ข้ามไปเนื้อหา

เอกนคร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เมืองโตเดี่ยว)
ประเทศที่ไม่มีเอกนคร (สีแดง)

เอกนคร หรือ เมืองโตเดี่ยว เป็นคำสร้างใหม่ที่ใช้เรียกเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ รัฐ หรือภูมิภาค โดยมักเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่กว่าเมืองอันดับสองหรือเมืองที่เล็กรองลงมาอย่างไม่สมส่วน[1] กฎเอกนคร ได้รับการเสนอเป็นครั้งแรกโดยนักภูมิศาสตร์ชาวอเมริกันนาม มาร์ก เจฟเฟอร์สัน ใน ค.ศ. 1939[2] เขาให้คำจำกัดความของเอกนครว่าเป็น "เมืองที่มีขนาดใหญ่กว่าเมืองอันดับสองอย่างน้อยสองเท่า และมีความสำคัญมากกว่าสองเท่า"[3] นอกจากขนาดและอิทธิพลทางเศรษฐกิจแล้ว เอกนครยังมักมีลำดับความสำคัญมากกว่าในด้านอื่น ๆ ในสังคมของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเป็นศูนย์กลางทางการเมือง สื่อ วัฒนธรรม และการศึกษา รวมถึงการย้ายถิ่นเข้ามาจากเมืองอื่น ๆ ภายในประเทศ

ไม่ใช่ทุกประเทศที่มีเอกนคร มีการถกเถียงกันว่าส่วนใหญ่แล้วเอกนครทำหน้าที่อย่างปรสิต (นำทรัพยากรมาจากที่อื่น ๆ) หรืออย่างเมืองก่อกำเนิด (ผลิตทรัพยากร)[4] การมีอยู่ของเอกนครแสดงให้เห็นถึงความไม่สมดุลในการพัฒนาซึ่งโดยทั่วไปประกอบด้วยแกนกลางที่เจริญก้าวหน้ากับพื้นที่รอบหน้าที่ล้าหลังซึ่งแกนกลางนั้นพึ่งพิงด้านแรงงานและทรัพยากรอื่น ๆ[5]

ตัวอย่าง

[แก้]

เมืองระดับโลกส่วนมากแล้วจะเป็นเอกนครของประเทศและภูมิภาคนั้น[3][6] เมืองระดับโลกเหล่านั้นรวมถึงลอนดอนของสหราชอาณาจักร โทรอนโตของแคนาดา และนครนิวยอร์กในภาคตะวันออกของสหรัฐ (สหรัฐไม่มีเอกนครในระดับประเทศ[7]) บูดาเปสต์ จาการ์ตา ลิมา เม็กซิโกซิตี และโซลถือเป็นเอกนครในประเทศของตน[8]

กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย ถูกกล่าวว่าเคยเป็น "เมืองที่มีความเป็นเอกนครที่สุดในโลก" เพราะในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ.2000) กรุงเทพมหานครมีประชากรมากกว่านครราชสีมา ที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย ถึง 40 เท่า[9] ปัจจุบันนี้ กรุงเทพมหานคร ใหญ่กว่าเมืองอันดับสองในตอนนี้อย่าง เมืองเชียงใหม่ถึงเก้าเท่า[10] (ตารางด้านล่างระบุว่าเชียงใหม่เป็นเมืองอันดับสอง) เมื่อดึงแนวคิดจากงานตรวจสอบค้นคว้าของตนระหว่างการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 และนำไปใช้กับบทบาทที่เอกนครมีหากเป็นเมืองหลวงแห่งชาติแล้ว แจ็ก ฟง นักวิจัยสังคมวิทยาเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อบรรดาเอกนครอย่างกรุงเทพมหานครทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงแห่งชาติด้วย เอกนครเหล่านั้นมักตกเป็นพื้นที่ก่อจลาจลจากทั้งทหารและผู้ประท้วง เขาอ้างถึงข้อเท็จจริงที่ว่าเอกนครที่เป็นเมืองหลวงส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ต่าง ๆ ของประเทศ ดังนั้น ในด้านการจัดระบบการดำเนินการจึงถือว่าค่อนข้าง "มีประสิทธิภาพ" สำหรับการงัดข้อกับเป้าหมายระดับชาติ เนื่องจากเป้าหมายเหล่านั้นตั้งอยู่ในบริเวณแวดล้อมที่เป็นเมืองหลักเพียงแห่งเดียว[11]

รายชื่อ

[แก้]

