ข้ามไปเนื้อหา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย

พิกัด: 13°44′30″N 100°31′52″E / 13.741647°N 100.531050°E / 13.741647; 100.531050
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
วิทยาเขตอุเทนถวาย
Rajamangala University of Technology Tawan-ok : Uthenthawai Campus
ชื่ออื่นมทร.ตะวันออก วข.อุเทนถวาย / RMUTTO UTHEN
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 (90 ปี)
ที่ตั้ง
สี   น้ำเงิน-ขาว
เว็บไซต์http://www.uthen.rmutto.ac.th

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย (อังกฤษ: Rajamangala University of Technology Tawan-ok : Uthenthawai Campus) เป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เดิมชื่อว่า "โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย"[1] ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 225 ถนนพญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีน้ำเงิน สีขาว คติพจน์ "ถ้าเรารักสมัครจิต ก็ต้องคิดสมัครมือ ถิ่นสีน้ำเงิน คือ ที่รวมรักสมัครคง"

ประวัติ

[แก้]

พ.ศ. 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย มาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการโรงเรียนเพาะช่าง จนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2465 ตลอดระยะเวลาที่ทรงรับราชการ ได้บริหารการศึกษาศิลปหัตถกรรม ของโรงเรียนเพาะช่างให้เจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก ได้รับความนิยมตั้งแต่พระมหากษัตริย์ จนถึงเจ้านาย ข้าราชการ และบุคคลทั่วไป ตลอดชาวต่างประเทศ ทรงจัดตั้งแผนกช่างทอง แผนกเจียระไนเพชร พลอย แผนกทำบล็อกสกรีน โดยเฉพาะเครื่องถม ได้ขยายวิธีการไปอย่างกว้างขวางจนเป็นที่แพร่หลาย เป็นที่รู้จักมาจนถึงปัจจุบันคือ “ ถมจุฑาธุช “ ทรงจัดให้มีพิธีไหว้ครูช่างแบบอย่างโบราณขึ้นในโรงเรียนเพาะช่างเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2463 และทรงคิดสีประจำโรงเรียนคือ สีแดง-ดำ สีแดงหมายถึงเลือดของช่าง สีดำหมายถึงไม่ใช่ช่าง เพื่อเป็นเครื่องเตือนสติให้ช่างทั้งหลายได้มีเลือดเป็นสีแดงอยู่เสมอ อย่าให้สีแดงของช่างจางไปหรือกลายเป็นสีดำ

ทรงขยายแผนกการค้า ทรงสร้างห้องแสดงสินค้าห้องประชุมโรงเรียนเพาะช่าง จนกระทั่งนำผลกำไรจากการค้าของโรงเรียนช่าง ไปสร้างโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายขึ้นอีกโรงเรียนหนึ่ง คือ วิทยาเขตอุเทนถวาย ปัจจุบัน นั่นเอง

วิทยาเขตอุเทนถวาย ก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนเพาะช่าง แผนกช่างก่อสร้าง โรงเรียนเพาะช่างก่อสร้างอุเทนถวาย หรือ "โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย" ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 จึงได้โอนมาเป็นวิทยาเขตในสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา และได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งในปี พ.ศ. 2533 เป็น "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตอุเทนถวาย" ปัจจุบัน เป็นวิทยาเขตหนึ่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เปิดสอนในสาขาวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์

