ข้ามไปเนื้อหา

จังหวัดนครพนม

พิกัด: 17°24′N 104°47′E / 17.4°N 104.78°E / 17.4; 104.78
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เมืองธาตุพนม)
จังหวัดนครพนม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Nakhon Phanom
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
คำขวัญ: 
พระธาตุพนมค่าล้ำ วัฒนธรรมหลากหลาย
เรณูผู้ไท เรือไฟโสภา งามตาฝั่งโขง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครพนมเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครพนมเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครพนมเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ ปราชญา อุ่นเพชรวรากร
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2567)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด5,502.670 ตร.กม. (2,124.593 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 38
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[2]
 • ทั้งหมด714,284 คน
 • อันดับอันดับที่ 35
 • ความหนาแน่น129.80 คน/ตร.กม. (336.2 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 36
รหัส ISO 3166TH-48
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้กันเกรา
 • ดอกไม้กันเกรา
 • สัตว์น้ำปลาเผาะ
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนอภิบาลบัญชา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 48000
 • โทรศัพท์0 4251 1287, 0 4251 1574, 0 4251 4262
 • โทรสาร0 4251 1287, 0 4251 1574, 0 4251 4262
เว็บไซต์www.nakhonphanom.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

นครพนม เป็นจังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 นับเป็นเมืองชายแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ความสวยงามของทิวทัศน์ และมีความหลากหลายของวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ รวมทั้งประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมีพระธาตุพนมเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมือง พื้นที่ด้านเหนือและตะวันออกของจังหวัดติดกับแม่น้ำโขงโดยตลอด

ภูมิศาสตร์

[แก้]

อาณาเขต

[แก้]

สภาพภูมิประเทศ

[แก้]

สภาพโดยทั่วไปของจังหวัดนครพนมเป็นที่ราบลุ่ม มีที่ราบสูงและภูเขาอยู่บ้าง มีแม่น้ำสายสั้น ๆ เป็นสาขาย่อยแยกจากแม่น้ำโขงมาหล่อเลี้ยงความอุดมสมบูรณ์ภายในพื้นที่ พื้นที่ส่วนใหญ่มีแม่น้ำโขงไหลผ่าน นครพนมจึงนับว่าเป็นจังหวัดที่มีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์มาก ด้านตะวันออกมีแม่น้ำโขงทอดยาวกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับลาว

จังหวัดนครพนมมีจุดผ่านแดนไปประเทศลาว รวม 6 จุด เป็นจุดผ่านแดนถาวร 2 จุด และจุดผ่อนปรน 4 จุด จุดผ่านแดนที่สำคัญและเป็นสากล คือ ด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 ซึ่งเป็นประตูไปสู่อินโดจีน

ประวัติศาสตร์

[แก้]

นครพนมเป็นจังหวัดชายแดนตั้งเลียบชายฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับเมืองท่าแขก แขวงคำม่วนของประเทศลาว นครพนมเป็นจังหวัดที่ประดิษฐานพระธาตุพนมอันศักดิ์สิทธิ์และเก่าแก่ ซึ่งเป็นพระธาตุที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุ (กระดูกหน้าอก) ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (สมณโคดม) และนับเป็นพระบรมธาตุคู่เมืองนครพนม เป็นที่เคารพสักการะของชาวไทยและชาวลาวทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงมาตั้งแต่บรรพกาลนานหลายพันปี พระธาตุพนมประดิษฐานอยู่ที่อำเภอธาตุพนม อยู่ห่างจากตัวเมืองนครพนม 52 กิโลเมตร จังหวัดนครพนมมีพื้นที่ประมาณ 5,502.670 ตารางกิโลเมตร ระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 740 กิโลเมตร นอกจากนี้ ในตัวเมืองนครพนมยังมีพระธาตุนครประดิษฐานเป็นพระธาตุกลางเมืองด้วย พระธาตุนครนี้เดิมเป็นวัดที่ใช้สำหรับประกอบพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาของเจ้าเมืองนครพนมในอดีต