แอฟริกา

[แก้]
ประเทศ เมืองและเขตเมือง ประชากร (เขตมหานคร) เมืองใหญ่อันดับสอง ประชากร
 กาบอง ลีเบรอวีล 703,904 ปอร์-ฌ็องตี 136,462
 กินี โคนาครี[12] 1,660,973 อึนเซเรกอเร 195,027
 กินี-บิสเซา บิสเซา 492,004 กาบู 48,670
 แกมเบีย พื้นที่บันจูล-เซเรกุนดา 519,835[13] บริกามา 101,119[13]
 เคนยา ไนโรบี 9,354,580 โมมบาซา 3,528,940
 จิบูตี เมืองจิบูตี 475,322 อาลีซาบีห์ 37,939
 ชาด อึนจาเมนา 1,605,696 มูนดู 137,929
 ซิมบับเว ฮาราเร 1,619,000 บูลาวาโย 653,337
 ซูดาน พื้นที่ออมเดอร์มาน-คาร์ทูม 5,490,000 พอร์ตซูดาน 489,725
 เซเชลส์ วิกตอเรีย 26,450 อ็องส์บัวโล 4,093
 เซเนกัล ดาการ์[12] 2,646,503 ตูบา 753,315
 เซาตูแมอีปริงซีป เซาตูเม 71,868 ซังตูอามารู 8,239
 เซียร์ราลีโอน ฟรีทาวน์[12] 1,500,234 โบ 233,684
 แซมเบีย ลูซากา 2,238,569 กีตเว 522,092
 ตูนิเซีย ตูนิส 2,643,695 สฟักซ์ 330,440
 โตโก โลเม 1,477,660 ซอกอเด 118,000
 นามิเบีย วินด์ฮุก 325,858 วอลวิสเบย์ 62,096
 ไนเจอร์ นีอาเม 1,243,500 ซินเดอร์ 235,605
 บอตสวานา กาโบโรเน 421,907 ฟรานซิสทาวน์ 150,800
 บูร์กินาฟาโซ วากาดูกู 2,500,000 บอโบ-ดียูลาโซ 537,728
 มอริเชียส พอร์ตลูอิส 149,194 โบบาแซ็ง-โรซีล 104,610
 มอริเตเนีย นูอากชอต 958,399 นาอาดีบู 118,167
 มาดากัสการ์ อันตานานารีโว 1,275,207 โตมาซีเนอ 300,813
 มาลี บามาโก 1,810,366 ซีกาโซ 226,618
 โมซัมบิก มาปูโต 1,766,823 นัมปูลา 743,125
 ยูกันดา กัมปาลา 1,507,080 นันซานา 365,124
 รวันดา คิกาลี 1,132,686 บูตาเร 89,600
 เลโซโท มาเซรู 330,760 เตยาเตยาเนง 75,115
 ไลบีเรีย มอนโรเวีย 1,101,970 แกนตา 41,106
 สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก กินชาซา 11,855,000 ลูบูมบาชี 1,630,186
 สาธารณรัฐแอฟริกากลาง บังกี 622,771 บีมโบ 124,176
 อียิปต์ ไคโร[14] 20,439,541 อะเล็กซานเดรีย 5,200,000
 เอธิโอเปีย อาดดิสอาบาบา 3,352,000 อาดามา 342,940
 เอริเทรีย แอสมารา 650,000 เกอเริน 82,198
 แองโกลา ลูอันดา[12] 8,069,612 ลูบังโก 903,564
 แอลจีเรีย แอลเจียร์ 7,896,923 ออราน 1,560,329

บุรุนดี ไนจีเรีย และแทนซาเนียไม่มีเอกนครเนื่องจากเมืองหลวงไม่ใช่เมืองที่ใหญ่ที่สุด แต่เมืองที่ใหญ่ที่สุดมีประชากรมากกว่าเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองเป็นสองเท่า และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของประเทศ

เอเชีย

[แก้]
ประเทศ เมืองและเขตเมือง ประชากร (เขตมหานคร) เมืองใหญ่อันดับสอง ประชากร
 กัมพูชา พนมเปญ[12] 2,177,000 เสียมราฐ 140,000
 กาตาร์ โดฮา 1,850,000 อัรร็อยยาน 960,000
 เกาหลีใต้ โซล 21,794,000 ปูซาน 3,286,000
 เกาหลีเหนือ เปียงยาง 2,228,000 ฮัมฮึง 535,000
 คีร์กีซสถาน บิชเคก[12] 1,297,000 ออช 282,000
 คูเวต คูเวตซิตี[12] 4,022,000 อัลญะฮ์รออ์ 400,000
 จอร์เจีย ทบิลีซี 1,207,000 บาทูมี 200,000
 จอร์แดน อัมมาน 4,425,000 อิรบิด 750,000
 ญี่ปุ่น โตเกียว 38,140,000 โอซากะ 2,668,586
 ติมอร์-เลสเต ดิลี 235,000 เบาเกา 15,000
 เติร์กเมนิสถาน อาชกาบัต 1,168,000 ตืร์กเมนาบัต 253,000
 ทาจิกิสถาน ดูชานเบ 1,390,000 ฆูจันด์ 182,000
 ไทย กรุงเทพมหานคร[15][16] 10,820,921 เชียงใหม่ 1,197,931
 เนปาล กาฐมาณฑุ 3,941,000 โปขรา 403,000
 บรูไน บันดาร์เซอรีเบอกาวัน 280,000 กัวลาเบอไลต์ 70,000
 บังกลาเทศ ธากา 15,443,000 จิตตะกอง 3,913,000
 ฟิลิปปินส์ มะนิลา 23,088,000 นครเซบู 2,275,000
 ภูฏาน ทิมพู 115,000 พุนโซลิง 28,000
 มองโกเลีย อูลานบาตาร์[12] 1,508,000 เอร์เตเนท 100,000
 Maldives มาเล 135,000 อัดดู 34,000
 มาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์ 7,564,000 จอร์จทาวน์ 2,412,000
 ลาว เวียงจันทน์ 1,058,000 ไกสอน พมวิหาน 120,000
 เลบานอน เบรุต[12] 2,781,000 ตริโปลี 365,000
 อัฟกานิสถาน คาบูล[12] 4,834,000 กันดะฮาร์ 570,000
 อาเซอร์ไบจาน บากู 2,934,000 แกนแจ 335,000
 อาร์มีเนีย เยเรวาน[12] 1,403,000 กียุมรี 130,000|-
 อินโดนีเซีย จาการ์ตา 34,540,000 ซูราบายา 6,499,000
 อิหร่าน เตหะราน 13,633,000 แมชแฮด 3,167,000
 อุซเบกิสถาน ทาชเคนต์ 3,492,000 ซามาร์กันต์ 1,201,000
 โอมาน มัสกัต 1,205,000 เศาะลาละฮ์ 340,000

พม่า ศรีลังกา ตุรกี และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไม่มีเอกนครเนื่องจากเมืองหลวงไม่ใช่เมืองที่ใหญ่ที่สุด แต่เมืองที่ใหญ่ที่สุดมีประชากรมากกว่าสองเท่าของเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสอง และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของประเทศของพวกเขา

ยุโรป

[แก้]
ประเทศ เมืองและเขตเมือง ประชากร (เขตมหานคร) เมืองใหญ่อันดับสอง ประชากร
 กรีซ เอเธนส์[12][14] 3,753,783 เทสซาโลนีกี 1,084,001
 โครเอเชีย ซาเกร็บ 1,113,111 สปลิต 349,314
 เช็กเกีย ปราก 2,156,097 เบอร์โน 810,000
 เซอร์เบีย เบลเกรด 1,659,440 นอวีซาด 341,625
 เดนมาร์ก โคเปนเฮเกน[14][17] 2,016,285 ออร์ฮูส 330,639
 มาซิโดเนียเหนือ สโกเปีย 506,926[Note 1] บิตอลา 105,644
 นอร์เวย์ ออสโล[14] 1,036,059 บาร์เกิน 259,958
 บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ซาราเยโว 463,992 บาญาลูกา 185,042
 บัลแกเรีย โซเฟีย 1,681,666 ปลอฟดิฟ 544,628
 เบลารุส มินสค์ 2,101,018 โฆเมียล 526,872
 โปแลนด์ วอร์ซอ 3,100,844 กรากุฟ 1,725,894
 ฝรั่งเศส ปารีส[14][15][16][17] 12,405,426 ลียง 2,237,676
 ฟินแลนด์ เฮลซิงกิ 1,441,601 ตัมเปเร 363,546
 มอนเตเนโกร พอดกอรีตซา 187,085 นิกชิช 72,443
 มอลโดวา คีชีเนา 736,100 ตีรัสปอล 135,700
 รัสเซีย มอสโก 12,506,468 เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก 5,351,935
 โรมาเนีย บูคาเรสต์ 2,272,163 กลุฌ-นาปอกา 411,379
 ลักเซมเบิร์ก นครลักเซมเบิร์ก 107,247 แอฌวลต์เซิชท์ 32,600
 ลัตเวีย รีกา[12][14] 1,018,295 เดาเกาปิลส์ 96,818
 สวีเดน สต็อกโฮล์ม[18] 1,584,196 กอเทนเบิร์ก 592,042
 ออสเตรีย เวียนนา[12][15][17] 2,600,000 กราซ 269,997
 อันดอร์รา อันดอร์ราลาเวยา 36,000[Note 2] อังกัม 13,521
 เอสโตเนีย ทาลลินน์ 542,983 ตาร์ตู 93,687
 แอลเบเนีย ติรานา 800,986 ดูร์เริส 201,110|-
 ไอซ์แลนด์ เรคยาวิก 209,680[Note 3] อาคือเรย์รี 18,191
 ไอร์แลนด์ ดับลิน[12][17] 1,904,806 คอร์ก 399,216
 ฮังการี บูดาเปสต์[17] 3,303,786 แดแบร็ตแซ็น 237,888
 สหราชอาณาจักร ลอนดอน[16][17] 13,879,757 เบอร์มิงแฮม 1,137,100

