ข้ามไปเนื้อหา

ดามัสกัส

พิกัด: 33°30′47″N 36°17′31″E / 33.51306°N 36.29194°E / 33.51306; 36.29194
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ดามัสคัส)
ดามัสกัส

دمشق
มัสยิดอุมัยยะฮ์ ทิวทัศน์ดามัสกัส • เขากอซิยูน มักตับอันบัร • วังอัลอัซม์ อัตตะกียะฮ์ อัสซุลัยมานียะฮ์
ธงของดามัสกัส
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของดามัสกัส
ตรา
สมญา: 
เมืองแห่งดอกมะลิ[1] (مَدِينَةُ الْيَاسْمِينِ)
อัลฟัยฮาอ์[2] (อาหรับ: الْفَيْحَاء, อักษรโรมัน: al-Fayḥāʾ)[note 1]
ดามัสกัสตั้งอยู่ในประเทศซีเรีย
ดามัสกัส
ดามัสกัส
ที่ตั้งของดามัสกัสในประเทศซีเรีย
ดามัสกัสตั้งอยู่ในเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก
ดามัสกัส
ดามัสกัส
ดามัสกัส (เมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก)
พิกัด: 33°30′47″N 36°17′31″E / 33.51306°N 36.29194°E / 33.51306; 36.29194
ประเทศ ซีเรีย
เขตผู้ว่าการเมืองหลวงดามัสกัส
อยู่ในพื้นที่ควบคุมของรัฐบาลเปลี่ยนผ่านซีเรีย[5][6]
เทศบาล16
การปกครอง
 • ผู้ว่าการMohammad Tariq Kreishati[7]
พื้นที่[8]
 • เมืองหลวง105 ตร.กม. (41 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง77 ตร.กม. (29.73 ตร.ไมล์)
ความสูง680 เมตร (2,230 ฟุต)
ประชากร
 (ประมาณ ค.ศ. 2022)
 • เมืองหลวง2,503,000[4] คน
เขตเวลาUTC+3
รหัสพื้นที่รหัสประเทศ: 963, รหัสเมือง: 11
รหัสภูมิศาสตร์C1001
รหัส ISO 3166SY-DI
ภูมิอากาศBWk
เอชดีไอ (2011)0.714[9]สูง
ท่าอากาศยานนานาชาติท่าอากาศยานนานาชาติดามัสกัส
เว็บไซต์www.damascus.gov.sy
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนเมืองโบราณดามัสกัส
ประเภทวัฒนธรรม
เกณฑ์i, ii, iii, iv, vi
ขึ้นเมื่อ1979 (คณะกรรมการสมัยที่ 3)
เลขอ้างอิง20
ภูมิภาครัฐอาหรับ

ดามัสกัส (อังกฤษ: Damascus, /dəˈmæskəs/ də-mass-kəs หรือ /dəˈmɑːskəs/ də-mah-skəs; อาหรับ: دمشق, อักษรโรมัน: Dimashq, สัทอักษรสากล: [diˈmaʃq]) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศซีเรีย บางคนถือว่าเมืองนี้เป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ลำดับที่ 4 ในศาสนาอิสลาม[10][11][12] ชาวซีเรียเรียกขานเมืองนี้ว่า อัชชาม (الشَّام) และมีสมญาว่า "เมืองแห่งดอกมะลิ" (مَدِينَةُ الْيَاسْمِينِ Madīnat al-Yāsmīn)[1] ดามัสกัสเป็นศูนย์วัฒนธรรมที่สำคัญของลิแวนต์และโลกอาหรับ ประมาณการว่าเมืองนี้มีประชากร 2,503,000 คนใน ค.ศ. 2022

เมืองตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศซีเรีย เป็นศูนย์กลางของเขตมหานคร (Greater Damascus) ที่มีประชากร 2.7 ล้านคน (2004)[13] ในทางภูมิศาสตร์เมืองวางตัวอยู่ทางเชิงเขาด้านตะวันออกของเทือกเขา แอนติเลบานอน ห่างจากชายฝั่งด้านตะวันออกของทะเลเมดิเตอเรเนียน เข้าไป 80 กิโลเมตร (50 ไมล์) บนที่ราบสูง 680 เมตร (2,230 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล ดามัสกัสมีภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทราย เนื่องจากอยู่ในเขตเงาฝน

ดามัสกัสเป็นหนึ่งในเมืองที่มีคนอาศัยอยู่อย่างต่อเนื่องที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[14] โดยมีผู้ตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช จากนั้นจึงกลายเป็นเมืองหลวงของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ใน ค.ศ. 661 ถึง 750 หลังราชวงศ์อับบาซียะฮ์ชนะ จึงย้ายศูนย์กลางอำนาจของรัฐอิสลามไปที่แบกแดด ดามัสกัสมีบทบาททางการเมืองลดลงในยุคนั้น โดยรื้อฟื้นกลับมามีความสำคัญอีกครั้งในสมัยอัยยูบิดถึงมัมลูก ปัจจุบัน ดามัสกัสเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลางซีเรีย ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2024 สิบสามปีหลังสงครามกลางเมืองซีเรีย มีการประกาศให้ดามัสกัสเป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัยน้อยที่สุดในโลกจาก 173 เมืองทั่วโลก (global cities) ในการจัดอันดับ Global Liveability[15]

ชื่อและศัพทมูลวิทยา

[แก้]
timsqwxAst
หรือ
timsz
q
w
ṯmsqw[16]
ในไฮเออโรกลีฟอียิปต์
สมัย: ราชอาณาจักรใหม่
(1550–1069 BC)

ชื่อดามัสกัสปรากฏในรายการทางภูมิศาสตร์ของฟาโรห์ทุตโมสที่ 3 เป็น ṯmśq (𓍘𓄟𓊃𓈎𓅱) เมื่อศตวรรษที่ 15 ก่อนคริสต์ศักราช[17] ศัพทมูลวิทยาของชื่อโบราณ ṯmśq ยังไม่เป็นที่กระจ่าง โดยมีผู้เสนอเป็น Imerišú (𒀲𒋙) ในภาษาแอกแคด, ṯmśq (𓍘𓄟𓊃𓈎𓅱) ในภาษาอียิปต์, Damašq (𐡃𐡌𐡔𐡒) ในภาษาแอราเมอิกเก่า และ Damméseq (דַּמֶּשֶׂק) ในภาษาฮีบรูไบเบิล มีผู้พบรูปสะกดแบบแอกแคดจำนวนหนึ่งบนจดหมายอามาร์นาที่เขียนในศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสต์ศักราช ได้แก่: Dimasqa (𒁲𒈦𒋡), Dimašqì (𒁲𒈦𒀸𒄀), และ Dimašqa (𒁲𒈦𒀸𒋡)

ภายหลังรูปสะกดของชื่อเมืองในภาษาแอราเมอิกมักรวม resh (อักษร r) แทรกซอน โดยอาจได้รับอิทธิพลจากรากศัพท์ dr ที่หมายถึง "ที่อยู่อาศัย" ทำให้ชื่อเมืองในภาษาอังกฤษกับภาษาละตินจึงเป็น Damascus ซึ่งนำเข้ามาจากภาษากรีกว่า Δαμασκός และมีต้นกำเนิดจากกุมรอนว่า Darmeśeq (דרמשק), และ Darmsûq (ܕܪܡܣܘܩ) ในภาษาซีรีแอก"[18][19] หมายถึง "ดินแดนที่อุดมไปด้วยน้ำ"[20]

