กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ปราสาทพระวิหาร | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ไทย | กัมพูชา | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จีระศักดิ์ ชมประสพ |
ฮุน เซน เมียส ซปเฮีย | ||||||
หน่วยที่เกี่ยวข้อง | |||||||
กองทัพบกไทย | กองทัพบกกัมพูชา | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ทหารเสียชีวิต 16 ราย[2] พลเรือนเสียชีวิต 2 ราย[3] |
ทหารเสียชีวิต 19 ราย[4] พลเรือนเสียชีวิต 3 ราย |
กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา เป็นเหตุการณ์ที่เริ่มต้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 เหนือกรณีพิพาทพรมแดนพื้นที่ปราสาทพระวิหาร หลังจากนั้น ก็ได้มีการปะทะระหว่างกำลังทหารทั้งสองฝ่ายหลายครั้ง พร้อมกับการอ้างสิทธิ์ของแต่ละฝ่ายเหนือดินแดนพิพาทดังกล่าว
เบื้องหลัง
[แก้]เมื่อ พ.ศ. 2550 ประเทศกัมพูชาได้เสนอต่อองค์การยูเนสโก ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 31 ณ เมืองไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์ ให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ประเทศไทยมีปัญหาว่าแผนที่ที่กัมพูชาแนบท้ายว่าเป็นอาณาบริเวณของปราสาทพระวิหารนั้นได้ขีดเส้นเขตแดนล้ำเข้ามาในบริเวณทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของปราสาท ซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อน และได้ขีดเส้นเขตแดนประเทศล้ำเข้ามาในฝั่งไทย[5]
เมื่อทราบดังนั้นกระทรวงต่างประเทศจึงหารือกับทางกัมพูชา เพื่อให้ร่วมกับฝ่ายไทย จดทะเบียนโบราณสถานอื่นในเขตไทยและพระวิหารของกัมพูชาร่วมกันในทีเดียว เพื่อความสมบูรณ์ของบริเวณพระวิหาร และให้กัมพูชาเปลี่ยนแผนที่ให้ไม่ล้ำเข้ามาในเขตไทยและพื้นที่ทับซ้อน และได้ขอให้ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 31 เลื่อนการพิจารณาขึ้นทะเบียนของกัมพูชาออกไป[5]
ลำดับเหตุการณ์
[แก้]พ.ศ. 2551
[แก้]มกราคม พ.ศ. 2551 สภากลาโหมของไทยมีมติประท้วงกัมพูชาในกรณีเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่ลำพังและกล่าวหาว่ากัมพูชาสร้างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นเท็จ ทั้งนี้ฝ่ายกองทัพได้แสดงท่าทีวิตกว่าอาจเกิดความรุนแรงในบริเวณชายแดนได้[6]
พฤษภาคม พ.ศ. 2551 พล.ท.วิบูลย์ศักดิ์ หนีพาล แม่ทัพภาคที่ 2 ได้ประกาศพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2547ครอบคลุมอำเภอ กันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ[7] แม้ว่าพื้นที่ดังกล่าวจะเคยเป็นพื้นที่ประกาศพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2547 ช่วงเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549ต่อมาได้ยกเลิกไปในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2551[8]
ต่อมาเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 นพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของไทย ได้หารือร่วมกับนายสก อาน ที่เกาะกง ประเทศกัมพูชา โดยฝ่ายกัมพูชาตกลงที่จะเปลี่ยนแผนที่ที่แนบในเอกสารคำขอยื่นขึ้นทะเบียนมรดกโลก โดยจดทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทประวิหารเท่านั้น ซึ่งตัวปราสาทนี้ศาลโลกได้พิพากษาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 แล้วว่าเป็นของกัมพูชา[5]
ทางกัมพูชาส่งแผนที่ที่ได้รับการปรับแก้ไขใหม่มาให้ฝั่งไทย เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน กรมแผนที่ทหารได้ตรวจสอบว่าแผนที่ใหม่ที่ส่งมานั้นไม่มีการล้ำเข้ามาในเขตไทย สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติจึงได้พิจารณาเห็นชอบ และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบร่างคำแถลงการร่วม[5] ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 นายนพดล ปัทมะ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศได้ลงนามคำแถลงการร่วมกับฝ่ายกัมพูชาและยูเนสโก[5]
วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เคลื่อนขบวนไปชุมนุมหน้ากระทรวงการต่างประเทศเพื่อขับไล่นาย นพดล ปัทมะ ให้ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และเพื่อยื่นหนังสือทวงถามกรณีข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร เนื่องจากไม่ยอมเปิดเผยแผนที่ให้ประชาชนได้รับรู้ หลังจากตกลงร่วมกับประเทศกัมพูชาไปก่อนหน้านี้[9][10][11]
วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2551 นายสุวัตร อภัยภักดิ์ นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรฯ และ คณะ รวม 9 คน เป็นตัวแทนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไปยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติ ครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด เนื่องจากพบว่า แผนผังที่ร่างโดยกัมพูชาล้ำเข้ามาในเขตแดนไทยไม่น้อยกว่า 4.6 ตารางกิโลเมตร ตามแผนที่ฝ่ายไทยที่ยึดถือตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2505 หลังคำตัดสินของศาลโลก และทั้งยังจะสละสิทธิในข้อสงวนที่ไทยจะทวงปราสาทเขาพระวิหาร กลับคืนมาในอนาคต และการดำเนินการของผู้เกี่ยวข้องไม่ดำเนินตามขั้นตอนทางกฎหมาย
วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2551 หม่อมหลวง วัลย์วิภา บุรุษรัตนพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมนักวิชาการ เดินทางมาพบ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อรับมอบรายชื่อผู้คัดค้านการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งในส่วนของพันธมิตรฯ ได้มีการมอบรายชื่อให้กับทางสถาบันไทยคดีศึกษาไปแล้ว 6,000 รายชื่อ และวันที่ 27 มิถุนายน มอบให้อีก 3,488 รายชื่อ ซึ่งล่าสุดตัวเลขของผู้ที่คัดค้านการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารมีทั้งหมด 33,400 รายชื่อ ภายหลังจากที่มีการรับมอบรายชื่อจากแกนนำกลุ่มพันธมิตรแล้ว หม่อมหลวง วัลย์วิภา บุรุษรัตนพันธุ์ ยังได้ไปยื่นหนังสือคัดค้านเรื่องนี้ ต่อนายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลด้วย[12]
วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด หรือจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ศาลได้ไต่สวนฉุกเฉินคู่ความทั้ง 2 ฝ่ายเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน และใช้เวลาไต่สวนกว่าสิบชั่วโมง จนมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเมื่อเวลา 02.00 น. ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งดังนี้[13][14]
- ให้เพิกถอนการกระทำของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่เสนอร่างคำแถลงการณ์ร่วม ฯ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและมีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ
- เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ที่มีมติเห็นชอบร่างคำแถลงการณ์ร่วม ฯ โดยมอบหมายให้นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามในแถลงการณ์ร่วม ฯ
- ให้เพิกถอนการลงนามในคำแถลงการณ์ร่วม ฯ ของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ลงนามเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551
- มีคำสั่งให้นายนพดล ปัทมะ ยุติความผูกพันตามคำแถลงการณ์ร่วม ฯ ต่อประเทศกัมพูชาและองค์การยูเนสโก
ขณะเดียวกันพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้านได้ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความข้อตกลงกับกัมพูชาว่าเข้าข่ายเป็นหนังสือสัญญาหรือไม่ ต่อมาวันที่ 8 กรกฎาคม ศาลรัฐธรรมนูญได้ชี้ขาดว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นหนังสือสัญญาซึ่งจะต้องผ่านการเห็นชอบของรัฐสภาก่อน[15]
เวลา 2.00 น. วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 (ตามเวลาประเทศไทย) ที่นครควิเบก ประเทศแคนาดา องค์การยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนตามคำขอของกัมพูชาให้ตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก พร้อมกับสถานที่อื่นอีก 4 แห่ง
พ.ศ. 2552
[แก้]วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2552 ประเทศกัมพูชาได้ปะทะกับประเทศไทยด้วยอาวุธเป็นครั้งแรกเหตุการณ์เริ่มตั้งแต่ช่วงเช้า และมีการปะทะกันรอบสองในวันเดียวกันซึ่งการปะทะกันรอบสอง กองทัพกัมพูชาได้ยิงจรวดอาร์พีจีเข้ามาในฝั่งไทย ส่งผลให้ทหารเสียชีวิตสองนาย[16] วันที่ 22–30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 มีการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 33 ที่เมืองเซบิยา ราชอาณาจักรสเปน ประเทศไทย มีนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ได้ยื่นหนังสือคัดค้านการปฏิบัติงานของคณะกรรมการมรดกโลก ว่าไม่เป็นไปตามธรรมนูญของสหประชาชาติ วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552 นายวีระ สมความคิด และ นายอธิวัฒน์ บุญชาติ ได้นำพี่น้องมวลชนคนไทยผู้รักชาติ และ กลุ่มมวลชนพันธมิตร กว่า 1,000 คน พร้อมรถยนต์กว่าร้อยคัน เดินทางไปปราสาทพระวิหาร และ มีชาวบ้านภูมิซรอลซึ่งไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ ชุมนุมสกัดกั้นและมีการปะทะกันอย่างรุนแรงที่หน้าวัดภูมิซรอล
วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 คณะรัฐมนตรีมีมติเรียนเอกอัคราชทูตไทยประจำประเทศกัมพูชากลับประเทศเพื่อประท้วงการแต่งตั้งอดีตนายกรัฐมนตรีพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรเป็น ที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจ และที่ปรึกษาส่วนตัวของนายกรัฐมนตรีประเทศกัมพูชารวมถึงการปฏิเสธการส่งตัวให้ทางการราชอาณาจักรไทยในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน[17]โดยกระทรวงการต่างประเทศให้เหตุผลในแถลงการณ์ตอนหนึ่งว่า เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้หลบหนีคดีอาญา ตามหมายจับของศาล
พ.ศ. 2553
[แก้]เครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ ได้เคลื่อนไหวชุมนุมอย่างต่อเนื่อง ตามแนวชายแดน โดยมีการจัดตั้งเวที่ปราสรัยที่ บริเวณศาลหลักเมืองกันทรลักษณ์ นำโดย นาย อธิวัฒน์ บุญชาติแกนนำเครือข่ายทวงคืนแผ่นดินแม่ และ มีเหตุการณ์ขว้างระเบิดในที่ชุมนุม เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 คน
12 สิงหาคม พ.ศ. 2553 มีการจัดตั้ง ชุมชนบ้านสันปันน้ำเป็นหมู่บ้านเชิงสัญลักษณ์ ที่ชายแดนพนมดงรัก สุรินทร์ – ปัจจุบัน
เวทีแนวร่วมเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ จัดเวทีนับสิบครั้งในหลายจังหวัด และมาปิดเวทีสุดท้าย วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ที่เวทีลานหิน ชุมชนบ้านสันปันน้ำ พนมดงรักสุรินทร์ โดยมีการเคลื่อนมวลชนเดินทางไปยังปราสาทตาเมือนธม และ มีการปะทะกันระหว่างชาวบ้านหนองคันนา ก่อนที่ นาย วีระ สมความคิด จะพาคณะเดินทางกลับมาร่วมเวที่ เกาะติดปัญหาชายแดนไทย–กัมพูชา ที่ชุมชนบ้านสันปันน้ำ มีการถ่ายทอดสดผ่านทางช่องเอฟเอ็มทีวี ก่อนที่นายวีระ สมความคิด จะถูกทหารกัมพูชาจับในครั้งแรก
เหตุคนไทยถูกทหารกัมพูชาจับกุม พ.ศ. 2554
[แก้]บทความนี้ต้องการข้อความอธิบายความสำคัญที่กระชับ และสรุปเนื้อหาไว้ย่อหน้าแรกของบทความ |
วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553 พนิช วิกิตเศรษฐ์ พร้อมกับพวกจำนวน 6 คน ซึ่งบางส่วนเป็นสมาชิกเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ ประกอบด้วยวีระ สมความคิด, กิชพลธรณ์ ชุสนะเสวี, ร้อยตรีแซมดิน เลิศบุศย์, ตายแน่ มุ่งมาจน, นฤมล จิตรวะรัตนา และราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ขณะลงพื้นที่ตรวจสอบที่ได้รับเรื่องร้องเรียนว่าทหารกัมพูชารุกล้ำเข้ามาในเขตไทย บริเวณอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว[18] ได้ข้ามแดนบริเวณหลักเขตแดนที่ 46 บ้านภูมิโจกเจย (บ้านโชคชัย) ตำบลโอเบยเจือน อำเภอโจรว จังหวัดบันทายมีชัย และถูกทหารรักษาชายแดนที่ 503 ของกัมพูชาควบคุมตัว[19] โดยศาลเขตพนมเปญได้ตั้งข้อหาพนิช และพวกในข้อหาเดินทางข้ามพรมแดนโดยผิดกฎหมาย และรุกล้ำเขตทหาร ได้ถูกนำตัวไปขังไว้ในเรือนจำเปนย์ ซาร์ นอกกรุงพนมเปญ[20] ด้านกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เดินทางเข้าพบฮอร์ นำฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา เพื่อเจรจาในประเด็นดังกล่าว[21] ฝ่ายทนายความเตรียมยื่นขอประกันตัวทันทีที่มีการพิจารณาคดี[22]
การเข้าไปในพื้นที่ทับซ้อนไทย–กัมพูชาดังกล่าว มีรายงานว่า พนิชได้รับมอบหมายจากอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้ไปทำความเข้าใจกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หลังจากที่มีการยืนยันว่าทหารกัมพูชาเข้ามาในดินแดนไทย แต่การกระทำดังกล่าวปราศจากการประสานความร่วมมือกับฝ่ายกัมพูชา จึงทำให้ถูกจับกุมในที่สุด[23] ส่วนทางด้านประธานคณะกรรมาธิการร่วมพิจารณาบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา รัฐสภา ปฏิเสธว่าไม่ได้ส่งพนิชและคณะลงพื้นที่[24]
ทางกลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติ ได้เดินทางมายังสถานทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย โดยมีการเผาโลงศพที่มีภาพฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ติดอยู่ที่ฝาโลง พร้อมกับพวงหรีด เป็นการประท้วง พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวคณะทั้งหมด โดยขั้นต่อไปอาจชุมนุมประท้วงต่อที่หน้าทำเนียบรัฐบาล[18]
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เปิดเผยเอกสารสิทธิ์ที่ดินของเบ พูลสุข แสดงบริเวณที่บุคคลทั้งหมดถูกจับกุมตัว เป็นน.ส.3 ก ที่ออกโดยกรมที่ดิน ระบุวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2517[25] ขณะที่ทางการกัมพูชานำวิดีโอหลักฐานมาเปิดดูปรากฏว่าคณะดังกล่าวรุกเข้าไปในเขตกัมพูชาจริง[20] ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวยอมรับว่า พนิชและคณะได้รุกล้ำอาณาเขตกัมพูชาจริง แต่ไม่น่าจะมีเจตนา โดยเป็นการกระทำจากความประมาท พร้อมทั้งเรียกร้องให้กลุ่มต่าง ๆ ยุติความเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวพนิช เนื่องจากอาจทำให้ทางกัมพูชาไม่พอใจ และเป็นอุปสรรคต่อการช่วยเหลือ[26]
ส่วนทางด้านพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การที่พนิชเดินทางไปยังพื้นที่ทับซ้อนโดยไม่มีการประสานงานกับกัมพูชาก่อนเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาชี้แจงการกระทำดังกล่าวถึงสาเหตุและที่มาของการเดินทางเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว และแสดงความเป็นห่วงที่วีระ สมความคิดถูกจับกุมไปด้วย เกรงว่าอาจมีการปลุกกระแสทำให้ปัญหาบานปลาย[27] สุนัย จุลพงศธร หนึ่งในคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา เปิดเผยว่า ตนพร้อมจะนำประเด็นดังกล่าวมาหยิบยกเป็นหัวข้ออภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งหากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ส่งไปจริง ก็จะต้องมีการแสดงความรับผิดชอบด้วย[28]
วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554 กลุ่มเครือข่ายประชาชนไทยหัวใจรักชาติ เดินทางยื่นหนังสือร้องเรียนต่อสหประชาชาติให้เข้ามาดูแลเรื่องดังกล่าว โดยเห็นว่าคณะเป็นคนไทย หากกระทำความผิดก็ต้องขึ้นศาลไทย เป็นการรุกรานและคุกคามสิทธิพลเมืองของชาติที่มีปัญหาชายแดนระหว่างกัน ขัดต่อข้อตกลงเจนีวา (พ.ศ. 2492)[20] พร้อมทั้งแถลงข่าวว่า พื้นที่ที่ 7 คนไทยถูกจับอยู่ในเขตที่ดินของเบ พูลสุข ราษฎรชาวไทย เป็นพื้นที่ของไทยไม่ใช่ของเขมร ซึ่งสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติเคยจัดตั้งศูนย์อพยพชั่วคราวในพื้นที่ดังกล่าวเมื่อปี พ.ศ. 2520 แต่เมื่อเหตุการณ์สงบชาวกัมพูชาก็ไม่ยอมอพยพออกไปจากพื้นที่ [20] วันเดียวกัน ทางกลุ่มมีแผนจะนำหลักฐานมาแถลงข่าวยังทำเนียบรัฐบาล พร้อมประกาศจะนำมวลชนไปยังบริเวณที่คณะถูกจับกุมในวันที่ 3 มกราคม[20]
วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554 มีการรายงานว่า ภรรยาพนิช วิกิตเศรษฐ์ และเจ้าหน้าที่สถานทูตไทย ได้เข้าเยี่ยมคนไทยที่ถูกจับกุมทั้งเจ็ดคนแล้ว เพื่อดูแลเรื่องอาหารและเสื้อผ้า[29]
วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554 ธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า ศาลกัมพูชานัดไต่สวนคนไทยทั้งเจ็ดคนในวันรุ่งขึ้น เวลา 8.00 น. ซึ่งทางกระทรวงการต่างประเทศพร้อมให้ความช่วยเหลือทั้งเจ็ดคนโดยเท่าเทียมกัน ด้านพลตรีนพดล โชติศิริ รองเจ้ากรมแผนที่ทหาร กล่าวว่า หลังจากที่ได้มีการสั่งเจ้าหน้าที่ไปวัดพิกัดกำหนดจุดที่ถูกจับกุม ผลการวัดพบว่า คณะคนไทยรุกล้ำเข้าไปในดินแดนของกัมพูชาซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อนอยู่ 55 เมตร ด้านวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล สมาชิกคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ระบุว่า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ทราบอีกด้วยว่าคณะคนไทยดังกล่าวเข้าไปในเขตแดนกัมพูชา จึงอยากให้ออกมาแสดงความยอมรับผิด[30]
วันที่ 7 มกราคม พนิชให้การต่อศาลว่าเดินทางเข้าไปในพื้นที่ เพื่อพบชาวบ้านที่อ้างว่าชาวกัมพูชาย้ายหลักหมุดบนดินแดนของไทย พร้อมกับให้การว่าเป็นการเดินทางเข้าไปโดยอุบัติเหตุ แต่เหมือนจะขัดแย้งกับคำกล่าวของพนิชในหลักฐานคลิปวิดีโอ ที่พนิชให้ผู้ติดตามเรียนอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่า คณะได้ข้ามมาในฝั่งกัมพูชาแล้ว[31] ด้านทนายความเตรียมยื่นประกันตัวในวันที่ 10 มกราคม เพราะศาลกัมพูชายังคงปิดทำการในวันหยุดราชการ โดยคณะคนไทยทั้งเจ็ดถูกนำตัวกลับไปคุมขัง[32]
วันที่ 13 มกราคม มีรายงานว่า ศาลกัมพูชาให้ประกันตัวพนิช วิกิตเศรษฐ์ และนฤมล จิตรวะรัตนา โดยยังคงอยู่ระหว่างสู้คดีในข้อหาเข้าเมืองผิดกฎหมายและเข้าไปในเขตทหารโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนคนไทยที่เหลือยังไม่ได้รับการประกันตัว เงื่อนไขการประกันตัว ได้แก่ ห้ามเดินทางออกนอกประเทศ วางเงินประกันคนละ 1 ล้านเรียล (10,000 บาท) และต้องไปรายงานตัวตามนัดเรียก โดยขณะนี้ทั้งสองยังพำนักอยู่ที่สถานทูตไทย[33] ด้าน ธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารสนเทศ ระบุว่า ศาลกัมพูชาไม่ได้ให้เหตุผลที่ยอมให้ประกันตัวทั้งสอง แต่เห็นว่า น่าจะเป็นเพราะปัญหาด้านสุขภาพ ที่ทั้งสองป่วยเป็นโรคความดันโหลิตสูงและโรคไทรอยต์ตามลำดับ ส่วนคนไทยที่เหลือ ทนายความยื่นอุทธรณ์แล้วเมื่อวันที่ 14 มกราคม[34]
วันที่ 19 มกราคม ศาลกัมพูชาให้ประกันตัวคนไทยเพิ่มอีก 4 คน เหลือเพียงวีระ สมความคิดเท่านั้น โดยให้เหตุผลว่าวีระถูกมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของกัมพูชา[35] วันที่ 21 มกราคม ศาลกัมพูชาได้พิจารณาตัดสินคดี ซึ่งกำหนดเดิมคือ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ เมื่อเวลา 19.35 น. ศาลกัมพูชาได้ตัดสินว่าคนไทยทั้ง 5 คน ได้แก่ พนิช กิชพลธรณ์ ร.ต.แซมดิน ตายแน่ และนฤมล มีความผิดฐานเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย โดยให้จำคุกคนละ 9 เดือน แต่ให้ลดเหลือ 8 เดือน และให้รอลงอาญาไว้ก่อน หลังจากการตัดสินดังกล่าว ทำให้คนไทยทั้ง 5 คนสามารถเดินทางกลับประเทศได้ทันที[36]
เหตุปะทะกันบริเวณชายแดน พ.ศ. 2554
[แก้]กุมภาพันธ์
[แก้]เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ระหว่างการปะทะกันนานถึง 4–5 ชั่วโมง สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า ทหารไทยเสียชีวิต 7 นาย ส่วนทหารกัมพูชาเสียชีวิต 1 นาย และได้รับบาดเจ็บ 4 นาย[37] ส่วนหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์รายงานว่าทหารไทยได้รับบาดเจ็บ 2–3 นาย[38] ทหารกัมพูชาเสียชีวิต 1 นาย และมีการจับกุมทหารไทยไป 5 นาย[39] พลเรือนไทยคนหนึ่งเสียชีวิตจากกระสุนปืนใหญ่[40]
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ ทหารไทยและกัมพูชาปะทะกันอีกรอบ ทหารไทย 1 นาย ถูกจับกุมระหว่างการปะทะ[41]
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ CNN รายงานว่า ไทยได้ถล่มกัมพูชายับเยินโดยยิงปืนใหญ่ 155 มม. ปูพรมไปทั่วแดนกัมพูชา ถนนและฐานทหารเสียหายมากมาย รถถังและรถหุ้มเกราะกัมพูชาเสียหายใช้การไม่ได้กว่าสามสิบคัน ส่วนรายชื่อผู้เสียชีวิตของทหารกัมพูชายังมิอาจประเมินได้เนื่องจากพื้นที่ไฟไหม้ แต่คาดว่าไม่น่าจะต่ำกว่าหกร้อยนาย[42]
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศ พื้นที่ตำบลเสาธงชัย หมู่ที่ 2 3 9 10 12 13 และตำบลรุง หมู่ที่ 5 7 10 อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ อันเนื่องจากกองกำลังจากนอกประเทศ พร้อมจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยจังหวัดศรีสะเกษ ณ ที่ว่าการอำเภอกันทรลักษณ์ ส่วนรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศทำหนังสือชี้แจงถึงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ[43]
ทางการมีการประกาศให้ประชาชนเข้าไปในหลุมหลบภัย และมีการอพยพย้ายออกจากพื้นที่ของประชาชน เพื่อป้องกันการที่ฝ่ายกัมพูชาใช้อาวุธหนักยิงเข้ามา ด้าน พันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ให้สัมภาษณ์ว่า การปะทะกันของทหารทั้ง 2 ฝ่ายเริ่มขึ้นเมื่อเวลา 18.40 น. เริ่มจากทางทหารกัมพูชายิงพลุส่องสว่างเข้ามาตกที่บริเวณภูมะเขือ อ.กันทรลักษ์ หลังจากนั้นทหารกัมพูชายิงปืนใหญ่ของรถถังเข้ามาอีก ทำให้ทหารไทยต้องใช้มาตรการตอบโต้ โดยยิงเครื่องยิงลูกระเบิดสวนกลับไป[44]
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554: ที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ได้ลงความเห็นปฏิเสธข้อเรียกร้องของสมเด็นฮุน เชน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่ต้องการให้จัดประชุมฉุกเฉินประเทศสมาชิกคณะมนตรีฯ 15 ชาติและส่งกำลังทหารเข้ามารักษาความสงบในพื้นที่พิพาท โดยระบุควรแก้ไขปัญหากันเองในระดับภูมิภาค[45] วันเดียวกัน ไม่มีเหตุปะทะกันเพิ่มเติม แต่มีรายงานว่าทหารกัมพูชาได้ใช้ช่วงที่ยังหยุดยิงกันอยู่นี้ขุดที่ตั้งใหม่และจัดตั้งกระสอบทรายเพิ่มเติม[46] ทหารไทยนายหนึ่งซึ่งได้รับบาดเจ็บจากการยิงปืนใหญ่เมื่อวันที่ 6 เสียชีวิตเนื่องจากพิษบาดแผลที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์[47]
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 นายกษิต ภิรมย์ได้แถลงด้วยวาจาต่อประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก ในถ้อยแถลงการณ์ของรัฐมนตรีต่างประเทศระบุใจความตอนหนึ่งว่าฝ่ายกัมพูชาละเมิดข้อตกลงหยุดยิง ที่ได้ตกลงกันใน วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ณ ช่องสะงำในจังหวัดศรีสะเกษ ที่ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงที่จะหยุดยิงทันที ผู้บังคับการทหารระดับภูมิภาคของไทยและฝ่ายกัมพูชา เป็นตัวแทนเจรจา
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ได้เกิดการปะทะกันรอบใหม่ขึ้น เหตุยิงกันดังกล่าวกินเวลาไม่กี่นาที ถึงแม้ว่าสื่อท้องถิ่นจะรายงานว่าทหารไทยได้รับบาดเจ็บ 5 นาย แต่กองทัพออกมาระบุว่ามีทหารได้รับบาดเจ็บ 1 นายจากการสู้รบ[48]
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ การปะทะกันทวีความรุนแรงขึ้น โดยมีการปะทะกันถึงสามครั้งในวันนี้ (5.00 น., 20.00 น., 22.00 น.) แต่ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากทั้งสองฝ่าย โฆษกกองทัพบกไทย สรรเสริญ แก้วกำเนิด ระบุว่า ฝ่ายกัมพูชาเป็นผู้เริ่มโจมตีก่อน โดยใช้ปืนครกและอาร์พีจี ทำให้ฝ่ายไทยต้องทำการตอบโต้[49] อย่างไรก็ตาม ปาย สิฟาน โฆษกคณะรัฐมนตรีกัมพูชาปฏิเสธว่ากัมพูชาเป็นฝ่ายเริ่มก่อน และกล่าวตรงกันข้าม กัมพูชาต้องการความช่วยเหลือจากนานาชาติเพื่อป้องกันมิให้มีการสู้รบเกิดขึ้นต่อไป ขณะที่ไทยกล่าวว่าปัญหาดังกล่าวควรได้รับการแก้ไขในระดับทวิภาคี[50] ในวันเดียวกัน มีรายงานที่ไม่ได้รับการยืนยันว่ารถถังเวียดนามได้มุ่งหน้ามายังชายแดนไทย-กัมพูชา[51] อย่างไรก็ตาม ฮุน เซน ปฏิเสธรายงานดังกล่าว[52]
ในความตกลงซึ่งบรรลุในการประชุมอาเซียนในจาการ์ตา กัมพูชาและไทยตกลงที่จะให้ผู้สังเกตการณ์ชาวอินโดนีเซียสังเกตพื้นที่พิพาทพรมแดน โดยมีทั้งทหารและพลเรือนรวม 40 คน ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียออกมาระบุว่า คณะที่ส่งไปนั้นมิใช่เพื่อรักษาสันติภาพหรือใช้กำลังให้เกิดสันติภาพ โดยคณะดังกล่าวจะไม่ติดอาวุธ[53]
เมษายน–พฤษภาคม
[แก้]เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554 ทางการไทยได้ยอมรับว่ามีการใช้กระสุนระเบิดทวิประสงค์ (DPICM) ระหว่างการปะทะกันจริง ซึ่งถูกระบุตามจากกลุ่มเครือข่ายความร่วมมือต่อต้านระเบิดลูกปราย (CMC) ว่าเป็นระเบิดลูกปรายประเภทหนึ่ง[54] โดยอาวุธดังกล่าวประกอบด้วยระเบิดมือขนาดเล็กนับหลายร้อยลูก หรือลูกปราย ซึ่งกระจายไปกินอาณาบริเวณกว้าง และถูกห้ามโดยประเทศส่วนใหญ่ตามอนุสัญญาว่าด้วยระเบิดลูกปราย ประเทศไทยไม่ได้ลงนามในสนธิสัญญา แต่ได้ให้สัญญาอย่างเปิดเผยว่าจะไม่ใช้อาวุธดังกล่าว[55] ทาง CMC กล่าวว่าเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นการใช้ระเบิดลูกปรายที่ได้รับการยืนยันครั้งแรกนับตั้งแต่อนุสัญญาได้กลายมาเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ[54]
วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554 ในช่วงเช้าได้เกิดการปะทะกันขึ้นบริเวณจังหวัดสุรินทร์[56] ด้านปราสาทตาควาย ต.บักได อ.พนมดงรัก เรื่อยมาจนถึงปราสาทตาเมือนธมชุมชนบ้านสันปันน้ำ บ้านไทยนิยมพัฒนา และ ต.ตาเมียง อำเภอพนมดงรัก ทำให้ทหารไทยเสียชีวิต 4 นาย[57] และบาดเจ็บอีก 14 นาย[58] มีการพบลูกกระสุนปืนใหญ่ฝ่ายทหารเขมรยิงเข้าตกมายังฝั่งไทยที่บริเวณฝายน้ำล้น บ้านสายโท 12 ต.สายตะกู อำเภอบ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ 1 ลูก พร้อมได้ยินเสียงปืนดังตลอดเวลาจึงต้องทำการอพยพ ชาวบ้าน ราว 2,500 คนออกจากพื้นที่[59] ทางกระทรวงต่างประเทศไทยส่งหนังสือประท้วงอย่างรุนแรงที่สุดผ่านเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย[60] หลังจากเกิดเหตุการณ์การปะทะนาย ธานี สามารถกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ได้ประกาศอำเภอบ้านกรวดเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติภาวะสงครามทั้งอำเภอ[61]
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศให้ บริเวณปราสาทตาเมือนธม หมู่ที่ 8 ตำบลตาเมียง พื้นที่ หมู่ที่ 1-15 ตำบลแนงมุด หมู่ที่ 1-14 ตำบลโคกตะเคียน หมู่ที่ 1-20 ตำบลกาบเชิง หมู่ที่ 1-18 ตำบลด่าน หมู่ที่ 1-9 ตำบลตะเคียน อำเภอพนมดงรัก ในพื้นที่หมู่ที่ 1-20 ตำบลบักได หมู่ที่ 1-12 ตำบลตาเมียง หมู่ที่ 1-12 ตำบลจีกแดก หมู่ที่ 1-11 ตำบลโคกกลาง จังหวัดสุรินทร์ ทั้ง 2 ตำบล เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ อันเนื่องจากกองกำลังจากนอกประเทศ[62]และพลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้แถลงตอนหนึ่งว่า ในเวลานี้ไม่จำเป็นต้องเจรจากับใครหากชาติไทยถูกลุกล้ำ หรือถูกภัยคุกคามประเทศ ก็พร้อมที่จะใช้กำลังตอบโต้จนถึงที่สุด[63] และได้สั่งการเตรียมพร้อมยกระดับแผนป้องกันประเทศ[64]
วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554 นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศให้ อำเภอกาบเชิง ยกเว้นอำเภอคูตัน อำเภอปราสาท บางอำเภอ จังหวัดสุรินทร์ เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ อันเนื่องจากกองกำลังจากนอกประเทศและมีทหารไทยเสียชีวิตเพิ่ม 1 นาย ด้านกัมพูชามีการอพยพประชาชนราว 5,000 คนในจังหวัดบันทายมีชัย โดยย้ายออกไป 30 กิโลเมตรจากเขตสู้รบ[65][66] วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554 ได้มีการปะทะกันเป็นวันที่สาม ทหารไทยเสียชีวิต 1 นายได้รับบาดเจ็บ 6 นาย[67]
ในวันเดียวกันสื่อข่าวต่างประเทศรายงานถึงโฆษกกลาโหมแห่งกัมพูชา พล.ท.ชุม สุชาติ ออกแถลงการณ์หลังจากได้ทราบเหตุว่ามีผู้เสียชีวิตชาวกัมพูชาถึง 3 คนจากอนุภาพปืนใหญ่ CEASAR ของกองทัพไทย ทำให้กลั้นน้ำตาไว้ไม่ไหว ร้องไห้ไม่สามารถแถลงการณ์ต่อไปได้[ต้องการอ้างอิง]
วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554 ได้มีการปะทะกันเป็นวันที่สี่ อาสาสมัครทหารพรานเสียชีวิต 1 นาย[68] นายเสริม ไชยณรงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ได้ประกาศให้พื้นที่ หมู่ที่ 1, 4, 6, 7, 9, 12, 13, 16, 18 ตำบลโคกสะอาด และหมู่ที่ 4, 12 ตำบลโชคนาสาม อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ อันเนื่องจากกองกำลังจากนอกประเทศ[69] พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ชี้แจงผ่านสื่อมวลชนว่าการจะประกาศสงครามกับประเทศกัมพูชาจำเป็นต้องให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบก่อน[70] กษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของไทย ประกาศทบทวนนโยบายต่างประเทศกับประเทศกัมพูชาทั้งหมด โดยอ้างว่าทางการกัมพูชาไม่ต้องการการเจรจาจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการ[71]
วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554 พันเอก ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหมของไทย ได้แถลงว่ากองทัพมีความพร้อมทางยุทโธปกรณ์ ที่จะปกป้องอธิปไตยของประเทศและตอบโต้ตามความเหมาะสม กับปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ถ้อยแถลงนี้เกิดขึ้นมีขึ้นหลังจากการประชุมสภากระทรวงกลาโหมได้เสร็จสิ้นลง และหลังจากรัฐมนตรีต่างประเทศประกาศทบทวนนโยบายด้านการต่างประเทศกับประเทศกัมพูชาทั้งหมด ในขณะที่การปะทะได้ลุกลามออกไปที่จังหวัดศรีสะเกษ ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์[72] มีรายงานว่าจนถึงขณะนี้ ทหารไทยเสียชีวิต 5 นาย และได้รับบาดเจ็บมากกว่า 35 นาย ส่วนทหารกัมพูชาเสียชีวิต 7 นาย ได้รับบาดเจ็บ 17 นาย และอีก 1 นายหายสาบสูญ[73][74]
วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554 ชาวบ้านอำเภอกาบเชิง เสียชีวิต 1 คน[75] พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของไทยเดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเป็นไปตามคำเชิญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจีน ทั้งนี้คาดว่าเป็นการหารือเรื่องความขัดแย้งไทย-กัมพูชา เนื่องจากกองทัพกัมพูชาได้รับการสนับสนุนจากประเทศจีน ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าว ได้มีสื่อกัมพูชาบางแห่งรายงานว่าไทยได้ยอมรับความพ่ายแพ้ที่เกิดขึ้น[76]
วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554 มีการยืนยันว่าทหารไทยเสียชีวิตเพิ่มอีก 2 นาย[77][78] ตั้งแต่เวลา 20.20 น.ทหารกัมพูชายิงปืน ค.60 เข้ามาบริเวณปราสาทตาควาย 4 ลูก[79]ส่งผลให้ทหารไทยได้รับบาดเจ็บ ส่วนประเทศกัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เพื่อขอให้ศาลตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 ที่ศาลได้ตัดสินเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 และในวันเดียวกันประเทศกัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเพื่อขอให้ศาลระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราวเพื่อรักษาสิทธิของกัมพูชาอย่างเร่งด่วน [80] วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554 ทหารไทยเสียชีวิตเพิ่มอีก 1 คน[81] โฆษกกองทัพไทยระบุว่าทหารไทยได้รับบาดเจ็บเพิ่มอีก 11 นาย รวมมีทหารได้รับบาดเจ็บรวม 58 นาย[82]
วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554 การสู้รบดำเนินต่อไปเป็นวันที่เก้า ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตหรือทหารไทยบาดเจ็บ 10 นาย[83] วันเดียวกัน แม่ทัพภาคที่ 2 พลโท ธวัชชัย สมุทรสาคร ได้อาศัยอำนาจพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2547 ให้พื้นที่ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพื้นที่ภัยสงคราม[84] นับเป็นครั้งแรกที่ทหารใช้อำนาจตามประกาศพระราชบัญญัติ กฎอัยการศึก พ.ศ. 2547 ซึ่งประกาศมาตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550[85] โดยขับไล่ประชาชนไม่อนุญาตให้อยู่ในพื้นที่ และประกาศเป็นเขตภัยสงคราม[86]พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณเดินทางกลับจากสาธารณรัฐประชาชนจีน[87]
วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ทหารไทยได้รับบาดเจ็บสองนายจากการปะทะ ที่ บริเวณปราสาทตาควาย ต.บักได อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์[88] ประชาชนเสียชีวิตที่ศูนย์อพยพสองรายสาเหตุจากความเครียดจากการปะทะตามแนวชายแดน[89] ฝ่ายกัมพูชามีทหารเสียชีวิต 1 นาย ทำให้เหตุการณ์ปะทะกันตั้งแต่เดือนเมษายนมีผู้เสียชีวิตแล้วรวม 17 คน แบ่งเป็นทหารกัมพูชา 9 นาย ทหารไทย 7 นาย และพลเรือนชาวไทยเสียชีวิต 1 คน ส่วนจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บนั้น ชาวไทยได้รับบาดเจ็บทั้งสิ้น 95 คน แบ่งเป็นทหาร 50 นาย และทหารกัมพูชาได้รับบาดเจ็บ 18 นาย[90][91] ด้านโฆษกกองทัพไทย พันเอกประวิทย์ หูแก้ว ระบุว่า ทั้งสองฝ่ายได้ปะทะกันด้วยอาวุธปืนอัตโนมัติตลอดคืนวันดังกล่าว และทางการไทยอ้างว่าไม่มีทหารไทยคนใดเสียชีวิตในเหตุปะทะกันดังกล่าว[92] ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมกัมพูชาออกแถลงการณ์ซึ่งประณามไทยจากเหตุปะทะกันนานสิบวัน มีใจความว่า "การรุกรานกัมพูชาของทหารไทยซ้ำแล้วซ้ำเล่าได้สร้างความเสียหายแก่กัมพูชาทีละน้อย นี่เป็นพฤติการณ์ที่ไม่อาจยอมรับได้"[93]
วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ผู้บัญชาการทหารบกสั่งเตรียมเคลื่อนย้ายกำลังกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์หน่วยพร้อมรบเคลื่อนที่เร็ว (อาร์ทีเอฟ) ของกองทัพบกนอกจากนี้ผู้บัญชาการทหารบกสั่งเตรียมเคลื่อนย้ายกำลังกองทัพภาคที่ 3 โดยมีการสนธิกำลังจาก กองพลทหารราบที่ 4 (พล.ร. 4) จำนวน 1 กองพัน[94] ทหารไทยเสียชีวิต 1 นาย[95]
การตีความคำพิพากษา
[แก้]วิดีโอหลายคลิปจากแหล่งข้อมูลภายนอก | |
---|---|
บันทึกเหตุการณ์ความขัดแย้งไทย-กัมพูชาบริเวณพื้นที่พิพาท ที่ยูทูบ |
หลังความขัดแย้งได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554 กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเพื่อขอให้ศาลตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 และในวันเดียวกันประเทศกัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลเดียวกันเพื่อขอให้ศาลระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราวเพื่อรักษาสิทธิของกัมพูชาอย่างเร่งด่วน ปัจจุบันคดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างกระบวนพิจารณาของศาล[96]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Request for Interpretation of the Judgement of 15 June 1962 in the Case Concerning the Temple of Preah Vihear (Cambodia v. Thailand)" (PDF). www.icj-cij.org. International Court of Justice. พฤศจิกายน 11, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ พฤศจิกายน 11, 2013. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 12, 2013.
- ↑ 1 KIA on October 15, 2008,[1] เก็บถาวร 2008-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 1 KIA on October 18, 2008,[2] 3 KIA on April 3, 2009,[3] 1 KIA on January 31, 2010,[4] 1 KIA on February 5, 2011,[5] 1 KIA on February 8, 2011,[6] 8 KIA April 22–May 3, 2011,[7] that makes a total of 16 killed
- ↑ "Thai soldier killed in Cambodia border clash". BBC News. สืบค้นเมื่อ February 5, 2011.
- ↑ 3 KIA on October 15, 2008,[8] เก็บถาวร 2008-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2 KIA on April 3, 2009,[9] 4 KIA February 4–7, 2011,[10][11] เก็บถาวร 2018-07-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน[12] 9 KIA April 22–May 3, 2011,[13] 1 KIA on July 23, 2011,[14] that makes a total of 19 killed
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 สมุดปกขาวชี้แจงการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
- ↑ "สภากลาโหมของไทยมีมติประท้วงกัมพูชาในกรณีเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-25. สืบค้นเมื่อ 2008-08-19.
- ↑ พล.ท.วิบูลย์ศักดิ์ หนีพาล แม่ทัพภาคที่ 2 ได้ประกาศพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกพ.ศ. 2547[ลิงก์เสีย]
- ↑ The Nation, PAD begins rallying in front of MFA building to protest Preah Vihear Temple map เก็บถาวร 2008-08-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, June 18, 2008.
- ↑ Saritdet Marukatat, The Bangkok Post, This land is my land![ลิงก์เสีย] June 18, 2008.
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, พันธมิตรฯ ทั่ว ปท.บุกกรุง!ฮือขับไล่“นพดล”ย่ำยีหัวใจไทย!! เก็บถาวร 2011-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 18 มิถุนายน 2551
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, พันธมิตรฯ มอบรายชื่อสมทบ ไทยคดีฯ มธ.ค้านขึ้นทะเบียนเขาพระวิหาร เก็บถาวร 2011-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 27 มิถุนายน 2551
- ↑ The Nation, Court to decide injunction on PAD-led protest Monday เก็บถาวร 2008-08-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Saturday June 28, 2008.
