หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์
หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์ | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 4 | |
ประสูติ | 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2437 |
สิ้นชีพตักษัย | 6 มิถุนายน พ.ศ. 2517 (79 ปี) |
หม่อม | หม่อมคล้อง เกษมสันต์ ณ อยุธยา |
ธิดา | หม่อมราชวงศ์สุประภาดา เกษมสันต์ หม่อมราชวงศ์ทิพพาวดี ดุละลัมพะ |
ราชสกุล | เกษมสันต์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ |
พระมารดา | หม่อมทองสุก |
มหาเสวกตรี หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์ (12 กรกฎาคม พ.ศ. 2437 – 6 มิถุนายน พ.ศ. 2517) เป็นพระโอรสองค์ที่ 31 ใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ และที่ 2 ในหม่อมทองสุก มีอนุชาและภคินีร่วมพระมารดา 4 องค์ คือ
- หม่อมเจ้าจันทรจำรัส เกษมสันต์ (พ.ศ. 2434 - พ.ศ. 2525)
- หม่อมเจ้าบุญะฤทธิ์ เกษมสันต์ (พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2514)
- หม่อมเจ้ากิติเกริกไกร (พ.ศ. 2449 - พ.ศ. 2464)
- อรอำไพ โกมารกุล ณ นคร (พ.ศ. 2453 - พ.ศ. 2553)
พระประวัติ
[แก้]หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งแต่วัยเด็ก สนองรับใช้ใต้เบื้องพระยุลบาทในตำแหน่ง เลขาธิการกรมบัญชาการมหาดเล็ก (ในช่วงปี พ.ศ. 2462 ถึง 2468) ซึ่งหม่อมเจ้าชัชวลิตได้ทรงพระผนวชเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2462[1] และในระหว่างปี พ.ศ. 2463 - 2465 ทรงรับตำแหน่งเป็นสภานายกคณะฟุตบอลแห่งสยาม
ในปี พ.ศ. 2465 หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี
นอกจากนี้หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์ ทรงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 2 (18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494)[2] ซึ่งสมาชิกชุดนี้สิ้นสุดสมาชิกภาพเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2494 เนื่องจากมีการประกาศยึดอำนาจการปกครอง และนำรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 กลับมาใช้
ครอบครัว
[แก้]หม่อมเจ้าชัชวลิต ทรงสมรสกับ หม่อมคล้อง (ณ ระนอง) เกษมสันต์ ณ อยุธยา ท.จ.ว. มีธิดา 2 ท่าน คือ
- หม่อมราชวงศ์สุประภาดา เกษมสันต์ ม.ป.ช.,ม.ว.ม.,ป.ภ.,ท.จ.ว. อดีตราชเลขานุการในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2540 เนื่องจากเฮลิคอปเตอร์ในขบวนเสด็จฯ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เครื่องที่ 2 ได้ประสบอุบัติเหตุตกที่จังหวัดนราธิวาส
- หม่อมราชวงศ์ทิพพาวดี เกษมสันต์ หรือ หม่อมราชวงศ์ทิพพาวดี ดุละลัมพะ จ.จ.
พระยศ
[แก้]- 25 สิงหาคม พ.ศ. 2454 - นายหมู่ตรี[3]
- – นายหมู่โท
- 1 ตุลาคม 2455 – นายหมู่เอก[4]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2455 - หุ้มแพร[5]
- 31 พฤษภาคม 2456 – นายกองตรี[6]
- 30 ธันวาคม 2456 – จ่า[7]
- 22 ตุลาคม 2458 – นายกองโท[8]
- นายกองเอก
- 19 ตุลาคม 2459 – รองหัวหมื่น[9]
- 2 มกราคม พ.ศ. 2459 หัวหมื่น[10]
- 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2461 นายกองใหญ่[11]
- มกราคม 2462 – จางวางตรี[12]
- 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 - นายพลเสือป่า[13]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2464 จางวางโท[14]
ตำแหน่ง
[แก้]- 5 พฤศจิกายน 2458 – ราชองครักษ์เวรเสือป่า[15]
- 25 เมษายน พ.ศ. 2459 - ผู้ช่วยเจ้ากรมเรือยนต์หลวงอีกตำแหน่งหนึ่ง[16]
- – นายเวรห้องที่พระบรรทม
- 15 พฤษภาคม 2462 – ผู้ช่วยเลขาธิการกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก[17]
- 27 มิถุนายน พ.ศ. 2462 เลขาธิการกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก[18]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2454 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[19]
- พ.ศ. 2464 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[20]
- พ.ศ. 2465 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[21]
- พ.ศ. 2462 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัลลภาภรณ์ (ว.ภ.) (ฝ่ายหน้า)[22]
- พ.ศ. 2460 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[23]
- พ.ศ. 2457 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วชิรมาลา (ว.ม.ล.)[24]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)[25]
- พ.ศ. 2467 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)[26]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)[27]
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
- พ.ศ. 2454 – เข็มข้าหลวงเดิม[28]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม 2462
- ↑ สมาชิกวุฒิสภาชุดที่ 2https://www.senate.go.th/assets/portals/1/files/list_senate2.pdf เก็บถาวร 2020-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
- ↑ แจ้งความกรมมหาดเล็ก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
- ↑ แจ้งความกรมมหาดเล็ก
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ "พระราชทานยศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 1850. 22 ตุลาคม 1916. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2024.
- ↑ พระราชทานยศ (หน้า ๒๗๔๘)
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า (หน้า ๓๓๒๘)
- ↑ ประกาศกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศ (หน้า ๒๙๓๑)
- ↑ ประกาศตั้งราชองครักษ์เวร
- ↑ ประกาศกรมมหาดเล็ก
- ↑ ประกาศกรมมหาดเล็ก
- ↑ ประกาศกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก (หน้า ๘๕๓)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๓๔, ๒๐ สิงหาคม ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๗๖, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามสมาชิกสมาชิกา เครื่องราชอิสริยาภรณ์อิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า พระราชทานในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๕, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๘๔, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนาม ผู้รับพระราชทานตราวัลลภาภรณ์ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ และแถลงความชอบของผู้นั้นๆ, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗, ๖ เมษายน ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๑๓, ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๓๓๑, ๒๐ กันยายน ๒๔๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๕๑, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๙๘, ๑ มกราคม ๒๔๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗๐๗, ๙ กรกฎาคม ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๔, ๒๘ พฤษภาคม ๒๔๕๔
แหล่งข้อมูล
[แก้]- จาก ม.จ.ชัชวลิต เกษมสันต์, ตอบปัญหาบาทหลวง : พิมอุทิศถวายพระกุศลแต่หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์ ในงานออกเมรุ, กรุงเทพหานคร โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2517
- ทำเนียบนายกสมาคมฟุตบอล เก็บถาวร 2007-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน