คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63
การแก้ไขบทความนี้ของผู้ใช้ใหม่หรือผู้ใช้ไม่ลงทะเบียนถูกปิดใช้งาน ดูนโยบายการป้องกันและปูมการป้องกันสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม หากคุณไม่สามารถแก้ไขบทความนี้และคุณประสงค์เปลี่ยนแปลง คุณสามารถส่งคำขอแก้ไข อภิปรายการเปลี่ยนแปลงทางหน้าคุย ขอเลิกป้องกัน ล็อกอิน หรือสร้างบัญชี |
คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 (1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 3 กันยายน พ.ศ. 2567) เป็นคณะรัฐมนตรีไทยซึ่งจัดตั้งขึ้นภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ส่งผลให้ไม่มีพรรคใดครองเสียงข้างมากเด็ดขาดในรัฐสภา
ในระยะแรก พรรคก้าวไกลเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลผสมโดยรวบรวมเสียงพรรคการเมืองจำนวน 6 พรรค ต่อมาเพิ่มเป็น 8 พรรค และลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน เพื่อเสนอชื่อพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 แต่พิธาได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมร่วมรัฐสภาไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด พรรคก้าวไกลจึงมอบสิทธิ์ในการจัดตั้งรัฐบาลให้กับพรรคเพื่อไทย
พรรคเพื่อไทยได้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจดังกล่าว จากนั้นรวบรวมเสียงพรรคการเมืองในรอบใหม่ ได้จำนวน 11 พรรค และเสนอชื่อเศรษฐา ทวีสิน อดีตประธานอำนวยการ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30
เศรษฐาได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมร่วมรัฐสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566[1] และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งในวันเดียวกัน[2] ต่อมามีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กันยายน[3] โดยเศรษฐาได้นำคณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าฯ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณและเข้ารับหน้าที่เมื่อวันที่ 5 กันยายน[4] และแถลงนโยบายต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อเริ่มต้นการบริหารรัฐกิจเมื่อวันที่ 11 และ 12 กันยายน[5]
เศรษฐาถูกศาลรัฐธรรมนูญถอดถอนออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ส่งผลให้คณะรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ[6] ยกเว้นเศรษฐา คณะรัฐมนตรียังคงปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่อง โดยมีภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี[7] และสิ้นสุดลงในทางพฤตินัยเมื่อแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ได้นำคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 64 ที่แต่งตั้งใหม่เมื่อวันที่ 3 กันยายน เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณและเข้ารับหน้าที่เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 6 กันยายน
ประวัติ
การจัดตั้งรัฐบาลโดยพรรคก้าวไกล
ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 พรรคก้าวไกลซึ่งได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นอันดับที่ 1 ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลในครั้งแรก โดยชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล ทำหน้าที่ผู้จัดการรัฐบาล รวบรวมพรรคการเมืองซึ่งเคยเป็นพรรคร่วมฝ่ายค้านในรัฐบาลชุดก่อนหน้าทั้งหมดที่ได้รับการเลือกตั้งในครั้งนี้มาร่วมจัดตั้งรัฐบาล ได้แก่ พรรคเพื่อไทย พรรคประชาชาติ พรรคไทยสร้างไทย และพรรคเสรีรวมไทย[8] และยังมีพรรคที่เข้าร่วมเพิ่มเติมภายหลังได้แก่ พรรคเป็นธรรม[9] พรรคพลังสังคมใหม่ และพรรคเพื่อไทรวมพลัง[10] โดยมีการแถลงข่าวจัดตั้งรัฐบาลเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ซึ่งทั้ง 8 พรรคมีมติสนับสนุนพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค และบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีจากพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย, จัดตั้งคณะทำงานเปลี่ยนผ่านรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาด้านต่าง ๆ[11] และจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) จัดตั้งรัฐบาล ซึ่งถือเป็นการจัดตั้งรัฐบาลด้วยวิธีนี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย[12] จากนั้นมีข่าวว่าพรรคใหม่และพรรคชาติพัฒนากล้าได้ตกลงเข้าร่วมรัฐบาลด้วย แต่ถูกคัดค้านจากประชาชนจึงถอนตัวในเวลาต่อมา[13][14]
บันทึกความเข้าใจจัดตั้งรัฐบาล
ทั้ง 8 พรรคได้ลงนามบันทึกความเข้าใจจัดตั้งรัฐบาลเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 9 ปีของเหตุการณ์รัฐประหาร พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในเวลาที่ใกล้เคียงกับเวลารัฐประหาร[12] โดยบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ยึดหลักการผลักดันนโยบายที่ไม่กระทบรูปแบบของรัฐ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดละเมิดไม่ได้ของพระมหากษัตริย์ ซึ่งหมายถึง ไม่มีวาระการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 อยู่ในบันทึกความเข้าใจฉบับนี้[15] ประกอบด้วยวาระร่วม 23 ข้อ และแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อ ซึ่งบรรจุประเด็นสำคัญต่าง ๆ เช่น การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ผ่านสภาร่างรัฐธรรมนูญ, สมรสเท่าเทียม, การปฏิรูปกองทัพและตำรวจ, การเกณฑ์ทหารแบบสมัครใจ, การกระจายอำนาจ และการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เป็นต้น[16]
