พระวิหารของซาโลมอน
พระวิหารของซาโลมอน พระวิหารแรก | |
---|---|
בֵּית-הַמִּקְדָּשׁ הָרִאשׁוֹן | |
ภาพวาดศิลปะสมัยใหมของวิหารของซาโลมอนที่พิพิธภัณฑ์อิสราเอล | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนายาห์เวห์ |
เทพ | พระยาห์เวห์ |
หน่วยงานกำกับดูแล | มหาปุโรหิตแห่งอิสราเอล |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | เนินพระวิหาร เมืองเยรูซาเล็ม |
ประเทศ | ราชอาณาจักรยูดาห์ (ณ ช่วงเวลาที่ถูกทำลาย) |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 31°46′41″N 35°14′07″E / 31.778013°N 35.235367°E |
สถาปัตยกรรม | |
ผู้ก่อตั้ง | ไม่ทราบ ในคัมภีร์ฮีบรูถือว่าซาโลมอนเป็นผู้ก่อตั้ง |
เสร็จสมบูรณ์ | ป. ศตวรรษที่ 10–8 ก่อนคริสตกาล |
ทำลาย | 587 ปีก่อนคริสตกาล |
พระวิหารของซาโลมอน (อังกฤษ: Solomon's Temple) หรือ พระวิหารแรก (อังกฤษ: First Temple; ฮีบรู: בֵּית-הַמִּקְדָּשׁ הָרִאשׁוֹן, Bēṯ hamMīqdāš hāRīʾšōn, แปลว่า 'พระนิเวศน์ศักดิ์สิทธิ์แห่งแรก') เป็นพระวิหารในเยรูซาเล็มในคัมภีร์ไบเบิลซึ่งเชื่อว่าคงอยู่ในช่วงระหว่างศตวรรษที่ 10 ถึง 6 ก่อนคริสตกาล คำบรรยายส่วนใหญ่เกี่ยวกับพระวิหารอิงตามเรื่องเล่าในคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งโปรดให้สร้างขึ้นโดยกษัตริย์ซาโลมอน ก่อนจะถูกทำลายระหว่างการล้อมเยรูซาเล็มโดยพระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่เมื่อ 587 ปีก่อนคริสตกาล[1] แม้ว่าไม่เคยค้นพบซากของพระวิหารเลย แต่นักวิชาการสมัยใหม่เห็นพ้องกันว่าพระวิหารแรกเคยมีอยู่จริงบนเนินพระวิหารในเยรูซาเล็มในช่วงเวลาที่ถูกปิดล้อมโดยชาวบาบิโลน แม้ว่ายังมีข้อถกเถียงเกี่ยวกับที่วันที่สร้างและตัวตนของผู้สร้างก็ตาม
ในคัมภีร์ฮีบรูโดยเฉพาะในหนังสือพงศ์กษัตริย์มีคำบรรยายโดยละเอียดเกี่ยวกับพระบัญชาในการก่อสร้างพระวิหารโดยซาโลมอน กษัตริย์ลำดับก่อนสุดท้ายของสหราชอาณาจักรอิสราเอล นอกจากนี้ยังระบุว่าซาโลมอนเป็นผู้วางหีบแห่งพันธสัญญาในอภิสุทธิสถานซึ่งเป็นห้องศักดิ์สิทธิ์ด้านในพระวิหารที่ไร้หน้าต่าง[2] การเข้าสู่อภิสุทธิสถานถูกจำกัดอย่างเข้มงวด มหาปุโรหิตแห่งอิสราเอลเป็นผู้มีอำนาจเพียงผู้เดียวที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในเขตศักดิ์สิทธิ์ และทำได้เฉพาะวันลบมลทิน โดยนำเลือดของลูกแกะที่เป็นสัตวบูชาเข้าไปและเผาเครื่องหอมถวาย[2] พระวิหารนอกจากจะทำหน้าที่เป็นอาคารทางศาสนาสำหรับการสักการะแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นสถานที่ชุมนุมชนของชาวอิสราเอลด้วย[3] การทำลายพระวิหารแรกและการไปเป็นเชลยในบาบิโลนที่เกิดขึ้นในลำดับถัดมาล้วนเป็นเหตุการณ์ที่ถูกมองว่าเป็นการทำให้พระวจนะในคัมภีร์ไบเบิลกลายเป็นความจริงและส่งผลต่อความเชื่อของศาสนายูดาห์ ทำให้ชาวอิสราเอลเปลี่ยนจากพหุเทวนิยมหรือ monolatrism (มีพระเจ้าหลายองค์แต่บูชาพระเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว) ตามที่ปรากฏในศาสนายาห์เวห์ มาเป็นเอกเทวนิยมในศาสนายูดาห์อย่างมั่นคง[3]
ก่อนหน้านี้ นักวิชาการหลายคนยอมรับเรื่องเล่าในคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับการก่อสร้างพระวิหารแรกโดยซาโลมอนว่าเชื่อถือได้ อย่างไรก็ตามในช่วงทศวรรษ 1980 ความกังขาต่อความในคัมภีร์ไบเบิลรวมถึงบันทึกทางโบราณคดีทำให้นักวิชาการบางคนสงสัยว่ามีพระวิหารในเยรูซาเล็มใด ๆ ที่ก่อสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสตกาลเป็นอย่างน้อยหรือไม่[4] นักวิชาการบางคนให้ความเห็นว่าโครงสร้างดั้งเดิมที่สร้างโดยซาโลมอนนั่นค่อนข้างเรียบง่าย และภายหลังเมื่อสร้างขึ้นใหม่จึงทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น[5] ไม่มีการค้นพบหลักฐานโดยตรงของการมีอยู่ของพระวิหารของซาโลมอน[6][7] แม้ว่ายังไม่มีการขุดค้นทางโบราณคดีบนเนินพระวิหารเนื่องจากสถานที่ดังกล่าวมีความอ่อนไหวทางศาสนาและการเมืองอย่างมาก การขุดค้นบริเวณโดยรอบเนินพระวิหารเมื่อศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 ระบุว่าไม่มี "แม้แต่ร่องรอย" ของอาคาร[8]
สถานที่ตั้ง
[แก้]ในคัมภีร์ไบเบิล พระวิหารของซาโลมอนสร้างขึ้นบนภูเขาโมริยาห์ในเยรูซาเล็ม ที่ซึ่งทูตสวรรค์ของพระเจ้าปรากฏแก่ดาวิด (2 พงศาวดาร 3:1) เดิมสถานที่นี้เป็นลานนวดข้าวที่ดาวิดซื้อมาจากอาราวนาห์ชาวเยบุส (2 ซามูเอล 24:18–25; 2 พงศาวดาร 3:1)
Schmid และ Rupprecht มีความเห็นว่าที่ตั้งของพระวิหารเคยเป็นปูชนียสถานของชาวเยบุสที่ซาโลมอนเลือก หวังจะรวบรวมชาวเยบุสและชาวอิสราเอลให้เป็นหนึ่งเดียวกัน[9]
ไม่ทราบตำแหน่งที่แน่นอนของพระวิหาร เชื่อว่าตั้งอยู่บนเนินเขาซึ่งกลายเป็นที่ตั้งของพระวิหารที่สองและปัจจุบันคือเนินพระวิหารซึ่งเป็นที่ตั้งของโดมแห่งศิลา[10]
เรื่องเล่าในคัมภีร์ไบเบิล
[แก้]การก่อสร้าง
[แก้]ตามที่ระบุในหนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 การวางรากฐานของพระวิหารเริ่มในเดือนศิฟ เดือนที่ 2 ของปีที่ 4 ในรัชสมัยของซาโลมอน และการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในเดือนบูล เดือน 8 ของปีที่ 11 ในรัชสมัยของซาโลมอน ดังนั้นจึงใช้เวลาก่อสร้างทั้งหมด 7 ปี[11]
