ข้ามไปเนื้อหา

โซเฟีย

พิกัด: 42°42′N 23°20′E / 42.70°N 23.33°E / 42.70; 23.33
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โซเฟีย

София
เมืองหลวง
ธงของโซเฟีย
ธง
ตราราชการของโซเฟีย
ตราอาร์ม
คำขวัญ: 
Ever growing, never aging[1]
(Расте, но не старее)
โซเฟียตั้งอยู่ในบัลแกเรีย
โซเฟีย
โซเฟีย
ที่ตั้งของโซเฟีย
โซเฟียตั้งอยู่ในยุโรป
โซเฟีย
โซเฟีย
โซเฟีย (ยุโรป)
พิกัด: 42°42′N 23°20′E / 42.70°N 23.33°E / 42.70; 23.33
ประเทศ บัลแกเรีย
จังหวัดนครหลวงโซเฟีย
ตั้งถิ่นฐานในยุคโบราณ7,000 ปีก่อนคริสตกาล[3]
นีโอลิทิกเข้ามาตั้งถิ่นฐาน5,500–6,000 ปีก่อนคริสตกาล[4]
เทรเชียนเข้ามาตั้งถิ่นฐาน1400 ปีก่อนคริสตกาล[5][6]
ภายใต้การปกครองของโรมันค.ศ. 46 (เซอร์ดิกา)[7]
ภายใต้การครอบครองของกรุมค.ศ. 809 (เซรเดตส์)[7]
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรียอร์ดันกา ฟันดาคอวา (GERB)
พื้นที่
 • เมืองหลวง492 ตร.กม. (190 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง[10]5,723 ตร.กม. (2,210 ตร.ไมล์)
ความสูง[11]500–699 เมตร (1,640–2,293 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2019)
 • เมืองหลวงเพิ่มขึ้น 1,242,568[2] คน
 • ความหนาแน่น2,526 คน/ตร.กม. (6,540 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมืองลดลง 1,549,090[9] คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง271 คน/ตร.กม. (700 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑลลดลง 1,678,041[8] คน
เดมะนิมโซฟีอัน (อังกฤษ)
Софиянец/โซฟียาเน็ตส์ (บัลแกเรีย)
เขตเวลาUTC+02:00 (EET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+03:00 (EEST)
รหัสพื้นที่(+359) 02
ทะเบียนรถC, CA, CB
เว็บไซต์www.sofia.bg

โซเฟีย (/ˈsfiə, ˈsɒf-, sˈfə/ SOH-fee-ə-,_-SOF;[12][13] บัลแกเรีย: София, อักษรโรมัน: Sofiya,[14][15]) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศบัลแกเรีย นครตั้งอยู่บริเวณตีนภูเขาวีตอชาทางภาคตะวันตกของประเทศ และตั้งอยู่บริเวณศูนย์กลางของคาบสมุทรบอลข่าน จึงถือเป็นนครทางผ่านที่สำคัญบนเส้นทางระหว่างทะเลดำกับทะเลเอเดรียติก นอกจากนี้ นครยังตั้งอยู่ใกล้กับทะเลอีเจียน[16][17]

โซเฟียเป็นนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 13 ของสหภาพยุโรป สภาพภูมิประเทศล้อมรอบด้วยภูเขาวีตอชาทางทิศใต้ ภูเขาลิวลินทางทิศตะวันตก และเทือกเขาบอลข่านทางทิศเหนือ ทำให้โซเฟียเป็นเมืองหลวงที่มีระดับความสูงมากเป็นอันดับที่สองของทวีปรองจากมาดริด ตัวนครตั้งอยู่ริมแม่น้ำอิสการ์และมีแหล่งน้ำแร่หลายแห่ง รวมถึงโรงอาบน้ำแร่กลางโซเฟีย นครมีสภาพภูมิอากาศชื้นภาคพื้นทวีป โซเฟียเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย สถาบันทางวัฒนธรรม และบริษัทพาณิชย์ที่สำคัญของประเทศ[18] นครได้รับสมญาว่าเป็น "สามเหลี่ยมแห่งขันติทางศาสนา"[19] ทั้งนี้เป็นเพราะนครมีศาสนสถานที่สำคัญของทั้งสามศาสนา ได้แก่ โบสถ์นักบุญเนเดลยา (คริสต์), มัสยิดบันยา บาชิ (อิสลาม) และธรรมศาลาโซเฟีย (ยูดาห์)

โซเฟียติด 1 ใน 10 สถานที่ที่เหมาะแก่การเริ่มต้นธุรกิจที่ดีที่สุดในโลก โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ[20] นอกจากนี้ ยังเป็นเมืองหลวงซึ่งมีค่าใช้จ่ายจับต้องได้ที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดใน ค.ศ. 2013[21] ใน ค.ศ. 1979 โบสถ์บอยานาในโซเฟียได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นแหล่งมรดกโลก โบสถ์นี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของนิกายออร์โธด็อกซ์ในบัลแกเรีย มันเคยถูกทำลายในช่วงจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 โซเฟียเป็นที่ตั้งของโรงละครโอเปราและบัลเลต์แห่งชาติ, วังวัฒนธรรมแห่งชาติ, สนามกีฬาแห่งชาติวาซิล เลฟสกี, โรงละครแห่งชาติอิวัน วาซอฟ, พิพิธภัณฑสถานโบราณคดีแห่งชาติ และอัฒจันทร์เซอร์ดิกา จึงทำให้นครเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของยุโรปตะวันตก หอศิลป์สังคมนิยมในโซเฟียแสดงประติมากรรมและจิตรกรรมซึ่งทำให้ผู้เข้าชมได้เข้าใจถึงชีวิตในยุคสังคมนิยมบัลแกเรีย[22]