การจัดตั้งรัฐบาลโดยพรรคเพื่อไทย
ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีรอบแรกเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พิธาได้รับการลงมติเห็นชอบให้เป็นนายกรัฐมนตรีจากที่ประชุมร่วมรัฐสภาเพียง 324 เสียง ซึ่งไม่ถึง 376 เสียงตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดไว้[17] และวันที่ 19 กรกฎาคม มีการเสนอชื่อพิธาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง แต่รัฐสภามีมติให้การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีถือเป็นญัตติซ้ำ ทำให้ไม่สามารถเสนอชื่อพิธาได้อีกในสมัยประชุมเดียวกัน[18] สองวันถัดมา ชัยธวัชจึงประกาศมอบสิทธิ์ให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลแทน โดยกล่าวว่ามีกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับตนไม่ยอมให้พรรคก้าวไกลจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ[19]
วันรุ่งขึ้น พรรคเพื่อไทยจึงได้เริ่มต้นเจรจากับพรรคภูมิใจไทย[20] พรรคชาติพัฒนากล้า[21] และพรรครวมไทยสร้างชาติ[22] และวันถัดมาเจรจากับพรรคชาติไทยพัฒนา[23] และพรรคพลังประชารัฐ[24] ซึ่งทั้ง 5 พรรคระบุตรงกันว่าไม่ร่วมรัฐบาลที่มีพรรคการเมืองที่มีนโยบายยกเลิกหรือแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ต่อมาเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พรรคเพื่อไทยประกาศเสนอชื่อเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี ให้ที่ประชุมร่วมรัฐสภาลงมติ[25] จากนั้นเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พรรคเพื่อไทยยกเลิกบันทึกความเข้าใจในการจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคก้าวไกล[26] และเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พรรคเพื่อไทยได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคภูมิใจไทย โดยมีเงื่อนไขไม่แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, ไม่จัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย และไม่นำพรรคก้าวไกลมาร่วมรัฐบาล[27] จากนั้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม มีพรรคที่เข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทยเพิ่มเติมคือ พรรคประชาชาติ พรรคชาติพัฒนากล้า พรรคเพื่อไทรวมพลัง พรรคเสรีรวมไทย พรรคพลังสังคมใหม่ และพรรคท้องที่ไทย[28] และวันถัดมาเพิ่มพรรคชาติไทยพัฒนาเข้ามาด้วย[29] ต่อมามีกระแสข่าวว่าพรรคเพื่อไทยจะได้รับเสียงสนับสนุนจากพรรคพลังประชารัฐและพรรครวมไทยสร้างชาติ และอาจดึงมาร่วมจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งขัดกับหลักการที่พรรคเพื่อไทยหาเสียงไว้ในช่วงเลือกตั้ง ทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชน[30] พรรคก้าวไกลจึงมีมติเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมว่า จะไม่สนับสนุนให้บุคคลที่ได้รับเสนอชื่อจากพรรคเพื่อไทยเป็นนายกรัฐมนตรี[31] วันเดียวกัน พรรคเพื่อไทยมีมติเสนอชื่อเศรษฐาให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี[32] สองวันถัดมาพรรครวมไทยสร้างชาติแถลงร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย[33]
และเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พรรคเพื่อไทยได้นำพรรคการเมืองทั้งหมดที่ตกลงเข้าร่วมรัฐบาล รวมถึงพรรคพลังประชารัฐ รวมจำนวน 11 พรรค มาร่วมกันแถลงข่าวจัดตั้งรัฐบาล โดยมีการจัดสรรกระทรวงภายในพรรคร่วมตามสัดส่วน และทุกพรรคตกลงที่จะร่วมผลักดันนโยบายหลักของพรรคเพื่อไทย เช่น โครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท, การเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ, การเกณฑ์ทหารโดยสมัครใจ รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ[34] สุดท้าย ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่สาม เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม เศรษฐาได้รับการลงมติเห็นชอบให้เป็นนายกรัฐมนตรีจากที่ประชุมร่วมรัฐสภา เป็นจำนวน 482 ต่อ 165 เสียง งดออกเสียง 81 เสียง ส่งผลให้เศรษฐาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย[35]
การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีและการปฏิบัติหน้าที่
วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่[3] โดยการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่ในครั้งนี้เกิดขึ้นภายหลังการเลือกตั้งเป็นระยะเวลา 110 วัน นับเป็นคณะรัฐมนตรีที่ใช้เวลาจัดตั้งนานที่สุดในประวัติศาสตร์คณะรัฐมนตรีไทย
