โฮเชยา 1
โฮเชยา 1 | |
---|---|
โฮเชยา 2 → | |
4Q166 "ม้วนหนังสืออธิบายโฮเชยา" (ปลายศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล) | |
หนังสือ | หนังสือโฮเชยา |
ภาคในคัมภีร์ฮีบรู | เนวีอีม |
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | พันธสัญญาเดิม |
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | 28 |
โฮเชยา 1 (อังกฤษ: Hosea 1) เป็นบทแรกของหนังสือโฮเชยาในคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1][2] หนังสือโฮเชยาประกอบด้วยคำเผยพระวจนะที่ถือว่าเป็นของผู้เผยพระวจนะโฮเชยาบุตรเบเออรี หนังสือโฮเชยาเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือสิบสองผู้เผยพระวจนะน้อยในคัมภีร์ฮีบรู[3][4] บทที่ 1 ของหนังสือโฮเชยามุ่งเน้นโดยเฉพาะไปที่การผิดประเวณีทางจิตวิญญาณของชาวอิสราเอล โดยแสดงกิจพยากรณ์เชิงสัญลักษณ์[5]
ต้นฉบับ
[แก้]บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู บทแบ่งออกเป็น 11 วรรคในคัมภีร์ไบเบิลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่ในคัมภีร์ฮีบรูวรรค 10 และ 11 ปรากฏในบทที่ 2 2[6][7] บทความนี้อิงตามการกำหนดเลขวรรคในคัมภีร์ไบเบิลภาษาไทยและภาษาอังกฤษของศาสนาคริสต์โดยทั่วไป โดยเพิ่มหมายเหตุเป็นเลขวรรคของคัมภีร์ฮีบรู
บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895) หนังสือผู้เผยพระวจนะฉบับปีเตอส์เบิร์ก (Petersburg Codex of the Prophets; ค.ศ. 916) ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[8] ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี ได้แก่ 4Q79 (4QXIId; 75–50 ปีก่อนคริสตกาล) โดยมีวรรคที่หลงเหลือคือ 6–11 (วรรค 1:6-9, 2:1-5 ในคัมภีร์ฮีบรู),[9][10][11][12] และ 4Q82 (4QXIIg; 25 ปีก่อนคริสตกาล) โดยมีวรรคที่หลงเหลือคือ 10–11 (วรรค 2:1-2 ในคัมภีร์ฮีบรู)[10][11][13][14]
ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) บางสำเนาต้นฉบับที่หลงเหลือในเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5) และฉบับมาร์ชาล (Codex Marchalianus; Q; Q; ศตวรรษที่ 6)[15][15][a] บทที่ 1 มี 11 วรรคในเซปทัวจินต์[17]
โครงสร้าง
[แก้]พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน (THSV 11) แบ่งเนื้อหาของบทนี้ดังต่อไปนี้:
- โฮเชยา 1:1 = คำนำ
- โฮเชยา 1:2 -9 = ครอบครัวของโฮเชยา
- โฮเชยา 1:10 -11 = การฟื้นฟูอิสราเอล
คำนำ (1:1)
[แก้]- พระวจนะของพระยาห์เวห์ซึ่งมาถึงโฮเชยา บุตรเบเออรี
- ในรัชกาลอุสซียาห์ โยธาม อาหัส และเฮเซคียาห์ กษัตริย์ทั้งหลายแห่งยูดาห์
- และในรัชกาลเยโรโบอัม พระราชโอรสของเยโฮอาชกษัตริย์แห่งอิสราเอล[18]
- "โฮเชยา": มีความหมายว่า "ความรอด" หรือ "การปลดปล่อย" และยังมีความหมายว่า "ผู้ช่วยให้รอด" หรือ "ผู้ปลดปล่อย"[19] เมื่อเพิ่มคำอุปสรรค "ยาห์" ("Jah") ซึ่งหมายถึงพระนามของ "พระยาห์เวห์" จะทำให้ชื่อกลายเป็น "โยชูวา"[19] รูปเดิมของชื่อนี้มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับคำว่า "โฮซันนา" (hoshia na) หรือ "ช่วยให้รอด" (เปรียบเทียบกับสดุดี 118:25 )[19]
- "ในรัชกาลอุสซียาห์": โฮเชยาระบุว่าตนเผยพระวจนะในรัชสมัยของกษัตริย์แห่งยูดาห์ ไม่ใช่ของกษัตริย์แห่งอิสราเอลเหนือซึ่งโฮเชยาอาศัยอยู่ เพราะโฮเชยาถือว่ามีเพียงราชอาณาจักรยูดาห์ที่ชอบธรรมในการปกครอง โดยเอลีชาซึ่งปฏิบัติพันธกิจก่อนโฮเชยานำพระสัญญาของพระเจ้าไปถึงเชื้อสายของดาวิด[20] หันหลังให้เยโฮรัม (2 พงศ์กษัตริย์ 3:13-14) และยอมรับเฉพาะเยโฮชาฟัทกษัตริย์แห่งยูดาห์ พระนามของเยโรโบอัมอาจถูกกล่าวถึงในฐานะกษัตริย์องค์สุดท้ายของอิสราเอลที่พระเจ้าทรงช่วยเนื่องด้วยพระสัญญาที่พระองค์มีต่อเยฮู และยังระบุด้วยว่าพระเจ้าทรงไม่เคยทอดทิ้งอิสราเอลโดยไม่ได้ทรงเตือนล่วงหน้า ตั้งแต่รัชสมัยของเยโรโบอัมที่ 1 ผู้ได้รับการเตือนโดยผู้เผยพระวจนะไม่ปรากฏชื่อที่สนับสนุนคำเผยพระวจนะของตนด้วยความตายของตนเอง (1 พงศ์กษัตริย์ 13) และยังได้รับการเตือนโดยอาหิยาห์ด้วย (1 พงศ์กษัตริย์ 14) จากนั้นบาอาชาได้รับการเตือนโดยเยฮูบุตรฮานานี (1 พงศ์กษัตริย์ 16), อาหับได้รับการเตือนโดยเอลียาห์และมีคายาห์บุตรอิมลาห์, อาซาริยาห์ได้รับการเตือนโดยเอลียาห์ (2 พงศ์กษัตริย์ 1); เยโฮรัมได้รับการเตือนโดยเอลีชาผู้ปฏิบัติพันธกิจจนถึงรัชสมัยของเยโฮอาช (2 พงศ์กษัตริย์ 13:14)[20]