นครพนมเป็นจังหวัดที่มีบันทึกทางประวัติศาสตร์มาแต่โบราณกาล ในฐานะเมืองเก่าเคียงคู่อยู่กับอาณาจักรศรีโคตรบูร (สมัยปัจจุบันมักสะกดผิดเป็น ศรีโคตรบูรณ์ ซึ่งบูรคำนี้มาจากศัพท์โบราณเป็นคำเดียวกับคำว่า ปุระ หรือบุรี ที่แปลว่าเมืองในภาษาถิ่นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตรงกับคำว่าเบิร์กหรือโบโรห์ในภาษาฝรั่งตะวันตก ไม่ใช่คำว่า บูรณ์ หรือ บูรณ ที่เป็นคนละความหมาย) แต่เดิมนครพนมมีชื่อเต็มในจารึกสถาปนาวัดโอกาสศรีบัวบานว่า เมืองนครบุรีราชธานีศรีโคตรบูรหลวง เคยเป็นราชธานีที่มีกษัตริย์และเจ้าผู้ครองนครปกครองมาก่อนหลายสมัย เอกสารของล้านช้างส่วนใหญ่ออกนามว่าเมืองลครหรือเมืองนคร เดิมทีนั้นมีพื้นที่อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงหรือเมืองเก่าท่าแขกบริเวณหมู่บ้านสีโคดรอบๆ วัดพระธาตุศรีโคตรบูร หรือภาษาท้องถิ่นเรียกว่าพระธาตุศรีโคตรบอง ต่อมาปั 2321 ตรงกับสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ย้ายมาอยู่ฝั่งขวาที่เมืองเก่าหนองจันทน์ปัจจุบันยังเรียกบริเวณนี้ว่าบ้านเมืองเก่า จากนั้นย้ายขึ้นไปทางตอนเหนือที่บ้านโพธิ์คำ คือตัวเมืองนครพนมในปัจจุบันแต่เดิมเรียกว่าเมืองมรุกขนคร ซึ่งเป็นการกลับไปใช่ชื่อเก่าสมัยครั้งยังรุ่งเรืองมีราว พ.ศ. 500 เอกสารล้านช้างบ้างครั้งเรียก รุกขนคร หรือรุกขานคร เคยมีหัวเมืองในปกครองอยู่ในพื้นที่ปัจจุบันของจังหวัดนครพนม, มุกดาหาร, แขวงคำม่วน, แขวงสุวรรณเขต ส่วนใหญ่ของจังหวัดบึงกาฬ และบางอำเภอของจังหวัดสกลนครกับแขวงบอลิคำไซ ก่อนจะขึ้นตรงต่อไปยังเวียงจันทน์ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชตีเมืองนครเวียงจันทน์ได้แล้ว ในระหว่างปี พ.ศ. 2329-2333 เจ้าเมืองนครพนมหรือเมืองศรีโคตรบองได้ทูลเกล้าถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองแก่สยามในฐานะนครประเทศราช ชื่อของดินแดนนี้จึงได้รับพระราชทานนามเป็น "นครพนม" สันนิษฐานว่านามนี้มาจากนครพนมเป็นเมืองที่มีพื้นที่ติดต่อกับทิวเขามากมายทางฝั่งซ้ายซึ่งเดิมเคยเป็นพื้นที่หัวเมืองหรืออำเภอที่ขึ้นต่อนครพนม และเชื่อว่าการมีชื่อ "นคร" นำหน้านี้ทำให้เมืองอยู่ในระดับฐานะเมืองลูกหลวง หลังเสร็จสิ้นสงครามเจ้าอนุวงศ์แล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ลดฐานะเมืองนครพนมเป็นหัวเมืองชั้นเอก ด้วยความเป็นอาณาจักรที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาเก่าก่อน ประกอบกับแม่น้ำโขงเป็นแหล่งวัฒนธรรมของมนุษย์ชาติจากหลายชนเผ่า ดังนั้น นครพนมจึงมีโบราณสถานจำนวนมาก และมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์

จากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเขตแดนหลายครั้งจากการจัดระเบียบหัวเมือง ยกหัวเมืองใหญ่บางเมืองที่เคยให้ขึ้นต่อนครพนมไปขึ้นต่อมณฑลอุดรโดยตรงเช่นเมืองมุกดาหาร เมืองหนองสูงเป็นต้น จนกระทั่งปี พ.ศ. 2436 ข้าหลวงฝรั่งเศสและกองทัพ ได้แบ่งเอาพื้นที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงไปทั้งหมดและภายหลังได้ผนวกรวมกับประเทศสหภาพอินโดจีนแห่งฝรั่งเศส (Union indochinoise) ได้แก่พื้นที่ปัจจุบันในแขวงคำม่วน, แขวงสุวรรณเขต และเมืองปากกระดิง เมืองคำเกิดที่ย้ายจากสังกัดแขวงคำม่วนไปขึ้นกับแขวงบอลิคำไซ(รวมทั้งเมืองเวียงทองและไซจำพอนที่แยกออกมาภายหลัง) ทำให้จังหวัดนครพนมเหลือเพียงพื้นที่ฝั่งขวา ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปและออก พ.ร.บ.การปกครองรูปแบบใหม่ ยกระดับหัวเมืองต่างๆ ขึ้นเป็นอำเภอและขึ้นต่อจังหวัดนครพนม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2437 จนถึงปี พ.ศ. 2450 จังหวัดนครพนมประกอบไปด้วยอำเภอดั้งเดิมดังนี้

