ประธานาธิบดีบังกลาเทศ
ประธานาธิบดี แห่งสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ | |
---|---|
ตราประจำตำแหน่ง | |
ธงประจำตำแหน่ง | |
จวน | พังคภพัน |
ผู้แต่งตั้ง | ประธานรัฐสภา |
วาระ | 5 ปี (ต่ออายุได้ 1 วาระ) |
ตำแหน่งก่อนหน้า | ผู้ว่าการปากีสถานตะวันออก |
ผู้ประเดิมตำแหน่ง | ชีค มูจิบูร์ เราะห์มาน |
สถาปนา | 17 เมษายน 1971 |
รอง | รองประธานาธิบดีบังกลาเทศ (ค.ศ. 1971–1991) ประธานชาตียสังสัท (ค.ศ. 1991–ปัจจุบัน) |
เงินตอบแทน | 120,000 ตากาต่อเดือน (1,410 ดอลลาร์สหรัฐ) 1,440,000 ตากาต่อปี (16,925 ดอลลาร์สหรัฐ) [1] |
เว็บไซต์ | www |
ประธานาธิบดีบังกลาเทศ (เบงกอล: বাংলাদেশের রাষ্ট্রপতি) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (গণপ্রজাতন্ত্রী বাংলাদেশের রাষ্ট্রপতি) เป็นประมุขแห่งรัฐของสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศและผู้บัญชาการกองทัพบังกลาเทศ
บทบาทของประธานาธิบดีมีการเปลี่ยนแปลงสามครั้งนับตั้งแต่บังกลาเทศได้รับเอกราชเมื่อปี ค.ศ. 1971 ในสมัยนั้นประธานาธิบดียังคงมีอำนาจบริหาร ต่อมาในปี ค.ศ. 1991 บังกลาเทศได้นำระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาที่มีพื้นฐานจากระบบเวสต์มินสเตอร์มาใช้พร้อมกับการฟื้นฟูรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ทุกวันนี้ตำแหน่งประธานาธิบดีได้รับเลือกจากรัฐสภาและมีบทบาททางพิธีการเป็นส่วนใหญ่[2]
ในปี ค.ศ. 1996 รัฐสภาได้ผ่านกฎหมายใหม่ที่เพิ่มอำนาจบริหารของประธานาธิบดีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ หลังจากที่รัฐสภาถูกยุบ ประธานาธิบดีพำนักอยู่ที่พังคภพันซึ่งเป็นทั้งสำนักงานและที่อยู่อาศัยของผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดีได้รับเลือกจากสมาชิกรัฐสภาจำนวน 350 คน ในการลงคะแนนแบบเปิด ดังนั้น โดยทั่วไปจึงเป็นตัวแทนของพรรคเสียงข้างมากในสภานิติบัญญัติ[3][4][5] ประธานาธิบดีจะยังคงดำรงตำแหน่งต่อไปหลังจากครบวาระ 5 ปี จนกว่าจะมีการเลือกตั้งผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนต่อไป[3]
ชาฮาบุดดิน ชัปปุยส์ เป็นประธานาธิบดีบังกลาเทศคนปัจจุบัน เขาเข้าพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 2023
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Correspondent, Parliament; bdnews24.com. "Bangladesh raises president, prime minister's pay, perks". bdnews24.com.
- ↑ "Background Note: Bangladesh", US Department of State, May 2007
- ↑ 3.0 3.1 "Constitution of the People's Republic of Bangladesh" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2011. สืบค้นเมื่อ 3 December 2011.
- ↑ "Presidential Election Act, 1991". CommonLII. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2012. สืบค้นเมื่อ 3 December 2011.
- ↑ Chowdhury, M. Jashim Ali (6 November 2010). "Reminiscence of a lost battle: Arguing for the revival of second schedule". The Daily Star. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2012. สืบค้นเมื่อ 3 December 2011.
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของหมวดหมู่เรื่อง |
การเมืองของ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ |
---|