ประชากรในโซเฟียลดลงจาก 70,000 คนในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ต่อมาลดลงสู่ 19,000 คนใน ค.ศ. 1870 และลดลงสู่ 11,649 คนใน ค.ศ. 1878 แต่หลังจากนั้น ประชากรก็กลับมาเพิ่มขึ้น[23] จนในปัจจุบัน โซเฟียมีประชากร 1.24 ล้านคน[2] ในพื้นที่ 492 ตารางกิโลเมตร[24] หากนับพื้นที่เขตเมืองที่ล้อมรอบ (จังหวัดนครหลวงโซเฟียและบางส่วนของจังหวัดโซเฟียกับจังหวัดเปอร์นิก) เข้าไปด้วยแล้ว จะมีประชากร 1.54 ล้านคน[9] ในพื้นที่ 5,723 ตารางกิโลเมตร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 5.16 ของพื้นที่ทั้งประเทศ[10] พื้นที่ปริมณฑลของโซเฟียใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงในการเดินทางผ่าน โดยมีถนนสายหนึ่งเชื่อมต่อกับเมืองดีมีตรอฟกราดในประเทศเซอร์เบีย[25] ปริมณฑลแห่งนี้ไม่เหมือนกับแห่งอื่น ๆ ในทวีปยุโรป เพราะมันไม่ถูกจัดว่าเป็นปริมณฑลทางการ แต่เป็นเพียงปริมณฑล "เชิงจำกัด" เท่านั้น[26] ภูมิภาคปริมณฑลของโซเฟียมีประชากร 1.67 ล้านคน[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Sofia through centuries". Sofia Municipality. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2009. สืบค้นเมื่อ 16 October 2009.
  2. 2.0 2.1 "Население по градове и пол | Национален статистически институт". www.nsi.bg (ภาษาบัลแกเรีย).
  3. Ghodsee, Kristen (2005). The Red Riviera: Gender, Tourism, and Postsocialism on the Black Sea. Duke University Press. p. 21. ISBN 0822387174.
  4. Prehistory, Ivan Dikov · in (7 December 2015). "Archaeologist Discovers 8,000-Year-Old Nephrite 'Frog-like' Swastika in Slatina Neolithic Settlement in Bulgaria's Capital Sofia – Archaeology in Bulgaria". archaeologyinbulgaria.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-22. สืบค้นเมื่อ 2020-07-09.
  5. Marazov, Ivan (ed.). Ancient Gold: The Wealth of the Thracians. NY: Harry N. Abrams Inc., 1998. Texts by Marazov, Ivan; Venedikov, Ivan; Fol, Alexander; Tacheva, Margarita. ISBN 9780810919921.
  6. Popov, Dimitar (ed.). The Thracians, Iztok – Zapad, Sofia, 2011. ISBN 9789543218691.
  7. 7.0 7.1 Sofia 2016, p. 13.
  8. 8.0 8.1 "Eurostat – Data Explorer". appsso.eurostat.ec.europa.eu.
  9. 9.0 9.1 "Eurostat-Sofia urban area population".
  10. 10.0 10.1 NATIONAL STATISTICAL INSTITUTE. "CITIES AND THEIR URBANISED AREAS IN THE REPUBLIC OF BULGARIA" (PDF): 91. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-11. สืบค้นเมื่อ 2020-07-09.
  12. Wells, John C. (2008), Longman Pronunciation Dictionary (3rd ed.), Longman, ISBN 9781405881180
  13. Roach, Peter (2011), Cambridge English Pronouncing Dictionary (18th ed.), Cambridge: Cambridge University Press, ISBN 9780521152532
  14. Editors of Britannica. "Sofia". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 12 February 2016. {{cite encyclopedia}}: |last1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  15. Bulgaria, Hungary, Romania, the Czech Republic, and Slovakia. Britannica Educational Publishing. 1 June 2013. ISBN 9781615309870.
  16. Lauwerys, Joseph (1970). Education in Cities. Evan's Brothers. ISBN 0-415-39291-8.
  17. Rogers, Clifford (2010). The Oxford Encyclopedia of Medieval Warfare and Military Technology. Vol. 1. Oxford University Press. p. 301. ISBN 9780195334036.
  18. Internet Hostel Sofia, Tourism in Sofia. Internethostelsofia.hostel.com, Retrieved Jan 2012
  19. "Triangle of Religious Tolerance (1903) – iCulturalDiplomacy". www.i-c-d.de. สืบค้นเมื่อ 27 December 2019.
  20. "Sofia is one of the top 10 places for start-up businesses in the world, Bulgarian National TV". Bnt.bg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2015. สืบค้นเมื่อ 11 April 2018.
  21. Clark, Jayne. "Is Europe's most affordable capital worth the trip?". USA Today. สืบค้นเมื่อ 12 February 2016.
  22. "Museum of Socialist Art – National Gallery" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-21. สืบค้นเมื่อ 27 December 2019.
  23. "История". www.kmeta.bg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-31. สืบค้นเมื่อ 2020-07-09.
  24. "NATIONAL STATISTICAL INSTITUTE – Information for the area of city of Sofia". Nsi.bg. สืบค้นเมื่อ 11 April 2018.
  25. "Metropolitan areas in Europe" (PDF): 95. ISSN 1868-0097. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 July 2018. สืบค้นเมื่อ 15 July 2018. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  26. "Metropolitan areas in Europe" (PDF): 103. ISSN 1868-0097. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 July 2018. สืบค้นเมื่อ 15 July 2018. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)

บรรณานุกรม

[แก้]
  • "Sofia in Figures" (PDF) (ภาษาบัลแกเรีย และ อังกฤษ). National Statistical Institute of Bulgaria. 2016. สืบค้นเมื่อ 26 October 2018.

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]