  1. อำเภอเมืองนครพนม (ปัจจุบันคือพื้นที่ อ.เมืองนครพนม(เคยถูกรัฐบาลเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอหนองบึกและเปลี่ยนกลับคืน), อ.ปลาปาก, บางส่วนใน อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร)
  2. อำเภอเรณูนคร (ปัจจุบันคือพื้นที่ อ.เรณูนคร และ อ.ธาตุพนม)
  3. อำเภอท่าอุเทน (ปัจจุบันคือพื้นที่ อ.ท่าอุเทน, อ.โพนสวรรค์, อ.นาหว้า, อ.นาทม, อ.ศรีสงคราม และบางส่วนของ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร)
  4. อำเภอไชยบุรี (ปัจจุบันคือพื้นที่ อ.บ้านแพง อ.เมืองบึงกาฬ และพื้นที่ส่วนใหญ่ของ จ.บึงกาฬยกเว้นอำเภอปากคาด และอำเภอโซ่พิสัย)
  5. อำเภอมุกดาหาร (ปัจจุบันคือพื้นที่ส่วนใหญ่ของ อ.เมืองมุกดาหาร, อ.หว้านใหญ่, อ.นิคมคำสร้อย และ อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร)
  6. อำเภอหนองสูง (ปัจจุบันคือพื้นที่ อ.นาแก, อ.วังยาง, และอ.หนองสูง, อ.ดงหลวง, อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร)

ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. 2459 มีประกาศพระบรมราชโองการเรื่อง โอนอำเภอไชยบุรีไปขึ้นจังหวัดหนองคาย ลงวันที่ 22 มีนาคม 2459 มีความว่าทรงทราบฝ่าละอองธุรีพระบาทว่าอำเภอไชยบุรี ซึ่งเป็นอำเภอขึ้นจังหวัดนครพนมเวลานี้ ( พ.ศ. 2459) มีท้องที่และระยะทางห่างไกลจากจังหวัดนครพนมมาก เป็นการลำบากแก่ราษฎรที่อยู่ในแขวงอำเภอไชยบุรี ผู้มีกิจสุขทุกข์จะมายังจังหวัดนครพนมและทั้งไม่เหมาะแก่การปกครอง จึงทรงพระราชดำริว่าสมควรจะโอนอำเภอไชยบุรี มาขึ้นจังหวัดหนองคาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้โอนอำเภอไชยบุรีมาขึ้นจังหวัดหนองคาย ตั้งแต่บัดนี้ (พ.ศ. 2459) เป็นต้นไป (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 33 หน้า 320 – 321 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2459 ) โดยย้าย ต.บ้านแพงซึ่งเป็นที่ตั้งเดิมของที่ว่าการอำเภอไชยบุรีกลับไปขึ้นกับอำเภอท่าอุเทนและได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอบ้านแพงในภายหลัง ส่วนอ.บึงกาฬก็ได้รับการจัดตั้งเป็นจังหวัดบึงกาฬในปัจจุบัน

อำเภอใหญ่ต่างๆ แตกออกเป็นหลายอำเภอได้แก่ อำเภอท่าอุเทน แตกเป็นอ.อากาศอำนวยซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นอ.ศรีสงคราม และแยกบ้านอากาศและพื้นที่บางส่วนไปขึ้นกับ อ.วานรนิวาสจนได้รับการยกฐานะกลับมาเป็น อ.อากาศอำนวยภายหลัง มีการจัดตั้งอ.นาหว้า อ.บ้านแพง อ.นาทม และ อ.โพนสวรรค์แยกออกมาอีกภายหลัง ที่อำเภอเมืองนครพนม ภายหลังแยก อ.ปลาปาก และคืนพื้นที่บางตำบลกลับไปรวมกับอีกหลายตำบลในจ.สกลนคร จัดตั้งเป็น อ.กุสุมาลย์ อำเภอเรณูนครภายหลังถูกยุบแล้วย้ายที่ว่าการไปตั้งที่ใหม่ใกล้วัดพระธาตุพนมจัดตั้งขึ้นเป็นอำเภอธาตุพนม จนผ่านไปหลายสิบปีจึงแยกตัวกลับมาเป็น อ.เรณูนคร ออกมาจาก อ.ธาตุพนม ทางด้านอำเภอหนองสูงถูกย้ายที่ทำการไปที่ใหม่และยุบอำเภอเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอนาแก แบ่งบางตำบลรวมถึงต.หนองสูงเดิมไปขึ้นกับ อ.มุกดาหาร ภายหลังการจัดตั้งจังหวัดมุกดาหาร

ในปี พ.ศ. 2525 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดมุกดาหาร พ.ศ. 2525 แยกอำเภอ มุกดาหารเป็นจังหวัด ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2525 โดยมีอำเภอมุกดาหาร อำเภอดอนตาล และอำเภอต่างๆ ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอมุกดาหารได้แก่ อำเภอคำชะอี อำเภอหนองสูง อำเภอหว้านใหญ่ อำเภอนิคมคำสร้อย รวมทั้งได้แยก ตำบลดงหลวง ออกจาก อำเภอนาแกไปรวมกับมุกดาหาร เป็นอำเภอดงหลวง