เมื่องนี้มีชื่อเรียกในภาษาอาหรับว่า ดิมัชก์ (دمشق Dimašq)[21] ส่วนอีกชื่อหนึ่งคือ อัชชาม โดยอัชชามในภาษาอาหรับใช้เรียก "ลิแวนต์" ส่วน "ซีเรีย" โดยเฉพาะในอดีตภูมิภาคซีเรีย มีชื่อเรียกว่า บิลาดุชชาม (بلاد الشام, แปลว่า ดินแดนลิแวนต์)[note 2] ศัพท์หลัง ในเชิงศัพทมูลวิทยา หมายถึง "ดินแดนทางฝั่งซ้าย" หรือ "ทางเหนือ" เนื่องจากบุคคลจากฮิญาซหันหน้าไปทางตะวันออก ตรงทิศที่ดวงอาทิตย์ขึ้น ทำให้ทิศเหนืออยู่ฝั่งซ้าย โดยชื่อนี้เป็นชื่อที่อยู่ตรงข้ามกับชื่อเยเมน (اَلْيَمَن al-Yaman) ที่แปลว่า "ฝั่งขวามือ" หรือ "ทางใต้" รูปแบบอักษร ش ء م (š-ʾ-m') ของ ش م ل (š-m-l) สามารถยืนยันในอักษรอาระเบียใต้โบราณว่า 𐩦𐩱𐩣 (šʾm) ซึ่งมีการพัฒนาทางอรรถศาสตร์เหมือนกัน[26][27]

ภูมิประเทศ

[แก้]

ภูมิอากาศ

[แก้]

ดามัสกัสมีสภาพภูมิอากาศแบบเย็นแห้งแล้ง (BWk) ตามระบบเคิพเพิน[28] เนื่องจากเมืองนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่อับฝนของเทือกเขาแอนติเลบานอน (Anti-Lebanon Mountains)[29] และกระแสน้ำในมหาสมุทร

ข้อมูลภูมิอากาศของดามัสกัส (ท่าอากาศยานนานาชาติดามัสกัส) 1991–2020
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 24.0
(75.2)
29.0
(84.2)
34.4
(93.9)
38.4
(101.1)
41.0
(105.8)
44.8
(112.6)
46.0
(114.8)
44.6
(112.3)
42.0
(107.6)
37.8
(100)
31.0
(87.8)
25.1
(77.2)
46.0
(114.8)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 12.9
(55.2)
15.1
(59.2)
20.0
(68)
25.1
(77.2)
30.7
(87.3)
35.1
(95.2)
37.6
(99.7)
37.4
(99.3)
34.3
(93.7)
28.8
(83.8)
20.5
(68.9)
14.7
(58.5)
26.02
(78.83)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 6.5
(43.7)
8.2
(46.8)
12.1
(53.8)
16.6
(61.9)
21.7
(71.1)
25.6
(78.1)
27.8
(82)
27.6
(81.7)
24.7
(76.5)
19.8
(67.6)
12.5
(54.5)
7.8
(46)
17.58
(63.64)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 1.2
(34.2)
2.3
(36.1)
5.0
(41)
8.3
(46.9)
12.4
(54.3)
16.0
(60.8)
18.8
(65.8)
18.7
(65.7)
15.4
(59.7)
11.4
(52.5)
5.6
(42.1)
2.3
(36.1)
9.78
(49.61)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) −12.2
(10)
−12.0
(10)
−8.0
(18)
−7.5
(18.5)
0.6
(33.1)
4.5
(40.1)
9.0
(48.2)
8.6
(47.5)
2.1
(35.8)
-3.0
(26.6)
−8.0
(18)
−10.2
(13.6)
−12.2
(10)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 25
(0.98)
26
(1.02)
20
(0.79)
7
(0.28)
4
(0.16)
1
(0.04)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
6
(0.24)
21
(0.83)
21
(0.83)
131
(5.16)
ความชื้นร้อยละ 76 69 59 50 43 41 44 48 47 52 63 75 56
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 8 8 6 3 2 0.1 0.1 0.1 0.2 3 5 7 42.5
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย 1 1 0.1 0 0 0 0 0 0 0 0 0.2 2.3
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 164.3 182.0 226.3 249.0 322.4 357.0 365.8 353.4 306.0 266.6 207.0 164.3 3,164.1
แหล่งที่มา 1: Pogoda.ru.net[30]
แหล่งที่มา 2: NOAA (ชั่วโมงที่มีแสงแดด, 1961–1990)[31]