พรรคเพื่อไทยได้สัดส่วนผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีชุดนี้มากที่สุด จำนวน 17 คน 20 ตำแหน่ง รองลงมาเป็นพรรคภูมิใจไทย 8 คน 9 ตำแหน่ง, พรรครวมไทยสร้างชาติ 4 คน 5 ตำแหน่ง (รวมโควตาบุคคลภายนอก), พรรคพลังประชารัฐ 3 คน 4 ตำแหน่ง, พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคประชาชาติ พรรคละ 1 คน 1 ตำแหน่ง ทั้งนี้ เศรษฐาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพิ่มอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย
ในคณะรัฐมนตรีชุดนี้ สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล เป็นรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุด (41 ปี) ขณะที่เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เป็นรัฐมนตรีที่อายุมากที่สุด (77 ปี)[36] และมีผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีที่เป็นสตรีจำนวน 5 คน[37]
วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 13:53 น. เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ รวมจำนวน 34 คน เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่[38] จากนั้นในวันรุ่งขึ้นได้มีการประชุมนัดพิเศษ[39] ก่อนเข้าแถลงนโยบายต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อเริ่มต้นการบริหารรัฐกิจเมื่อวันที่ 11 และ 12 กันยายน[5] และได้เริ่มประชุมคณะรัฐมนตรีนัดแรกอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 กันยายน[40]
การปรับคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 มีการปรับคณะรัฐมนตรีเพียงครั้งเดียว คือเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567 มีรัฐมนตรีถูกปรับออก 4 คน ถูกโยกย้าย 6 คน และแต่งตั้งเพิ่ม 8 คน[41] แต่ในวันถัดมามีรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง 1 คน จึงมีการแต่งตั้งเพิ่มเมื่อวันที่ 30 เมษายน[42] และจากการปรับคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ทำให้จิราพร สินธุไพร เป็นรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุดในคณะรัฐมนตรีชุดนี้ (36 ปี) แทนสุดาวรรณในทันที[43] โดยเศรษฐาได้นำรัฐมนตรีที่แต่งตั้งใหม่ในครั้งนี้เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม เวลา 18:05 น.[44]
รายชื่อรัฐมนตรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง | ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี | ดำรงตำแหน่งจนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี | ||
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง | แต่งตั้งเพิ่ม | เปลี่ยนแปลง/โยกย้ายไปตำแหน่งอื่น | ||
รัฐมนตรีลอย | ย้ายมาจากตำแหน่งอื่น | ออกจากตำแหน่ง |
ตำแหน่ง | ลำดับ | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ | พรรคการเมือง | ||||
นายกรัฐมนตรี | * | เศรษฐา ทวีสิน | 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566 | 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 | พ้นจากตำแหน่งตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ | เพื่อไทย | ||||
ภูมิธรรม เวชยชัย | 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 | 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567 | ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี | เพื่อไทย | ||||||
รองนายกรัฐมนตรี | 1 | ภูมิธรรม เวชยชัย | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | เพื่อไทย | |||||
สมศักดิ์ เทพสุทิน | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 | ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | เพื่อไทย | ||||||
ปานปรีย์ พหิทธานุกร | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 | คงเหลือเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | เพื่อไทย | ||||||
2 | สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | เพื่อไทย | ||||||
3 | พิชัย ชุณหวชิร | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | เพื่อไทย[a] | ||||||
4 | อนุทิน ชาญวีรกูล | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ภูมิใจไทย | ||||||
5 | พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | พลังประชารัฐ | ||||||
6 | พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | รวมไทยสร้างชาติ | ||||||
สำนักนายกรัฐมนตรี | พวงเพ็ชร ชุนละเอียด | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 | พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี | เพื่อไทย | |||||
7 | จักรพงษ์ แสงมณี | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | เพื่อไทย | ||||||
พิชิต ชื่นบาน | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 | 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 | ลาออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | ||||||
9 | จิราพร สินธุไพร | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | เพื่อไทย | ||||||
กลาโหม | 10 | สุทิน คลังแสง | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | เพื่อไทย | |||||
การคลัง | เศรษฐา ทวีสิน | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 | คงเหลือเฉพาะนายกรัฐมนตรี | เพื่อไทย | |||||
