ข้ามไปเนื้อหา

ซอสวุร์สเตอร์เชอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซอสวุร์สเตอร์เชอร์
ซอสวุร์สเตอร์เชอร์ในจาน
ประเภทเครื่องปรุงรส
ภูมิภาคยุโรปและอเมริกาเหนือ
ผู้สร้างสรรค์
ส่วนผสมหลัก

ซอสวุร์สเตอร์เชอร์ (อังกฤษ: Worcestershire sauce; /ˈwʊstərʃər/ WUUS-tər-shər) หรือ ซอสวุร์สเตอร์ (อังกฤษ: Worcester sauce)[1] เป็นเครื่องปรุงรสชนิดหนึ่งที่ได้จากการหมัก คิดค้นขึ้นในนครวุร์สเตอร์ เทศมณฑลวุร์สเตอร์เชอร์ ประเทศอังกฤษในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ซอสนี้คิดค้นโดยเภสัชกรสองคนได้แก่จอห์น วีลีย์ ลี และวิลเลียม เฮนรี เพอร์รินส์ ผู้ซึ่งต่อมาก่อตั้งบริษัทลีแอนด์เพอร์รินส์ ซอสวุร์สเตอร์เชอร์กลายเป็นชื่อที่ใช้เรียกโดยทั่วไปหลังจากที่ศาลยุติธรรมชั้นสูงของอังกฤษวินิจฉัยว่าลีแอนด์เพอร์รินส์ไม่มีสิทธิครอบครองชื่อ วุร์สเตอร์เชอร์ ในฐานะเครื่องหมายการค้า

ซอสวุร์สเตอร์เชอร์นิยมใช้ปรุงแต่งรสชาติอาหารต่าง ๆ เช่น เวลช์แรร์บิต สลัดซีซาร์ หอยนางรมเคิร์กแพทริก เดวิลด์เอกก์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังนิยมนำไปใช้ปรุงรสอาหารที่แต่เดิมไม่เคยใช้มาก่อนเช่นชิลิกอนการ์เนและสตูเนื้อวัว นอกจากนี้ยังใช้เป็นซอสสำหรับสเต๊ก แฮมเบอร์เกอร์ และอาหารปรุงสำเร็จอื่น ๆ และผสมในค็อกเทลเช่นบลัดดีแมรีและซีซาร์เป็นต้น[2]

ประวัติ

[แก้]

การหมักปลาเพื่อทำน้ำปลามีมาตั้งแต่สมัยกรีก-โรมัน โดยอาหารกรีก-โรมันจะใช้ซอสที่เรียกว่า การูง เป็นซอสหลัก ซอสการูงยังเป็นสินค้าสำคัญของจักรวรรดิโรมัน โดยทั้งในสารานุกรม ธรรมชาติวิทยา โดยพลินีผู้อาวุโสในศตวรรษที่ 1 และในตำราอาหารโรมันชื่ออาปีกิอุสในช่วงศตวรรษที่ 4–5 ต่างก็กล่าวถึงการูง ในขณะที่หลักฐานการใช้ซอสแอนโชวีเป็นเครื่องปรุงรสในทวีปยุโรปนั้นสืบย้อนไปได้ถึงศตวรรษที่ 17[3]

ซอสตราลีแอนด์เพอร์รินส์เริ่มวางจำหน่ายตั้งแต่ ค.ศ. 1837 และเป็นซอสชนิดแรกที่ใช้ชื่อ "วุร์สเตอร์เชอร์" ตามชื่อเทศมณฑลที่ตั้งของบริษัท[4] ต้นกำเนิดของสูตรซอสตราลีแอนด์เพอร์รินส์นั้นไม่แน่ชัดนัก บนฉลากข้างภาชนะบรรจุยุคแรกระบุว่าซอสนี้ "มาจากสูตรของขุนนางคนหนึ่งในเทศมณฑล" บริษัทลีแอนด์เพอร์รินส์ยังอ้างด้วยว่า "ลอร์ดมาร์คัส แซนดีส์ อดีตผู้ว่าราชการมณฑลเบงกอล" ได้พบซอสชนิดนี้ในอินเดียในช่วงทศวรรษ 1830 และสั่งให้เภสัชกรสองคนได้แก่จอห์น วีลีย์ ลี และวิลเลียม เพอร์รินส์ แห่งร้านขายยาเลขที่ 63 ถนนบรอดในวุร์สเตอร์พยายามทำเลียนแบบ อย่างไรก็ตาม ลอร์ดมาร์คัส แซนดีส์ (หรือแม้แต่บารอนแซนดีส์คนใดก็ตาม) ไม่เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการมณฑลเบงกอล หรือแม้กระทั่งเดินทางไปอินเดียด้วยซ้ำ[5]