คัมภีร์ฮีบรูบันทึกว่าชาวไทระมีบทบาทนำในการก่อสร้างพระวิหาร หนังสือซามูเอล ฉบับที่ 2 เล่าถึงเรื่องที่ดาวิดและฮีรามเป็นพันธมิตรกัน[12] มิตรภาพนี้ดำเนินต่อไปหลังซาโลมอนได้สืบราชบัลลังก์ถัดจากดาวิด ทั้งสองพระองค์ต่างทรงเรียกกันและกันว่าเป็นพี่น้องกัน เรื่องราวทางวรรณกรรมที่ฮีรามช่วยซาโลมอนในการก่อสร้างพระวิหารปรากฏใน 1 พงศ์กษัตริย์ (บทที่ 5–9) และ 2 พงศาวดาร (บทที่ 2–7)[13] ฮีรามตอบรับคำขอของซาโลมอนที่ให้ฮีรามจัดหาไม้สนสีดาร์และไม้สนสามใบสำหรับก่อสร้างพระวิหาร[14] ฮีรามตรัสกับซาโลมอนว่าพระองค์จะส่งไม้มาทางทะเล "ข้าพเจ้าจะผูกแพล่องมาตามทะเลถึงที่ที่ท่านจะกำหนดให้ และข้าพเจ้าจะให้พวกเขาแก้แพที่นั่น ขอท่านมารับเอา"[14] ซาโลมอนทรงส่งข้าวสาลีและน้ำมันให้ฮีรามเพื่อตอบแทนเรื่องไม้ที่ส่งมา[12] ซาโลมอนยังนำช่างฝีมือผู้ชำนาญจากไทระ ซึ่งก็มีชื่อว่าฮีราม (หรือฮูรามอับบี[15]) เข้ามากำกับดูแลการก่อสร้างพระวิหาร[12] ช่างหินจากเกบาล (บิบลอส) ทำหน้าที่ตัดหินสำหรับสร้างพระวิหาร[16]
หลังพระวิหารและพระราชวัง (ใช้เวลาสร้างเพิ่มเติม 13 ปี) สร้างเสร็จสมบูรณ์ ซาโลมอนประทานเมืองมากกว่า 20 เมืองทางตะวันตกเฉียงเหนือของกาลิลีใกล้กับไทระเป็นการตอบแทนแก่ฮีราม[17] ฮีรามไม่พอพระทัยกับของประทานนี้ แต่ก็ตรัสถามว่า "น้องเอ๋ย เมืองที่ท่านให้เรานั้นเป็นเมืองอะไรอย่างนี้?" จากนั้นฮีรามจึงเรียกเมืองเหล่านั้นว่า "แผ่นดินคาบูล" และผู้เขียนของ 1 พงศ์กษัตริย์ 9 บอกว่าเมืองเหล่านั้นถูกเรียกด้วยชื่อนี้ "จนทุกวันนี้"[17] อย่างไรก็ตามฮีรามยังคงเป็นมิตรกับซาโลมอน[18]
หนังสือพงศาวดาร ฉบับที่ 2 เพิ่มเติมบางรายละเอียดของการก่อสร้างที่ไม่ได้บรรยายไว้ในหนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 โดยระบุว่าต้นไม้ที่ถูกส่งมาในรูปแพนั้นถูกส่งไปยังเมืองยัฟฟาบนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน[14] และโซโลมอนยังทรงส่งเหล้าองุ่นไปให้ฮีรามตอบแทนไม้ที่ส่งมา นอกเหนือไปจากแป้งสาลีและน้ำมันที่พระองค์ส่งให้ฮีรามเช่นกัน[19]
การย้ายหีบแห่งพันธสัญญา
[แก้]1 พงศ์กษัตริย์ 8:1–9 และ 2 พงศาวดาร 5:2-10 บันทึกว่าในเดือน 7 ของปี ที่งานเลี้ยงแห่งพลับพลา[20] ปุโรหิตและชาวเลวีนำหีบแห่งพันธสัญญาจากนครดาวิดมาตั้งอยู่ภายในอภิสุทธิสถานของพระวิหาร
การถวาย
[แก้]1 พงศ์กษัตริย์ 8:10-66 และ 2 พงศาวดาร 6:1–42 เล่าถึงเหตุการณ์การถวายพระวิหาร เมื่อเหล่าปุโรหิตออกจากวิสุทธิสถานหลังการวางหีบแห่งพันธสัญญาไว้ที่นั่น พระวิหารก็เต็มไปด้วยเมฆอันเปี่ยมพระเกียรติสิริซึ่งทำให้พิธีการถวายหยุดชะงัก[21] "จนพวกปุโรหิตไม่อาจยืนปรนนิบัติอยู่ได้เพราะเมฆนั้น เพราะพระสิริของพระยาห์เวห์เต็มพระนิเวศของพระยาห์เวห์" (1 พงศ์กษัตริย์ 8:10–11; 2 พงศาวดาร 5:13, 14) ซาโลมอนตีความว่าเมฆเป็น "[หลักฐาน]ว่างานแห่งศรัทธาของพระองค์ได้รับการทรงยอมรับ":[21]