ในปี พ.ศ. 2561 มีการจัดงานเฉลิมฉลอง 232 ปี เมืองนครพนม ใต้ร่มพระบารมีจักรีวงศ์ เพื่อฉลองครบรอบการจัดตั้งจังหวัดนครพนมในฐานะเมืองหนึ่งของสยาม ที่กลายเป็นประเทศไทยอย่างเต็มตัวเมื่อ 232 ปีก่อนหลังการเปลี่ยนผ่านจากเมืองมรุกขนครที่เป็นส่วนหนึ่งภายใต้อิทธิพลการปกครองของล้านช้างเวียงจันทน์ มาขึ้นเป็นนครประเทศราชต่อสยามและได้รับโปรดเกล้ารับรองและพระราชทานนาม นครพนม

ปัจจุบัน นครพนม เป็นจังหวัดท่องเที่ยวที่สำคัญในแถบลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมอิสานและชาวภูไท ภูมิประเทศที่มีความงดงาม การเดินทางสะดวก

หน่วยการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]
แผนที่อำเภอในจังหวัดนครพนม

การปกครองแบ่งออกเป็น 12 อำเภอ 99 ตำบล 1,130 หมู่บ้าน

เลข ชื่ออำเภอ จำนวนตำบล พื้นที่
(ตร.กม.)
1 อำเภอเมืองนครพนม 15 853.206
2 อำเภอปลาปาก 8 547.096
3 อำเภอท่าอุเทน 9 467.983
4 อำเภอบ้านแพง 6 287.731
5 อำเภอธาตุพนม 12 367.884
6 อำเภอเรณูนคร 8 253.952
7 อำเภอนาแก 12 523.156
8 อำเภอศรีสงคราม 9 671.317
9 อำเภอนาหว้า 6 288.448
10 อำเภอโพนสวรรค์ 7 718.835
11 อำเภอนาทม 3 398.129
12 อำเภอวังยาง 4 137.931
รวม 99 5,502.670

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

แบ่งออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 81 องค์การบริหารส่วนตำบล 1 เทศบาลเมือง 21 เทศบาลตำบล

รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม

[แก้]
รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม
ลำดับ รายชื่อ ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง
1 พระยาพนมนครานุรักษ์ (อุ้ย นาครทรรพ) พ.ศ. 2453-2468
2 พระยาสมุทรศักดารักษ์ (เจิม วิเศษรัตน์) พ.ศ. 2468-2472
3 พระพนมนครานุรักษ์ (ฮกไถ่ พิศาลบุตร) พ.ศ. 2472-2477
4 พระประสงค์เกษมราษฎร์ (ชุ่ม สุวรรณคุปต์) พ.ศ. 2477-2483
5 พันตรี ขุนทะยานราญรอน (วัชระ วัชรบูล) พ.ศ. 2483-2484
6 นายสุข ฉายาชวลิต พ.ศ. 2484-2485
7 หลวงปริวรรตวรจิตร (จันทร์ เจริญชัย) พ.ศ. 2485-2486
8 นายถวิล สุนทรศารทูล พ.ศ. 2486-2490
9 นายพรหม สูตรสุคนธ์ พ.ศ. 2490-2490
10 ขุนคำณวนวิจิตร (เชย บุนนาค) พ.ศ. 2490-2495
11 นายชำนาญ ยุวบูรณ์ พ.ศ. 2495-2495
12 นายพินิจ โพธิ์พันธ์ พ.ศ. 2495-2496
13 นายฉลอง รมิตานนท์ พ.ศ. 2496-2500
14 นายสวัสดิ์วงศ์ ปฏิทัศน์ พ.ศ. 2500-2501
15 นายสง่า จันทรสาขา พ.ศ. 2501-2508
16 นายสวัสดิ มีเพียร พ.ศ. 2508-2510
17 นายจรัส สิทธิพงษ์ พ.ศ. 2510-2513
18 พลตรี ยง ณ นคร พ.ศ. 2513-2514
19 นายสุนันท์ ขันอาสา พ.ศ. 2515-2516
20 นายวิเชียร เวชสวรรค์ พ.ศ. 2516-2517
21 นายพิศาล มูลศาสตรสาทร พ.ศ. 2518-2520
22 นายสมพร กลิ่นพงษา พ.ศ. 2520-2527
23 นายสมพร ธนสถิต พ.ศ. 2523-2524
24 นายวิโรจน์ อำมรัตน์ พ.ศ. 2524 - 30 กันยายน 2527
25 นายอุทัย นาคปรีชา 1 ตุลาคม 2527 - 30 กันยายน 2531
26 นายมังกร กองสุวรรณ 1 ตุลาคม 2531 - 30 กันยายน 2533
27 พันตรีปรีดา นิสสัยเจริญ 1 ตุลาคม 2533 - 30 กันยายน 2536
28 นายสุจริต ปัจฉิมนันท์ 5 ตุลาคม 2536 - 30 กันยายน 2537
29 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช 2 ตุลาคม 2537 - 19 กันยายน 2540
30 นายนาวิน ขันธหิรัญ 20 ตุลาคม 2540 - 19 กันยายน 2541
31 นายศักดิ์ เกียรติก้อง 1 ตุลาคม 2540 - 30 กันยายน 2543
32 นายธงชัย อนันตกูล 1 ตุลาคม 2543 - 30 กันยายน 2544
33 นายวิทย์ ลิมานนท์วราไชย 1 ตุลาคม 2544 - 30 กันยายน 2546
34 นายนิคม เกิดขันหมาก 1 ตุลาคม 2546 - 30 กันยายน 2549
35 นายบุญสนอง บุญมี 13 พฤศจิกายน 2549 - 15 มีนาคม 2552
36 นายพงษ์ศิริ กุสุมภ์ 16 มีนาคม 2552 - 30 กันยายน 2553
37 นายเริงศักดิ์ มหาวินิจฉัยมนตรี 1 ตุลาคม 2553 - 25 พฤศจิกายน 2554
38 นายอนุกูล ตังคณานุกูลชัย 29 ธันวาคม 2554 - 30 กันยายน 2556
39 นายอดิศักดิ์ เทพอาสน์ 1 ตุลาคม 2556 - 30 กันยายน 2558
40 นายสมชาย วิทย์ดำรงค์ 1 ตุลาคม 2558 - 30 กันยายน 2561
41 นายสยาม ศิริมงคล 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2563
42 นายไกรสร กองฉลาด 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
43 นายชาธิป รุจนเสรี 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
44 นายวันชัย จันทร์พร 2 ธันวาคม 2565 - 30 กันยายน 2567
45 นายปราชญา อุ่นเพชรวรากร 26 ธันวาคม 2567 - ปัจจุบัน

