ตลาดธนบุรี
ตลาดธนบุรี หรือที่นิยมเรียกติดปากว่า สนามหลวง 2 ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 195/1 หมู่ที่ 1 ถนนทวีวัฒนา แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170
ประวัติ
[แก้]ตลาดธนบุรีเกิดขึ้นมาเนื่องจากทางกรุงเทพมหานครมีโครงการจัดสร้างตลาดขนาดใหญ่และสวนสาธารณะในเขตฝั่งธนบุรี เพื่อให้ประชาชนฝั่งธนบุรีมีสถานที่จับจ่ายสินค้าและพักผ่อน รวมทั้งพื้นที่กิจกรรมต่าง ๆ จึงเลือกเช่าพื้นที่ของห้างหุ้นส่วนจำกัด สวนพฤกษศาสตร์กรุงเทพ ในระยะเวลาเช่า 30 ปี ในพื้นที่รวม 110 ไร่ โดยแบ่งออกเป็นสวนสาธารณะ 60 ไร่ พื้นที่ตลาด 40 ไร่ อาคารสำนักงาน และทางเข้า 10 ไร่ โดยเปิดให้ประชาชนเข้ามาจับจ่ายตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 โดยใช้ชื่อว่า ตลาดนัดธนบุรี (สนามหลวง 2) โดยเปิดขายของเฉพาะวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เท่านั้น
จนกระทั่งถึงสมัยนายสมัคร สุนทรเวช เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประสงค์ให้จัดเป็นตลาดทั้ง 7 วัน จึงขยายเวลาการขายออกเป็นทุกวัน ไม่มีวันหยุด พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อเป็น ตลาดธนบุรี เช่นในปัจจุบัน โดยในวันจันทร์จะเป็นวันขายส่งต้นไม้และของประดับตกแต่งบ้านและของเก่า วันอังคารเป็นวันขายส่งปลาสวยงาม ซึ่งปัจจุบัน ตลาดธนบุรีนับเป็นตลาดที่จำหน่ายกล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ตลาดธนบุรีนับเป็นตลาดที่แตกต่างไปจากตลาดอื่น ๆ อย่างชัดเจน โดยมีลักษณะร่มรื่น น่าเดิน เพราะมีสวนสาธารณะที่เป็นสวนมะพร้าวขนาดใหญ่ สลับกับร่องน้ำและเส้นทางจักรยานจำนวนทั้งสิ้น 12 ไร่ อยู่ใกล้เคียง และขนาบด้วยสวนทวีวนารมย์
ในปี พ.ศ. 2548 ตลาดธนบุรีได้ขยับขยายพื้นที่ออกไปเป็นโครงการ 2 โดยสร้างเป็นอาคารร้านค้าถาวร รวมทั้งอาหารสด และกลุ่มอาหารเปิดครบ โดยกลุ่มสินค้าที่ขายดีที่สุดได้แก่ กล้วยไม้ ปลาสวยงาม สัตว์เลี้ยง และอาหารตามลำดับ เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ จะมีรถเข้ามาจอด ณ ตลาดธนบุรีประมาณ 2,500 คัน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2545)
ในปี พ.ศ. 2554 ประสบภาวะน้ำท่วมรุนแรง เกิดความเสียหายที่ทำให้ผู้ค้าร้องเรียนเพื่อให้ช่วยเหลือเยียวยาแก้ไข
ในปี พ.ศ. 2555 หลังเหตุการณ์มหาอุทกภัยในปลายปี พ.ศ. 2554 ตลาดธนบุรีก็ได้รับผลกระทบอย่างหนักด้วย[1] ทำให้ได้มีความคิดที่จะเปิดโครงการตลาดแห่งใหม่เพื่อรองรับผลกระทบของผู้ค้าที่ได้รับผลกระทบในครั้งนั้น โดย บริษัท จีแอลโอ ดับบลิว ดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด ในที่สุดในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ก็ได้เปิดในชื่อ "รัฐประชามาร์เก็ต" บนพื้นที่ 6 ไร่ ด้วยทุนกว่า 500 ล้านบาท มีร้านค้าย่อยในโครงการกว่า 1,000 แผง โดยในระยะแรกที่เปิดดำเนินการในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ถึง 1 เมษายน ปีเดียวกัน เปิดให้ทำการขายฟรี คิดคำนวณมีรถเข้าออกโครงการเฉลี่ยวันละไม่ต่ำกว่า 6,000-8,000 คัน มีเงินสะพัดกว่าสิบล้านบาท[2]
อุบัติเหตุ
[แก้]ตลาดธนบุรีจนถึงปัจจุบัน ได้เกิดอุบัติเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ค้า 3 ครั้ง และเป็นภัยพิบัติ 1 ครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อเวลา 21.00 น. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เมื่อเกิดไฟดับตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้าของอีกวัน โดยไม่มีการแก้ไข เป็นเวลากว่า 13 ชั่วโมง ทำให้ปลาสวยงามต้องขาดอากาศหายใจตายเป็นจำนวนนับแสนตัว รวมค่าเสียหายราว 5 ล้านบาท ซึ่งทางกรุงเทพมหานครได้แสดงความรับผิดชอบโดยการให้ค้าขายโดยไม่เก็บค่าเช่าเป็นระยะเวลา 1 ปี[3][4]
ครั้งที่สอง เกิดขึ้นเมื่อเวลา 21.45 น. ของวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554 เกิดไฟไหม้จากเหตุไฟฟ้าลัดวงจร บริเวณโซน 1 ล็อก 13-16 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นร้านขายเฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่งภายใน และสิ่งของเบ็ดเตล็ด ไฟได้ไหม้ร้านค้าเป็นจำนวน 100 ห้อง ค่าเสียหายไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท[5]
ครั้งที่สาม เกิดไฟดับขึ้นเมื่อเวลา 21.00 น. ของวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ถึงเวลา 10.00 น. วันที่ 5 ตุลาคม ปีเดียวกัน ทำให้ปลาสวยงามราคาแพงจำนวนมากต้องตายลงเหมือนอุบัติเหตุครั้งแรก รวมค่าความเสียหายกว่า 5 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มผู้ค้าได้รวมตัวกันเรียกร้องหามาตรการป้องกันที่จะมิให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีก ต่อผู้บริหารของกรุงเทพมหานคร[6]
ในปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 ได้เกิดเหตุการณ์มหาอุทกภัย ตลาดธนบุรีซึ่งตั้งอยู่ในเขตทวีวัฒนาก็ได้รับผลกระทบอย่างหนักอีกด้วย ผู้ค้าหลายรายได้ยกสินค้าขึ้นสู่ที่สูง แต่บางรายก็ไม่สามารถที่จะทำได้ ทำให้ได้รับผลเสียหาย[1]
การเดินทางไปตลาดธนบุรี
[แก้]- จากถนนบรมราชชนนี เข้าถนนพุทธมณฑลสาย 3 เลี้ยวขวาที่แยกสวนแสงธรรม ตรงสู่ตลาดธนบุรี
- จากถนนบรมราชชนนี เข้าถนนทวีวัฒนา เลี้ยวขวาเข้าสู่ตลาดธนบุรี
- จากถนนเพชรเกษม เข้าถนนพุทธมณฑลสาย 3 เลี้ยวซ้ายที่แยกสวนแสงธรรม ตรงเข้าตลาดธนบุรี
- จากถนนเพชรเกษม เข้าถนนทวีวัฒนา เลี้ยวซ้ายเข้าตลาดธนบุรี
- จากถนนพุทธมณฑลสาย 4 เข้าถนนอุทยาน ชิดซ้ายเลี้ยวขวาลอดใต้สะพานเข้าถนนทวีวัฒนา เลี้ยวขวาเข้าตลาดธนบุรี
รถโดยสารประจำทาง
[แก้]ตลาดธนบุรี (ท่ารถสนามหลวง 2 สาย 91ก)
[แก้]องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
[แก้]สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | เส้นทาง | เวลาเดินรถเที่ยวแรก (ตลาดธนบุรี) | เวลาเดินรถเที่ยวแรก (สนามหลวง) | เวลาเดินรถเที่ยวสุดท้าย (ตลาดธนบุรี) | เวลาเดินรถเที่ยวสุดท้าย (สนามหลวง) | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
91ก (3) | สนามหลวง 2 (ตลาดธนบุรี) | สนามหลวง | 91ก |
05:00 น. | 06:00 น. | 19:40 น. | 21:00 น. | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ขสมก. |
- สาย 91ก สำนักงานเขตบางกอกใหญ่-ตลาดธนบุรี
- รถโดยสารสองแถวจากตลาดสดบางแค
สถานที่ใกล้เคียง
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- [ลิงก์เสีย] ช้อปปิ้ง "ตลาดธนบุรี" มีดีที่ต้นไม้ จากผู้จัดการออนไลน์
- นิตยสาร petmag ฉบับเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545
- ↑ 1.0 1.1 "ตลาดนัดสนามหลวง 2 น้ำแห้งแล้ว". วอยซ์ทีวี. 6 ธันวาคม 2554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-23. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ผุดตลาดใหม่รับทัพแม่ค้าจตุจักร "รัฐประชามาร์เก็ต"เปิดพันแผง". ไทยรัฐ. 27 มกราคม 2555. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ไฟดับ 13 ชั่วโมง ปลาสวยงามตายนับแสนตัว ผู้ค้าเจ๊ง 5 ล้าน! จากผู้จัดการออนไลน์[ลิงก์เสีย]
- ↑ พ่อค้าปลาร้อง กฟน.ชดใช้หลังไฟดับปลาตายเสียหลายล้าน จากผู้จัดการออนไลน์[ลิงก์เสีย]
- ↑ [https://web.archive.org/web/20110201163503/http://www.komchadluek.net/detail/20110129/87287/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%872%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A.html เก็บถาวร 2011-02-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เพลิงไหม้ตลาดสนามหลวง2วอดเพียบ จากคมชัดลึก]
- ↑ [ลิงก์เสีย] สนามหลวง 2 บุกร้องผู้ว่าฯ ไฟฟ้าดับทำปลาตายเจ๊งกว่า5ล. จากแนวหน้า
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ตลาดธนบุรี
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
13°44′46″N 100°21′08″E / 13.746125°N 100.352344°E
- "ตลาดธนบุรี สนามหลวง 2 (สำนักงานตลาด)". เฟซบุก. สืบค้นเมื่อ 2017-05-10.