"พระยาห์เวห์ตรัสว่า พระองค์จะประทับในความมืดทึบ แท้จริง ข้าพระองค์ได้สร้างพระนิเวศที่โอ่อ่าตระการตาสำหรับพระองค์ เป็นสถานที่เพื่อพระองค์จะสถิตอยู่เป็นนิตย์"
— 1 พงศ์กษัตริย์ 8:12–13
สะท้อนถึงเรื่องราวในเลวีนิติ 16:2 [22]
พระยาห์เวห์ตรัสกับโมเสสว่า "เจ้าจงบอกอาโรนพี่ชายว่า อย่าเข้าไปในอภิสุทธิสถานตามใจชอบ คือเข้าไปในม่านหน้าพระที่นั่งกรุณาซึ่งอยู่บนหลังหีบ เพื่อเขาจะไม่ตาย เพราะว่าเราจะปรากฏในเมฆเหนือพระที่นั่งกรุณา
หนังสืออธิบายคัมภีร์ไบเบิล The Pulpit Commentary ระบุว่า "ซาโลมอนทรงมีหมายทุกอย่างที่จะเชื่อมโยงการสำแดงพระองค์ของพระเจ้าเข้ากับเมฆดำหนาทึบ"[21]
จากนั้นซาโลมอนทรงนำชุมนุมชนอิสราเอลทั้งปวงในการอธิษฐาน กล่าวว่าการก่อสร้างพระวิหารเป็นการแสดงถึงว่าพระสัญญาของพระเจ้าต่อดาวิดได้ปรากฏเป็นความจริง โดยถวายพระวิหารให้เป็นสถานที่แห่งการอธิษฐานและการกลับใจสำหรับประชาชนอิสราเอลและคนต่างด้าวที่อาศัยในอิสราเอล เน้นย้ำถึงปฏิทรรศน์ที่แท้จริงแล้วพระเจ้าผู้ทรงสถิตบนฟ้าสวรรค์ไม่อาจประทับภายในอาคารหลังเดียว การถวายพระวิหารปิดท้ายด้วยการเฉลิมฉลองด้วยดนตรีและการถวายเครื่องบูชา ตามความที่กล่าวว่าประกอบด้วย "วัว 22,000 ตัว และแกะ 120,000 ตัว"[23] การถวายเครื่องบูชาเหล่านี้กระทำภายนอกพระวิหารใน "ส่วนกลางของลาน ซึ่งอยู่หน้าพระนิเวศของพระยาห์เวห์" เพราะแท่นบูชาที่อยู่ในพระวิหารแม้จะมีขนาดใหญ่[24] แต่ก็ไม่ใหญ่พอสำหรับเครื่องบูชาทั้งหมดที่ถวายในวันนั้น[25][26] การเฉลิมฉลองดำเนินไปเป็นเวลา 8 วันและเข้าร่วมโดย "ชุมนุมชนยิ่งใหญ่มาก ตั้งแต่ทางเข้าเมืองฮามัทจนถึงลำธารแห่งอียิปต์"[27] งานเลี้ยงพลับพลาที่เกิดขึ้นในลำดับถัดมาขยายเวลาเฉลิมฉลองเป็น 14 วัน[28] ก่อนที่จะให้ประชาชน "กลับบ้านของตน"[29]
ภายหลังการถวายพระวิหาร ซาโลมอนได้ยินพระสุรเสียงของพระเจ้าในพระสุบิน พระเจ้าตรัสว่าพระองค์ได้ทรงฟังคำอธิษฐานของซาโลมอนแล้วและจะทรงฟังคำอธิษฐานของประชาชนแห่งอิสราเอลต่อไปตราบที่พวกเขารับนำสี่วิถีทางมาใช้เพื่อให้พระเจ้าทรงตอบรับคำอธิษฐาน ได้แก่ การถ่อมใจ การอธิษฐาน การแสวงหาพระองค์ และการหันออกจากทางชั่ว[30] ในทางกลับกัน หากพวกเขาหันเหและละทิ้งพระบัญญัติของพระเจ้าไปนับถือพระอื่น พระเจ้าจะละทิ้งพระวิหาร: "เราจะเหวี่ยงนิเวศซึ่งเราทำให้บริสุทธิ์เพื่อนามของเราไปจากสายตาของเรา"[31]
การถูกริบทรัพย์สิน