การศึกษา

[แก้]
โรงเรียน
สถาบันอุดมศึกษา
  • สถานบันอุดมศึกษาในอดีต
    • มหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม ยุบรวมกับมหาวิทยาลัยนครพนม (ตั้งเป็นเขตพื้นที่การศึกษามรุกขนคร)
    • มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาเขตนครพนม ยุบรวมกับมหาวิทยาลัยนครพนม
    • วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครพนม ยุบรวมกับมหาวิทยาลัยนครพนม (ตั้งเป็นเขตพื้นที่การศึกษาศรีโคตรบูร)
    • วิทยาลัยเทคนิคนครพนม ยุบรวมกับมหาวิทยาลัยนครพนม (ตั้งเป็นเขตพื้นที่การศึกษาพนมบุรินทร์)
    • วิทยาลัยสารพัดช่างนครพนม เปลี่ยนเป็นวิทยาลัยเทคนิคนครพนม (แห่งใหม่)
สถานศึกษาเอกชน

การขนส่ง

[แก้]

รถยนต์

[แก้]

จากกรุงเทพมหานคร ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรีบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 107 แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ถึงอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น แล้วแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 23 ผ่านเข้าสู่จังหวัดมหาสารคาม จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 213 ไปจังหวัดกาฬสินธุ์ จนถึงจังหวัดสกลนคร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 22 ตรงเข้าสู่จังหวัดนครพนม รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 740 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง

[แก้]

สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครพนม มีบริการรถโดยสารประจำทาง ทั้งรถพัดลมและรถปรับอากาศ ทั้งรถที่มาจากกรุงเทพฯ และรถที่ไปยังจังหวัดต่างๆ เช่น