* | พิชัย ชุณหวชิร | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | เพื่อไทย[a] | ||||||
กฤษฎา จีนะวิจารณะ | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 | ลาออกจากตำแหน่ง | รวมไทยสร้างชาติ[b] | ||||||
12 | จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | เพื่อไทย | ||||||
13 | เผ่าภูมิ โรจนสกุล | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | เพื่อไทย | ||||||
การต่างประเทศ | ปานปรีย์ พหิทธานุกร | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 28 เมษายน พ.ศ. 2567 | ลาออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | |||||
14 | มาริษ เสงี่ยมพงษ์ | 30 เมษายน พ.ศ. 2567 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | เพื่อไทย | ||||||
จักรพงษ์ แสงมณี | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 | ไปเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | เพื่อไทย | ||||||
การท่องเที่ยวและกีฬา | สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 | ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม | เพื่อไทย | |||||
15 | เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | เพื่อไทย | ||||||
การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ | 16 | วราวุธ ศิลปอาชา | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ชาติไทยพัฒนา | |||||
การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | 17 | ศุภมาส อิศรภักดี | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ภูมิใจไทย | |||||
เกษตรและสหกรณ์ | 18 | ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | พลังประชารัฐ | |||||
ไชยา พรหมา | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 | พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี | เพื่อไทย | ||||||
อนุชา นาคาศัย | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 | พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี | รวมไทยสร้างชาติ | ||||||
19 | อรรถกร ศิริลัทธยากร | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | พลังประชารัฐ | ||||||
คมนาคม | * | สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | เพื่อไทย | |||||
20 | มนพร เจริญศรี | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | เพื่อไทย | ||||||
21 | สุรพงษ์ ปิยะโชติ | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | เพื่อไทย[a] | ||||||
ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม | 22 | ประเสริฐ จันทรรวงทอง | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | เพื่อไทย | |||||
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | * | พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | พลังประชารัฐ | |||||
พลังงาน | * | พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | รวมไทยสร้างชาติ | |||||
พาณิชย์ | * | ภูมิธรรม เวชยชัย | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | เพื่อไทย | |||||
23 | นภินทร ศรีสรรพางค์ | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ภูมิใจไทย | ||||||
24 | สุชาติ ชมกลิ่น | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | รวมไทยสร้างชาติ | ||||||
มหาดไทย | * | อนุทิน ชาญวีรกูล | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ภูมิใจไทย | |||||
25 | ทรงศักดิ์ ทองศรี | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ภูมิใจไทย | ||||||
26 | ชาดา ไทยเศรษฐ์ | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ภูมิใจไทย | ||||||
27 | เกรียง กัลป์ตินันท์ | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | เพื่อไทย | ||||||
ยุติธรรม | 28 | พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ประชาชาติ | |||||
แรงงาน | 29 | พิพัฒน์ รัชกิจประการ | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ภูมิใจไทย | |||||
วัฒนธรรม | เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 | ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา | เพื่อไทย | |||||
30 | สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | เพื่อไทย | ||||||
ศึกษาธิการ | 31 | พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ภูมิใจไทย | |||||
32 | สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | ภูมิใจไทย | ||||||
สาธารณสุข | ชลน่าน ศรีแก้ว | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 | พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี | เพื่อไทย | |||||
33 | สมศักดิ์ เทพสุทิน | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | เพื่อไทย | ||||||
34 | สันติ พร้อมพัฒน์ | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | พลังประชารัฐ | ||||||
อุตสาหกรรม | 35 | พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล | 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | 3 กันยายน พ.ศ. 2567 | รวมไทยสร้างชาติ |
หมายเหตุ:
- ↑ 1.0 1.1 1.2 ถูกทาบทามเข้ามาในโควตาบุคคลภายนอกของพรรคเพื่อไทย
- ↑ ถูกทาบทามเข้ามาในโควตาบุคคลภายนอกของพรรครวมไทยสร้างชาติ
คณะรัฐมนตรีเศรษฐา 1/1[3]
- นาย เศรษฐา ทวีสิน เป็น นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- นาย ภูมิธรรม เวชยชัย เป็น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นาย สมศักดิ์ เทพสุทิน เป็น รองนายกรัฐมนตรี
- นาย ปานปรีย์ พหิทธานุกร เป็น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นาย อนุทิน ชาญวีรกูล เป็น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ เป็น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- นาย พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
- นาง พวงเพ็ชร ชุนละเอียด เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นาย สุทิน คลังแสง เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- นาย กฤษฎา จีนะวิจารณะ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นาย จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นาย จักรพงษ์ แสงมณี เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นางสาว สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
- นาย วราวุธ ศิลปอาชา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- นาง ศุภมาส อิศรภักดี เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นาย ไชยา พรหมา เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นาย อนุชา นาคาศัย เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นาย สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- นาง มนพร เจริญศรี เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นาย สุรพงษ์ ปิยะโชติ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นาย ประเสริฐ จันทรรวงทอง เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- นาย นภินทร ศรีสรรพางค์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นาย เกรียง กัลป์ตินันท์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นาย ทรงศักดิ์ ทองศรี เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นาย ชาดา ไทยเศรษฐ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- นาย พิพัฒน์ รัชกิจประการ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
- นาย เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
- พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นาย สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นาย สันติ พร้อมพัฒน์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นาง พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- นายสัตวแพทย์ ชัย วัชรงค์ เป็น โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นาย คารม พลพรกลาง เป็น รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นาง รัดเกล้า สุวรรณคีรี เป็น รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นางสาว เกณิกา อุ่นจิตร์ เป็น รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ภายหลัง
รัฐมนตรีจำนวน 6 ราย พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี มีผลวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567
- นาย เศรษฐา ทวีสิน (เฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)
- นาย ปานปรีย์ พหิทธานุกร (เฉพาะรองนายกรัฐมนตรี)
- นาง พวงเพ็ชร ชุนละเอียด (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)
- นาย ไชยา พรหมา (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
- นาย อนุชา นาคาศัย (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
- นายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีเศรษฐา 1/2[45]
- นาย จักรพงษ์ แสงมณี (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ) เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นาย เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
- นางสาว สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
- นาย สมศักดิ์ เทพสุทิน (รองนายกรัฐมนตรี) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นาย สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็น รองนายกรัฐมนตรี อีกตำแหน่งหนึ่ง
- นาย พิชัย ชุณหวชิร เป็น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- นาย พิชิต ชื่นบาน เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นางสาว จิราพร สินธุไพร เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นาย เผ่าภูมิ โรจนสกุล เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นาย อรรถกร ศิริลัทธยากร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นาย สุชาติ ชมกลิ่น เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ภายหลัง
มีรัฐมนตรีจำนวน 3 ราย ขอลาออกจากตำแหน่ง ดังนี้
- นาย ปานปรีย์ พหิทธานุกร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ลาออกเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2567[46]