[แก้]ตามเรื่องเล่าในคัมภีร์ไบเบิล พระวิหารของซาโลมอนถูกริบทรัพย์สินหลายครั้ง ในปีที่ 5 ของรัชสมัยเรโหโบอัม (โดยทั่วไปเชื่อว่าอยู่ในช่วง 926 ปีก่อนคริสตกาล) ชิชักฟาโรห์แห่งอียิปต์ (ซึ่งระบุได้ว่าเป็นพระองค์เดียวกับฟาโรห์โชเชงค์ที่ 1) ทรงนำทรัพย์สินในพระวิหารและในพระราชวังของกษัตริย์ รวมถึงโล่ทองคำที่ซาโลมอนทรงสร้างไว้ไปด้วย เรโหโบอัมนำโล่ทองสัมฤทธิ์ไปไว้แทนที่โล่ทองคำ (1 พงศ์กษัตริย์ 14:25; 2 พงศาวดาร 12:1–12) อีกหนึ่งศตวรรษต่อมา เยโฮอาชกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรอิสราเอลเหนือยกทัพบุกเยรูซาเล็ม พังกำแพงส่วนหนึ่งลง และริบเอาทรัพย์สินของพระวิหารและพระราชวัง (2 พงศ์กษัตริย์ 14:13-14) ภายหลังเมื่ออาหัสแห่งยูดาห์ทรงถูกคุกคามโดยเรซีนแห่งอารัม-ดามัสกัสและเปคาห์แห่งอิสราเอล พระองค์จึงทรงขอความช่วยเหลือจากทิกลัทปิเลเสอร์ที่ 4 กษัตริย์แห่งอัสซีเรีย และเพื่อจะโน้มน้าวทิกลัทปิเลเสอร์ อาหัสจึง "ทรงนำเงินและทองคำซึ่งพบในพระนิเวศแห่งพระยาห์เวห์ และในคลังสำนักพระราชวัง และส่งไปเป็นเครื่องบรรณาการแก่พระราชาแห่งอัสซีเรีย" (2 พงศ์กษัตริย์ 16:8) ในอีกหนึ่งวิกฤติการณ์สำคัญ เฮเซคียาห์ทรงลอกทองคำจากประตูและเสาประตูของพระวิหารซึ่งพระองค์เองทรงบุไว้ และทรงมอบให้แก่เซนนาเคอริบกษัตริย์แห่งอัสซีเรีย (2 พงศ์กษัตริย์ 18:15–16)
การบูรณะโดยโยอาช
[แก้]2 พงศ์กษัตริย์ 12:1-17 และ 2 พงศาวดาร 24:1-14 เล่าเรื่องที่กษัตริย์โยอาชและปุโรหิตแห่งพระวิหารดำเนินแผนงานบูรณะพระวิหารโดยการระดมทุนจากเงินบริจาคของประชาชน พระวิหารได้รับการบูรณะให้อยู่ในสภาพดังเดิมและได้รับการเสริมให้แข็งแรงขึ้น[32]
การถูกทำลายโดยชาวบาบิโลน
[แก้]ตามคัมภีร์ไบเบิล พระวิหารถูกริบทรัพย์สินโดยกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ เมื่อทัพบาบิโลนโจมตีเยรูซาเล็มในช่วงรัชสมัยสั้น ๆ ของเยโฮยาคีนเมื่อราว 598 ปีก่อนคริสตกาล (2 พงศ์กษัตริย์ 24:13)
หนึ่งทศวรรษถัดมา เนบูคัดเนสซาร์เข้าปิดล้อมเยรูซาเล็มอีกครั้ง และหลังจากนั้น 30 เดือน ในที่สุดก็ตีเมืองแตกเมื่อ 587/6 ปีก่อนคริสตกาล เมืองตกเป็นของทัพเนบูคัดเนสซาร์ในเดือนกรฏาคม 586/5 ปีก่อนคริสตกาล หนึ่งเดือนถัดมา เนบูซาระดานผู้บัญชาการทหารรักษาพระองค์ของเนบูคัดเนสซาร์ถูกส่งไปเผาและทำลายเมือง ในคัมภีร์ไบเบิลระบุว่า "ท่านได้เผาพระนิเวศของพระยาห์เวห์ พระราชวัง และบ้านเรือนทั้งหมดของเยรูซาเล็ม ท่านเผาบ้านใหญ่ทุกหลังลงหมดด้วยไฟ" (2 พงศ์กษัตริย์ 25:9) จากนั้นทุกสิ่งที่มีค่าก็ถูกริบนำไปบาบิโลน (2 พงศ์กษัตริย์ 25:13–17)
