ข้ามไปเนื้อหา

อาณาจักรหริภุญชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก หริภุญไชย)
หริภุญชัย

Haripuñjaya (บาลี)
พุทธศตวรรษที่ 13–พ.ศ. 1835
พ.ศ. 1543–1643 เขียว: หริภุญไชย ฟ้าอ่อน: อาณาจักรละโว้ แดง: จักรวรรดิเขมร เหลือง: อาณาจักรจามปา ฟ้า: ได่เวียด ชมพู: อาณาจักรพุกาม มะนาว: อาณาจักรศรีวิชัย
พ.ศ. 1543–1643
เขียว: หริภุญไชย
ฟ้าอ่อน: อาณาจักรละโว้
แดง: จักรวรรดิเขมร
เหลือง: อาณาจักรจามปา
ฟ้า: ได่เวียด
ชมพู: อาณาจักรพุกาม
มะนาว: อาณาจักรศรีวิชัย
เมืองหลวงลำพูน (พ.ศ. 1172-1835)
การปกครองราชาธิปไตย
ยุคประวัติศาสตร์ยุคกลาง
• ก่อตั้ง
ราว พ.ศ. 1172
• สิ้นสุด
ราว พ.ศ. 1743
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณาจักรละโว้
อาณาจักรล้านนา

อาณาจักรหริภุญชัย หรือ หริภุญไชย เป็นอาณาจักรมอญ[1]ที่ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทยปัจจุบัน

ประวัติ

[แก้]

ตามตำนานเรื่องจามเทวีวงศ์ ชินกาลมาลีปกรณ์ และสิงหนวัติ บันทึกไว้ว่าพระฤๅษีทั้งสี่ตนเป็นผู้สร้างเมืองหริภุญชัย (ลัมภูญนคร) ขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 1200–6[2] ปรากฏนามว่า ฤๅษีวาสุเทพ ฤๅษีสุกกทันตะ ฤๅษีตะปนานะ และจันทสิกตุงคฤาษี[2] แล้วทูลเชิญพระนางจามเทวี ซึ่งเป็นเจ้าหญิงจากอาณาจักรละโว้ ขึ้นมาครองเมืองหริภุญชัย ในครั้งนั้นพระนางจามเทวีได้นำพระภิกษุ นักปราชญ์ และช่างศิลปะต่าง ๆ จากละโว้ขึ้นไปด้วยเป็นจำนวนมากราวหมื่นคน พระนางได้ทำนุบำรุงและก่อสร้างบ้านเมือง ทำให้เมืองหริภุญชัย (ลำพูน) นั้นเป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ต่อมาพระนางได้สร้างเขลางค์นคร (ลำปาง) ขึ้นอีกเมืองหนึ่งให้เป็นเมืองสำคัญ สมัยนั้นปรากฏมีการใช้ภาษามอญโบราณในศิลาจารึกของหริภุญชัย มีหนังสือหมานซูของจีนสมัยราชวงศ์ถัง กล่าวถึงนครหริภุญชัยไว้ว่าเป็น “อาณาจักรของสมเด็จพระราชินีนาถ” (女王國 หนี่ว์ หวัง กว๋อ)

ต่อมา พ.ศ. 1824 พญามังรายมหาราชผู้สถาปนาอาณาจักรล้านนา ได้ยกกองทัพเข้ายึดเอาเมืองหริภุญชัยจากพญาญี่บาได้ อาณาจักรหริภุญชัยจึงสิ้นสุดลงหลังจากรุ่งเรืองมา 618 ปี มีพระมหากษัตริย์ครองเมือง 47 พระองค์

ปัจจุบัน โบราณสถานสำคัญของอาณาจักรหริภุญชัยคือพระธาตุหริภุญไชยที่จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นบริเวณที่สันนิษฐานว่าเป็นราชธานีในสมัยนั้น และยังมีโบราณสถานอีกหลายแห่งที่จังหวัดเชียงใหม่เช่น เวียงมโน ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง, เวียงเถาะ ตำบลบ้านสองแคว อำเภอดอยหล่อ และเวียงท่ากาน ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง

ได้มีการพบจารึกอักษรมอญโบราณสมัยหริภุญไชย ราวพุทธศตวรรษที่ 17 จำนวน 7 หลัก ที่ลำพูน ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย จังหวัดลำพูน[3] บางหมู่บ้านของจังหวัดลำพูนนั้นพบว่ายังมีคนพูดภาษามอญและอนุรักษ์วัฒนธรรมมอญอยู่

รายพระนามผู้ปกครอง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. David K. Wyatt, Thailand: A Short History, Chaing Mai : Silkworm Book, 2004, pg. 21
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงหลายแหล่ง:
    • ส่งศรี ประพัฒน์ทอง. (2536). ประณีตศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร. หน้า 162. ISBN 9789744250056
    • ปรีชา กาญจนาคม. (2532). "เมืองหริภญไชย," แนวทางศึกษาโบราณคดี. นครปฐม: คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. หน้า 95. OCLC 992241694
    • พระโพธิรังษี และราชบัณฑิตยสภา (รวบรวม). (2473). จามเทวีวงษ์ พงศาวดารเมืองหริภุญไชย ทั้งภาษาบาลีและคำแปล. แปลโดยพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์) กับพระญาณวิจิตร (สิทธิ โลจนานนท์). พระนคร: ม.ป.ท.
      • เพิ่งอ้าง. จามเทวีวงษ์ ปริเฉท 2. หน้า 23–52.
      • เพิ่งอ้าง. จามเทวีวงษ์ ปริเฉท 3. หน้า 53–76.
  3. นิทรรศการถาวร/item/การจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุ-ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ-หริภุญไชย[ลิงก์เสีย]
  • 'Historic Lamphun: Capital of the Mon Kingdom of Haripunchai', in: Forbes, Andrew, and Henley, David, Ancient Chiang Mai Volume 4. Chiang Mai, Cognoscenti Books, 2012. ASIN: B006J541LE
  • Swearer, Donald K. and Sommai Premchit. The Legend of Queen Cama: Bodhiramsi's Camadevivamsa, a Translation and Commentary. New York: State University of New York Press, 1998.