  • สาย 26 กรุงเทพฯ - นครพนม ใช้เส้นทาง ต้นทางสถานีขนส่งหมอชิต 2 รังสิต วังน้อย สระบุรี นครราชสีมา อ.พล อ.บ้านไผ่ อ.บรบือ มหาสารคาม อ.กันทรวิชัย อ.ยางตลาด กาฬสินธุ์ อ.สมเด็จ บ้านคำเพิ่ม (อ.ภูพาน) สกลนคร บ้านท่าแร่ อ.กุสุมาลย์ ค่ายพระยอดฯ/โพนสวรรค์ ท่าอุเทน ปลายทาง สถานีขนส่งนครพนม ให้บริการโดย บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) (ใช้รถมาตรฐาน ม.4ข รถปรับอากาศสองชั้น) และ บริษัท นครชัยแอร์ จำกัด (ใช้รถมาตรฐาน ม.1พ Gold+ Class และ ม.1ก First Class รถปรับอากาศชั้นเดียว)
  • สาย 930 กรุงเทพฯ - นครพนม ใช้เส้นทาง ต้นทางสถานีขนส่งหมอชิต 2 รังสิต วังน้อย สระบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี/กุมภวาปี หนองหาน สว่างแดนดิน พังโคน พรรณานิคม บ้านดงมะไฟ สกลนคร บ้านท่าแร่ กุสุมาลย์ ให้บริการโดย บริษัท เชิดชัยมอเตอร์เซลล์ จำกัด (เดินรถในนาม เชิดชัยทัวร์) (ใช้รถมาตรฐาน ม.4ข รถปรับอากาศสองชั้น) และ บริษัท เจเจอาร์ แทรเวล จำกัด (เดินรถในนาม โลตัสพิบูลทัวร์) (ใช้รถมาตรฐาน ม.1ข รถปรับอากาศชั้นเดียว และ ม.4กพ รถปรับอากาศสองชั้น มาตรฐานผสม ชั้นบน พ. ชั้นล่าง ก.)
  • สาย 256 อุบลราชธานี - นครพนม ใช้เส้นทาง สถานีขนส่งนครพนม เรณูนคร ธาตุพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ สถานีขนส่งอุบลราชธานี ให้บริการโดย บริษัท สหมิตรอุบล จำกัด (ใช้รถมาตรฐาน ม.2 ,ม.1ข รถปรับอากาศชั้นเดียว และรถมินิบัส)
  • สาย 231 อุดรธานี - นครพนม ใช้เส้นทาง ต้นทางสถานีขนส่งอุดรธานี แห่งที่ 1 หนองหาน สว่างแดนดิน พังโคน พรรณานิคม บ้านดงมะไฟ สกลนคร บ้านท่าแร่ กุสุมาลย์ ค่ายพระยอดฯ ปลายทาง สถานีขนส่งนครพนม ให้บริการโดย บริษัท สหอุดรเดินรถ 1974 จำกัด (ใช้รถมาตรฐาน ม.1ข และ ม.2 รถปรับอากาศชั้นเดียว) ปัจจุบันมีรถให้บริการวันละ 4 เที่ยว เช้า - บ่าย
  • สาย 224 อุดรธานี - นครพนม ใช้เส้นทาง ต้นทางสถานีขนส่งอุดรธานี แห่งที่ 1 หรือหน้าเซ็นทรัลอุดร หนองคาย โพนพิสัย บึงกาฬ บ้านแพง บ้านนาพระชัย ท่าอุเทน ปากทางสะพานมิตรภาพฯ ปลายทาง สถานีขนส่งนครพนม ให้บริการโดย รถร่วม บขส. หลายเจ้า (ใช้รถมินิบัส มาตรฐาน ม.2 รถปรับอากาศชั้นเดียว / ช่วง อุดรธานี - บ้านแพง เป็นรถตู้) ปัจจุบันมีรถให้บริการวันละ 4 เที่ยว เช้า - บ่าย สำหรับปลายทางนครพนม
  • สาย 555 นครพนม - ธาตุพนม - มุกดาหาร ให้บริการโดย บริษัท วิทยาทรานสปอร์ต จำกัด (เป็นรถตู้ทั้งสาย)
  • สาย 586 ขอนแก่น - นครพนม ให้บริการโดย บริษัท เชิงชุมเดินรถ จำกัด (เดินรถในนาม ชัยวัฒน์เซอร์วิส) (ใช้รถมาตรฐาน ม.1ข รถปรับอากาศชั้นเดียว)
  • สาย 661 นครพนม - เชียงราย ให้บริการโดย บริษัท เทพสมบัติ จำกัด (เดินรถในนาม สมบัติทัวร์) (ใช้มาตรฐาน ม.1ข และ ม.1พ รถปรับอากาศชั้นเดียว)
  • สาย 827 นครพนม - ระยอง ให้บริการโดย บริษัท ชาญประเสริฐทัวร์ จำกัด (ใช้รถมาตรฐาน ม.4ข และ ม.4พ รถปรับอากาศสองชั้น)
  • สาย 837 ช่วง นครพนม - นครศรีธรรมราช ให้บริการโดย บริษัท ชาญประเสริฐทัวร์ จำกัด (ใช้รถมาตรฐาน ม.4พ รถปรับอากาศสองชั้น)
  • สาย 837 ช่วง นครพนม - เกาะสมุยท่าเรือดอนสัก ให้บริการโดย บริษัท ชาญประเสริฐทัวร์ จำกัด (ใช้รถมาตรฐาน ม.1พ รถปรับอากาศชั้นเดียว 15 เมตร)
  • สาย 876 เชียงใหม่ - นครพนม ให้บริการโดย บริษัท เพชรประเสริฐ จำกัด (ใช้รถมาตรฐาน ม.4พ รถปรับอากาศสองชั้น)
  • สาย 1431 นครพนม - ท่าอุเทน - ศรีสงคราม - นาหว้า (ใช้รถมาตรฐาน ม.3 รถพัดลมชั้นเดียว)