- นาย กฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ลาออกเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2567[47]
- นาย พิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ลาออกเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2567[48]
- นาย มาริษ เสงี่ยมพงษ์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[49]
การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยถอดถอนเศรษฐาพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากกรณีทูลเกล้าฯ แต่งตั้งพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้ง ๆ ที่พิชิตเป็นบุคคลที่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี[50] ทำให้เศรษฐาต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นผลให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง แต่ในระหว่างนี้คณะรัฐมนตรีทั้งหมดยกเว้นตัวนายกรัฐมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งไปก่อน และสิ้นสุดลงในทางพฤตินัยเมื่อแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ได้นำคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 64 ที่แต่งตั้งใหม่เมื่อวันที่ 3 กันยายน เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณและเข้ารับหน้าที่เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 6 กันยายน
นโยบาย
คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 ได้เข้าแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 11 และ 12 กันยายน[5] โดยมีนโยบายระยะเร่งด่วน 5 นโยบาย ดังนี้
- โครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า และวางรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ
- การแก้ปัญหาหนี้สินในภาคการเกษตร ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน เช่น การพักหนี้เกษตรกร การประคองภาระหนี้ให้กับกลุ่มเอสเอ็มอี
- การลดค่าไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม น้ำมันเชื้อเพลิง และปรับเปลี่ยนโครงสร้างพลังงาน โดยเน้นส่งเสริมพลังงานสะอาดและพลังงานทดแทน
- การสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว เช่น ปรับปรุงขั้นตอนการตรวจลงตราก่อนเข้าประเทศ เพิ่มสนามบินและเที่ยวบินเข้าประเทศไทย
- การแก้ปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ไม่มีการปรับแก้เนื้อหาในหมวดบททั่วไป และหมวดพระมหากษัตริย์
ส่วนนโยบายระยะกลางและระยะยาว เน้นการสร้างรายได้ โอกาส และคุณภาพชีวิตเป็นหลัก โดยแตกย่อยได้เป็นอย่างน้อย 22 นโยบาย นโยบายที่สำคัญในกลุ่มนี้ เช่น การยกระดับ 30 บาทรักษาทุกโรค, การพัฒนากองทัพ ซึ่งเน้นการปรับรูปแบบการเกณฑ์ทหารเป็นแบบสมัครใจ, 1 ครอบครัว 1 ทักษะซอฟต์พาวเวอร์ เป็นต้น[51]
ข้อเท็จจริง
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (พฤศจิกายน 2023) |
นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 เริ่มทำงาน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ในภาวะวิกฤติอันเนื่องมาจากความไม่แน่นอนในนโยบายของรัฐบาลอย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อน กล่าวคือ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่เคยตกต่ำลงเนื่องจากนโยบายของรัฐบาล แต่โครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท ทำให้นักลงทุนต่างประเทศขาดความเชื่อมั่น[52] ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2567 ตลาดหลักทรัพย์ปิดที่ 1,332.08 จุด ลดลง 14.934% นับจากปิดตลาดในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เวลา 17.00 น.[53]
แม้ว่านายกรัฐมนตรีจะได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 แต่ภายหลังที่รักษาการสมาชิกวุฒิสภาชุดดังกล่าวจำนวน 40 คน ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ก็ส่อให้เห็นถึงความขัดแย้งระหว่างรักษาการสมาชิกวุฒิสภากับนายกรัฐมนตรี โดยศาลอาจสั่งให้นายกรัฐมนตรีหยุดปฏิบัติหน้าที่หรือพ้นจากตำแหน่งในกรณีการแต่งตั้ง นายพิชิต ชื่นบาน
ข้อวิจารณ์
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (พฤศจิกายน 2023) |
ฉายารัฐบาล
คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 ได้รับการตั้งฉายาเพียงปีเดียว คือในปี พ.ศ. 2566 ดังนี้[54]
- ฉายารัฐบาล : แกงส้ม "ผลัก" รวม
- ฉายารัฐมนตรี :
- เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง : เซลล์แมนสแตนด์ "ชิน"
- ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ : รองกอง
- สุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม : พลิกทินสู่ดาว
- พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม : ทวี สอดไส้
- ชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย : มาเฟียละเหี่ยใจ
- วาทะแห่งปี : ผมจะทำงานไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
ดูเพิ่ม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566
- สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26
- การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2566
อ้างอิง
