เกียวกูโระ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์) | |
---|---|
พลังงาน | 21 กิโลจูล (5.0 กิโลแคลอรี) |
1.3 g | |
วิตามิน | |
ไทอามีน (บี1) | (2%) 0.02 มก. |
ไรโบเฟลวิน (บี2) | (9%) 0.11 มก. |
ไนอาซิน (บี3) | (4%) 0.6 มก. |
(5%) 0.24 มก. | |
วิตามินบี6 | (5%) 0.07 มก. |
โฟเลต (บี9) | (38%) 150 μg |
วิตามินซี | (23%) 19 มก. |
แร่ธาตุ | |
แคลเซียม | (0%) 4 มก. |
เหล็ก | (2%) 0.2 มก. |
แมกนีเซียม | (4%) 15 มก. |
แมงกานีส | (219%) 4.60 มก. |
ฟอสฟอรัส | (4%) 30 มก. |
โพแทสเซียม | (7%) 340 มก. |
โซเดียม | (0%) 2 มก. |
สังกะสี | (3%) 0.3 มก. |
องค์ประกอบอื่น | |
น้ำ | 97.8 g |
กาเฟอีน | 0.16 g |
แทนนิน | 0.23 g |
ชา 10 g/60 ℃ 60 mL、2.5 นาที | |
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่ |
เกียวกูโระ (ญี่ปุ่น: 玉露; โรมาจิ: gyokuro) เป็นชาญี่ปุ่น ชนิดหนึ่ง ตามมาตรฐานการติดฉลากชาเขียวของสมาคมกลางอุตสาหกรรมชาแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่าหมายถึง "ใบชาที่เก็บเกี่ยวมาจากสวนชาที่ถูกบังแสงอาทิตย์เกือบหมด เรียกว่า โออิชิตะเอ็ง (ญี่ปุ่น: 覆下園; โรมาจิ: oishita-en) โดยถูกคลุมด้วยวัสดุปิดเช่นฟางและผ้าขาวม้าตั้งแต่ตูมแรกของต้นชาแรกงอกขึ้นเป็นเวลาประมาณ 20 วัน และผลิตด้วยกรรมวิธีเดียวกันกับเซ็นจะ"[2]
โดยทั่วไปสารเทอานีน ซึ่งมีบทบาทในการให้รสอูมามิในชานั้นผลิตได้จากรากและเก็บไว้ในใบผ่านทางลำต้น เมื่อเทอานีนถูกแสงแดดจะเปลี่ยนเป็นคาเทชิน ซึ่งทำให้เกิดรสฝาด กล่าวอีกนัยหนึ่ง ใบชาซึ่งเป็นวัตถุดิบของเกียวกูโระนั้นถูกเคลือบด้วยสารเคลือบที่กันแสงแดดเป็นเวลาอย่างน้อยสองสัปดาห์ก่อนการเก็บเกี่ยว ทำให้มีผลในการเพิ่ม กรดอะมิโน เช่น เทอานีน และลด คาเทชิน (หรือ แทนนิน)[3]
ที่มา
[แก้]ชื่อ "เกียวกูโระ" (玉露) มาจากชื่อผลิตภัณฑ์ของยามาโมโตยามะ บริษัทผู้ผลิตชา
ในปี 1835 เมื่อคาเฮ ยามาโมโตะ (山本嘉兵衛) ประธานของยาโมโตยามะรุ่นที่ 6 ยังอายุ 18 ปี เขาไปที่โรงงานชาของคิจิเอง คิโนชิตะในหมู่บ้านอูจิในเกียวโต และลองกวนใบนึ่งด้วยตัวเอง เมื่อแห้งจะเกาะมือและจับตัวเป็นก้อนชา หลังจากลองสร้างขึ้นใหม่หลายครั้งจนได้รสชาติเหมือนน้ำหวานที่มีรสชาติที่หรูหราและสีที่สดใสจึงตั้งชื่อว่า "เกียวกูโระ" หลังจากกลับมาที่เอโดะ เขาได้นำเสนอสิ่งเหล่านี้ต่อขุนนางศักดินา, ฮาตาโมโตะ, นักชงชา และปัญญาชน เป็นผลให้ได้รับคำวิจารณ์อย่างล้นหลามและถูกนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ชั้นสูงอย่างกว้างขวาง กลายเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์พิเศษของเอโดะและแพร่หลายไปทั่ว[4] ในเวลานั้นใบชาถูกคั่วเป็นก้อนกลมเหมือนน้ำค้าง หลังจากนั้นในช่วงต้นยุคเมจิ บริษัทสึจิริ ผู้ผลิตชาได้ปรับปรุงวิธีการคั่วที่ใช้ในปัจจุบัน
นอกจากนี้ ในบริเวณ ศาลเจ้าโองูระ ในเมืองอูจิ จังหวัดเกียวโตก็มี "อนุสาวรีย์ต้นกำเนิดของเกียวกูโระ'' (玉露製茶発祥の碑) ตั้งอยู่ด้วย[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 文部科学省 「日本食品標準成分表2015年版(七訂)」
- ↑ "緑茶の表示基準" (PDF). 公益社団法人日本茶業中央会. สืบค้นเมื่อ 2022-06-13.
- ↑ 小林加奈理, 長戸有希子, 青井暢之 ほか、「L-テアニンのヒトの脳波に及ぼす影響」 『日本農芸化学会誌』 1998年 72巻 2号 p.153-157, doi:10.1271/nogeikagaku1924.72.153
- ↑ 『山本山の歴史』78頁
- ↑ "京都山城宇治茶の郷めぐり" (PDF). 京都府. สืบค้นเมื่อ 2022-06-13.