พิ้นที่ของอุเทนถวายทำการเช่าที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี 2478 มีการขอเจรจาคืนในปี 2518 มีแผนพัฒนา ศูนย์นวัตกรรมงานสร้างสรรค์เพื่อชุมชนยั่งยืนในปี 2545 กรมธนารักษ์ได้มีการจัดหาพื้นที่ใหม่ให้อุเทนถวายจำนวน 35 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่กรมการบินพลเรือนและเป็นที่ราชพัสดุ [2]บริเวณ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ[3][4] ครม.จัดสรรงบเพื่อก่อสร้างและขนย้าย 200 ล้านบาท อุเทนถวายทำข้อตกลงกับจุฬาเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2547 จะขนย้ายและส่งมอบให้แก่จุฬาภายในวันที่ 30 กันยายน 2548 หากจำเป็นผ่อนผันได้ไม่เกิน 1 ปี ปี 2548 มีการทำบันทึกข้อตกลงว่าอุเทนถวายจะย้ายไปก่อสร้างที่ใหม่ บริเวณบางพลี จ.สมุทรปราการ พร้อมทั้งนี้จะย้ายบุคลากรและนักศึกษาให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 แต่การย้ายยังติดขัดปัญหาและเป็นไปอย่างล่าช้า กระทั่ง ปี 2550 สำนักงานอัยการสูงสุดได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาชี้ขาดการยุติในการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(กยพ.) ซึ่งระหว่างนั้นสโมสรนักศึกษาอุเทนถวาย ได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา 2 ครั้ง[5] และปี 2552 กยพ.มีมติชี้ขาดให้อุเทนถวายขนย้ายทรัพย์สินและคืนพื้นที่ให้จุฬาฯ และชำระค่าเสียหายปีละล้านบาทเศษ จนกว่าจะส่งมอบพื้นที่เสร็จ ส่วนผลการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา สำนักราชเลขาธิการได้มีหนังสือยืนยันผลชี้ขาดตามมติของ กยพ. และทางจุฬาฯ ก็ไม่ได้ทวงเงินค่าเสียหายจากอุเทนถวายแต่อย่างใด ต่อมาในเดือนธันวาคม 2565 ศาลปกครองสูงสุด ศาลมีคำสั่งให้อุเทนถวายย้ายออกจากพื้นที่ โดยจะต้องดำเนินการภายใน 60 วันหลังจากมีคำสั่ง[6] [7] (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 1052/2565[8])

คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์

[แก้]
  • สาขาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิศวกรรมก่อสร้าง
  • สาขาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม
  • สาขาสถาปัตยกรรมภายใน
  • สาขาออกแบบอุตสาหกรรม
  • สาขาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง
  • สาขาการบริหารงานก่อสร้าง

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

[แก้]

วิชาชีพช่างฝีมือ และงานก่อสร้าง

[แก้]

ศิลปิน

[แก้]

อื่นๆ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ปล่อยวางความแค้น ย้อนดูรากเหง้า อุเทน - ปทุมวัน 2 วิทยาลัยช่างสร้างชาติ
  2. "อุเทนถวายได้ข้อสรุปวิทยาเขตใหม่ให้ตั้งที่บางพลี". mgronline.com. 2005-04-26.
  3. "จุฬาฯ แจงข้อเท็จจริงกรณีที่ดิน". dailynews. 2017-04-12.
  4. isranews (2013-03-15). "จุฬาจี้ศธ.ประสานอุเทนถวายเจรจา". สำนักข่าวอิศรา.
  5. ฐานเศรษฐกิจ (2023-02-16). "เปิดปม "ย้ายอุเทนถวาย" เหตุจุฬาฯขอคืนพื้นที่ ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด". thansettakij.
  6. "'อุเทนถวาย' ชุมนุมค้านย้ายที่ตั้งใหม่ โพลชี้ 74.43% หนุนอยู่ที่เดิม". คมชัดลึกออนไลน์. 2023-02-16.
  7. อุเทนถวายรวมตัวยื่นหนังสือ หลังศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้ย้ายออกจากพื้นที่ ปมข้อพิพาทที่ดินกับจุฬาฯ, สืบค้นเมื่อ 2023-02-17
  8. https://www.admincourt.go.th/admincourt/Casefile/admcase/document/signed/pdf/2559/01012-590418-1f-651214-0000734338.pdf คำพิพากษาศาลปกครอง หมายเลขแดง อ. 1052/2565 กรณีให้อุเทนถวายออกจากพื้นที่

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°44′30″N 100°31′52″E / 13.741647°N 100.531050°E / 13.741647; 100.531050