รถโดยสารระหว่างประเทศ

[แก้]

การคมนาคมภายในตัวจังหวัดนครพนม

[แก้]
  • รถสองแถว มีหลายสาย คิดค่าโดยสารตามระยะทาง
  • รถสามล้อเครื่อง คิดค่าโดยสารตามระยะทาง (เป็นรถเหมา)
  • แท็กซี่ คิดค่าโดยสารตามระยะทางบนมิเตอร์

จุดผ่านแดนที่ติดต่อกับประเทศลาว

[แก้]
  1. จุดผ่านแดนถาวร ด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 3 ระหว่างอำเภอเมืองนครพนมและเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน
  2. จุดผ่านแดนถาวร ท่าเรือเทศบาลเมืองนครพนม ระหว่างอำเภอเมืองนครพนมและเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน
  3. จุดผ่อนปรน ท่าเรือบ้านหนาดท่า ระหว่างตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองนครพนม และเมืองหนองบก แขวงคำม่วน
  4. จุดผ่อนปรน ท่าเรือธาตุพนม ระหว่างอำเภอธาตุพนม และเมืองหนองบก แขวงคำม่วน
  5. จุดผ่อนปรน ท่าเรือท่าอุเทน ระหว่างอำเภอท่าอุเทน และเมืองหินบูน แขวงคำม่วน
  6. จุดผ่อนปรน ท่าเรือบ้านแพง ระหว่างอำเภอบ้านแพง และเมืองปากกระดิง แขวงบอลิคำไซ

การคมนาคมทางน้ำ

[แก้]

ในอดีตเคยมีความนิยมในการใช้เรือเดินทางระหว่างหมู่บ้าน ระหว่างอำเภอ และการเดินทางข้ามจังหวัดติดแม่น้ำด้วยกัน โดยมีแม่น้ำสายสำคัญในจังหวัดนครพนมได้แก่ แม่น้ำโขง แม่น้ำสงคราม ลำน้ำก่ำ ลำน้ำอูน ลำน้ำบัง ลำน้ำยาม แต่เมื่อมีการพัฒนาเส้นทางถนน ความนิยมก็ลดลงไปเปลี่ยนไปใช้พาหนะอื่นๆ บนบกแทน ปัจจุบันชาวไทยและชาวลาวในพื้นที่นิยมใช้เรือข้ามฟากแม่น้ำโขง ในการเดินทางและขนส่งสินค้า มีเรือด่วนข้ามฟากที่บริเวณท่าเรือจุดผ่านแดนถาวรในตัวเมืองนครพนม และมีเรือข้ามฟากและเรือเล็กที่จุดผ่อนปรนต่างๆ เพื่อทำการค้า มีย่านการค้าที่สำคัญคือตลาดนัดไทย-ลาว อ.ธาตุพนม, ตลาดนัดไทย-ลาว อ.ท่าอุเทน, ตลาดนัดไทย-ลาว บ้านหนาด อ.เมืองนครพนม นอกจากนั้นยังมีเรือสำราญและเรือล่องชมวิวให้บริการในอำเภอเมืองนครพนม และอำเภอธาตุพนม เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีทิวทัศน์ริมแม่น้ำโขงและแนวเทือกเขาหินปูนที่สวยงามทางฝั่งประเทศลาว

การคมนาคมทางอากาศ

[แก้]

ท่าอากาศยานนครพนม เคยเป็นที่ตั้งฐานทัพสหรัฐอเมริกา หลังจากถอนทหารออกไปในปี พ.ศ. 2518 จึงเริ่มเปิดเที่ยวบินพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2521 เคยมีสายการบินที่ให้บริการได้แก่ บริษัท เดินอากาศไทย/บริษัท การบินไทย, สายการบินพีบีแอร์, สายการบินนกแอร์ และปัจจุบันมีเที่ยวบินที่ยังคงเปิดให้บริการได้แก่

นอกจากนี้ยังสามารถเลือกเดินทางได้จากท่าอากาศยานสกลนคร ซึ่งอยู่ห่างจากท่าอากาศยานนครพนม เพียง 70 กิโลเมตร โดยเฉพาะอำเภอที่อยู่ใกล้เคียงตัวจังหวัดสกลนคร

การคมนาคมทางราง

[แก้]

นครพนมเคยอยู่ในแผ่นพัฒนาเส้นทางขนส่งทางรางตั้งแต่อดีตสมัยรัชกาลที่ 5 มาจนถึงโครงการใหม่ในปัจจุบันได้แก่

  • เส้นทางรถไฟอุบลราชธานี-นครพนม เริ่มต้นจากอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี สิ้นสุดที่อำเภอเมืองนครพนม (โครงการในอดีต ไม่มีการก่อสร้าง)
  • เส้นทางรถไฟอุดรธานี-สกลนคร-นครพนม เริ่มต้นจากอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี สิ้นสุดที่อำเภอเมืองนครพนม (โครงการในอดีต ไม่มีการก่อสร้าง)
  • เส้นทางรถไฟทางคู่บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม เริ่มต้นที่ ชุมทางบ้านหนองแวงไร่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น สิ้นสุดที่สถานีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 3 อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ระยะทาง 347 กิโลเมตร (อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ให้เสร็จสิ้นเพื่อเปิดให้บริการภายในปี พ.ศ. 2569)
  • เส้นทางรถไฟอุบลราชธานี-อำนาจเจริญ-มุกดาหาร-นครพนม เริ่มต้นที่สถานีอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี สิ้นสุดที่สถานีสถานีมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ระยะทาง 173 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-นครพนม ไปสิ้นสุดที่สถานีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 3 อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม (มีแผนก่อสร้างในอนาคต ตามแผนแม่บทพัฒนาโครงข่ายรถไฟ R-Map ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับการรื้อฟื้นปรับปรุงและศึกษาความเป็นไปได้ จากเส้นทางรถไฟอุบลราชธานี-นครพนม สายเดิมนำมาพิจารณาใหม่และเริ่มทำประชาพิจารณ์ในในปี พ.ศ. 2565)
  • เส้นทางรถไฟอุดรธานี-สกลนคร-นครพนม (ฉบับปรับปรุงใหม่) เริ่มต้นจากอำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี สิ้นสุดที่สถานีเรณูนคร อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม ระยะทาง 247 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-นครพนม ไปสิ้นสุดที่สถานีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 3 อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม (ยังไม่มีการก่อสร้าง โดยได้รับการพิจารณาบรรจุในแผนพัฒนาโครงข่ายรถไฟสายรอง Spur Line ลำดับที่ 40 ของการรถไฟแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2565)
  • เส้นทางรถไฟหนองคาย-บึงกาฬ-นครพนม เริ่มต้นจากสถานีหนองคาย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย สิ้นสุดที่สถานีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 3 อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ระยะทาง 316 กิโลเมตร (ยังไม่มีการก่อสร้าง เป็นเส้นทางใหม่ที่ได้รับการบรรจุในแผนพัฒนาโครงข่ายรถไฟสายรอง Spur Line ลำดับที่ 41 ของการรถไฟแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2565)

วัฒนธรรม

[แก้]

เทศกาลและงานประเพณีประจำปีในจังหวัดนครพนม เช่น

สถานที่สำคัญ

[แก้]

สถานที่สำคัญแบ่งตามอำเภอ

[แก้]
วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร

ปูชนียสถาน

[แก้]
พระธาตุพนมยามค่ำคืน พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองนครพนม

ปูชนียสถานที่สำคัญในจังหวัดนครพนม คือ พระธาตุพนม นอกจากนี้ยังมีพระธาตุอื่น ๆ ที่ชาวจังหวัดนครพนมเคารพนับถือ ได้แก่ พระธาตุนคร พระธาตุประสิทธิ์ พระธาตุท่าอุเทน พระธาตุเรณู พระธาตุศรีคุณ พระธาตุนคร และพระธาตุมหาชัย เป็นต้น ซึ่งถือเป็นเมืองพระธาตุโดยแท้

อุทยานแห่งชาติ สวนสาธารณะ และสวนพฤกษศาสตร์

[แก้]

บุคคลที่มีชื่อเสียง

[แก้]

พระเกจิอาจารย์

[แก้]
  • หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ (พระสุนทรธรรมกร)
  • หลวงปู่สนธิ์ สุรชโย (พระครูสันธานพนมเขต)
  • หลวงปู่สนธิ์ เขมิโย
  • หลวงปู่สอ ขันติโก
  • หลวงปู่แสง ญาณวโร (พระราชมงคลวัชราจารย์)
  • หลวงปู่สิงห์ทองสา สุคันโธ (พระครูมงคลสิริธำร)
  • พระอาจารย์บุญอุ้ม
  • หลวงตาบุญชื่น ปัญญาวุฒิโท
  • หลวงปู่ชม ธมฺมธีโร (พระเทพมงคลเมธี)

นักร้อง/นักแสดง

[แก้]

นักกีฬา

[แก้]

นักพัฒนาชุมชน/นักการเมือง

[แก้]

ข้าราชการ

[แก้]
  • พันตำรวจตรี ศิวกร สายบัว (สารวัตรแบงค์) อดีตสารวัตรสถานีตำรวจทางหลวง 1 กองกำกับการ 2 กองบังคับการตำรวจทางหลวง ถนนเทศา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม (เสียชีวิตแล้ว)

อ้างอิง

[แก้]
  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 13 กุมภาพันธ์ 2565.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

17°24′N 104°47′E / 17.4°N 104.78°E / 17.4; 104.78