ตามความเชื่อของศาสนายูดาห์ถือว่าพระวิหารถูกทำลายในวัน Tisha B'Av คือวันที่ 9 ของเดือนอาฟ (ปฏิทินฮีบรู)[33] วันเดียวกันกับการถูกทำลายของพระวิหารที่สอง วรรณกรรมรับบีระบุว่าพระวิหารแรกคงอยู่เป็นเวลา 410 ปี และหากอิงตามอิงตาม Seder Olam Rabbah งานเขียนในศตวรรษที่ 2 พระวิหารก่อสร้างเมื่อ 832 ปีก่อนคริสตกาลและถูกทำลายเมื่อ 422 ปีก่อนคริสตกาล (3338 AM) ซึ่งช้ากว่าการประมาณการทางโลก 165 ปี[34][35] โยเซพุสนักประวัติศาสตร์ชาวยิวกล่าวว่า "พระวิหารถูกเผาเมื่อสีร้อยเจ็ดสิบปี หกเดือน และสิบวันหลังถูกสร้าง"[36]
ต่อมาพระวิหารของซาโลมอนถูกแทนที่ด้วยพระวิหารที่สองเมื่อ 516 ปีก่อนคริสตกาล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Temple of Jerusalem: totally destroyed the building in 587/586
- ↑ 2.0 2.1 Britannica: Holy of Holies.
- ↑ 3.0 3.1 Temple of Jerusalem.
- ↑ Garfinkel & Mumcuoglu 2019.
- ↑ David Ussishkin In: A.G. Vaughn and A.E. Killebrew (eds.), Solomon's Jerusalem: The Text and the Facts on the Ground. Jerusalem in Bible and Archaeology; The First Temple Period, Atlanta, 2003, pp. 103–115
- ↑ Finkelstein & Silberman 2002, p. 128: Moreover, for all their reported wealth and power, neither David nor Solomon is mentioned in a single known Egyptian or Mesopotamian text. And the archaeological evidence in Jerusalem for the famous building projects of Solomon is nonexistent.
- ↑ Lundquist 2008, p. 45: The single most important fact regarding the Temple of Solomon is that there are no physical remains of the structure. There is not a single object or artifact that can be indubitably connected with the Temple of Solomon
- ↑ Finkelstein & Silberman 2002, p. 128
- ↑ Clifford Mark McCormick (2002). Palace and Temple: A Study of Architectural and Verbal Icons. Walter de Gruyter. pp. 31–. ISBN 978-3-11-017277-5.
- ↑ Israel Finkelstein Jerusalem in Biblical Times...1350–100 B.C.E. – Israel Finkelstein ที่ยูทูบ Institute for Advanced Study, Princeton, New Jersey
- ↑ Tetley 2005, p. 105.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 Mendels 1987, p. 131.
- ↑ Dever 2005, p. 97; Mendels 1987, p. 131; Brand & Mitchell 2015, p. 1538
- ↑ 14.0 14.1 14.2 Kalimi 2018, p. 285.
- ↑ Brand & Mitchell 2015, p. 1538.
- ↑ Brand & Mitchell 2015, p. 622.
- ↑ 17.0 17.1 1 พงศ์กษัตริย์ 9:13
- ↑ Alter 2018, p. 1087.
- ↑ Kalimi 2018, p. 286.