- ↑ "คำสั่งศาลปกครองกลางสั่งคุ้มครอง "ปราสาทพระวิหาร"" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-06. สืบค้นเมื่อ 2008-08-19.
- ↑ "ศึกชิงพื้นที่ รายงานสด ทีวีดิจิทัลสั่นกระแสตามข่าวเด็ดสะเทือนวงการ : สกู๊ปทีวีดิจิทัล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-04. สืบค้นเมื่อ 2008-08-19.
- ↑ "ข่าวด่วน-เขมรยิงอาร์พีจ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-02. สืบค้นเมื่อ 2011-05-22.
- ↑ ไทยทบทวนสัมพันธ์เขมรเรียกทูตกลับ[ลิงก์เสีย]
- ↑ 18.0 18.1 คนไทยหัวใจรักชาติเผาโลงประท้วง[ลิงก์เสีย]. โพสต์ทูเดย์. (31 ธันวาคม 2553). สืบค้น 31-12-2553.
- ↑ ศาลกัมพูชาไต่สวน "คณะ 7 คน" "วีระ" พ่วงข้อหา "จารกรรม". ประชาไท. (7 มกราคม 2554). สืบค้น 7-1-2554.
- ↑ 20.0 20.1 20.2 20.3 20.4 ยื่นหนังสือ'ยูเอ็น' เขมรจับ7คนไทย[ลิงก์เสีย]. เดลินิวส์. (2 มกราคม 2554). สืบค้น 2-1-2554.
- ↑ กัมพูชาตั้งข้อหา ส.ส.ไทยและพวก 6 คน ลอบเข้าประเทศ เก็บถาวร 2011-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สำนักข่าวไทย. (30 ธันวาคม 2553). สืบค้น 30-12-2553.
- ↑ จ่อยื่นประกันตัว 7คนไทย เมียพนิชบินเยี่ยม. ไทยรัฐ. (1 มกราคม 2554). สืบค้น 2-1-2554.
- ↑ การเคลื่อนไหว"ลับ" ปฏิบัติการ พนิช วิกิตเศรษฐ์ เบื้องหน้า เบื้องหลัง เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ข่าวสด. (31 ธันวาคม 2553). สืบค้น 31-12-2553.
- ↑ ประธาน กมธ. ร่วมรัฐสภา ปัดส่ง “พนิช” ลงพื้นที่ชายแดนสระแก้ว[ลิงก์เสีย]. สำนักข่าวไทย. (29 ธันวาคม 2553). สืบค้น 31-12-2553.
- ↑ เปิดหลักฐาน น.ส.3 ก ยัน"พนิช"ถูกเขมรจับในเขตไทย เก็บถาวร 2011-01-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ผู้จัดการ. (31 ธันวาคม 2553). สืบค้น 31-12-2553.
- ↑ "ชวนนท์"ยอมรับพนิชรุกล้ำกัมพูชาจริง เก็บถาวร 2011-01-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (31 ธันวาคม 2553). สืบค้น 31-12-2553.
- ↑ พท.ติงพนิชไม่ประสานเขมรก่อนเข้าพื้นที่[ลิงก์เสีย]. โพสต์ทูเดย์. (30 ธันวาคม 2553). สืบค้น 31-12-2553.
- ↑ 'สุนัย'แย้มเตรียมอภิปรายไม่ไว้วางใจกรณี'พนิช'. ไทยรัฐ. (1 มกราคม 2554). สืบค้น 2-1-2554.
- ↑ เมีย"พนิช"ได้เยี่ยมสามีแล้ว "บัวแก้ว"วอนคนไทยหัวใจรักชาติอย่าชุมนุม ชี้ส่งผลเสียต่อการเจรจา เก็บถาวร 2011-11-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. มติชน. (3 มกราคม 2553). สืบค้น 3-1-2554.
- ↑ สดศรียันพนิชยังมีสถานะเป็นส.ส.อยู่[ลิงก์เสีย]. คมชัดลึก. (5 มกราคม 2554). สืบค้น 5-1-2554.
- ↑ สื่อเขมรเผยพนิชให้การในศาล ขัดกับหลักฐานในคลิป เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ข่าวสด. (7 มกราคม 2554). สืบค้น 7-1-2554.
- ↑ พนิช ลองวีกเอนด์ !?[ลิงก์เสีย]. คมชัดลึก. (8 มกราคม 2554). สืบค้น 8-1-2554.
- ↑ ศาลกัมพูชาให้ประกันตัว"พนิช-นฤมล"แล้ว เก็บถาวร 2011-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สำนักข่าวไทย. (13 มกราคม 2554). สืบค้น 15-1-2554.
- ↑ พนิช<พ้นคุก เพราะแมงสาบ เก็บถาวร 2011-01-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ข่าวสด. (15 มกราคม 2554). สืบค้น 15-1-2554.
- ↑ เขมรให้ประกัน4คนไทย ขังยาว"วีระ" อ้างภัยมั่นคง-ไม่ปล่อย[ลิงก์เสีย]. แนวหน้า. (19 มกราคม 2554). สืบค้น 19-1-2554.
- ↑ ตัดสิน"เบา"5ไทย รออาญา พนิชบินกลับวันนี้[ลิงก์เสีย]. ข่าวสด. (22 มกราคม 2554). สืบค้น 22-1-2554.
- ↑ ไทยรบเขมรตามชายแดนปะทะกันนานกว่า 5 ชั่วโมง
- ↑ ทหารไทยได้รับบาดเจ็บ 2–3 นาย[ลิงก์เสีย]
- ↑ ทหารกัมพูชาเสียชีวิต 1 นาย และมีการจับกุมทหารไทยไป 5 นาย
- ↑ พลเรือนไทยคนหนึ่งเสียชีวิตจากกระสุนปืนใหญ่[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ทหารไทยและกัมพูชาปะทะกันอีกรอบ ทหารไทย 1 นาย ถูกจับกุมระหว่างการปะทะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-05. สืบค้นเมื่อ 2011-02-05.
- ↑ "CNN รายงานว่า ไทยได้ถล่มกัมพูชายับเยินโดยยิงปืนใหญ่ 155 มม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-05. สืบค้นเมื่อ 2011-02-05.
- ↑ "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศ พื้นที่ตำบลเสาธงชัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-11. สืบค้นเมื่อ 2011-04-23.
- ↑ "ประกาศให้ประชาชนเข้าไปในหลุมหลบภัย และมีการอพยพย้ายออกจากพื้นที่ของประชาชน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-02-06.
- ↑ 'ฮุนเซน'ไม่สำเร็จ ยูเอ็นปัด หย่าศึกไทย-เขมร
- ↑ Fragile truce holds on Thai-Cambodia border[ลิงก์เสีย]
- ↑ Another Thai soldier dies
- ↑ Thai army confirms one injury in fresh border clash
- ↑ "Thai-Cambodian Troops Clash Continue". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-17. สืบค้นเมื่อ 2011-03-18.
