ข้ามไปเนื้อหา

กอนดอซ

พิกัด: 36°43′43″N 68°52′5″E / 36.72861°N 68.86806°E / 36.72861; 68.86806
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กุนดุซ)
กอนดอซ


กูนดูซ, คูนดูซ
กอนดอซตั้งอยู่ในประเทศอัฟกานิสถาน
กอนดอซ
กอนดอซ
พิกัด: 36°43′43″N 68°52′5″E / 36.72861°N 68.86806°E / 36.72861; 68.86806
ประเทศ อัฟกานิสถาน
แคว้นกอนดอซ
อำเภอกอนดอซ
First mention329 BCE
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด11,206 ha (27,691 เอเคอร์)
 • พื้นดิน112 ตร.กม. (43 ตร.ไมล์)
ความสูง[1]351 เมตร (1,152 ฟุต)
ประชากร
 (2014–2015)[2]
 • ทั้งหมด268,893 คน
 • ความหนาแน่น2,400 คน/ตร.กม. (6,200 คน/ตร.ไมล์)
 Population total is estimated
เขตเวลาUTC+4:30 (เวลาอัฟกานิสถาน)
รหัสไปรษณีย์35XX

กอนดอซ (ปาทาน: قندوز; เปอร์เซีย: قندوز) หรือ คูนดูซ (อักษรโรมัน: Kunduz; /kʊndz/) เป็นนครในอัฟกานิสถานตอนเหนือ เมืองหลวงของแคว้นกอนดอซ มีประชากรประมาณ 268,893 คน ณ ปี 2015 ถือว่ามีประชาการมาที่สุดอันดับเจ็ดของประเทศ และมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถาน[2] กอนดอซตั้งอยู่ในภูมิภาคตอคารีสถานในอดีตของบักเตรีย ใกล้กับจุดบรรจบของแม่น้ำกอนดอซและแม่น้ำข่านาบาด กอนดอซเชื่อมต่อเข้ากับเมืองหลวงคาบูลและเมืองอื่น ๆ ในประเทศผ่านทางหลวง กอนดอซเป็นที่รู้จักในประเทศในฐานะแหล่งผลิตแตงโมที่มีชื่อเสียง

ข้อมูล ณ ปี 2015 ระบุการจัดสรรพื้นที่ในเขตเทศบาลนครอยู่ที่ 65.8% เป็นพื้นที่เกษตรกรรม และยังมีสนามบินอยู่ในเขตหนึ่งแห่ง[1]

ในสมัยโบราณ นครนี้มีชื่อว่าออร์นอส (Bactrian: οαρνο, อักษรโรมัน: อุ่น)[3] และต่อมาชื่อ วัลวาลีจ (Walwalij)[4] หรือ วาร์วาลีซ (Varvaliz)[5] ชื่อปัจจุบันเริ่มใช้ในสมัยจักรวรรดิตีมูริด

กอนดอซเคยเป็นราชธานีในศตวรรษที่ 18-19 ของรัฐข่านกอนดอซของชาวอุซเบก และเมื่อเจริญสูงสุดกินพื้นที่จากแบลค์ไปถึงเทือกเขาปามีร์ ในรัชสมัยของมูราด เบก (1815–1842) ก่อนจะเริ่มเสื่อมลงหลังแพ้ให้กับดอซต์ โมฮัมมัด ข่าน[6] หลังจากมูราดเสียชีวิต รัฐข่านเสื่อมถอยลงจนท้ายที่สุดถูกผนวกเข้ากับอัฟกานิสถานในปี 1859[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "State of Afghan Cities report 2015 (Volume-II)" (ภาษาอังกฤษ และ Dari). UN-Habitat. 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-26. สืบค้นเมื่อ 2021-10-26.
  2. 2.0 2.1 "State of Afghan Cities report 2015 (Volume-I English)" (ภาษาอังกฤษ). UN-Habitat. 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-26. สืบค้นเมื่อ 2021-10-26.
  3. Sims-Williams. New Light on Ancient Afghanistan. pp. 16–17.
  4. "Asien-Afrika-Institut". uni-hamburg.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-09.
  5. Gholami, Saloumeh. Selected Features of Bactrian Grammar. p. 80.
  6. Noelle-Karimi, Christine (1997). State And Tribe In Nineteenth Century Afghanistan: The Reign Of Amir Dost Muhammad Khan (1826-1863). p. 84.
  7. Noelle-Karimi, Christine (1997). State And Tribe In Nineteenth Century Afghanistan: The Reign Of Amir Dost Muhammad Khan (1826-1863). p. 88.