อเมริกาเหนือ

[แก้]
ประเทศ เมืองและเขตเมือง ประชากร (เขตมหานคร) เมืองใหญ่อันดับสอง ประชากร
 กัวเตมาลา กัวเตมาลาซิตี[14][17] 2,749,161 เกตซัลเตนังโก 792,530
 กรีเนดา เซนต์จอร์เจส 33,734 เกร็นวิลล์ 2,400
 คอสตาริกา ซานโฮเซ[12][14][17] 2,158,898 ปูเอร์โตลิมอน 58,522
 คิวบา ฮาวานา 2,106,146 ซานเตียโกเดกูบา 433,099
 จาเมกา คิงส์ตัน 584,627 พอร์ตมอร์ 182,153
 เซนต์คิตส์และเนวิส บาสแตร์ 13,000 แซนดีพ็อยนต์ทาวน์ 3,140
 เซนต์ลูเชีย แคสตรีส์ 70,000 โกรไอลิต 22,647
 เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ คิงส์ทาวน์ 16,500 จอร์จทาวน์ 1,700
 ดอมินีกา โรโซ 16,582 พอร์ตสมัท 2,977
 นิการากัว มานากัว[14] 2,560,789 เลออน 206,264
 บาร์เบโดส บริดจ์ทาวน์ 110,000 ออยส์ทินส์ 3,000
 บาฮามาส แนสซอ 274,400 ฟรีพอร์ต 26,914
 ปานามา ปานามาซิตี[12] 880,691 ลาชอร์เรรา 118,521
 เม็กซิโก เม็กซิโกซิตี[14][16][17] 20,400,000 กวาดาลาฮารา 5,002,466
 สาธารณรัฐโดมินิกัน ซานโตโดมิงโก 2,908,607 ซานเตียโกเดโลสกาบาเยโรส 553,091
 เอลซัลวาดอร์ ซานซัลวาดอร์[14][17] 1,767,102 ซานตาอานา 176,661
 แอนทีกาและบาร์บิวดา เซนต์จอนส์ 81,799 ลิเบอร์ตา 3,301|-
 เฮติ ปอร์โตแปรงซ์[12] 2,618,894 กาปาอีเซียง 274,404

แม้ว่าเบลีซจะไม่มีเอกนคร แต่เบลีซซิตีก็มีขนาดใหญ่กว่าเมืองแซนอิกนาซีโอซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสองถึงสองเท่า นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจของเบลีซ

โอเชียเนีย

[แก้]
ประเทศ เมืองและเขตเมือง ประชากร (เขตมหานคร) เมืองใหญ่อันดับสอง ประชากร
 คิริบาส เซาท์ตาราวา 50,182 อะไบอัง 5,502
 ซามัว อาปีอา 36,735 อาเฟงา 1,781
 ตองงา นูกูอาโลฟา 24,571 เนอิอาฟู 6,000
 ตูวาลู ฟูนะฟูตี 6,025 อาเซา 650
 ปาปัวนิวกินี พอร์ตมอร์สบี 410,954 ลาเอ 76,255
 ฟีจี ซูวา 175,399 เลาโตกา 52,220
 วานูวาตู พอร์ตวิลา 44,040 ลูแกนวิลล์ 16,312
 หมู่เกาะมาร์แชลล์ มาจูโร 27,797 เกาะเอเบเย 15,000
 หมู่เกาะโซโลมอน โฮนีอารา 64,609 เอากี 7,785

