ข้ามไปเนื้อหา

เอเสเคียล 6

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอเสเคียล 6
หนังสือเอเสเคียล 30:13–18 ในสำเนาต้นฉบับอังกฤษจากช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13, MS. Bodl. Or. 62, fol. 59a. คำแปลภาษาละตินปรากฏอยู่ที่ขอบพร้อมการแทรกระหว่างบรรทัดเพิ่มเติมเหนือข้อความภาษาฮีบรู
หนังสือหนังสือเอเสเคียล
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเนวีอีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู7
หมวดหมู่ผู้เผยพระวจนะยุคหลัง
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์26

เอเสเคียล 6 (อังกฤษ: Ezekiel 6) เป็นบทที่ 6 ของหนังสือเอเสเคียลในคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ หนังสือเอเสเคียลประกอบด้วยคำเผยพระวจนะที่ถือว่าเป็นของผู้เผยพระวจนะ/ปุโรหิตเอเสเคียล เป็นหนึ่งในหนังสือหมวดผู้เผยพระวจนะ[1] จุดเน้นของคำเผยพระวจนะของเอเสเคียลในบทที่ 6 ของหนังสือเอเสเคียลคือปูชนียสถานสูงบนเหล่าภูเขาของอิสราเอล "ที่ตั้งของรูปเคารพ"[2]

ต้นฉบับ

[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู บทแบ่งออกเป็น 14 วรรค

พยานต้นฉบับ

[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895) หนังสือผู้เผยพระวจนะฉบับปีเตอส์เบิร์ก (Petersburg Codex of the Prophets; ค.ศ. 916) ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[3]

ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) บางสำเนาต้นฉบับที่หลงเหลือในเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5) และฉบับมาร์ชาล (Codex Marchalianus; Q; Q; ศตวรรษที่ 6)[4][4][a]

ภาพรวม

[แก้]
  • เอเสเคียล 6:1-7: คนที่เหลืออยู่จะได้รับการช่วย แต่ปูชนียสถานสูง แท่นบูชา และรูปเคารพจะถูกทำลายจนสิ้น
  • เอเสเคียล 6:8-10: ผู้เผยพระวจนะรับพระบัญชาให้คร่ำครวญต่อความชั่วและภัยพิบัติของชาวยูดาห์ แต่คนที่เหลืออยู่จะรอดไปได้
  • เอเสเคียล 6:11-14: เน้นย้ำถึงคำเผยพระวจนะในบทที่ 5 อีกครั้ง[2][6]

วรรค 4

[แก้]
"แท่นบูชาของพวกเจ้าจะร้างเปล่า
และแท่นเผาเครื่องหอมของเจ้าจะถูกพังลง
และคนของเจ้าที่ถูกฆ่านั้น เราจะเหวี่ยงลงต่อหน้ารูปเคารพของพวกเจ้า"[7]
  • "รูปเคารพ" (ฮีบรู: גִּלּוּלִ gillul; พหูพจน์: גִּלּוּלִים gillulim): พบ 39 ครั้งในหนังงสือเอเสเคียลและในเลวีนิติ 26:30 [8] คำนี้ในภาษาฮีบรูใช้เป็น "คำแสดงความรังเกียจหรือคำดูหมิ่นที่ใช้กับรูปเคารพ แม้ว่าความหมายที่แท้จริงจะไม่แน่ชัด"[2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. หนังสือเอเสเคียลทั้งเล่มขาดหายไปจากจากฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus)[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Theodore Hiebert, et al. 1996. The New Interpreter's Bible: Volume VI. Nashville: Abingdon.
  2. 2.0 2.1 2.2 Davidson, A. B., (1893), Cambridge Bible for Schools and Colleges on Ezekiel 6, accessed 7 November 2019
  3. Würthwein 1995, pp. 35–37.
  4. 4.0 4.1 Würthwein 1995, pp. 73–74.
  5. Shepherd, Michael (2018). A Commentary on the Book of the Twelve: The Minor Prophets. Kregel Exegetical Library. Kregel Academic. p. 13. ISBN 978-0825444593.
  6. Clements 1996, p. 26.
  7. เอเสเคียล 6:4 THSV11
  8. The New Oxford Annotated Bible with the Apocrypha, Augmented Third Edition, New Revised Standard Version, Indexed. Michael D. Coogan, Marc Brettler, Carol A. Newsom, Editors. Publisher: Oxford University Press, USA; 2007. pp. 1188 Hebrew Bible. ISBN 978-0195288810

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ศาสนายูดาห์

[แก้]

ศาสนาคริสต์

[แก้]