- ↑ ปาย สิฟาน โฆษกคณะรัฐมนตรีกัมพูชาปฏิเสธว่ากัมพูชาเป็นฝ่ายเริ่มก่อน และกล่าวตรงกันข้าม
- ↑ Vietnamese tanks moving to Preah Vihear
- ↑ Thai TV was warned about its coverage
- ↑ "Thailand and Cambodia to accept monitors for border row". News Asia-Pacific. BBC. 22 February 2011. สืบค้นเมื่อ February 23, 2011.
- ↑ 54.0 54.1 "Thailand admits controversial weapon use". News. Agence France-Presse. April 7, 2011.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Cambodia says fighting resumes along Thai border เก็บถาวร 2011-05-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, KPLC TV.
- ↑ "ทหารไทย-กัมพูชา เกิดการปะทะกันขึ้นบริเวณจังหวัดสุรินทร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-04-22.
- ↑ ปะทะเดือด-ทหารไทยเสียกัมพูชา[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ทหารไทยบาดเจ็บอีก 14 นาย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-04-24.
- ↑ มีการพบลูกกระสุนปืนใหญ่ฝ่ายทหารเขมรยิงเข้าตกมายังฝั่งไทยที่บริเวณฝายน้ำล้น[ลิงก์เสีย]
- ↑ "กต.ทำหนังสือประท้วงกัมพูชา 20%อย่างรุนแรงเกี่ยวกับเหตุการณ์ปะทะที่ปราสาทตาควาย20% จ.สุรินทร์20%"[ลิงก์เสีย]
- ↑ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ได้ประกาศอำเภอบ้านกรวดเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติภาวะสงครามทั้งอำเภอ[ลิงก์เสีย]
- ↑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศให้ บริเวณปราสาทตาเมือนธม เป็นพื้นที่ประสบภัย[ลิงก์เสีย]
- ↑ ผบ.ทหารสูงสุดลั่น 3 เหล่าทัพพร้อมรับมือและตอบโต้หากมีผู้ลุกล้ำอธิปไตยของชาติ
- ↑ ได้สั่งการเตรียมพร้อมยกระดับแผนป้องกันประเทศ[ลิงก์เสีย]
- ↑ Gun battle resumes on Thai border, Sydney Morning Herald.
- ↑ Xinhua.net
- ↑ สุรินทร์-ปะทะรอบสองทหารไทยเจ็บ-6-อพยพชาวบ้าน-5-ตำบล.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "การปะทะกันเป็นวันที่สี่ อาสาสมัครทหารพรานเสียชีวิต 1 นาย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-29. สืบค้นเมื่อ 2011-04-25.
- ↑ จังหวัดสุรินทร์เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ อันเนื่องจากกองกำลังจากนอกประเทศ[ลิงก์เสีย]
- ↑ พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา ได้ชี้แจงผ่านสื่อมวลชนว่าการจะประกาศสงครามกับประเทศกัมพูชา[ลิงก์เสีย]
- ↑ กษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของไทย ประกาศทบทวนนโยบายต่างประเทศ[ลิงก์เสีย]
- ↑ โฆษกกระทรวงกลาโหมของไทย ได้แถลงว่ากองทัพมีความพร้อมทางยุทโธปกรณ์[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Thai, Cambodia troops clash again; peace hopes fade". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-02. สืบค้นเมื่อ 2011-04-26.
- ↑ "ทหารไทย-กัมพูชาปะทะสูญเสียชีวิตหลายนาย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-27. สืบค้นเมื่อ 2011-04-30.
- ↑ "ชาวบ้านอำเภอกาบเชิง เสียชีวิต 1 คน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-04-27.
- ↑ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของไทยเดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน
- ↑ 28 เมษา 54 มีทหารสูญเสียไปอีก 2 นาย
- ↑ Royal Caribbean’s Plan To Carry Unvaccinated Passengers Draws Mixed Reactions From Its Fan Base[ลิงก์เสีย]
- ↑ ทหารกัมพูชายิงปืน ค.60[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประเทศกัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เพื่อขอให้ศาลตีความคำพิพากษา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-05-16. สืบค้นเมื่อ 2011-05-07.
- ↑ ข้อตกลงหยุดยิง[ลิงก์เสีย]
- ↑ โฆษกกองทัพไทยระบุว่าทหารไทยได้รับบาดเจ็บเพิ่มอีก 11 นาย รวมมีทหารได้รับบาดเจ็บรวม 58 นาย
- ↑ การสู้รบดำเนินต่อไปเป็นวันที่เก้า ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตหรือทหารไทยบาดเจ็บ 10 นาย[ลิงก์เสีย]
- ↑ อำนาจพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2547 ให้พื้นที่ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพื้นที่ภัยสงคราม[ลิงก์เสีย]
- ↑ อำนาจตามประกาศพระราชบัญญัติ กฎอัยการศึก พ.ศ. 2547 ซึ่งประกาศมาตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550
- ↑ ประกาศพื้นที่ภัยสงคราม[ลิงก์เสีย]
- ↑ "พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณเดินทางกลับจากสาธารณรัฐประชาชนจีน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-02. สืบค้นเมื่อ 2011-05-02.
- ↑ "ทหารไทยได้รับบาดเจ็บสองนายจากการปะทะ ที่ บริเวณปราสาทตาควาย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-05. สืบค้นเมื่อ 2011-05-01.
- ↑ "ประชาชนเสียชีวิตที่ศูนย์อพยพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-03. สืบค้นเมื่อ 2011-05-01.
- ↑ Thai, Cambodian troops clash again at border
- ↑ "10 Thai troops injured after 'light weapons' clashes on border". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-23. สืบค้นเมื่อ 2011-05-02.
- ↑ apasthailandcambodiaclash.html The Seattle Times - Thai, Cambodian troops clash again at border
- ↑ English.news.cn - Cambodia's army condemns Thailand for 10 straight days of arms attacks
- ↑ "หน่วยพร้อมรบเคลื่อนที่เร็ว (อาร์ทีเอฟ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-02. สืบค้นเมื่อ 2011-05-02.
- ↑ ปะทะอีกใกล้ปราสาทตาควาย-ทหารไทยเสียชีวิต-1.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ศาลโลกสรุปคำให้การเขมรให้ไทยถอนกำลังทันที-ไทยขอให้ยกคำร้องออกจากสารบบ
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]แผนที่ดินแดน
[แก้]- Map of the regained modern day Cambodia's territories during 1941 เก็บถาวร 2008-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (The part highlighted in red is Battambang Province; blue is Pibulsongkram Province; green is Nakhon Champasak Province)
- Map of the regained modern day Laos' territories during 1941 เก็บถาวร 2008-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (The part highlighted in black and white-stripe is Lan Chang Province)
ศาลโลก
[แก้]- 1962 Final Judgment of Preah Vihear Temple เก็บถาวร 2008-09-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - International Court of Justice
- ความขัดแย้ง
- ประเทศกัมพูชา
- ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของประเทศไทย
- กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตไทย
- กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตกัมพูชา
- กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- อาณาเขตที่เป็นข้อพิพาทในอดีต
- ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2551
- ความสัมพันธ์กัมพูชา–ไทย
- เหตุการณ์ในจังหวัดศรีสะเกษ
- เหตุการณ์ในจังหวัดสุรินทร์
- เหตุการณ์ในจังหวัดบุรีรัมย์
- อำเภอกันทรลักษ์
- อำเภอกาบเชิง
- อำเภอพนมดงรัก
- อำเภอปราสาท
- อำเภอบ้านกรวด
- ข้อโต้เถียงในประเทศไทย