ข้ามไปเนื้อหา

เอเสเคียล 3

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอเสเคียล 3
หนังสือเอเสเคียล 30:13–18 ในสำเนาต้นฉบับอังกฤษจากช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13, MS. Bodl. Or. 62, fol. 59a. คำแปลภาษาละตินปรากฏอยู่ที่ขอบพร้อมการแทรกระหว่างบรรทัดเพิ่มเติมเหนือข้อความภาษาฮีบรู
หนังสือหนังสือเอเสเคียล
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเนวีอีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู7
หมวดหมู่ผู้เผยพระวจนะยุคหลัง
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์26

เอเสเคียล 3 (อังกฤษ: Ezekiel 3) เป็นบทที่ 3 ของหนังสือเอเสเคียลในคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1] หนังสือเอเสเคียลประกอบด้วยคำเผยพระวจนะที่ถือว่าเป็นของผู้เผยพระวจนะ/ปุโรหิตเอเสเคียล[2] เป็นหนึ่งในหนังสือหมวดผู้เผยพระวจนะ บทที่ 3 ของหนังสือเอเสเคียลประกอบด้วยเรื่องการทรงเรียกเอเสเคียลให้กล่าวกับคนอิสราเอลและทำหน้าที่เป็นยามของพงศ์พันธุ์อิสราเอล

ต้นฉบับ

[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู บทแบ่งออกเป็น 27 วรรค

พยานต้นฉบับ

[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895) หนังสือผู้เผยพระวจนะฉบับปีเตอส์เบิร์ก (Petersburg Codex of the Prophets; ค.ศ. 916) ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[3]

ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) บางสำเนาต้นฉบับที่หลงเหลือในเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5) และฉบับมาร์ชาล (Codex Marchalianus; Q; Q; ศตวรรษที่ 6)[4][4][a]

ความรับผิดชอบของผู้เผยพระวจนะ (3:1–15)

[แก้]

วรรค 1

[แก้]
และพระองค์ตรัสกับข้าพเจ้าว่า "บุตรมนุษย์เอ๋ย จงกินสิ่งที่เจ้าได้พบ จงกินหนังสือม้วนนี้ แล้วจงไปพูดกับพงศ์พันธุ์อิสราเอล"[6]

"บุตรมนุษย์" บางครั้งแปลว่า "บุตรแห่งมนุษย์" เช่นในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1971[7] เอเสเคียลถูกเรียกว่า 'บุตรมนุษย์' ในที่นี้และตลอดหนังสือที่เหลือ คำว่า 'บุตรมนุษย์' ไม่ใช่ชื่อตำแหน่งที่ตั้งเพื่อเป็นเกียรติ แต่เป็นคำที่สื่อถึงระยะห่างระหว่าง 'ผู้เป็นเพียงมนุษย์' กับคู่สนทนาที่เป็นพระเจ้า[8] ผู้เผยพระวจนะเยเรมีย์บันทึกว่าตน "พบ" และ "กิน" พระวจนะของพระเจ้า ในทำนองเดียวกันกับที่เอเสเคียลกินหนังสือม้วน[9]

วรรค 3

[แก้]
และพระองค์ตรัสกับข้าพเจ้าว่า
"บุตรมนุษย์เอ๋ย จงกินหนังสือม้วนนี้ซึ่งเราให้แก่เจ้า และบรรจุให้เต็มท้องของเจ้า"
แล้วข้าพเจ้าก็รับประทาน
และเมื่อหนังสือม้วนนั้นอยู่ในปากข้าพเจ้ามันก็หวานเหมือนน้ำผึ้ง[10]

วรรค 15

[แก้]
ข้าพเจ้าจึงมาถึงพวกเชลยที่เทลอาบิบ ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ริมแม่น้ำเคบาร์
และในที่ที่พวกเขาอาศัยอยู่นั้นข้าพเจ้าก็นั่งด้วยความตะลึงงันอยู่ท่ามกลางพวกเขาเจ็ดวัน[13]
  • "เทลอาบิบ" (ฮีบรู: תל-אביב, Tel Aviv; แปลว่า "เนินฤดูใบไม้ผลิ") เป็นสถานที่ที่ระบุตำแหน่งไม่ได้ริมแม่น้ำเคบาร์ใกล้กับนิปปูร์ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศอิรัก แม่น้ำเคบาร์เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายซับซ้อนของคลองชลประทานและคลองขนส่งซึ่งรวมไปถึง Shatt el-Nil ซึ่งเป็นคลองตะกอนที่ไหลไปทางตะวันออกของบาบิโลน[14][15]
  • "ด้วยความตะลึงงัน" มีความหมายว่าเงียบและนิ่งเฉย "ช่วงเวลาแห่งความเงียบงัน" ที่ยาวนานถึง 7 วันอาจเป็นการแสดงถึง "ความแข็งแกร่งทางอารมณ์ของผู้เผยพระวจนะ" เมื่อมาถึงเทลอาบิบ[16]