นิวซีแลนด์ไม่มีเอกนคร แม้ว่าออกแลนด์จะมีขนาดใหญ่กว่าเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศถึงสองเท่า และเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์

อเมริกาใต้

[แก้]
ประเทศ เมืองและเขตเมือง ประชากร (เขตมหานคร) เมืองใหญ่อันดับสอง ประชากร
 กายอานา จอร์จทาวน์ 118,363 ลินเดน 29,298
 โคลอมเบีย โบโกตา 10,700,000 เมเดยิน 3,591,963
 ชิลี ซานเตียโก[12] 6,685,685 บัลปาราอิโซ 1,036,127
 ซูรินาม ปารามารีโบ 240,924 เลลีดอร์ป 19,910
 ปารากวัย อาซุนซีออน[12] 2,698,401 ซิวดัดเดลเอสเต 293,817
 เปรู ลิมา[17] 9,752,000 อาเรกิปา 1,034,736
 อาร์เจนตินา บัวโนสไอเรส[16][17] 12,741,364 กอร์โดบา 1,528,000
 อุรุกวัย มอนเตวิเดโอ[12][17] 1,947,604 ซัลโต 104,028

หมายเหตุ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Goodall, B. (1987) The Penguin Dictionary of Human Geography. London: Penguin.
  2. The Law of the Primate City and the Rank-Size Rule, by Matt Rosenberg
  3. 3.0 3.1 Jefferson. "The Law of the Primate City", in Geographical Review 29 (April 1939)
  4. London, Bruce (October 1977). "Is the Primate City Parasitic? The Regional Implications of National Decision Making in Thailand". The Journal of Developing Areas. 12: 49–68 – โดยทาง JSTOR.
  5. Brunn, Stanley, et al. Cities of the World. Boulder: Rowman & Littlefield Publishers, Inc, 2003
  6. Taşan-Kok, Tuna (2004). Mexico, Istanbul and Warsaw: Institutional and spatial change. Eburon Uitgeverij. p. 41. ISBN 978-905972041-1. สืบค้นเมื่อ 2013-05-21.
  7. "The World According to GaWC 2012". Globalization and World Cities Research Network. Loughborough University. สืบค้นเมื่อ 11 January 2017.
  8. Pacione, Michael (2005). Urban Geography: A Global Perspective (2nd ed.). Abingdon: Routledge. pp. 83.
  9. Baker, Chris; Pasuk Phongpaichit (2009). A history of Thailand (2nd ed.). Cambridge: Cambridge University Press. p. 199. ISBN 978-0-521-76768-2.
  10. "Chiang Mai, Thailand Metro Area Population 1950-2022". www.macrotrends.net.
  11. Fong, Jack (May 2012). "Political Vulnerabilities of a Primate City: The May 2010 Red Shirts Uprising in Bangkok, Thailand". Journal of Asian and African Studies. 48 (3): 332–347. doi:10.1177/0021909612453981.
  12. 12.00 12.01 12.02 12.03 12.04 12.05 12.06 12.07 12.08 12.09 12.10 12.11 12.12 12.13 12.14 12.15 12.16 12.17 12.18 12.19 12.20 World Urbanization Prospects: The 2003 Revision. United Nations Publications. 1 January 2004. pp. 97–102. ISBN 978-92-1-151396-7.
  13. 13.0 13.1 "World Gazetteer: World Gazetteer home". archive.is. 2013-02-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-09. สืบค้นเมื่อ 2020-04-09.
  14. 14.00 14.01 14.02 14.03 14.04 14.05 14.06 14.07 14.08 14.09 14.10 "2020-10-06". ssb.no (ภาษานอร์เวย์). สืบค้นเมื่อ 2020-11-17.
  15. 15.0 15.1 15.2 Michael Pacione (2009). Urban Geography: A Global Perspective. Taylor & Francis. p. 79. ISBN 978-0-415-46201-3.
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 Kelly Swanson (7 August 2012). Kaplan AP Human Geography 2013-2014. Kaplan Publishing. ISBN 978-1-60978-694-6.
  17. 17.00 17.01 17.02 17.03 17.04 17.05 17.06 17.07 17.08 17.09 17.10 17.11 17.12 Robert B. Kent (January 2006). Latin America: Regions and People. Guilford Press. pp. 144–. ISBN 978-1-57230-909-8.
  18. "Tätorter i Sverige". Statistiska Centralbyrån (ภาษาสวีเดน). สืบค้นเมื่อ 2020-11-17.