- ↑ Barnes, W. E. (1899), Cambridge Bible for Schools and Colleges on 2 Chronicles 5, accessed 17 April 2020
- ↑ 21.0 21.1 21.2 Pulpit Commentary on 1 Kings 8, accessed 2 October 2017
- ↑ Lumby, J. R. (1886), Cambridge Bible for Schools and Colleges on 1 Kings 8, accessed 18 April 2020, although the reference quoted here is Leviticus 16:3
- ↑ 1 พงศ์กษัตริย์ 8:63; 2 พงศาวดาร7:5
- ↑ 2 พงศาวดาร 7:7: ขนาดของแท่นบูชาไม่ได้กล่าวถึงใน 1 พงศ์กษัตริย์
- ↑ 1 พงศ์กษัตริย์ 8:64; 2 พงศาวดาร 7:7
- ↑ Pulpit Commentary on 2 Chronicles 4, accessed 19 April 2020
- ↑ 1 พงศ์กษัตริย์ 8:65; 2 พงศาวดาร 7:8
- ↑ Barnes, A., Barnes' Notes on 2 Chronicles 7, accessed 19 April 2020
- ↑ 2 พงศาวดาร 7:8
- ↑ Mathys, H. P., 1 and 2 Chronicles in Barton, J. and Muddiman, J. (2001), The Oxford Bible Commentary เก็บถาวร 22 พฤศจิกายน 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, p. 287
- ↑ 1 พงศ์กษัตริย์ 9:7; 2 พงศาวดาร 7:20
- ↑ 2 พงศาวดาร 24:13
- ↑ Singer, Isidore; et al., eds. (1901–1906). "Ab, Ninth Day of". The Jewish Encyclopedia. New York: Funk & Wagnalls. Retrieved 15 July 2013.
- ↑ "Temple In Rabbinical Literature". JewishEncyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ 20 May 2015.
- ↑ Yeisen, Yosef (2004), Miraculous journey: a complete history of the Jewish people from creation to the present, Targum Press, p. 56, ISBN 978-1-56871-323-6
- ↑ Josephus, Jew. Ant. 10.8.5
บรรณานุกรม
[แก้]หนังสือ
[แก้]- Alter, Robert (2018). The Hebrew Bible: A Translation with Commentary (Vol. Three-Volume Set). W. W. Norton. pp. 1087–. ISBN 978-0-393-29250-3.
- Boardman, John; Edwards, I. E. S.; Sollberger, E. (1992). The Cambridge Ancient History. Cambridge University Press. pp. 400–. ISBN 978-0-521-22717-9.
- Brand, Chad; Mitchell, Eric (2015). Holman Illustrated Bible Dictionary. B&H Publishing Group. pp. 622–. ISBN 978-0-8054-9935-3.
- De Vaux, Roland (1961). John McHugh (บ.ก.). Ancient Israel: Its Life and Institutions. NY: McGraw-Hill.
- Dever, William G. (2005). Did God Have a Wife?: Archaeology and Folk Religion in Ancient Israel. Wm. B. Eerdmans. ISBN 978-0-8028-2852-1. สืบค้นเมื่อ 7 February 2016.
- Dever, William G. (2001). What Did the Biblical Writers Know and When Did They Know It?: What Archeology Can Tell Us About the Reality of Ancient Israel. Wm. B. Eerdmans Publishing. ISBN 978-0-8028-2126-3.
- Finkelstein, Israel; Silberman, Neil Asher (2002). The Bible Unearthed: Archaeology's New Vision of Ancient Israel and the Origin of Sacred Texts. Simon and Schuster. ISBN 978-0-7432-2338-6.
- Hackett, Jo Ann (2001). "'There Was No King In Israel': The Era of the Judges". ใน Coogan, Michael David (บ.ก.). The Oxford History of the Biblical World. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-513937-2.
- Kalimi, I. (2018). Writing and Rewriting the Story of Solomon in Ancient Israel. Cambridge University Press. ISBN 978-1-108-47126-8. สืบค้นเมื่อ 7 December 2020.
- King, Philip J.; Stager, Lawrence E. (2001). Life in Biblical Israel. Westminster John Knox Press. ISBN 978-0-664-22148-5.
- Lundquist, John M. (2008). The Temple of Jerusalem: Past, Present, and Future. Greenwood Publishing Group. pp. 45–. ISBN 978-0-275-98339-0.
- Mendels, D. (1987). The Land of Israel as a Political Concept in Hasmonean Literature: Recourse to History in Second Century B.C. Claims to the Holy Land. Texte und Studien zum antiken Judentum. J.C.B. Mohr. ISBN 978-3-16-145147-8. สืบค้นเมื่อ 7 December 2020.
- Smith, Mark S. (2002). The Early History of God: Yahweh and the Other Deities in Ancient Israel (2nd ed.). Eerdmans. ISBN 978-0-8028-3972-5.