- ↑ "Who is Srettha Thavisin, Thailand's next prime minister?". Reuters. 22 August 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2023. สืบค้นเมื่อ 9 October 2023.
- ↑ "Srettha royally endorsed as new PM". The Bangkok Post. 23 August 2023. สืบค้นเมื่อ 9 October 2023.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (พิเศษ 214 ง): 1–3. 2023-09-02. สืบค้นเมื่อ 2023-09-02.
- ↑ "The New Srettha Thavisin Cabinet Is Royally Appointed". Khaosaod English. 2 September 2023. สืบค้นเมื่อ 9 October 2023.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "ปิดฉากประชุมรัฐสภาแถลงนโยบาย เปิดฉากรัฐบาลใหม่ใต้การนำของ 'เศรษฐา ทวีสิน'". เดอะสแตนดาร์ด. 2023-09-13. สืบค้นเมื่อ 2023-09-28.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Bloomberg, Patpicha Tanakasempipat and Suttinee Yuvejwattana / (2024-08-14). "Thai Prime Minister Srettha Thavisin Removed From Office by Court". TIME (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-08-14.
- ↑ "Srettha dismissed as PM after court ruling". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-08-14.
- ↑ ""ชัยธวัช" รับบทมือดีล "พรรคฝ่ายค้านเดิม" ตั้งรัฐบาล นัดคุย "พท." เป็นหลัก "พิธา" ต่อสายทีละพรรค เล็งส่งคนถก "ส.ว." ปรับความเข้าใจ". สยามรัฐ. 2023-05-16. สืบค้นเมื่อ 2023-08-25.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เลือกตั้ง 2566 : ภาพแรกแกนนำ 6 พรรค "จับมือ" ตั้งรัฐบาลร่วมกับก้าวไกล". บีบีซีไทย. 2023-05-17. สืบค้นเมื่อ 2023-06-10.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เกาะติดสูตรจัดตั้งรัฐบาล ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2566". เดอะ แมทเทอร์. 2023-05-19. สืบค้นเมื่อ 2023-06-10.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "พรรคร่วมรัฐบาล จ่อลงนาม MOU 22 พ.ค. ครบรอบ 9 ปีรัฐประหาร". ประชาชาติธุรกิจ. 2023-05-18. สืบค้นเมื่อ 2023-06-10.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 12.0 12.1 "เลือกตั้ง 2566 : แก้ ม. 112-นิรโทษกรรมคดีการเมือง นโยบายก้าวไกลที่หายไปจาก MOU ตั้งรัฐบาล 8 พรรค". บีบีซีไทย. 2023-05-22. สืบค้นเมื่อ 2023-05-23.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""ก้าวไกล" ขอโทษประชาชน ยุติเจรจา ไม่ดึง "ชาติพัฒนากล้า" ร่วมรัฐบาล". พีพีทีวี. 2023-05-20. สืบค้นเมื่อ 2023-06-10.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เลือกตั้ง2566 : "พรรคใหม่" ถอนตัวร่วมรัฐบาลกับ "ก้าวไกล" - ยังโหวต "พิธา" เป็นนายกฯ". ไทยพีบีเอส. 2023-05-20. สืบค้นเมื่อ 2023-06-10.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เลือกตั้ง 2566 : แก้ ม. 112-นิรโทษกรรมคดีการเมือง นโยบายก้าวไกลที่หายไปจาก MOU ตั้งรัฐบาล 8 พรรค". บีบีซีไทย. 2023-05-22. สืบค้นเมื่อ 2023-05-23.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เลือกตั้ง2566 : เปิด "MOU 8 พรรค" แถลงจัดตั้งรัฐบาล". พีพีทีวี. 2023-05-22. สืบค้นเมื่อ 2023-05-23.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ด่วน โหวตนายกฯ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ไม่ผ่านในครั้งแรก จ่อเสนอชื่อรอบ 2". ไทยรัฐ. 2023-07-13. สืบค้นเมื่อ 2023-08-09.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "โหวตนายกฯ รอบ 2 : ถก 7 ชั่วโมง โหวตซ้ำ "พิธา" นายกฯ รอบ 2 ไม่ได้". ไทยพีบีเอส. 2023-07-19. สืบค้นเมื่อ 2023-08-09.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ก้าวไกล ส่งไม้ต่อ เพื่อไทย เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล". mcot.net. สำนักข่าวไทย. 2023-07-21. สืบค้นเมื่อ 2023-08-09.
- ↑ "เพื่อไทย-ภูมิใจไทย โชว์ชนช็อกมิ้นต์! ภท. ยื่นเงื่อนไขเขี่ยก้าวไกล ร่วม รบ". โพสต์ทูเดย์. 2023-07-22. สืบค้นเมื่อ 2023-08-09.
- ↑ ""ชาติพัฒนากล้า" พร้อมร่วมเพื่อไทย ตั้งรัฐบาล มีเงื่อนไขไม่แก้ ม.112". พีพีทีวี. 2023-07-22. สืบค้นเมื่อ 2023-08-09.
- ↑ "รวมไทยสร้างชาติ เปิดเจรจาเพื่อไทย รับไม่ได้บางพรรคไม่ใช่แค่ 112". ประชาชาติธุรกิจ. 2023-07-22. สืบค้นเมื่อ 2023-08-09.
- ↑ ""วราวุธ" ยันพร้อมหนุน "เพื่อไทย" ถ้าไม่แก้ ม.112 และต้องไม่มีพรรคที่แตะ ม.112". ไทยพีบีเอส. 2023-07-23. สืบค้นเมื่อ 2023-08-09.
- ↑ "คำต่อคำ : ผลถก พลังประชารัฐ-เพื่อไทย หารือทางออกประเทศ 23 ก.ค. กับเรื่องเดิมๆ". สปริงนิวส์. 2023-07-23. สืบค้นเมื่อ 2023-08-09.
- ↑ "'พท.'เสนอชื่อ 'เศรษฐา'ประชุมรัฐสภา4ส.ค.นี้ รับหนักใจสกรีนพรรคร่วม". เดลินิวส์. 2023-07-30. สืบค้นเมื่อ 2023-08-09.
- ↑ "ย้อนรอย 72 วัน อวสาน MOU 8 พรรคร่วมรัฐบาลก้าวไกล". ฐานเศรษฐกิจ. 2023-08-03. สืบค้นเมื่อ 2023-08-09.
- ↑ "เพื่อไทย-ภูมิใจไทย: ภูมิใจไทยถอนฟ้อง เศรษฐา ทวีสิน ประเดิมตั้งรัฐบาลขั้นต่ำ 212 เสียงร่วมกับเพื่อไทย". บีบีซีไทย. 2023-08-07. สืบค้นเมื่อ 2023-08-09.
- ↑ "เพื่อไทย จับมือ 6 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล". ไทยพีบีเอส. 2023-08-09. สืบค้นเมื่อ 2023-08-10.
