครื่องยิงลูกระเบิด และปืนต่อต้านรถถังเป็นจำนวนมาก ทั้งยังมีรั้วลวดหนาม คูดักรถถัง และระเบิดบนหาด ทำให้ทหารเสียชีวิตจำนวนมากก่อนจะยึดหัวหาดได้ โดยเฉพาะที่หาดโอมาฮา

แต่สภาพอากาศที่เริ่มดีขึ้นทัศนวิสัยการมองดีขึ้นและบวกกับน้ำลงทำให้เห็นสิ่งกีดขวางและทุ่นระเบิดและกับระเบิดจึงทำให้ ทหารฝ่ายพันธมิตร สามารถทำลายและหลีกเลี่ยงกับระเบิดและสิ่งกีดขวาง

ประวัติ

[แก้]

สงครามโลกครั้งที่สอง นั้นเริ่มต้นขึ้นเมื่ออดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำของเยอรมนีได้ประกาศสงครามกับโปแลนด์และสั่งเคลื่อนพลจำนวนมหาศาลบุกโปแลนด์ โดยใช้กลยุทธการบุกแบบการโจมตีสายฟ้าแลบ (Blitzkrieg) ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) และสามารถยึดโปแลนด์ได้อย่างรวดเร็ว ขอบเขตของสงครามได้ขยายออกไปเมื่อเยอรมนีประกาศสงครามและทำการบุกนอร์เวย์ เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และลักเซมเบิร์ก จนกระทั่งกองทัพเยอรมันสามารถยึดฝรั่งเศสได้สำเร็จ ทำให้เยอรมนีเป็นผู้ครอบครองยุโรปตะวันตกได้ทั้งหมด ยกเว้นเกาะบริเตนใหญ่ของสหราชอาณาจักร ที่ในตอนนี้เป็นเพียงชาติเดียวที่เผชิญหน้ากับนาซีเยอรมัน และเสี่ยงต่อการถูกบุกโดยเยอรมนีมากที่สุด แต่ก่อนที่จะทำการบุกเกาะอังกฤษ กองทัพเยอรมันพยายามที่จะทำลายกองทัพอากาศของสหราชอาณาจักรเสียก่อน เพื่อช่วงชิงความเหนือกว่าทางอากาศซึ่งจะทำให้การบุกเกาะอังกฤษง่ายยิ่งขึ้น และเปิดศึกแห่งบริเตนกับสหราชอาณาจักร

ผลการรบที่ออกมากลับเป็นชัยชนะของสหราชอาณาจักรภายใต้การนำของวินสตัน เชอร์ชิลล์ ทำให้กองทัพอากาศนาซีอ่อนแอลงอย่างมากและเบนความสนใจจากการยึดเกาะบริเตนไปยังการบุกสหภาพโซเวียตแทน เปิดโอกาสให้สหราชอาณาจักรได้ตั้งหลัก และผูกมิตรกับสหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียตที่ในขณะนี้ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก เมื่อกองทัพเยอรมันสามารถบุกทะลวงดินแดนโซเวียตได้อย่างรวดเร็ว แต่ท้ายที่สุดแล้วสามารถยับยั้งกองทัพเยอรมันไว้ได้ที่มอสโก และเริ่มทำการโจมตีสวนกลับ จนสามารถยึดดินแดนโซเวียตที่เยอรมนียึดมาได้แทบทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2486 เยอรมนีกลับตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในสงคราม และฝ่ายพันธมิตรที่มีกำลังแข็งแกร่งขึ้นเรื่อย ๆ เริ่มคิดแผนการที่จะตอบโต้การรุกรานของเยอรมนีด้วยการโจมตีส่วนใดส่วนหนึ่งของยุโรปตะวันตก ท้ายที่สุดในการประชุมที่เตหะราน ที่สามผู้นำหลัก (ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์จากสหรัฐอเมริกา นายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลล์จากสหราชอาณาจักร และโจเซฟ สตาลินจากสหภาพโซเวียตของฝ่ายสัมพันธมิตรตกลงที่จะเปิดการโจมตีที่หัวหาดนอร์มองดีฝรั่งเศส ตามข้อเรียกร้องของโซเวียตขอให้เปิดแนวรบที่สอง เพื่อลดความกดดันแนวรบทางตะวันออก และเพื่อบีบให้ฝ่ายอักษะต้องกระจายกำลังออกไปทั้งแนวรบตะวันออกและตะวันตก

อ้างอิง

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. กองทัพสาธารณรัฐสังคมอิตาลีในช่วงปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ดมา 4,000 คนจาก 1ª Divisione Atlantica Fucilieri di Marina ประมาณ 100 นายตั้งฐานบนเกาะCézembre (Viganò 1991, p. 181) กองทัพส่วนอื่นรวมนักอดีตนักโทษสงครามถูกใช้แรงงานและหน่วยต่อต้านอากาศ (Frittoli 2019)
  2. ชาวอเมริกันประมาณ 812,000 คน และชาวอังกฤษกับแคนาดา 640,000 คน (Zetterling 2000, p. 408)
  3. นอกจากนี้ กองทัพอากาศฝ่ายสัมพันธมิตรเสียเครื่องบิน 4,101 ลำและ 16,714 ชีวิต (Tamelander & Zetterling 2003, p. 341)

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Beevor 2009, p. 82.
  2. Beevor 2009, p. 76.
  3. 3.0 3.1 Williams 1988, p. x.
  4. Beevor 2009, p. 492.
  5. เว็บไซต์นาวีสหรัฐ.
  6. เว็บไซต์ทหารลักเซมเบิร์ก.
  7. Badsey 1990, p. 85.
  8. Zetterling 2000, p. 32.
  9. Zetterling 2000, p. 34.
  10. Shulman 2007, p. 192.
  11. 11.0 11.1 Wilmot 1997, p. 434.
  12. Buckley 2006, pp. 117–120.
  13. 13.0 13.1 Tamelander & Zetterling 2003, p. 341.
  14. Tamelander & Zetterling 2003, p. 342.
  15. Zetterling 2000, p. 77.
  16. Giangreco, Moore & Polmar 2004, p. 252.
  17. Tamelander & Zetterling 2003, pp. 342–343.
  18. Zetterling 2000, p. 83.
  19. Beevor 2009, p. 519.
  20. Flint 2009, pp. 336–337.

บรรณานุกรม

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]

49°25′05″N 01°10′35″W / 49.41806°N 1.17639°W / 49.41806; -1.17639

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]