ข้ามไปเนื้อหา

อูนาดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อูนาดง
อูนาจู

อูนาดง (ญี่ปุ่น: 鰻丼 ย่อมาจาก unagi donburi, "ชามปลาไหล") เป็นอาหารที่มีต้นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วยชามขนาดใหญ่แบบดมบูริใส่ข้าวสวยและราดด้วยปลาไหล (อุนางิ) ย่างในรูปแบบคาบายากิ คล้ายกับเทริยากิ เนื้อปลาเคลือบด้วยซอสถั่วเหลืองรสหวานที่เรียกว่าทาเระ มักใช้ไฟถ่าน ไม่ลอกเนื้อปลาและคว่ำด้านที่มีผิวสีเทาลง[1] ราดซอสทาเระลงไปให้พอซึมผ่านข้าวข้างล่าง[1] ตามธรรมเนียมแล้ว จะโรยผลซันโชแห้งบด (เรียกว่าพริกไทยญี่ปุ่น แม้ว่าจะไม่เกี่ยวข้องกันทางพฤกษศาสตร์) ด้านบนเป็นเครื่องปรุงรส

รูปแบบอื่น ๆ

[แก้]

รูปแบบอื่น ๆ ได้แก่ อูนาจู (鰻重, อาหารจานเดียวกันแต่เสิร์ฟในกล่องอาหารจูบาโกะ (重箱)) นางายากิ (長焼き, ปลาไหลและข้าวจะเสิร์ฟแยกกัน) และฮิสึมาบูชิ (櫃まぶし)

ประวัติศาสตร์

[แก้]

อูนาดงเป็นข้าวดมบูริประเภทแรกที่คิดค้นขึ้นในยุคเอโดะตอนปลายในสมัยบุงงะ (1804–1818)[2] โดยชายชื่ออิมาสึเกะ โอคุโบะ[2] ที่อาศัยอยู่ในซาไก-มาชิ (ในปัจจุบันคือย่านนิฮมบาชิในเขตชูโอ โตเกียว) และกลายเป็นที่นิยมในละแวกนั้น

ร้านอาหารแห่งแรกที่ขายอูนาดงเอ่ยอ้างว่าเป็นร้านโอโนยะ (大野屋)[3] ในฟุงิยาโช (葺屋町) (ติดกับซาไกโช) ในช่วงเวลาหนึ่ง แต่สันนิษฐานไว้ก่อนที่โรงละครละแวกนั้นย้ายออกไปเพราะถูกไฟไหม้ในปี 1841 หลังจากทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในปี 1844 ร้านเริ่มขายอูนาดงด้วยเหรียญเทนโปเซ็นหนึ่งเหรียญ และได้รับความนิยม[3]

สำหรับอูนาจูที่บรรจุปลาไหลและข้าวในกล่องจูบาโกะ ทฤษฎีหนึ่งกล่าวถึงผู้ริเริ่มของปลาไหลกับโอทานิ กิเฮ (大谷儀兵衛) ซึ่งเริ่มธุรกิจร้านอาหารปลาน้ำจืดในซันยะ ในย่านอาซากูซะ โตเกียว เรียกว่าฟุนากิ (鮒儀)[3] (ภายหลังรู้จักกันในชื่อ จูบาโกะ ร้านอาหารรุ่นปัจจุบันอยู่ที่อากาซากะ) ตามทฤษฎีนี้อูนาจูมีอยู่แล้วในช่วงปลายสมัยเอโดะ แต่มีผู้คัดค้านมุมมองนี้[4] นักวิจารณ์คนอื่น ๆ บอกว่าอูนาจูเริ่มปรากฏในยุคไทโช และใช้กล่องเคลือบเพื่อความหรูหรา อูนาจูมักจะมีราคาแพงกว่าอูนาดง[5]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Richie, Donald (1985). A taste of Japan: food fact and fable: what the people eat : customs and etiquette. Tokyo: Kodansha International. ISBN 9784770017079., p.63
  2. 2.0 2.1 The East 1991, section "Una-don, the First Donburi-mono", p.24-
  3. 3.0 3.1 3.2 Mori, Senzō (森銑三) (1969) [1968]. 明治東京逸聞史. Vol. 2. Heibonsha., p.270, quote;:"鰻丼を始めたのは日本橘葺屋町の大野屋で、天保の飢饉当時に、大丼の鰻飯を天保銭一枚で売ったのが当って"
  4. 多田, 鉄之助 (1972). たべもの日本史. Vol. 1. 新人物往来社., p.?, the author claims to have heard from the current successor to the restaurant that it was not the original innovator to put eel in jubako, and the old restaurant in Sanya was so named because the architecture resembled the jubako boxes
  5. うな重とうな丼、違いは名前と器だけ (Excite News, 22 July 2007; author: Wakako Tasachi (田幸和歌子)