- ↑ "เปิดแถลงการณ์พรรคชาติไทยพัฒนา-เพื่อไทย สลายขั้วการเมือง". ไทยพีบีเอส. 2023-08-10. สืบค้นเมื่อ 2023-08-21.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สะพัด "เพื่อไทย" จัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ 314 เสียง หลัง พปชร.-รทสช. ตอบรับ". ไทยรัฐ. 2023-08-11. สืบค้นเมื่อ 2023-08-21.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'ก้าวไกล' ไม่โหวตเห็นชอบให้แคนดิเดตนายกฯ ของรัฐบาลข้ามขั้ว ขัดเจตนารมณ์ประชาชน ดันวาระประชาชนไม่ได้". ประชาไท. 2023-08-15. สืบค้นเมื่อ 2023-08-21.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "มติ พท.เสนอชื่อ'เศรษฐา'เป็นนายกฯ ต่อที่ประชุมรัฐสภา". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-08-15. สืบค้นเมื่อ 2023-08-21.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ดีลจบ! รวมไทยสร้างชาติร่วมเพื่อไทย ตั้งรัฐบาล". ไทยพีบีเอส. 2023-08-17. สืบค้นเมื่อ 2023-08-21.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""เพื่อไทย" จับมือ 11 พรรค จัดตั้งรัฐบาล 314 เสียง พรรค 2 ลุงมาครบ". พีพีทีวี. 2023-08-21. สืบค้นเมื่อ 2023-08-21.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""เศรษฐา" ฉลุย นั่งนายกฯ คนที่ 30 รัฐสภาโหวตเห็นชอบเกิน 374 เสียงแล้ว". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-08-22. สืบค้นเมื่อ 2023-08-22.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ส่องอายุ ครม. "วัยเก๋า" เศรษฐา 1 เหล้าใหม่ ในขวดเดิม". ไทยพีบีเอส. 2023-08-31. สืบค้นเมื่อ 2023-09-05.
- ↑ "เปิดรายชื่อ 5 รัฐมนตรีหญิง ครม.เศรษฐา 1 ไม่พลิกโผ ประวัติแต่ละคนไม่ธรรมดา". www.sanook.com/news. 2023-09-02.
- ↑ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี นำ คณะรัฐมนตรี ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่". สำนักพระราชวัง. 2023-05-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-26. สืบค้นเมื่อ 2023-05-09.
- ↑ ""เศรษฐา" ประชุม ครม.นัดพิเศษ เร่งแก้ปัญหา "เอลนีโญ-ดูแลระบบขนส่ง"". ไทยรัฐ. 2023-09-06. สืบค้นเมื่อ 2023-09-28.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "มติ ครม. แรก ในยุค "เศรษฐา 1" กระทบชีวิตความเป็นอยู่คนไทยอย่างไร". บีบีซีไทย. 2023-09-13. สืบค้นเมื่อ 2023-11-20.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ครม. "เศรษฐา 1/1"". บีบีซีไทย. 28 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 'มาริษ เสงี่ยมพงษ์' เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ". ข่าวสด. 1 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'จิราพร' รับได้นั่ง รมต.สมัยแรกเพราะนายกฯ อยากเห็นคนรุ่นใหม่มาทำงาน". กรุงเทพธุรกิจ. 1 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ในหลวง พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ครม.ชุดใหม่ เฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่". กรุงเทพธุรกิจ. 3 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี [รัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 141 (พิเศษ 116 ง): 1–2. 28 เมษายน 2567 – โดยทาง ราชกิจจานุเบกษา.
- ↑ "ด่วน "ปานปรีย์ พหิทธานุกร" ลาออกจากรัฐมนตรีต่างประเทศ มีผลวันนี้ 28 เม.ย.67". ฐานเศรษฐกิจ. 28 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""คกก.กฤษฎีกา" ชี้ชัด "กฤษฎา" พ้นจากเก้าอี้ รมช.คลัง แล้ว มีผลตามกฎหมาย". ฐานเศรษฐกิจ. 9 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ปิดฉากรมต.ถุงขนม! "พิชิต" มาไวไปไวยื่นลาออกแล้ว เปิดทางนายกฯเดินหน้าบริหารประเทศต่อ". ผู้จัดการออนไลน์. 21 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2024.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี [นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 141 (พิเศษ 121 ง): 1. 1 พฤษภาคม 2567 – โดยทาง ราชกิจจานุเบกษา.
- ↑ "'เศรษฐา' ไม่รอด! ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ชี้ชะตาเศรษฐาพ้นเก้าอี้นายกฯ ทันที". เดอะ แมทเทอร์. 14 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "คำแถลงนโยบายรัฐบาลเศรษฐา ปัดฝุ่น "ผู้ว่า CEO" แก้ รธน.ไม่แตะหมวดสถาบันฯ". บีบีซีไทย. 6 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ หุ้นร่วงพิษเชื่อมั่น
- ↑ หุ้นไทยวันนี้(31 ส.ค.66) ร่วง 10.73 จุด ขาย PTT-PTTEP-TOP
- ↑ "ฉายารัฐบาลปี 66 แกงส้ม "ผลัก" รวม - "เศรษฐา" เซลล์แมนสแตนด์ "ชิน"". ไทยพีบีเอส. 26 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
- "บันทึกความเข้าใจร่วมกันในการจัดตั้งรัฐบาล" (PDF). พรรคก้าวไกล. 2023-05-22. สืบค้นเมื่อ 2023-06-10.