ข้ามไปเนื้อหา

ดาเนียล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดาเนียล
ดาเนียลในถ้ำสิงโต (ป. ค.ศ. 1614 –  1616) โดยเปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์
Prophet
นับถือ ใน
สักการสถานหลักสุสานดาเนียล เมืองซูซา ประเทศอิหร่าน
วันฉลอง21 กรกฎาคม (โรมันคาทอลิก)
17 ธันวาคม (กรีกออร์ทอดอกซ์)
วันอังคารหลังวันอาทิตย์ที่ 4 ของเทศกาลเพนเทคอสต์ (คริสตจักรอัครทูตอาร์มีเนีย)
สัญลักษณ์มักปรากฏในถ้ำสิงโต
ประเพณีหรือประเภท
ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล

ดาเนียล (อังกฤษ: Daniel; แอราเมอิกและฮีบรู: דָּנִיֵּאל, อักษรโรมัน: Dānīyyēʾl, แปลตรงตัว'พระเจ้าทรงเป็นผู้พิพากษาของเรา';[a] กรีก: Δανιήλ, อักษรโรมัน: Daniḗl; อาหรับ: دانيال, อักษรโรมัน: Dāniyāl) เป็นตัวละครหลักของหนังสือดาเนียล ในคัมภีร์ฮีบรูระบุว่าดาเนียลเป็นเด็กหนุ่มชาวยิวที่อยู่ในชนชั้นขุนนางจากเยรูซาเล็มที่ตกไปเป็นเชลยของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 แห่งบาบิโลน รับใช้กษัตริย์และผู้สืบราชบัลลังก์ของพระองค์ด้วยความภักดีและด้วยความสามารถ จนถึงรัชสมัยของกษัตริย์ไซรัสกษัตริย์ผู้พิชิตแห่งเปอร์เซีย โดยตลอดช่วงเวลาเหล่านี้ดาเนียลยังคงซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าแห่งอิสราเอล[1] นักวิชาการส่วนอนุรักษ์นิยมบางส่วนเชื่อว่าดาเนียลมีตัวตนจริงและหนังสือเขียนขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล[2][3] แต่นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นพ้องว่าดาเนียลไม่ใช่บุคคลในประวัติศาสตร์ และเนื้อหาส่วนมากของหนังสือเป็นการอ้างถึงอย่างกำกวมถึงรัชสมัยของอันทิโอคัสที่ 4 เอปีฟาเนส กษัตริย์เฮลเลนิสต์เมื่อศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล[4][5]

มีหกเมืองที่อ้างกันว่าเป็นสุสานของดาเนียล ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือที่ซูซา (สุสา) ทางใต้ของประเทศอิหร่าน ที่สถานที่ที่เรียกว่า Shush-e Daniyal[6] ดาเนียลไม่ใช่ผู้เผยพระวจนะในศาสนายูดาห์[7] แต่บรรดารับบีถือว่าดาเนียลเป็นสมาชิกที่โดดเด่นที่สุดในหมู่ผู้พลัดถิ่นในบาบิโลน ไม่มีใครเทียบได้กับดาเนียลในเรื่องความเชื่อและการกระทำที่ดี ยึดมั่นในธรรมบัญญัติอย่างมั่นคงแม้จะถูกล้อมรอบด้วยศัตรูที่ต้องการทำร้ายดาเนียล และในช่วงคริสต์ศตวรรษแรก ๆ เหล่ารับบีเขียนตำนานจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับชื่อของดาเนียล[8] ดาเนียลถือเป็นผู้เผยพระวจนะในศาสนาคริสต์ และแม้ว่าดาเนียลจะไม่ถูกกล่าวถึงในคัมภีร์อัลกุรอาน แต่แหล่งข้อมูลของมุสลิมก็ระบุถึงดาเนียลในฐานะผู้เผยพระวจนะ (นบี)

หมายเหตุ

[แก้]
  1. เฉพาะในดาเนียล 6:22 ที่ชื่อภาษาแอราเมอิกคือ דָּנִיֶּאל

อ้างอิง

[แก้]

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]