เอเสเคียล 1
เอเสเคียล 1 | |
---|---|
หนังสือเอเสเคียลที่จัดแสดงในนิทรรศการเรือเหาะเอเสเคียลที่ศูนย์มรดกชนบทและพิพิธภัณฑ์แห่งเท็กซัสตะวันออกเฉียงเหนือที่เมืองพิตต์เบิร์ก รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา | |
หนังสือ | หนังสือเอเสเคียล |
ภาคในคัมภีร์ฮีบรู | เนวีอีม |
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู | 7 |
หมวดหมู่ | ผู้เผยพระวจนะยุคหลัง |
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | พันธสัญญาเดิม |
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | 26 |
เอเสเคียล 1 (อังกฤษ: Ezekiel 1) เป็นบทแรกของหนังสือเอเสเคียลในคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ หนังสือเอเสเคียลประกอบด้วยคำเผยพระวจนะที่ถือว่าเป็นของผู้เผยพระวจนะ/ปุโรหิตเอเสเคียล เป็นหนึ่งในหนังสือหมวดผู้เผยพระวจนะ ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน บทที่ 1 นี้มีชื่อบทว่า "นิมิตเกี่ยวกับพระสิริของพระเจ้า"[1] ส่วนในพระคริสตธรรมคัมภีร์ไทย ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย มีชื่อบทว่า "สิ่งมีชีวิตทั้งสี่และพระเกียรติสิริขององค์พระผู้เป็นเจ้า"[2] ในวรรคแรกของบทกล่าวถึง "นิมิต" (คำในภาษาฮีบรูเป็นพหูพจน์)[3]
ต้นฉบับ
[แก้]บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู บทแบ่งออกเป็น 28 วรรค
พยานต้นฉบับ
[แก้]บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895) หนังสือผู้เผยพระวจนะฉบับปีเตอส์เบิร์ก (Petersburg Codex of the Prophets; ค.ศ. 916) ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[4] ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี ได้แก่ 4Q74 (4QEzekb; 50 ปีก่อนคริสตกาล– ค.ศ. 50) โดยมีวรรคที่หลงเหลือคือ 10–13, 16–17, 19–24;[5][6][7][8][9] และ 11Q4 (11QEzek; 50 ปีก่อนคริสตกาล– ค.ศ. 50) โดยมีวรรคที่หลงเหลือคือ 8–10[6][10][11][12]
ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) บางสำเนาต้นฉบับที่หลงเหลือในเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5) และฉบับมาร์ชาล (Codex Marchalianus; Q; Q; ศตวรรษที่ 6)[13][13][a]
คำนำ (1:1–3)
[แก้]สามวรรคแรกทำหน้าที่เป็นคำนำของหนังสือ ประกอบด้วยตัวตนของผู้เผยพระวจนะ รวมถึงเวลาและสถานที่ที่ได้รับพระวจนะ[15] มีการแนะนำที่แตกต่างกัน 2 แบบ ได้แก่ การแนะนำในฐานะบุรุษที่หนึ่ง (วรรค 1) และการแนะนำในฐานะบุรุษที่สาม (วรรค 2-3; เป็นเพียง 2 วรรคในหนังสือที่เขียนในฐานะบุรุษที่สาม)[15]
วรรค 1
[แก้]- ในวันที่ 5 เดือนที่ 4 ปีที่ 30 ขณะเมื่อข้าพเจ้าอยู่ท่ามกลางพวกเชลยที่ริมแม่น้ำเคบาร์ ท้องฟ้าเปิดออก และข้าพเจ้าได้เห็นพระเจ้าในนิมิต[16]
วรรคแรกของหนังสือประกาศว่าผู้เขียนได้รับ 'นิมิต (พหูพจน์) ของพระเจ้า' ขณะอยู่ท่ามกลางพวกเชลย 'ที่ริมแม่น้ำเคบาร์' ใน 'ปีที่ 30'[15] คัมภีร์ไบเบิลภาษาซีรีแอกกล่าวถึง "นิมิต" (เอกพจน์)[17]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วรรค 2
[แก้]- ในวันที่ 5 เดือนนั้น (คือในปีที่ 5 ที่กษัตริย์เยโฮยาคีนตกเป็นเชลย)[18]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วรรค 3
[แก้]- พระวจนะของพระยาห์เวห์มายังปุโรหิตเอเสเคียลบุตรบุซี
- ในแผ่นดินของคนเคลเดียริมแม่น้ำเคบาร์
- ณ ที่นั่นพระหัตถ์ของพระยาห์เวห์มาอยู่เหนือท่าน[19]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
นิมิตเรื่องพระที่นั่ง-รถม้า (1:4-28)