เอเสเคียลในฐานะยามของพงศ์พันธุ์อิสราเอล (3:16–27)

[แก้]

วรรค 16

[แก้]
พอสิ้นวันที่เจ็ด พระวจนะของพระยาห์เวห์ก็มาถึงข้าพเจ้าว่า[17]
  • "พอสิ้นวันที่เจ็ด": ในช่วงเวลาเจ็ดวันนี้ เอเสเคียลมีโอกาสเพียงพอในการอยู่ท่ามกลางพวกเชลย และสามารถเห็นขอบเขตและข้อมูลสำหรับพันธกิจของตน ก่อนที่เขาจะได้รับการตั้งให้เป็นยามของพงศ์พันธุ์อิสราเอล[18][19]

วรรค 23

[แก้]
ดังนั้นข้าพเจ้าจึงลุกขึ้นออกไปยังที่ราบ และนี่แน่ะ พระสิริของพระยาห์เวห์ก็อยู่ที่นั่นเหมือนกับพระสิริซึ่งข้าพเจ้าได้เห็นที่ริมแม่น้ำเคบาร์ แล้วข้าพเจ้าก็ซบหน้าลงถึงดิน[20]

วรรค 27

[แก้]
แต่เมื่อเราพูดกับเจ้า เราจะเปิดปากเจ้า
แล้วเจ้าจะพูดกับเขาทั้งหลายว่า
"พระยาห์เวห์องค์เจ้านายตรัสดังนี้ว่า"
ผู้ที่จะฟังก็ให้เขาฟัง
และผู้ที่จะปฏิเสธก็ให้เขาปฏิเสธ
เพราะเขาทั้งหลายเป็นพงศ์พันธุ์มักกบฏ[22]

ประเด็นเรื่องการเป็นใบ้และการเปิดปากให้พูดเป็นระยะ ๆ เน้นย้ำว่าคำที่เอเสเคียลพูดมาจากพระเจ้า ไม่ใช่จากตัวผู้เผยพระวจนะเอง[21]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. หนังสือเอเสเคียลทั้งเล่มขาดหายไปจากจากฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus)[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Carley 1974, pp. 21–29.
  2. Galambush 2007, p. 534.
  3. Würthwein 1995, pp. 35–37.
  4. 4.0 4.1 Würthwein 1995, pp. 73–74.
  5. Shepherd, Michael (2018). A Commentary on the Book of the Twelve: The Minor Prophets. Kregel Exegetical Library. Kregel Academic. p. 13. ISBN 978-0825444593.
  6. เอเสเคียล 3:1 THSV11
  7. เอเสเคียล 3:1 TH1971
  8. Galambush 2007, p. 538.
  9. เยเรมีย์ 15:16
  10. เอเสเคียล 3:3 THSV11
  11. Clements 1996, p. 17.
  12. Carley 1974, p. 23.
  13. เอเสเคียล 3:15 THSV11
  14. Allen, Leslie C. (1994). Word Bible Commentary: Ezekiel 1–19. Dallas: Word, Incorporated. p. 22. ISBN 0-8499-0830-2.
  15. Block, Daniel I. (1997). NICOT: The Book of Ezekiel: Chapters 1–24. Grand Rapids, Michigan: Eerdmans. p. 84. ISBN 0802825354.
  16. Davidson, Andrew B., Ezekiel, chapter 3, Cambridge Bible for Schools and Colleges, accessed 18 January 2020
  17. เอเสเคียล 3:17 THSV11
  18. Benson, Joseph. Commentary on the Old and New Testaments: Ezekiel 3, accessed 9 July 2019.
  19. Cambridge Bible for Schools and Colleges. Ezekiel 3. Accessed 28 April 2019.
  20. เอเสเคียล 3:23 THSV11
  21. 21.0 21.1 Carley 1974, p. 29.
  22. เอเสเคียล 3:27 THSV11

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ศาสนายูดาห์

[แก้]

ศาสนาคริสต์

[แก้]