ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศอัฟกานิสถาน

พิกัด: 34°31′N 69°11′E / 34.517°N 69.183°E / 34.517; 69.183
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Afghanistan)
เอมิเรตอิสลามอัฟกานิสถาน

  • د افغانستان اسلامي امارت (ปาทาน)
  • امارت اسلامی افغانستان (ดารี)
สถานะรัฐสมาชิกสหประชาชาติที่มีรัฐบาลที่ไม่ได้รับการยอมรับ
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
คาบูล
34°31′N 69°11′E / 34.517°N 69.183°E / 34.517; 69.183[3]
ภาษาราชการ
กลุ่มชาติพันธุ์
(สำมะโนอย่างไม่เป็นทางการใน ค.ศ. 2019)[a][5][6][7][8]
ศาสนา
เดมะนิมชาวอัฟกัน[b][12][13]
การปกครองรัฐเดี่ยวในระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ[14] เอมิเรตเฉพาะกาล ในระบอบเทวาธิปไตยอิสลาม[15]
ฮิบะตุลลอฮ์ อะคูนซาดะฮ์
ฮาซัน อะคูน
(รักษาการ)
อับดุล ฮากิม อิสฮักไซ
สภานิติบัญญัติสภาผู้นำ[16]
สถาปนา
ค.ศ. 1709–1738
ค.ศ. 1747–1842
ค.ศ. 1823–1926
19 สิงหาคม ค.ศ. 1919
9 มิถุนายน ค.ศ. 1926
17 กรกฎาคม ค.ศ. 1973
7 กันยายน ค.ศ. 1996
26 มกราคม ค.ศ. 2004
15 สิงหาคม ค.ศ. 2021
พื้นที่
• รวม
652,867[17] ตารางกิโลเมตร (252,073 ตารางไมล์) (อันดับที่ 40)
น้อย
ประชากร
• ค.ศ. 2022 ประมาณ
38,346,720[18] (อันดับที่ 37)
48.08 ต่อตารางกิโลเมตร (124.5 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 174)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2018 (ประมาณ)
• รวม
72.911 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[19] (อันดับที่ 96)
2,024 ดอลลาร์สหรัฐ[19] (อันดับที่ 169)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2018 (ประมาณ)
• รวม
21.657 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[19] (อันดับที่ 111)
493 ดอลลาร์สหรัฐ[19] (อันดับที่ 177)
เอชดีไอ (ค.ศ. 2021)ลดลง 0.478[20][21]
ต่ำ · อันดับที่ 180
สกุลเงินอัฟกานี (افغانی) (AFN)
เขตเวลาUTC+4:30
ปฏิทินจันทรคติ[22]
(เวลาอัฟกานิสถาน)
ไม่มี[23]
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+93
โดเมนบนสุด.af
افغانستان.

อัฟกานิสถาน (อังกฤษ: Afghanistan; ดารี/ปาทาน: افغانستان) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เอมิเรตอิสลามอัฟกานิสถาน(ชื่อแต่งเติมใหม่โดยคนยุคหลัง) (อังกฤษ: Islamic Emirate of Afghanistan; ปาทาน: د افغانستان اسلامي امارت; ดารี: امارت اسلامی افغانستان) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกติดกับประเทศอิหร่าน ทางทิศใต้และทิศตะวันออกติดกับปากีสถาน ทางทิศเหนือติดเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ส่วนทางทิศตะวันออกสุดติดประเทศจีน มีอาณาเขต 652,000 ตารางกิโลเมตร มีกรุงคาบูลเป็นเมืองหลวงและเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ มีประชากรประมาณ 40 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์ปาทาน ทาจิก ฮาซาราและอุซเบก

บริเวณนี้มีมนุษย์อยู่อาศัยมาอย่างน้อย 50,000 ปี[24] จนมีการตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งอยู่ถาวรในบริเวณเมื่อ 9,000 ปีมาแล้ว ก่อนค่อย ๆ พัฒนาไปเป็นอารยธรรมสินธุ อารยธรรมอ็อกซัสและอารยธรรมเฮลมันด์ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล[25] ชาวอินโด-อารยันย้ายเข้ามา ตามด้วยความเจริญของวัฒนธรรม Yaz I ยุคเหล็ก (ประมาณ 1500–1100 ปีก่อน ค.ศ.) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมที่มีกล่าวถึงใน Avesta คัมภีร์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์[26] บริเวณนี้ได้ตกเป็นของเปอร์เซียในศตวรรษที่ 6 ก่อน ค.ศ. ไปจนถึงแม่น้ำสินธุ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาอำราจบุกครองดินแดนดังกล่าวในศตวรรษที่ 4 ก่อน ค.ศ. อาณาจักรกรีก-แบ็กเทรียเป็นปลายตะวันออกสุดของอารยธรรมกรีก ต่อมาดินแดนนี้ถูกพิชิตโดยอินเดียสมัยราชวงศ์เมารยะ ทำให้ศาสนาพุทธและฮินดูแพร่หลายในพื้นที่นี้หลายศตวรรษ พระเจ้ากนิษกะแห่งจักรวรรดิกุษาณะมีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายมหายานเข้าสู่ประเทศจีนและเอเชียกลาง หลังจากนั้นมีราชวงศ์ที่นับถือพุทธปกครองดินแดนแถบนี้มาอีกหลายราชวงศ์

ศาสนาอิสลามเข้าสู่บริเวณนี้ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 แต่มีการเผยแผ่ศาสนาอย่างจริงจังระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึง 12 และมีการผลัดเปลี่ยนราชวงศ์อยู่อีกหลายครั้ง ประวัติศาสตร์การเมืองของรัฐอัฟกานิสถานสมัยใหม่เริ่มต้นจากราชวงศ์ Hotak ซึ่งประกาศเอกราชในอัฟกานิสถานตอนใต้ใน ค.ศ. 1709 ต่อมามีการตั้งอาณาจักรดูรานีใน ค.ศ. 1747 ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 อัฟกานิสถานเป็นรัฐกันชนใน "เกมใหญ่" ระหว่างจักรวรรดิบริติชและรัสเซีย[27][28]