[แก้]นิมิตแรกของเอเสเคียลมาถึงเมื่อมีลมพายุพัดจากทิศเหนือพร้อมกับนำเมฆที่มีความสว่างโดยรอบและภายในมี 'รถม้าของพระยาห์เวห์เทียมด้วยสิ่งมีชีวิตเหนือธรรมชาติ'[20] "สิ่งมีชีวิต 4 ตน" เหล่านี้ถูกระบุในเอเสเคียล 10:20 ว่าเป็นเครูบ
วรรค 5
[แก้]- ละท่ามกลางไฟนั้นมีรูปลักษณ์ของสิ่งมีชีวิต 4 ตน
- ลักษณะของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นเป็นเช่นนี้คือ มีรูปลักษณ์ของมนุษย์[21]
- "สิ่งมีชีวิต": คัมภีร์ไบเบิลฉบับอรรถาธิบายออกฟอร์ดใหม่ (New Oxford Annotated Bible) ระบุสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นว่าเป็น "เครูบ" (10:15, 20) แม้ว่า "มีลักษณะแปลก … มีหน้า 4 หน้า" (เอเสเคียล 1:10; วิวรณ์ 4: -7)[22]
วรรค 10
[แก้]- รูปลักษณ์ใบหน้าของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นคือด้านหน้าเป็นหน้าคน ด้านขวาเป็นหน้าสิงโต ด้านซ้ายเป็นหน้าโค และด้านหลังเป็นหน้านกอินทรี[23]
สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีหน้า 4 หน้าในทิศทางต่าง ๆ กัน จึงสามารถเคลื่อนที่ไปในทิศทางใด ๆ โดยที่ 'คุ้มกันสสารลุกโชนโดยรอบ' ไปด้วย[20]
วรรค 16
[แก้]- ลักษณะและโครงสร้างของวงล้อเหล่านั้นเหมือนเบริล วงล้อทั้งสี่มีรูปลักษณ์เหมือนกัน มีลักษณะและโครงสร้างเหมือนวงล้อซ้อนอยู่กลางวงล้อ[24]
คำบรรยายนี้ (รวมถึงในวรรค 19) กลายเป็นแรงบันดาลใจในการสร้าง "เรือบินเอเสเคียล"[25]
- "เบริล" หรือ "โทแพซ": เป็น "อัญมณีสีทองมีค่า" ชนิดหนึ่ง[26]
วรรค 19
[แก้]- เมื่อสิ่งมีชีวิตทั้งสี่บินไป วงล้อเหล่านั้นก็เคลื่อนตามไปข้างๆ ด้วย เมื่อสิ่งมีชีวิตลอยขึ้นจากพิภพ วงล้อก็ลอยขึ้นด้วย[27]
คำบรรยายนี้ (รวมถึงในวรรค 16) กลายเป็นแรงบันดาลใจในการสร้าง "เรือบินเอเสเคียล"[25][28]
วรรค 26
[แก้]- และบนพื้นฟ้าที่อยู่เหนือศีรษะของพวกเขา มีสิ่งที่มีรูปลักษณ์ของพระที่นั่ง
- ซึ่งมีลักษณะเหมือนไพลิน
- และบนสิ่งที่มีรูปลักษณ์ของพระที่นั่งนั้นก็มีผู้มีลักษณะเหมือนมนุษย์อยู่บนนั้น[29]
- "ไพลิน" (ฮีบรู: ספיר sapîr): "อัญมณีชนิดหนึ่ง"; "แลพิสแลซูลี" (เอเสเคียล 28:13)[30][31] อพยพ 24:10 บันทึกว่า "พื้นที่รองพระบาทเป็นเหมือนนิลสีคราม (ไพลิน)"[32]
วรรค 27
[แก้]- และจากส่วนที่มีลักษณะของบั้นเอวของผู้นั้นขึ้นไป ข้าพเจ้าเห็นสิ่งคล้ายทองสัมฤทธิ์แวบวาบ ลักษณะคล้ายไฟถูกบังไว้โดยรอบ และจากส่วนที่มีลักษณะของบั้นเอวลงมา ข้าพเจ้าเห็นสิ่งที่มีลักษณะคล้ายไฟและมีความสุกใสอยู่รอบๆ ท่านผู้นั้น[33]
เอเสเคียลเห็นผู้มีลักษณะเหมือนมนุษย์มีความเปล่งประกายราวกับ "ไฟ" (ฮีบรู: hasmal)[20]
วรรค 28
[แก้]- ลักษณะความสุกใสที่อยู่รอบๆ นั้น
- เหมือนลักษณะของรุ้งที่ปรากฏในเมฆเมื่อฝนตก
- ลักษณะและรูปลักษณ์ของพระสิริของพระยาห์เวห์เป็นเช่นนี้แหละ
- และเมื่อข้าพเจ้าเห็นแล้ว ข้าพเจ้าก็ซบหน้าลงถึงดิน
- และข้าพเจ้าได้ยินเสียงผู้หนึ่งกำลังตรัส[34]
ความสว่างไสวที่ล้อมรอบผู้มีลักษณะเหมือนมนุษย์ในนิมิตของเอเสเคียลมีลักษณะเหมือนรุ้ง และทันที่เห็นเอเสเคียลก็ซบหน้าลง เพราะเอเสเคียลระลึกได้ว่านี่เป็น 'ลักษณะที่เหมือนกับพระสิริ' ของพระยาห์เวห์[20] รายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับนิมิตใช้บ่งบอกถึง 'สัญลักษณ์อันชัดแจ้งถึงการทรงสถิตของพระยาห์เวห์สำหรับผู้อ่านชาวอิสราเอล'[20]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ เอเสเคียล 1:1 -28: THSV11
- ↑ เอเสเคียล 1:1 -28: TNCV
- ↑ เอเสเคียล 1:1 : THSV11
- ↑ Würthwein 1995, pp. 35–37.
- ↑ Ulrich 2010, pp. 584–585.
- ↑ 6.0 6.1 Dead sea scrolls - Ezekiel
- ↑ Fitzmyer 2008, p. 38.
- ↑ 4Q74 at the Leon Levy Dead Sea Scrolls Digital Library
- ↑ Sanderson 1997. DJD 15: 215–218.
- ↑ Fitzmyer 2008, p. 110.
- ↑ 11Q4 - 11QEzek at the Leon Levy Dead Sea Scrolls Digital Library
- ↑ Ulrich 2010, p. 584.
- ↑ 13.0 13.1 Würthwein 1995, pp. 73–74.
- ↑ Shepherd, Michael (2018). A Commentary on the Book of the Twelve: The Minor Prophets. Kregel Exegetical Library. Kregel Academic. p. 13. ISBN 978-0825444593.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 Galambush 2007, p. 537.
- ↑ เอเสเคียล 1:1 THSV11
- ↑ Footnote a in the New King James Version
- ↑ เอเสเคียล 1:2 THSV11
- ↑ เอเสเคียล 1:3 THSV11
- ↑ 20.0 20.1 20.2 20.3 20.4 Galambush 2007, p. 538.
- ↑ เอเสเคียล 1:5 THSV11
- ↑ Coogan 2007, pp. 1182–1184.
- ↑ เอเสเคียล 1:10 THSV11
- ↑ เอเสเคียล 1:16 THSV11
- ↑ 25.0 25.1 Peoples, Robert (July 21, 2014). "The Book of Ezekiel and the Flying Machine". The Texas Story Project. Bullock Texas State History Museum. สืบค้นเมื่อ August 2, 2015.
- ↑ Carley 1974, p. 17.
- ↑ เอเสเคียล 1:19 THSV11
- ↑ "Local inventor beat Wright brothers, Texas townsfolk say". CNN.com. December 17, 2002. สืบค้นเมื่อ August 2, 2015.
- ↑ เอเสเคียล 1:26 THSV11
- ↑ Brown, Briggs & Driver 1994, "סַפִּיר"
- ↑ Gesenius 1979, "סַפִּיר"
- ↑ Carley 1974, p. 20.
- ↑ เอเสเคียล 1:27 THSV11
- ↑ เอเสเคียล 1:28 THSV11
บรรณานุกรม
[แก้]- Brown, Francis; Briggs, Charles A.; Driver, S. R. (1994). The Brown-Driver-Briggs Hebrew and English Lexicon (reprint ed.). Hendrickson Publishers. ISBN 978-1565632066.
- Carley, Keith W. (1974). The Book of the Prophet Ezekiel. Cambridge Bible Commentaries on the New English Bible (illustrated ed.). Cambridge University Press. ISBN 9780521097550.
- Coogan, Michael David (2007). Coogan, Michael David; Brettler, Marc Zvi; Newsom, Carol Ann; Perkins, Pheme (บ.ก.). The New Oxford Annotated Bible with the Apocryphal/Deuterocanonical Books: New Revised Standard Version, Issue 48 (Augmented 3rd ed.). Oxford University Press. ISBN 9780195288810.
- Fitzmyer, Joseph A. (2008). A Guide to the Dead Sea Scrolls and Related Literature. Grand Rapids, MI: William B. Eerdmans Publishing Company. ISBN 9780802862419. สืบค้นเมื่อ February 15, 2019.
- Galambush, J. (2007). "25. Ezekiel". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 533–562. ISBN 978-0199277186. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
- Gesenius, H. W. F. (1979). Gesenius' Hebrew and Chaldee Lexicon to the Old Testament Scriptures: Numerically Coded to Strong's Exhaustive Concordance, with an English Index. แปลโดย Tregelles, Samuel Prideaux (7th ed.). Baker Book House.
- Kee, Howard Clark; Meyers, Eric M.; Rogerson, John; Levine, Amy-Jill; Saldarini, Anthony J. (2008). Chilton, Bruce (บ.ก.). The Cambridge Companion to the Bible (2, revised ed.). Cambridge University Press. ISBN 9780521691406.
- Ulrich, Eugene, บ.ก. (2010). The Biblical Qumran Scrolls: Transcriptions and Textual Variants. Brill.
- Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament. แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.