- Stavrakopoulou, Francesca (2021). God: An Anatomy. Picador. ISBN 978-1-5098-6734-9.
- Tetley, M. Christine (2005). The Reconstructed Chronology of the Divided Kingdom. Eisenbrauns. pp. 105–. ISBN 978-1-57506-072-9.
- Van Keulen, P. S. F. (2005). Two Versions Of The Solomon Narrative: An Inquiry Into The Relationship Between MT 1kgs. 2-11 And LXX 3 Reg. 2-11. Brill. pp. 183–. ISBN 90-04-13895-1.
บทความวรสาร
[แก้]- Garfinkel, Yosef; Mumcuoglu, Madeleine (2019). "The Temple of Solomon in Iron Age Context". Religions. 10 (3): 198. doi:10.3390/rel10030198. ISSN 2077-1444.
- Schwarzer, Mitchell (1 December 2001). "The Architecture of Talmud". Journal of the Society of Architectural Historians. 60 (4): 474–487. doi:10.2307/991731. ISSN 0037-9808. JSTOR 991731. สืบค้นเมื่อ 29 November 2020.
- Jonker, Louis (6 January 1990). "The Chronicler's portrayal of Solomon as the King of Peace within the context of the international peace discourses of the Persian era". Old Testament Essays. 21 (3): 653–669. ISSN 1010-9919. สืบค้นเมื่อ 29 November 2020.
อื่น ๆ
[แก้]- Draper, Robert (Dec 2010). "Kings of Controversy". National Geographic: 66–91. ISSN 0027-9358. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2018. สืบค้นเมื่อ 18 December 2010.
- Finkelstein, Israel; Neil Asher Silberman (2006). David and Solomon: In Search of the Bible's Sacred Kings and the Roots of the Western Tradition. Free Press. ISBN 978-0-7432-4362-9.
- Finkelstein, Israel; Neil Asher Silberman (2001). The Bible Unearthed: Archaeology's New Vision. Free Press.
- Glueck, Nelson (Feb 1944). "On the Trail of King Solomon's Mines". National Geographic. 85 (2): 233–56. ISSN 0027-9358.
- Goldman, Bernard (1966). The Sacred Portal: a primary symbol in ancient Judaic art. Detroit: Wayne State University Press.
It has a detailed account and treatment of Solomon's Temple and its significance.
- Hamblin, William; David Seely (2007). Solomon's Temple: Myth and History. Thames and Hudson. ISBN 978-0-500-25133-1.
- Mazar, Benjamin (1975). The Mountain of the Lord. NY: Doubleday. ISBN 978-0-385-04843-9.
- Young, Mike. "Temple Measurements and Photo recreations". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2010. สืบค้นเมื่อ 6 August 2010.
- Stefon, Matt (30 April 2020). "Solomon". Encyclopedia Britannica. สืบค้นเมื่อ 29 November 2020.
- "Holy of Holies". Encyclopedia Britannica. สืบค้นเมื่อ 29 November 2020.
- "Temple of Jerusalem". Encyclopedia Britannica. 17 September 2020. สืบค้นเมื่อ 29 November 2020.
- Pruitt, Sarah (10 January 2014). "Fate of the Lost Ark Revealed?". HISTORY. สืบค้นเมื่อ 29 November 2020.
- Lovett, Richard A.; Hoffman, Scot (21 January 2017). "Ark of the Covenant". National Geographic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2020. สืบค้นเมื่อ 29 November 2020.
- Shabi, Rachel (20 January 2005). "Faking it". the Guardian. สืบค้นเมื่อ 29 November 2020.
อ่านเพิ่มเติม
[แก้]- 21st century resources
- Barker, Margaret (2004), Temple Theology, an introduction, London: The Society For Promoting Christian Knowledge, ISBN 978-0-281-05634-7.
- Vaughn, Andrew G.; Killebrew, Ann E., บ.ก. (2003), Jerusalem in Bible and Archaeology: The First Temple Period, Society of Biblical Literature, ISBN 978-1-58983-066-0.
- Stevens, Marty E. (2006), Temples, tithes, and taxes: the temple and the economic life of ancient Israel, Hendrickson Publishers, ISBN 978-1-56563-934-8.
- Jones, Floyd Nolen (1993–2004), The Chronology Of The Old Testament, New Leaf Publishing Group, ISBN 978-0-89051-416-0.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระวิหารของซาโลมอน