ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนราชวินิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนราชวินิต
Rachawinit School
พระมหาพิชัยมงกุฎ
ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนราชวินิต

ข้อมูล
ชื่ออื่นส.ร.น. (S.R.N.)
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
โรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คติพจน์สถานที่อบรมกุลบุตรกุลธิดาให้เป็นคนดี ด้วยพระบารมีปกเกล้าฯ
ก่อตั้ง13 มิถุนายน 2509
เขตการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1010720003
ผู้อำนวยการดร.ปรพล แก้วชาติ
สีขาว-กรมท่า   
คำขวัญเด็กเป็นสำคัญ สร้างสรรค์ความดี สู่วิถีความเป็นเลิศ
เพลงมาร์ชราชวินิต
นโยบายมุ่งพัฒนาความคิด จิตมีคุณธรรม น้อมนำพระราชดำริ วิถีชีวิตพอเพียง
อัตลักษณ์ราชวินิตทุกคนเป็นคนดีในพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม
ศาสนวัตถุศาลท่านจุก
ต้นไม้เฟื่องฟ้า
เว็บไซต์www.rachawinit.ac.th

โรงเรียนราชวินิต (อังกฤษ: Rachawinit School) เป็นโรงเรียนสหศึกษาในเขตดุสิต ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2509 ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ประวัติ

[แก้]

โรงเรียนราชวินิตถือกำเนิดด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คำว่า "ราชวินิต" เป็นนามพระราชทาน ความหมายว่า "สถานที่อบรมกุลบุตรกุลธิดาให้เป็นคนดี ด้วยพระบารมีปกเกล้าฯ"

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชปรารถที่จะจัดตั้งโรงเรียนราชอุปถัมภ์ ณ บริเวณสวนเพาะชำ วังสวนกุหลาบ จำนวน 6 ไร่ ทรงให้สำนักพระราชวังจัดตั้งเป็นโรงเรียนราษฎร์ ระดับประถมศึกษา รับนักเรียนที่เป็นบุตรหลานข้าราชการสำนักพระราชวัง โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน ขอครูจากกระทรวงศึกษาธิการมาช่วยทำการสอน ใช้งบประมาณจากสวัสดิการของกองมหาดเล็ก สำนักพระราชวัง จำนวน 1,000,000 บาท สร้างอาคารเรียน

เมื่อหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ทราบพระราชประสงค์ จึงรับสนองพระบรมราชโองการ จัดตั้งโรงเรียนราชวินิต เป็นโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกองการประถมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2509 เปิดสอนชั้นเด็กเล็กถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 รับนักเรียนที่เป็นบุตรหลานข้าราชการ สำนักพระราชวัง และของบุคคลทั่วไป โดยมีคุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ เป็นผู้บริหารโรงเรียนคนแรก ส่วนที่มาของตัวย่อของ ส.ร.น. นั้น ย่อมากจากคำว่า สามัญราชวินิต ซึ่งเป็นโรงเรียนราชวินิตแห่งแรก และยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานเครือราชวินิตอีกด้วย

เหตุการณ์

[แก้]

วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนิน มาทรงประกอบพิธี เปิดอาคารเรียนหลังที่ 3 และพระราชทานทุนแก่นักเรียนที่เรียนดี

วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2517 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาทรงประกอบพิธี เปิดอาคารเรียนหลังที่ 4

วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์มาทรงเปิดอาคารเรียนหลังที่ 5, 6 และสระว่ายน้ำ

วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2534 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์มาทรงเปิดอาคารเรียนหลังที่ 9

วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2536 สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จแทนพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ทรงเปิดห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ทรงเจริญพระชันษา 3 รอบ

ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิต

[แก้]
  1. คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ (2509 - 2535)
  2. นายชัยยุทธ บุณย์สวัสดิ์ (2536 - 2546)
  3. นางเพ็ญพรรณ ยูวะเวส (2546 - 2549)
  4. นางแสงระวี วาจาวุทธ (2549 - 2557)
  5. นายบัณฑิต พัดเย็น (2557 - 2560)
  6. ดร.สุพรรัตน์ สัตตธนชัยภัทร (2560 - 30 กันยายน 2565)
  7. ดร.ปรพล แก้วชาติ (2565 - ปัจจุบัน)

สถานที่ที่อยู่ใกล้เคียง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]