ในสงครามอังกฤษ-อัฟกันครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1839 ถึง 1842) กองทัพบริติชจากอินเดียเข้าควบคุมอัฟกานิสถานได้ แต่สุดท้ายเป็นฝ่ายแพ้ หลังสงครามอังกฤษ-อัฟกันครั้งที่สามใน ค.ศ. 1919 อัฟกานิสถานจึงปลอดจากอิทธิพลของต่างชาติ และได้เป็นราชาธิปไตยภายใต้พระเจ้าอมานุลเลาะห์ แต่ใน ค.ศ. 1973 มีการโค่นล้มระบอบกษัตริย์และเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ ใน ค.ศ. 1978 หลังมีรัฐประหารครั้งที่สอง อัฟกานิสถานกลายเป็นรัฐสังคมนิยม และถูกสหภาพโซเวียตรุกรานในสงครามโซเวียต–อัฟกานิสถานในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ต่อกบฏมุญาฮิดีน หลังจากที่สหภาพโซเวียตถอนกำลังออกไป กลุ่มตอลิบานซึ่งเป็นพวกอิสลามมูลวิวัติก็ได้เข้ายึดครองประเทศใน ค.ศ. 1996 และปกครองประเทศด้วยระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ ทำให้มีการลิดรอนสิทธิมนุษยชนและสิทธิสตรีในอัฟกานิสถานอย่างรุนแรง ต่อมากลุ่มตอลิบานถูกโค่นจากอำนาจหลังจากที่สหรัฐอเมริกาเข้ายึดครองครองใน ค.ศ. 2001 แต่ยังควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศได้ เนื่องจากรัฐบาลใหม่ของอัฟกานิสถานต้องพึ่งพาความช่วยเหลือทางทหารและเศรษฐกิจจากสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนมากมาก ทำให้มีการเรียกอัฟกานิสถานว่าเป็น"รัฐบริวารของสหรัฐฯ"[29] หลังจากที่สหรัฐอเมริกาถอนกำลังออกไป ก็มีการรุกครั้งใหญ่ของตอลิบานใน ค.ศ. 2021 ส่งผลให้ตอลีบานหวนคืนสู่อำนาจอีกครั้ง

อัฟกานิสถานมีระดับการก่อการร้าย ความยากจน จำกัดสิทธิสตรีโดย ตาลีบัน ภาวะทุพโภชนาการเด็กและการฉ้อราษฎร์บังหลวงสูง เศรษฐกิจมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 96 ของโลก โดยมีจีดีพีมูลค่า 72,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่มีจีดีพีต่อหัวต่ำมาก อยู่อันดับที่ 169 จาก 186 ประเทศใน ค.ศ. 2018 อัฟกานิสถานยังอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญรวมถึง ลิเทียม เหล็ก สังกะสี และ ทองแดง และเป็นหนึ่งประเทศผู้ผลิตฝิ่นรายใหญ่ของโลก[30] และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งองค์การความร่วมมืออิสลาม

นิรุกติศาสตร์

[แก้]

นักวิชาการบางส่วนได้เสนอสมมติฐานว่ารากศัพท์ของชื่อ "Afghān" มีที่มาจากภาษาสันสกฤตคำว่า Aśvakan หรือ Assakan ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกเทือกเขาฮินดูกูชตั้งแต่สมัยโบราณ โดยคำว่า Aśvakan มีความหมายตรงตัวว่า "คนขี่ม้า", "คนเลี้ยงม้า" และ "ทหารม้า" (มาจากคำว่า aśva หรือ aspa ในภาษาสันสกฤต และ Avestan ซึ่งแปลว่า "ม้า")[31] อย่างไรก็ตาม นักวิชาการบางราย เช่น อิบราฮิม ข่าน แย้งว่า คำว่า "Afghān" เป็นคำในภาษาแบกเตรีย[32]

ในอดีตชื่อ "อัฟกัน" เป็นชื่อที่ใช้สื่อถึงชาวปาทาน[33] ชื่อ "Afġān" ซึ่งเป็นภาษาอาหรับและเปอร์เซียได้รับการรับรองครั้งแรกในหนังสือภูมิศาสตร์ Hudud al-'Alam ในศตวรรษที่ 10[34] ส่วนท้ายของชื่อที่ว่า "-stan" เป็นคำต่อท้ายในภาษาเปอร์เซียซึ่งแปลว่า "สถานที่" ดังนั้น "อัฟกานิสถาน" จึงมีความหมายตรงตัวว่า "ดินแดนแห่งอัฟกัน" หรือ "ดินแดนแห่งปัชตุน" อ้างอิงจากสารานุกรมอิสลามฉบับที่สาม[35]

นอกจากนี้ ที่มาของชื่ออัฟกานิสถาน (Afghānistān, land of the Afghans/Pashtuns, afāghina, sing. afghan) สามารถสืบไปถึงต้นศตวรรษที่ 8 ถึง ศตวรรษที่ 14 ในฐานะที่เป็นบริเวณที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของอาณาจักรของราชวงศ์ Kartids ต่อมา ชื่อนี้ถูกใช้เพื่อกล่าวถึงภูมิภาคในอาณาจักรอิหร่านซาฟาวิด และจักรวรรดิโมกุลซึ่งมีชาวอัฟกันเข้าไปตั้งถิ่นฐาน

ภูมิศาสตร์

[แก้]

อัฟกานิสถานตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 33 องศาเหนือ และลองจิจูด 65 องศาตะวันออก มีพื้นที่ 647,500 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงในเขตเทือกเขาฮินดูกูซ จุดที่ต่ำสุดอยู่ที่แม่น้ำอมู สูง 258 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ประเทศอัฟกานิสถานไม่มีทางออกสู่ทะเล

คำว่า "แสตน" (Stan) หมายถึงที่ดินหรือดินแดน ดังนั้น ชื่อของประเทศอัฟกานิสถานจึงหมายหมายความว่า ดินแดนของชาวอัฟกาน นอกจากนี้ คำว่า "แสตน" ยังใช้ในชื่อของเคอร์ดิสถาน อุซเบกิสถาน และประเทศในแถบเอเชียกลางอื่น ๆ อีกด้วย

ประวัติศาสตร์

[แก้]
  • พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) อังกฤษได้สถาปนาอับดุรเราะฮฺมาน เป็นอะมีร หลังจากที่ได้มีการรบราฆ่าฟัน ระหว่างเผ่าต่าง ๆ ในอัฟกานิสถานมาเป็นเวลานาน
  • พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) อับดุรเราะฮฺมาน เสียชีวิต บุตรชายชื่อ ฮะบีบุลลอหฺ ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน
  • พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) ฮะบีบุลลอหฺ ถูกสังหาร น้องชายชื่อ นัศรุลลอหฺ สถาปนาตนเองขึ้นเป็นอะมีร แต่ถูก อะมานุลลอหฺ บุตรชายของ ฮะบีบุลลอหฺ ขับไล่ แล้วขึ้นปกครองแทน
  • พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) ขบวนการพวกเคร่งศาสนา ก่อการปฏิวัติ อะมีร ฮะบีบุลลอฮฺ หลบหนีออกนอกประเทศ สงครามกลางเมืองเกิดขึ้น บาชา อี ซาเกา นายทหารของเผ่าตาจิก ได้นำพลทหารเข้ายึดกรุงคาบูล เป็นเวลาหลายเดือน ต่อมาญาติคนหนึ่งของ อะมีร ฮะบีบุลลอหฺ ปราบปรามจนถูกสังหาร แล้วญาติคนนั้นก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ มีนามว่า นาดีร ชาหฺ
  • พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) กษัตริย์ นาดีร ชาหฺ ถูกสังหาร บุตรชายชื่อ ซอหิร ชาหฺ ขึ้นเป็นกษัตริย์
  • พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ดาวูด ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของกษัตริย์ ซอหิร ชาหฺ ก่อการปฏิวัติ กษัตริย์ ซอหิร ชาหฺ หนีไปลี้ภัยในอิตาลี ดาวูดสถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี
  • พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) ดาวูด ถูกสังหาร หลังการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ นำโดย นูร มุฮัมมัด ฏอรอกี
  • พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) ฏอรอกี ถูกสังหาร และ ฮะฟีซุลลอหฺ อะมีน สถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี
    • เดือนธันวาคม ฮะฟีซุลลอหฺ อะมีน ถูกสังหาร โดยกองทัพที่ถูกส่งเข้ามาจากสหภาพโซเวียต บาบรัก การ์มาล ขึ้นเป็นประธานาธิบดี
    • บาบรัก การ์มาล ถูกถอดออกจากตำแหน่ง และหนีไปสหภาพโซเวียต นะญีบุลลอหฺ ขึ้นเป็นประธานาธิบดี
  • พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) พวกมุจาหิดีนอิสลาม ประสบความสำเร็จในการปฏิวัติต่อต้านคอมมิวนิสต์ ก่อตั้งรัฐบาลชั่วคราว โดยมี ซิบฆอตุลลอหฺ มุจัดดิดี เป็นประธานาธิบดี ต่อมา บุรฮานุดดีน ร่อบบบานี ขึ้นเป็นประธานาธิบดี สงครามกลางเมืองเกิดขึ้น
  • พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) กลุ่มตอลิบานยึดกรุงคาบูลได้


อัฟกานิสถานเคยมีระบอบการปกครองแบบรัฐสภา มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ จนกระทั่งปี 2516 พลโทซาดาร์ ข่าน (Sadar Khan) ได้ปฏิวัติยึดอำนาจ และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐและสถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี แต่ผู้นำอัฟกานิสถานในยุคต่อมาเริ่มมีท่าทีใกล้ชิดสหรัฐฯ ทำให้สหภาพโซเวียตไม่พอใจและส่งกองกำลังเข้ายึดครองอัฟกานิสถานในปี 2522 เพื่อสถาปนาระบอบการปกครองแบบสังคมนิยมขึ้นแทน

ระหว่างการยึดครองของสหภาพโซเวียต ปี 2522 - 2532 ได้เกิดขบวนการต่อต้านระบอบการปกครองแบบสังคมนิยมในนามกลุ่มมูจาฮีดีน ซึ่งได้โค่นล้มรัฐบาลที่เข้าข้างสหภาพโซเวียตได้สำเร็จในปี 2535 แต่กลับไม่สามารถร่วมกันปกครองประเทศได้ เพราะเกิดความแตกแยกและแย่งชิงอำนาจกัน ในที่สุดกลุ่มนักศึกษาหัวรุนแรงที่ได้รับการศึกษาจากปากีสถานได้รวมตัวกันจัดตั้งกองกำลังตอลิบานขึ้น และมีความเข้มแข็งจนสามารถยึดกรุงคาบูลได้ในปี 2539 ตั้งรัฐบาลตอลิบานขึ้นปกครองประเทศโดยครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดอยู่จนถึงปี 2544

หลังเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน ในปี 2544 สหรัฐฯ ได้ส่งกองกำลังเข้าโจมตีอัฟกานิสถานเพื่อโค่นล้มรัฐบาลตอลิบาน และมุ่งที่จะจับนายอุซามะห์ บิน ลาดิน (Osama Bin laden) ซึ่งสหรัฐฯ สามารถโค่นล้มรัฐบาลตอลิบานได้สำเร็จในปลายปี 2544 และสหรัฐฯ สนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวในอัฟกานิสถาน และมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการเมืองการปกครองในอัฟกานิสถานมาโดยตลอด

กระทั่งเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2564 สหรัฐอเมริกาโดยการนำของรัฐบาลนายโจ ไบเดิน ได้ทำการถอนกำลังออกจากอัฟกานิสถาน กลุ่มตอลิบานจึงใช้โอกาสในการเข้าบุกอัฟกานิสถานอีกครั้ง และสามารถเข้ายึดกรุงคาบูลได้สำเร็จ ในวันที่ 15 สิงหาคม 2564[36]

การบริหาร

[แก้]
ฝ่ายนิติบัญญัติ

มีรัฐสภา (National Assembly) ซึ่งประกอบด้วย 2 สภา ได้แก่ 1) สภาผู้แทนราษฎร (House of People หรือ Wolesi Jirga) ประกอบด้วยสมาชิกไม่เกิน 249 คน ได้รับการเลือกตั้งโดยตรง ดำรงตำแหน่งวาระ 5 ปี และ 2) สภาอาวุโส (House of Elders หรือ Meshrano Jirga) มีสมาชิก 102 คน ซึ่งแบ่งการสรรหาออกเป็น 3 วิธี ในจำนวนที่เท่า ๆ กัน โดยสมาชิก 34 คนได้รับเลือกจากคณะบริหารระดับจังหวัด (Provincial Council) ดำรงตำแหน่งวาระ 4 ปี สมาชิกอีก 34 คน ได้รับเลือกจากคณะบริหารระดับท้องถิ่น (Local District Council) ดำรงตำแหน่งวาระ 3 ปี และสมาชิกอีก 34 คน ได้รับแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ดำรงตำแหน่งวาระ 5 ปี

นอกจากนี้ อาจมีการประชุมใหญ่ของผู้แทนทุกภาคส่วนที่เรียกว่า Loya Jirga ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดจากทั้งสองสภา ร่วมกับคณะกรรมการบริหารระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่นทั้งหมด โดยที่ประชุมใหญ่นี้จะจัดขึ้นเฉพาะกรณีที่ต้องพิจารณาประเด็นระดับชาติเท่านั้น คือ ประเด็นที่เกี่ยวกับเอกราช อธิปไตยของชาติ และเกี่ยวกับดินแดน รวมถึงการฟ้องร้องประธานาธิบดี

ฝ่ายบริหาร

ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร มีรองประธานาธิบดี 2 คน ซึ่งทั้งหมดดำรงตำแหน่งโดยการรับเลือกตั้งจากประชาชน มีวาระ 5 ปี และประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นาย Hamid Karzai ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญให้อำนาจประธานาธิบดีแต่งตั้งรัฐมนตรีร่วมบริหารประเทศ โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา และรัฐมนตรีมีจำนวนทั้งสิ้น 25 คน

ตามรัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถาน กำหนดให้ประธานาธิบดีเป็นประมุขและผู้นำในการบริหารประเทศ มีการกระจายอำนาจการปกครองออกเป็นจังหวัด แบ่งออกเป็น 34 จังหวัด (Province) อย่างไรก็ตาม ในแง่การบริหารจัดการระบบการปกครองภายในประเทศยังไม่ดีนัก เนื่องจากเพิ่งฟื้นตัวจากสงคราม และอำนาจของรัฐบาลกลางยังครอบคลุมไม่ทั่วถึงพื้นที่ห่างไกล

กระทรวง

[แก้]
ลำดับที่ ชื่อกระทรวงภาษาไทย ชื่อกระทรวงภาษาอังกฤษ
1 กระทรวงเกษตร ชลประทานและปศุสัตว์ Ministry of Agriculture, Irrigation and Livestock
2 กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม Ministry of Commerce and Industries
3 กระทรวงการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ Ministry of Communications and Information Technology
4 กระทรวงปราบปรามยาเสพติด Ministry of Counter Narcotics
5 กระทรวงกลาโหม Ministry of Defense
6 กระทรวงเศรษฐกิจ Ministry of Economy
7 กระทรวงศึกษาธิการ Ministry of Education
8 กระทรวงพลังงานและน้ำ Ministry of Energy and Water
9 กระทรวงการคลัง Ministry of Finance
10 กระทรวงการต่างประเทศ Ministry of Foreign Affairs
11 กระทรวงพรมแดน ประชาชาติและชนเผ่า Ministry of Frontiers, Nations and Tribal Affairs
12 กระทรวงฮัจญ์และการศาสนา Ministry of Hajj and Religious Affairs
13 กระทรวงการอุดมศึกษา Ministry of Higher Education
14 กระทรวงข้อมูลและวัฒนธรรม Ministry of Information and Culture
15 กระทรวงกิจการภายใน Ministry of Interior Affairs
16 กระทรวงยุติธรรม Ministry of Justice
17 กระทรวงแรงงาน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการและกิจการสังคม Ministry of Labor, Martyrs, Disabled, & Social Affairs
18 กระทรวงเหมืองแร่และปิโตรเลียม Ministry of Mines & Petroleum
19 กระทรวงสาธารณสุข Ministry of Public Health
20 กระทรวงแรงงานสาธารณะ Ministry of Public Works
21 กระทรวงผู้ลี้ภัยและการส่งตัวกลับ Ministry of Refugees & Repatriation
22 กระทรวงการฟื้นฟูและพัฒนาชนบท Ministry of Rural Rehabilitation and Development
23 กระทรวงคมนาคมและการบินพลเรือน Ministry of Transport and Civil Aviation
24 กระทรวงการพัฒนาในเมืองและการเคหะ Ministry of Urban Development & Housing
25 กระทรวงกิจการสตรี Ministry of Women's Affairs
26 สำนักงานอัยการสูงสุด Attorney General's Office
ฝ่ายตุลาการ

ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนดให้อัฟกานิสถานมีศาลฎีกา (Supreme Court) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Stera Mahkama มีผู้พิพากษาจำนวน 9 คน แต่งตั้งโดยประธานาธิบดีและต้องให้สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ ดำรงตำแหน่งวาระ 10 ปี รองลงมามีศาลสูง (High Court) และศาลอุทธรณ์ (Appeals Court) ด้วย

การบริหารระดับจังหวัด

[แก้]

แม้รัฐธรรมนูญจะกำหนดหน่วยงานระดับจังหวัดและท้องถิ่น คือ คณะบริหารระดับจังหวัด (Provincial Council) และคณะบริหารระดับท้องถิ่น (Local District Council) แล้ว แต่ดังที่กล่าวข้างต้นว่า ระบบการบริหารการปกครองของอัฟกานิสถานยังจัดการได้ไม่ดีนัก เนื่องจากเป็นระบบที่วางขึ้นใหม่ และอำนาจของรัฐบาลกลางยังอ่อนแอ ความเชื่อมโยงของการบริหารอำนาจระหว่างท้องถิ่นกับส่วนกลางจึงยังขาดความชัดเจน

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

ประเทศอัฟกานิสถานแบ่งออกเป็น 34 จังหวัด หรือเรียกเป็นภาษาท้องถิ่นว่า เวลายัต (welayat) ได้แก่

แผนที่ประเทศอัฟกานิสถานแสดงจังหวัด

บาดัคชาน บาดกิส บักลาน บัลข์ บามียัน ไดกอนดี ฟาราห์ ฟาร์ยาบ กัซนี กาวร์ เฮลมันด์ เฮราต เจาซ์จัน คาบูล กันดะฮาร์ กาปิซา คอสต์ โกนาร์ กอนดอซ ลักมาน เลาการ์ นันการ์ฮาร์ นิมรุซ นูเรสถาน โอรุซกัน ปักเตีย ปักติกา ปันจ์ชีร์ ปาร์วัน ซามันกัน ซารีโปล ตาคาร์ วาร์ดัก ซาโบล

เศรษฐกิจ

[แก้]
ทุ่งฝิ่นในจังหวัดนิมรุซ

ประเทศอัฟกานิสถาน นอกจากถูกจัดให้เป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในเอเชียแล้ว ยังครองอันดับ 1 ประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกอีกด้วย[ต้องการอ้างอิง]

นักวิเคราะห์ชี้ว่า สาเหตุที่ประเทศอัฟกานิสถานมีฐานะยากจนมากที่สุดมีปัจจัยหลายสาเหตุด้วยกัน อาทิ ประชากร​ในอัฟกานิสถานว่างงานกว่า 35%, กว่า 36% มี​ความ​เป็นอยู่ต่ำกว่ามาตรฐานของ​โลก, 2 ​ใน 3 ของประชากรมีชีวิตอยู่ด้วยราย​ได้ที่น้อยกว่าวันละ 2 ดอลล่าสหรัฐ, เป็นประ​เทศที่อยู่​ในภาวะสงคราม และราย​ได้หลักประมาณ 1 ​ใน 3 ของประ​เทศมาจาก​การลักลอบค้ายา​เสพติด ​เช่น กัญชา ฝิ่น ​เป็นต้น[ต้องการอ้างอิง]

เกษตรกรรม

[แก้]

ส่วนใหญ่เป็นแบบยังชีพและเลี้ยงสัตว์เร่ร่อน พืชสำคัญที่ปลูกคือข้าวสาลี ฝ้าย และมีชื่อเสียงในการผลิตฝิ่นเพื่อผลิตยาเสพติด

ทรัพยากรธรรมชาติ

[แก้]

มีก๊าซธรรมชาติพบที่เมืองชีเบอร์กานใกล้พรมแดนประเทศเติร์กเมนิสถาน แหล่งผลิตก๊าซที่สำคัญของประเทศคือ ควาเจะห์ ราวัช และยาติม ตัก นอกจากนี้มีแหล่งน้ำมันที่ยังไม่ได้ขุดขึ้นมาใช้ และแหล่งถ่านหินในจังหวัดบากลานและจังหวัดบาลัก แร่ธาตุที่สำคัญ พบแร่เหล็กที่หัจญีกัต ใกล้กรุงคาบูล แร่ทองแดงพบที่อายนัก แร่ยูเรเนียมพบที่ ควาเจะห์ ราวัช อัญมณีในจังหวัดบาดักชาน และแร่อื่น ๆ อีกมาก

การท่องเที่ยว

[แก้]

ประชากรศาสตร์

[แก้]
แผนที่ของ CIA ใน ค.ศ. 2005 แสดงดินแดนของชนพื้นเมืองอัฟกัน ชนเผ่าปาทานเป็นสังคมชนเผ่าที่ใหญ่ที่สุดในโลก[37]

ใน ค.ศ. 2019 มีการประมาณการประชากรอัฟกานิสถานโดยสำนักงานสถิติและข้อมูลอัฟกานิสถานว่ามี 32.9 ล้านคน[38] ในขณะที่สหประชาชาติประมาณการที่มากกว่า 38.0 ล้านคน[39] ใน ค.ศ. 1979 มีรายงานประชากรทั้งประเทศที่ประมาณ 15.5 ล้านคน[40] ประมาณร้อยละ 23.9 อาศัยอยู่ในเมือง ร้อยละ 71.4 อาศัยอยู่ในชนบท และร้อยละ 4.7 เป็นชนร่อนเร่[41]

อัตราการเติบโตของประชากรในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 2.37[9] ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราสูงสุดที่อยู่นอกทวีปแอฟริกา ถ้าอัตรายังคงเท่าเดิม คาดว่าจะมีประชากรใน ค.ศ. 2050 อยู่ที่ 82 ล้านคน[42] ประชากรในอัฟกานิสถานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1980 เมื่อมีสงครามกลางเมืองที่ทำให้ประชากรหลายล้านคนหนีไปต่างประเทศ เช่นปากีสถาน[43] นับแต่นั้นมา ผู้คนนับล้านได้เดินทางกลับมาและสภาพสงครามมีส่วนทำให้ประเทศมีอัตราการเจริญพันธุ์สูงที่สุดที่อยู่นอกทวีปแอฟริกา[44] สัมประสิทธิ์จีนีของประเทศใน ค.ศ. 2008 อยู่ที่ 27.8[45]

ชาติพันธุ์และภาษา

[แก้]
แผนที่ภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์ของอัฟกานิสถาน

ประชากรอัฟกานิสถานแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ชาติพันธุ์ โดยชาวปาทานเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งมีร้อยละ 39 (ข้อมูลการวิจัยทางสังคมวิทยาใน ค.ศ. 2019 โดยThe Asia Foundation) ตามมาด้วยชาวทาจิก ซึ่งมีร้อยละ 37[46] ของประชากรทั้งประเทศ โดยทั่วไป มีการแบ่งสามกลุ่มชาติพันธุ์หลักของประเทศได้แก่ชาวทาจิก, ชาวแฮซอเร และชาวอุซเบก ส่วนอีก 10 กลุ่มชาติพันธุ์ต่างได้รับการยอมรับและถูกกล่าวถึงในเพลงชาติสาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน[47]

ภาษาราชการของประเทศอัฟกานิสถานคือภาษาดารีและภาษาปาทาน เป็นเรื่องทั่วไปมากที่ผู้คนสามารถพูดสองภาษาได้[48] โดยมีภาษาดารีเป็นภาษากลางในคาบูลกับภาคเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ[49] ส่วนภาษาปาทานเป็นภาษาแม่ของชาวปาทาน ถึงแม้ว่าชาวปาทานหลายคนสามารถพูดภาษาดารีได้คล่อง และชนชาติอื่นสามารถพูดภาษาปาทานได้ และแม้ว่าชาวปาทานมีอิทธิพลในการเมืองอัฟกันมาหลายศตวรรษ ภาษาดารีก็ยังคงเป็นภาษาหลักในรัฐบาลและราชการ[50] รายงานจากเดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก ภาษาดารีมีผู้พูดร้อยละ 78 (L1 + L2) และทำหน้าที่เป็นภาษากลาง ในขณะที่ภาษาปาทานมีผู้พูดร้อยละ 50, อุซเบกร้อยละ 10, อังกฤษร้อยละ 5, เติร์กเมนร้อยละ 2%, อูรดูร้อยละ 2, ปาซายีร้อยละ 1, นูริสถานร้อยละ 1, อาหรับร้อยละ 1 และบาโลจร้อยละ 1 (ประมาณการ ค.ศ. 2021) ข้อมูลทั้งหมดเมื่อรวมกันแล้วมีมากกว่า 100% เพราะประชากรในประเทศหลายคนสามารถพูดสองภาษาและมีการอนุญาตให้เลือกได้มากกว่าหนึ่งภาษา[51]

เมื่อกล่าวถึงภาษาต่างประเทศในหมู่ประชาชน มีหลายคนสามารถพูดหรือเข้าใจภาษาฮินดูสตานี (อูรดู-ฮินดี) เพราะบางส่วนกลับมาจากปากีสถาน และความนิยมภาพยนตร์บอลลีวูดตามลำดับ[52] ประชากรบางส่วนเข้าใจภาษาอังกฤษ[53] และได้รับความนิยมตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 2000[54] ชาวอัฟกันบางส่วนสามารถพูดภาษารัสเซีย ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในโรงเรียนรัฐเมื่อคริสต์ทศวรรษ 1980[52]

ศาสนา

[แก้]
มัสยิดสีน้ำเงินในมะซารีชะรีฟเป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอัฟกานิสถาน

ประชากรอัฟกันประมาณร้อยละ 99.7 นับถือศาสนาอิสลาม[9] และส่วนใหญ่นับถือนิกายซุนนีมัซฮับฮะนะฟี[55] รายงานจากสำนักวิจัยพิว มุสลิมมากถึงร้อยละ 90 นับถือนิกายซุนนี, ร้อยละ 7 นับถือนิกายชีอะฮ์ และร้อยละ 3 ไม่สังกัดนิกาย[56] ซีไอเอแฟกต์บุ๊กประมาณการว่ามีมุสลิมมากถึงร้อยละ 89.7 นับถือนิกายซุนนีหรือนับถือนิกายชีอะฮ์มากถึงร้อยละ 15[9] ดร. เมฮร์ดอด อีแซดีประมาณการว่าร้อยละ 70 ของประชากรนับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี, ร้อยละ 25 นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะฮ์, ร้อยละ 4.5 นับถือนิกายชีอะฮ์แบบอิสมาอีลียะฮ์ และร้อยละ 0.5 นับถือศาสนาอื่น[57]

มีชาวอัฟกันที่นับถือศาสนาซิกข์และฮินดูในเมืองหลักบางส่วน (เช่นคาบูล, จะลาลลาบาด, กัซนี, กันดะฮาร์)[58][59] ที่มีคุรุทวาราและมณเฑียรเป็นของตนเอง[60] รายงานจากดอยช์ เวเลย์ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2021 มีผู้นับถืออยู่ในเมือง 250 คน ส่วน 67 อพยพไปประเทศอินเดียแล้ว[61]

ประเทศนี้เคยมีสังคมชาวยิวขนาดเล็กที่ส่วนใหญ่อยู่ในเฮรัตและคาบูล ต่อมาจึงต้อบังคับงย้ายที่อยู่เนื่องจากสงครามนานนับทศวรรษและการกดขี่ทางศาสนา ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 สังคมทั้งหมดอพยพไปที่อิสราเอลและสหรัฐแล้ว ยกเว้นเพียงคนเดียวที่มีชื่อว่าซับโลน ซีมินตอฟ ซึ่งยังคงทำหน้าที่ดูแลโบสถ์ยิวแห่งเดียวในประเทศ[62] หลังการยึดครองครั้งที่สองของตอลิบาน เขาจึงออกจากประเทศไปที่สหรัฐ[63]

ชาวอัฟกันที่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งมีจำนวน 500–8,000 คน นับถือศาสนาอย่างลับ ๆ เนื่องจากการต่อต้านทางสังคมที่รุนแรง และไม่มีโบสถ์สาธารณะเลย[64][65]

การแปลงเป็นเมือง

[แก้]

วัฒนธรรม

[แก้]

เทศกาล

[แก้]

แม้จะเป็นประเทศที่ยากจน แต่ชาวอัฟกันก็ยังคงเฉลิมฉลองเทศกาลสำคัญทางศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะเทศกาลรอมฏอน ซึ่งเป็นการสิ้นสุดของการถือศีลอดอันศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนจะไปเยี่ยมเพื่อนหรือครอบครัวและรับประทานอาหารฉลองร่วมกัน ศิลปะแกรเต้นรำ attan ยังคงเฟื่องฟูในอัฟกานิสถาน

หมายเหตุ

[แก้]
  1. การตรวจสำมะโนครั้งสุดท้ายจัดขึ้นใน ค.ศ. 1979 ซึ่งยังรวบรวมไม่เสร็จ เนื่องจากสงครามที่ยังดำเนินอยู่ในประเทศ ทำให้ไม่มีการตรวจสำมะโนอย่างเป็นทางการอีกเลย[4]
  2. ชื่อเรียกอื่น ๆ ได้แก่ อัฟกานี[10] และ อัฟกานิสถานี[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2019. สืบค้นเมื่อ 17 September 2021.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  2. Tharoor, Ishaan (19 June 2013). "The Taliban's Qatar Office: Are Prospects for Peace Already Doomed?". Time. ISSN 0040-781X. สืบค้นเมื่อ 19 August 2021.
  3. Islamic Republic of Afghanistan in Geonames.org (CC BY)
  4. "Population Matters". 3 March 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-16. สืบค้นเมื่อ 2021-09-21.
  5. timesofindia (23 August 2021). "Afghanistan's ethnic mosaic". The Times of India.
  6. World Population Review (19 September 2021). ""Afghanistan Population 2021"".
  7. statista.com (20 August 2021). "Distribution of Afghan population by ethnic group 2020".
  8. reliefweb.int (14 August 2011). "Afghan Ethnic Groups: A Brief Investigation".
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 "Afghanistan". The World Factbook. cia.gov. สืบค้นเมื่อ 22 August 2018.
  10. Dictionary.com. The American Heritage Dictionary of the English Language, Fourth Edition. Houghton Mifflin Company, 2004. Reference.com (Retrieved 13 November 2007).
  11. Dictionary.com. WordNet 3.0. Princeton University. Reference.com (Retrieved 13 November 2007). เก็บถาวร 28 มีนาคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  12. "Constitution of Afghanistan". 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2016. สืบค้นเมื่อ 16 February 2013.
  13. Afghan | meaning in the Cambridge English Dictionary. the Cambridge English Dictionary. ISBN 9781107660151.
  14. *Sakhi, Nilofar (December 2022). "The Taliban Takeover in Afghanistan and Security Paradox". Journal of Asian Security and International Affairs. 9 (3): 383–401. doi:10.1177/23477970221130882. S2CID 253945821. Afghanistan is now controlled by a militant group that operates out of a totalitarian ideology.
  15. *Choi, Joseph (8 September 2021). "EU: Provisional Taliban government does not fulfill promises". The Hill. สืบค้นเมื่อ 18 March 2022.
  16. Jones, Seth G. (December 2020). "Afghanistan's Future Emirate? The Taliban and the Struggle for Afghanistan". CTC Sentinel. Combating Terrorism Center. 13 (11). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-11. สืบค้นเมื่อ 5 March 2022.
  17. Central Statistics Office Afghanistan
  18. "Afghanistan". The World Factbook (2025 ed.). Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 24 September 2022. (Archived 2022 edition)
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 "Afghanistan". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 14 November 2018.
  20. Human Development Report 2021/2022: Uncertain Times, Unsettled Lives: Shaping our Future in a Transforming World (PDF). United Nations Development Programme. 2022. p. 284. ISBN 9789211264517. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-09. สืบค้นเมื่อ 24 September 2022.
  21. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-09. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  22. 8am (2022-03-26). "Taliban Changes Solar Year to Hijri Lunar Calendar". Hasht-e Subh Daily (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-04. สืบค้นเมื่อ 2022-09-04.
  23. timeanddate.com, Half Hour and 45-Minute Time Zones
  24. Afghanistan – John Ford Shroder, University of Nebraska. Encarta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2004. สืบค้นเมื่อ 19 May 2012.
  25. Dyson, Tim (2018), A Population History of India: From the First Modern People to the Present Day, Oxford University Press, pp. 4–5, ISBN 978-0-19-882905-8; Fisher, Michael H. (2018), An Environmental History of India: From Earliest Times to the Twenty-First Century, Cambridge University Press, p. 33, ISBN 978-1-107-11162-2
  26. Mallory, J.P.; Adams, Douglas Q. (1997). Encyclopedia of Indo-European Culture (illustrated ed.). Taylor & Francis. p. 310. ISBN 1884964982.
  27. Tomsen, Peter (2014), The Wars of Afghanistan, pp. 41–2, ISBN 978-1610392624
  28. Rashid, Ahmed (2000), Taliban, p. 187, ISBN 1-86064-417-1
  29. Ladwig, Walter C. (2017). The Forgotten Front: Patron-Client Relationships in Counter Insurgency. Cambridge University Press. p. 302. ISBN 9781107170773. สืบค้นเมื่อ 2018-05-15. As with their Cold War counterparts, it was erroneous for American policymakers to believe that the governments of contemporary client states, such as Iraq, Afghanistan, and Pakistan, necessarily shared their desire to defeat radical Islamic insurgents by adhering to the prescriptions of U.S. counterinsurgency doctrine.
  30. "Afghanistan: How much opium is produced and what's the Taliban's record?". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-08-25. สืบค้นเมื่อ 2022-10-11.
  31. Majumdar, Ramesh Chandra (1977). Ancient India (ภาษาอังกฤษ). Motilal Banarsidass Publ. ISBN 978-81-208-0436-4.
  32. Khan, Ibrahim (2022-05-03). "The Hidden Story in the word Afghan". Pashto (ภาษาอังกฤษ). 51 (663). ISSN 2789-8342. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-06. สืบค้นเมื่อ 2022-10-11.
  33. "AFGHAN – Encyclopaedia Iranica". web.archive.org. 2013-11-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-16. สืบค้นเมื่อ 2022-10-11.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  34. Vogelsang, Willem (2001-11-28). The Afghans (ภาษาอังกฤษ). Wiley. ISBN 978-0-631-19841-3.
  35. Nölle-Karimi, Christine (2020). "Afghanistan until 1747". In Fleet, Kate; Krämer, Gudrun; Matringe, Denis; Nawas, John; Rowson, Everett (eds.). Encyclopaedia of Islam, THREE. Brill Online. ISSN 1873-9830.
  36. "ปธน.อัฟกานิสถานเดินทางออกนอกประเทศ หลังตอลีบานยึดกรุงคาบูลสำเร็จ". ไทยพีบีเอส. 16 สิงหาคม 2021.
  37. Glatzer, Bernt (2002). "The Pashtun Tribal System" (PDF). New Delhi: Concept Publishers.
  38. "NSIA Estimates Afghanistan Population at 32.9M". TOLOnews.
  39. "Afghanistan Population 2020 (Demographics, Maps, Graphs)". 2020 World Population by Country. 26 April 2020. สืบค้นเมื่อ 13 June 2020.
  40. "United Nations and Afghanistan". UN News Centre. เก็บถาวร 31 ตุลาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  41. "Afghan Population Estimates 2020". Worldmeters. 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-27. สืบค้นเมื่อ 27 November 2020.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  42. "Afghanistan – Population Reference Bureau". Population Reference Bureau. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2013. สืบค้นเมื่อ 29 December 2009.
  43. Wickramasekara, Piyasiri; Sehgal, Jag; Mehran, Farhad; Noroozi, Ladan; Eisazadeh, Saeid. "Afghan Households in Iran: Profile and Impact" (PDF). United Nations High Commissioner for Refugees. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 February 2018.
  44. Nasir, Jamal Abdul; Akhtar, Sohail; Zaidi, Syed Arif Ahmed; Rani, Andleeb; Bano, Hina; Hinde, Andrew (16 October 2019). "Is recent Afghanistan survey data suitable for fertility analysis? A regional investigation based on fertility inhibiting determinants". PLOS ONE. 14 (10): e0223111. Bibcode:2019PLoSO..1423111N. doi:10.1371/journal.pone.0223111. PMC 6795489. PMID 31618275.
  45. "Gini Index". World Bank. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2014. สืบค้นเมื่อ 2 March 2011.
  46. See:
  47. "The roots of Afghanistan's tribal tensions". The Economist. 31 August 2017.
  48. "The Constitution of Afghanistan". Ministry of Foreign Affairs of the Islamic Republic of Afghanistan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-29. สืบค้นเมื่อ 2 September 2020.
  49. "Article Sixteen of the 2004 Constitution of Afghanistan". 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2013. สืบค้นเมื่อ 13 June 2012. Pashto and Dari are the official languages of the state. Uzbek, Turkmen, Baluchi, Pashai, Nuristani and Pamiri are – in addition to Pashto and Dari – the third official language in areas where the majority speaks them
  50. Bodetti, Austin (11 July 2019). "What will happen to Afghanistan's national languages?". alaraby.
  51. "Afghanistan - The World Factbook". www.cia.gov. 29 September 2021.
  52. 52.0 52.1 Afroz, Nazes; Najib, Moska; Smart!, Culture (1 December 2013). Afghanistan – Culture Smart!: The Essential Guide to Customs & Culture. Kuperard. ISBN 9781857336801.
  53. The Asia Foundation. Afghanistan in 2018: A Survey of the Afghan People. เก็บถาวร 7 สิงหาคม 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  54. Khan, M. Ilyas (12 September 2015). "Pakistan's confusing move to Urdu". BBC News.
  55. "Religion in Afghanistan". The Swedish Committee for Afghanistan (SCA).
  56. "Chapter 1: Religious Affiliation". The World's Muslims: Unity and Diversity. Pew Research Center's Religion & Public Life Project. 9 August 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2016. สืบค้นเมื่อ 22 August 2018.
  57. Izady, Michael (2002–2017). "Chapter 1: Religious Composition of Afghanistan". Gulf2000.columbia.edu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2017. สืบค้นเมื่อ 22 August 2018.
  58. Majumder, Sanjoy (25 September 2003). "Sikhs struggle in Afghanistan". BBC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2009. สืบค้นเมื่อ 19 May 2012.
  59. Lavina Melwani. "Hindus Abandon Afghanistan". Hinduism Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2007. สืบค้นเมื่อ 19 May 2012.
  60. "Afghanistan: Sikhs rebuilding gurdwaras". Religioscope. 25 August 2005.
  61. Chabba, Seerat (8 September 2021). "Afghanistan: What does Taliban rule mean for Sikhs and Hindus?". Deutsche Welle. สืบค้นเมื่อ 25 October 2021.
  62. N.C. Aizenman (27 January 2005). "Afghan Jew Becomes Country's One and Only". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2011. สืบค้นเมื่อ 19 May 2012.
  63. The New Arab Staff (7 September 2021). "Last Jew in Afghanistan en route to US: report". The New Arab. สืบค้นเมื่อ 17 September 2021.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  64. USSD Bureau of Democracy, Human Rights, and Labor (2009). "International Religious Freedom Report 2009". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 November 2009. สืบค้นเมื่อ 6 March 2010.
  65. Gebauer, Matthias (20 March 2006). "Christians in Afghanistan: A Community of Faith and Fear". Der Spiegel. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2012. สืบค้นเมื่อ 25 April 2019.
  66. "Afghan Population Estimates 1398" (PDF). Central Statistics Organization. 2019. สืบค้นเมื่อ 4 July 2019.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]