วัฒนธรรม

[แก้]
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ดามัสกัส

ดามัสกัสได้รับเลือกเป็นเมืองหลวงทางวัฒนธรรมของอาหรับ ค.ศ. 2008[32]

เมืองพี่น้องและเมืองแฝด

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. อัลฟัยฮาอ์ (الفيحاء) เป็นคำคุณศัพท์ที่แปลว่า "กว้างขวาง"[3]
  2. ในอดีต Baalshamin (แอราเมอิก: ܒܥܠ ܫܡܝܢ)[22][23] เป็นเทพท้องฟ้าเซมิติกในคานาอัน/ฟินีเชีย และแพลไมราโบราณ[24][25] ดังนั้น ชาม จึงหมายถึง (สวรรค์ หรือ ท้องฟ้า)

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Biggest Cities In Syria". 25 เมษายน 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 ตุลาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2019.
  2. "Damascus". Encyclopædia Britannica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2009. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2009.
  3. Almaany Team. معنى كلمة الفَيْحَاءُ في معجم المعاني الجامع والمعجم الوسيط – معجم عربي عربي – صفحة 1. almaany.com. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2017.
  4. "Damascus population 2022". World Population Review. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2022.
  5. "Syrian rebels say they have begun entering the capital Damascus". Reuters. 2024-12-07. สืบค้นเมื่อ 2024-12-07.
  6. "Syrian insurgents say they have entered Damascus after seizing key city of Homs". CBS News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2024-12-07. สืบค้นเมื่อ 2024-12-08.
  7. "President al-Assad issues decrees on appointing new governors for eight Syrian provinces". SANA. 20 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2022.
  8. "statement by the governor of Damascus, Syria". Albaath.news (ภาษาอาหรับ). เมษายน 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 พฤษภาคม 2011.
  9. Sub-national HDI. "Area Database - Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กันยายน 2018. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2018.
  10. Dumper, Michael R. T.; Stanley, Bruce E. (2007). "Damascus". ใน Janet L. Abu-Lughod (บ.ก.). Cities of the Middle East and North Africa: A Historical Encyclopedia. ABC-CLIO. pp. 119–126. ISBN 978-1-5760-7919-5.
  11. Sarah Birke (2 สิงหาคม 2013). Damascus: What's Left. New York Review of Books.
  12. Totah, Faedah M. (2009). "Return to the origin: negotiating the modern and unmodern in the old city of Damascus". City & Society. 21 (1): 58–81. doi:10.1111/j.1548-744X.2009.01015.x.
  13. "Syria census 2004" (PDF). Central Bureau of Statistics Syria. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 มีนาคม 2013.
  14. Bowker, John (1 มกราคม 2003). "Damascus". The Concise Oxford Dictionary of World Religions (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. ISBN 978-0-19-280094-7. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2021.
  15. Hardingham-Gill, Tamara (2 กรกฎาคม 2024). "The world's most liveable cities for 2024". CNN Travel (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2024.
  16. Gauthier, Henri (1929). Dictionnaire des Noms Géographiques Contenus dans les Textes Hiéroglyphiques Vol. 6. p. 42.
  17. List I, 13 ใน J. Simons (1937). Handbook for the Study of Egyptian Topographical Lists relating to Western Asia (PDF). Leiden. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 26 กรกฎาคม 2018. ดูเพิ่ม Y. AHARONI, The Land of the Bible: A Historical Geography, London 1967, p147, No. 13.
  18. Paul E. Dion (พฤษภาคม 1988). "Ancient Damascus: A Historical Study of the Syrian City-State from Earliest Times Until Its Fall to the Assyrians in 732 BC., Wayne T. Pitard". Bulletin of the American Schools of Oriental Research (270): 98. JSTOR 1357008.
  19. Frank Moore Cross (กุมภาพันธ์ 1972). "The Stele Dedicated to Melcarth by Ben-Hadad of Damascus". Bulletin of the American Schools of Oriental Research (205): 40. doi:10.2307/1356214. JSTOR 1356214. S2CID 163497507.
  20. Miller, Catherine; Al-Wer, Enam; Caubet, Dominique; Watson, Janet C.E. (2007). Arabic in the City: Issues in Dialect Contact and Language Variation. Routledge. p. 189. ISBN 978-1-135-97876-1.
  21. "Kalmasoft - Phonetic Database of Syriac Words". www.kalmasoft.com. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2021.
  22. Teixidor, Javier (2015). The Pagan God: Popular Religion in the Greco-Roman Near East. Princeton University Press. p. 27. ISBN 978-1-4008-7139-1. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2017.
  23. Beattie, Andrew; Pepper, Timothy (2001). The Rough Guide to Syria. Rough Guides. p. 290. ISBN 978-1-85828-718-8. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2017.
  24. Dirven, Lucinda (1999). The Palmyrenes of Dura-Europos: A Study of Religious Interaction in Roman Syria. BRILL. p. 76. ISBN 978-90-04-11589-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 ธันวาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2012.
  25. J.F. Healey (2001). The Religion of the Nabataeans: A Conspectus. BRILL. p. 126. ISBN 978-90-04-30148-1. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2017.
  26. Bosworth, Clifford Edomond (1997). "AL-SHĀM". Encyclopaedia of Islam. Vol. 9. p. 261.
  27. Younger, K. Lawson Jr. (7 ตุลาคม 2016). A Political History of the Arameans: From Their Origins to the End of Their Polities (Archaeology and Biblical Studies) (ภาษาอังกฤษ). Atlanta, GA: SBL Press. p. 551. ISBN 978-1-58983-128-5.
  28. M. Kottek; J. Grieser; C. Beck; B. Rudolf; F. Rubel (2006). "World Map of the Köppen-Geiger climate classification updated". Meteorol. Z. 15 (3): 259–263. Bibcode:2006MetZe..15..259K. doi:10.1127/0941-2948/2006/0130. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 ตุลาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2013.
  29. Tyson, Patrick J. (2010). "SUNSHINE GUIDE TO THE DAMASCUS AREA, SYRIA" (PDF). climates.com. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 พฤษภาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2010.
  30. "The Climate of Damascus 1981–2010" (ภาษารัสเซีย). Weather and Climate (Погода и климат). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 พฤษภาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2017.
  31. "Damascus INTL Climate Normals 1961–1990". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 26 April 2017.
  32. دمشق عاصمة الثقافة العربية 2008. Damascus.org.sy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 สิงหาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2012.
  33. "Ankaranın Kardeş Şehirleri". ankara.bel.tr (ภาษาตุรกี). Ankara. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 ตุลาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2020.
  34. "Care-i cel mai… înfrățit oraș din România? Care-i cu americanii, care-i cu rușii? Și care-i înfrățit cu Timișoara…". banatulazi.ro (ภาษาโรมาเนีย). Banatul Azi. 6 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2020.
  35. "Convenios Internacionales". buenosaires.gob.ar (ภาษาสเปน). Buenos Aires. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2020.
  36. "Las 12 hermanas de Córdoba". diariocordoba.com (ภาษาสเปน). Diario Córdoba. 10 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2020.
  37. "Internationale samenwerking". ajmannews.ae (ภาษาอาหรับ). Ajman News. 16 ธันวาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2020.
  38. "Sister Cities of Istanbul". greatistanbul.com. Istanbul. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2020.
  39. "Toledo's sister cities". destinotoledo.com. Destino Toledo. 17 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2020.
  40. "Sister cities". yerevan.am. Yerevan. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2020.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]