- "เยโรโบอัม": คือเยโรโบอัมที่ 2 ผู้สิ้นพระชนม์ในปีที่ 15 ของรัชสมัยอุซซียาห์แห่งยูดาห์ หลังรัชสมัยของพระองค์ กษัตริย์แห่งอิสราเอลที่เหลือทุกพระองค์ต่างบูชาพระเทียมเท็จ: เศคาริยาห์ (2 พงศ์กษัตริย์ 15:9), เมนาเฮม (2 พงศ์กษัตริย์ 15:18), เปคาหิยาห์ (2 พงศ์กษัตริย์ 15:24), เปคาห์ (2 พงศ์กษัตริย์ 15:28) และท้ายที่สุดคือโฮเชยา (2 พงศ์กษัตริย์ 17:2) อิสราเอลเจริญรุ่งเรืองภายนอกมากที่สุดในรัชสมัยของเยโรโบอัมที่ 2 ผู้กอบกู้ดินแดนของอิสราเอลจากซีเรียได้ตามพระวจนะที่เผยโดยผู้เผยพระวจนะโยนาห์ ด้วยความเมตตาของพระเจ้าต่ออิสราเอล ไม่ใช่เพราะความดีของตัวกษัตริย์เอง ดังนั้น "ดินแดนอิสราเอลได้รับการกู้คืน ตั้งแต่ทางเข้าเมืองฮามัท ไกลไปจนถึงทะเลแห่งอาราบาห์" (2 พงศ์กษัตริย์ 14:23-27)[5]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บุตรของโฮเชยาจากการสมรสกับโกเมอร์ (1:2–9)
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คำพยากรณ์แห่งความรอด: การกลับคำพิพากษา (1:10–11)
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Collins 2014.
- ↑ Hayes 2015.
- ↑ Metzger, Bruce M., et al. The Oxford Companion to the Bible. New York: Oxford University Press, 1993.
- ↑ Keck, Leander E. 1996. The New Interpreter's Bible: Volume: VII. Nashville: Abingdon.
- ↑ 5.0 5.1 Robert Jamieson, Andrew Robert Fausset; David Brown. Jamieson, Fausset, and Brown's Commentary On the Whole Bible. 1871.
- ↑ หมายเหตุของโฮเชยา 1:10 และ Hosea 2:1 ใน English Standard Version
- ↑ โฮเชยา 2:1 -2 ในฉบับ Mechon Mamre
- ↑ Würthwein 1995, pp. 35–37.
- ↑ Ulrich 2010, p. 590.
- ↑ 10.0 10.1 Dead sea scrolls - Hosea
- ↑ 11.0 11.1 Fitzmyer 2008, p. 39.
- ↑ 4Q79 at the Leon Levy Dead Sea Scrolls Digital Library
- ↑ Ulrich 2010, pp. 590–591.
- ↑ 4Q82 at the Leon Levy Dead Sea Scrolls Digital Library
- ↑ 15.0 15.1 Würthwein 1995, pp. 73–74.
- ↑ Shepherd, Michael (2018). A Commentary on the Book of the Twelve: The Minor Prophets. Kregel Exegetical Library. Kregel Academic. p. 13. ISBN 978-0825444593.
- ↑ Brenton, L., Brenton's Septuagint Translation: Hosea 1, accessed 20 November 2023
- ↑ โฮเชยา 1:1 THSV11
- ↑ 19.0 19.1 19.2 Exell, Joseph S.; Spence-Jones, Henry Donald Maurice (Editors). On "Hosea 1". In: The Pulpit Commentary. 23 volumes. First publication: 1890. Accessed 24 April 2019.
- ↑ 20.0 20.1 Barnes, Albert. Notes on the Bible - Hosea 1. James Murphy (ed). London: Blackie & Son, 1884. Reprint, Grand Rapids: Baker Books, 1998.
บรรณานุกรม
[แก้]- Collins, John J. (2014). Introduction to the Hebrew Scriptures. Fortress Press. ISBN 9781451469233.
- Day, John (2007). "27. Hosea". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 571–578. ISBN 978-0199277186. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
- Fitzmyer, Joseph A. (2008). A Guide to the Dead Sea Scrolls and Related Literature. Grand Rapids, MI: William B. Eerdmans Publishing Company. ISBN 9780802862419.
- Hayes, Christine (2015). Introduction to the Bible. Yale University Press. ISBN 978-0300188271.
- Ulrich, Eugene, บ.ก. (2010). The Biblical Qumran Scrolls: Transcriptions and Textual Variants. Brill.
- Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament. แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.