ข้ามไปเนื้อหา

เกรตเตอร์โฆรอซอน

พิกัด: 36°N 62°E / 36°N 62°E / 36; 62
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกรตเตอร์โฆรอซอน

خراسان بزرگ

โฆรอซอนในประวัติศาสตร์หรือโฆรอซอนโบราณ
แผนที่โดยประมาณของโฆรอซอนและเขตย่อยสี่ย่อยในภาษาเปอร์เซีย: นีชอบูร์ เมิร์ฟ เฮราตและแบลค์
แผนที่โดยประมาณของโฆรอซอนและเขตย่อยสี่ย่อยในภาษาเปอร์เซีย: นีชอบูร์ เมิร์ฟ เฮราตและแบลค์
แผนที่โฆรอซอนและบริเวณใกล้เคียงสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 7–8
แผนที่โฆรอซอนและบริเวณใกล้เคียงสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 7–8
ประเทศอิหร่าน, เติร์กเมนิสถานและอัฟกานิสถาน[1] บางแหล่งข้อมูลรวมถึงทาจิกิสถาน อุซเบกิสถาน คีร์กีซสถานและคาซัคสถาน
เดมะนิมKhorasani (เปอร์เซีย: خراسانی)
ชาติพันธุ์ชาวแฮซอเร, ชาวคีร์กีซ, ชาวปาทาน, ชาวเปอร์เซีย, ชาวทาจิก, ชาวเติร์กเมน, ชาวอุซเบก

เกรตเตอร์โฆรอซอน[2] หรือ โฆรอซอน (เปอร์เซียกลาง: Xwarāsān; เปอร์เซีย: خراسان [xoɾɒːˈsɒːn] ) เป็นภูมิภาคในประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ทางตะวันออกของที่ราบสูงอิหร่านระหว่างเอเชียตะวันตกกับเอเชียกลาง

ขอบเขตของโฆรอซอนเปลี่ยนไปตามช่วงเวลา ในทางประวัติศาสตร์อย่างเคร่งครัดหมายถึงบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของอิหร่าน บางส่วนของอัฟกานิสถานและตอนใต้ของเอเชียกลาง เรื่อยไปจนถึงแม่น้ำอามูดาร์ยา (ออกซุส) อย่างไรก็ตามโฆรอซอนมักถูกพรรณนาถึงภูมิภาคที่กว้างกว่านั้น ซึ่งรวมถึงส่วนใหญ่ของทรานส์ออกเซียนา (ครอบคลุมบูฆอรอและซามาร์กันต์ในประเทศอุซเบกิสถานปัจจุบัน)[3] จรดชายฝั่งทะเลแคสเปียนทางตะวันตก[4] ข้ามทะเลทรายแดชเทอกาวีร์[5] ไปจนถึงซีสถานทางใต้[6][5] และเทือกเขาปามีร์ทางตะวันออก[5][4] ปัจจุบันคำว่าเกรตเตอร์โฆรอซอนใช้เพื่อแยกกับจังหวัดโฆรอซอนของอิหร่าน (ค.ศ. 1906–2004) ซึ่งกินพื้นที่ภาคตะวันตกของเกรตเตอร์โฆรอซอน[2]

คำว่า "โฆรอซอน" เป็นภาษาเปอร์เซีย มีรากศัพท์มาจากภาษาแบกเตรีย Miirosan[7] หมายถึง "ที่ซึ่งดวงอาทิตย์ขึ้น" หรือ "จังหวัดตะวันออก"[8][9] ใช้เรียกดินแดนทางตะวันออกของเปอร์เซียครั้งแรกสมัยจักรวรรดิซาเซเนียน[10] และใช้เรียกแยกกับทรานส์ออกเซียนาที่อยู่ใกล้เคียงมาตั้งแต่ปลายสมัยกลาง[11][12][13] ภูมิภาคนี้มักถูกแยกย่อยออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ตะวันตก เหนือ กลางและตะวันออก โดยมีนครนีชอบูร์ (อิหร่านในปัจจุบัน) เมิร์ฟ (เติร์กเมนิสถานในปัจจุบัน) เฮราตและแบลค์ (อัฟกานิสถานในปัจจุบัน) เป็นศูนย์กลางตามลำดับ[3]

โฆรอซอนถูกตั้งเป็นเขตการปกครองครั้งแรกในฐานะภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือของจักรวรรดิซาเซเนียนช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6 (ประมาณหลัง ค.ศ. 520) ในรัชสมัยพระเจ้าคาวัดที่ 1 (ครองราชย์ ค.ศ. 488–496, 498/9–531) หรือพระเจ้าคอสเราที่ 1 (ครองราชย์ ค.ศ. 531–579)[14] คำว่า Miirosan ในภาษาแบคเตรียซึ่งเป็นรากศัพท์ของโฆรอซอนเป็นชื่อเขตการปกครองเดียวกันของชาวฮันแอลคอน (Alchon Huns)[15][16][17] หลังพวกเขายึดตอนใต้ของแม่น้ำออกซุสจากพวกเฮฟทาไลต์ ต่อมาชาวมุสลิมที่พิชิตจักรวรรดิซาเซเนียนใช้คำว่าโฆรอซอนเพื่อพรรณนาถึงทางตะวันออกของญิบัล (ตะวันตกของอิหร่าน) หรืออิรักอะญามีในภายหลัง ต่อมาในสมัยจักรวรรดิกาสนาวิยะห์ ราชวงศ์เซลจุคและราชวงศ์เตมือร์เรียกบริเวณทะเลทรายและเมืองทาบัสทางตะวันตกของอิหร่าน[18]: 562  เรื่อยไปจนถึงเทือกเขาฮินดูกูชว่าโฆรอซอน[4][5] หลักฐานจากคริสต์ศตวรรษที่ 10 เรียกพื้นที่ทางใต้ของเทือกเขาฮินดูกูชว่า โฆรอซอนมาร์ชิส (Khorasan Marches) และเป็นพรมแดนระหว่างโฆรอซอนกับฮินดูสถาน[19][20]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Sistan and Khorasan Travelogue Page 48
  2. 2.0 2.1 Dabeersiaghi, Commentary on Safarnâma-e Nâsir Khusraw, 6th Ed. Tehran, Zavvâr: 1375 (Solar Hijri Calendar) 235–236
  3. 3.0 3.1 Minorsky, V. (1938). "Geographical Factors in Persian Art". Bulletin of the School of Oriental Studies, University of London, 9(3), 621-652.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Khorasan". Encyclopædia Britannica Online. สืบค้นเมื่อ 2010-10-21. historical region and realm comprising a vast territory now lying in northeastern Iran, southern Turkmenistan, and northern Afghanistan. The historical region extended, along the north, from the Amu Darya westward to the Caspian Sea and, along the south, from the fringes of the central Iranian deserts eastward to the mountains of central Afghanistan. Arab geographers even spoke of its extending to the boundaries of India.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Lambton, Ann K.S. (1988). Continuity and Change in Medieval Persia: Aspects of Administrative, Economic and Social History, 11th-14th Century. Columbia Lectures on Iranian Studies. New York, NY: Bibliotheca Persica. p. 404. In the early centuries of Islam, Khurasan generally included all the Muslim provinces east of the Great Desert. In this larger sense, it included Transoxiana, Sijistan and Quhistan. Its Central Asian boundary was the Chinese desert and the Pamirs, while its Indian boundary lay along the Hindu Kush toward India.
  6. Bosworth, C.E. (1986). Encyclopedia of Islam, Vol. 5, Khe – Mahi (New ed.). Leiden [u.a.]: Brill [u.a.] pp. 55–59. ISBN 90-04-07819-3.
  7. Rezakhani, Khodadad (2019-01-01). "Miirosan to Khurasan: Huns, Alkhans, and the Creation of East Iran". Vicino Oriente. 23: 121–138. doi:10.53131/VO2724-587X2019_9.
  8. Sykes, M. (1914). "Khorasan: The Eastern Province of Persia". Journal of the Royal Society of Arts, 62(3196), 279-286.
  9. A compound of khwar (meaning "sun") and āsān (from āyān, literally meaning "to come" or "coming" or "about to come"). Thus the name Khorasan (or Khorāyān خورآيان) means "sunrise", viz. "Orient, East". Humbach, Helmut, and Djelani Davari, "Nāmé Xorāsān" เก็บถาวร 2011-01-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Johannes Gutenberg-Universität Mainz; Persian translation by Djelani Davari, published in Iranian Languages Studies Website. MacKenzie, D. (1971). A Concise Pahlavi Dictionary (p. 95). London: Oxford University Press. The Persian word Khāvar-zamīn (เปอร์เซีย: خاور زمین), meaning "the eastern land", has also been used as an equivalent term. DehKhoda, "Lughat Nameh DehKhoda" เก็บถาวร 2011-07-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  10. "Khorāsān". britannica.com. Encyclopædia Britannica, Inc. สืบค้นเมื่อ 8 December 2018.
  11. Svat Soucek, A History of Inner Asia, Cambridge University Press, 2000, p.4
  12. C. Edmund Bosworth, (2002), 'Central Asia iv. In the Islamic Period up to the Mongols' Encyclopaedia Iranica (online)
  13. C. Edmund Bosworth, (2011), 'Mā Warāʾ Al-Nahr' Encyclopaedia Iranica (online)
  14. Schindel, Nikolaus (2013a). "Kawād I i. Reign". Encyclopaedia Iranica, Vol. XVI, Fasc. 2. pp. 136–141.
  15. Rezakhani, Khodadad (2019-01-01). "Miirosan to Khurasan: Huns, Alkhans, and the Creation of East Iran". Vicino Oriente. 23: 121–138. doi:10.53131/VO2724-587X2019_9.
  16. Rezakhani, Khodadad (2017-03-15). ReOrienting the Sasanians: East Iran in Late Antiquity (ภาษาอังกฤษ). Edinburgh University Press. ISBN 978-1-4744-0030-5.
  17. Vondrovec, Klaus (2014). Coinage of the Iranian Huns and their Successors from Bactria to Ganhara (4th to 8th century CE). ISBN 978-3-7001-7695-4.
  18. Sykes, P. (1906). A Fifth Journey in Persia (Continued). The Geographical Journal, 28(6), 560-587.
  19. Minorsky, V. (1937). Hudud al-'Alam, The Regions of the World: A Persian Geography, 372 A.H. - 982 A.D. London: Oxford UP.
  20. Zahir ud-Din Mohammad Babur (1921). "Events of the Year 910". Memoirs of Babur. แปลโดย John Leyden; William Erskine. Packard Humanities Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 2010-08-22.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

36°N 62°E / 36°N 62°E / 36; 62