ตามตำนานของบริษัท ผลิตภัณฑ์ที่ได้เมื่อหมักซอสนี้เป็นครั้งแรกมีรสชาติรุนแรงจนถึงขั้นรับประทานไม่ได้ และถังหมักซอสดังกล่าวถูกทิ้งเอาไว้ในชั้นใต้ดินจนกระทั่งหลายปีต่อมาเมื่อเภสัชกรต้องการจะเก็บกวาดพื้นที่ชั้นใต้ดินและได้ทดลองซอสนี้อีกครั้ง พวกเขาพบว่าซอสที่ถูกหมักทิ้งไว้นานมีรสชาติกลมกล่อมมากขึ้น ใน ค.ศ. 1838 ซอสวุร์สเตอร์เชอร์ตราลีแอนด์เพอร์รินส์เริ่มวางจำหน่ายเป็นครั้งแรก[6][7] ชื่อ "ซอสวุร์สเตอร์เชอร์" กลายเป็นชื่อทั่วไปตั้งแต่ ค.ศ. 1876 เมื่อศาลยุติธรรมชั้นสูงของอังกฤษวินิจฉัยว่าลีแอนด์เพอร์รินส์ไม่มีสิทธิครอบครองชื่อ วุร์สเตอร์เชอร์ ในฐานะเครื่องหมายการค้า[6]

ส่วนประกอบ

[แก้]

ส่วนประกอบในซอสวุร์สเตอร์เชอร์สูตรดั้งเดิมได้แก่

เนื่องจากซอสวุร์สเตอร์เชอร์หลายสูตรมีส่วนผสมของแอนโชวี ทำให้ผู้ที่มีอาการแพ้ปลา[8] และผู้ที่หลีกเลี่ยงการรับประทานปลาเช่นผู้ถือมังสวิรัติหลีกเลี่ยงซอสชนิดนี้ ในหลักมาตรฐาน โคเด็กซ์อาลิเมนทาริอุส โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติแนะนำให้ระบุปริมาณของปลาในอาหารปรุงสำเร็จที่มีส่วนผสมของซอสวุร์สเตอร์เชอร์ แม้ว่าในหลายประเทศจะไม่บังคับก็ตาม ในขณะที่กระทรวงเกษตรสหรัฐได้สั่งเรียกคืนสินค้าที่มีส่วนผสมของซอสวุร์สเตอร์เชอร์แต่ไม่ได้ระบุบนฉลากให้ชัดเจน[9][10] บางบริษัทได้ผลิตซอสวุร์สเตอร์เชอร์แบบที่ไม่มีแอนโชวีผสมออกวางจำหน่าย ซึ่งมักจะระบุบนฉลากว่าเป็นซอสสำหรับผู้ถือมังสวิรัติหรือวีกัน[11] ชาวยิวออร์ทอดอกซ์โดยทั่วไปจะไม่รับประทานปลาและเนื้อในอาหารจานเดียวกันตามข้อบัญญัติศาสนา ฉะนั้นพวกเขาก็จะไม่ใช้ซอสวุร์สเตอร์เชอร์ปรุงรสเนื้อ[12] อย่างไรก็ตาม ซอสวุร์สเตอร์เชอร์บางตราจะระบุว่ามีปริมาณปลาน้อยกว่า 1/60 ซึ่งสามารถใช้บริโภคร่วมกับเนื้อได้[13][14]

แม้ว่าซอสวุร์สเตอร์เชอร์หลายสูตรจะใช้ซอสถั่วเหลืองเป็นส่วนผสมตั้งแต่ทศวรรษ 1880 แต่ก็ยังเป็นที่โต้เถียงกันว่าลีแอนด์เพอร์รินส์เคยใช้ถั่วเหลืองในซอสของพวกเขาหรือไม่ จากข้อมูลของซอยอินโฟเซนเทอร์โดยวิลเลียม เชิร์ตเลฟฟ์ ระบุว่าจดหมายฉบับหนึ่งจาก เจ. ดับเบิลยู. การ์เนตต์ ผู้จัดการทั่วไปของโรงงานใน ค.ศ. 1991 ระบุว่าลีแอนด์เพอร์รินส์เคยเปลี่ยนไปใช้โปรตีนที่ได้จากการไฮโดรไลส์ผักในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบ[6] ณ ค.ศ. 2021 ซอสของลีแอนด์เพอร์รินส์ไม่ได้ระบุว่ามีถั่วเหลืองเป็นส่วนผสม[15]

ซอสวุร์สเตอร์เชอร์ชนิดต่าง ๆ

[แก้]

ลีแอนด์เพอร์รินส์

[แก้]
ซอสวุร์สเตอร์เชอร์ของลีแอนด์เพอร์รินส์ที่วางจำหน่ายในสหราชอาณาจักรและแคนาดา
ซอสวุร์สเตอร์เชอร์ของลีแอนด์เพอร์รินส์ที่วางจำหน่ายในสหรัฐ

ซอสวุร์สเตอร์เชอร์ตราลีแอนด์เพอร์รินส์เริ่มวางจำหน่ายใน ค.ศ. 1837 และยังคงเป็นตราที่ได้รับความนิยมสูงสุดทั่วโลก[4]

บริษัทลีแอนด์เพอร์รินส์ได้ย้ายที่ผลิตจากร้านขายยาถนนบรอดไปยังโรงงานผลิตริมถนนมิดแลนด์ในวุร์สเตอร์ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1897 ซึ่งโรงงานดังกล่าวก็ยังคงผลิตซอสออกวางจำหน่ายจนถึงปัจจุบัน โดยจะผลิตซอสบรรจุขวดสำหรับจำหน่ายภายในประเทศและผลิตหัวเชื้อสำหรับส่งออกต่างประเทศ[16]

ใน ค.ศ. 1930 บริษัทเอชพีฟูดส์ได้เข้าซื้อกิจการของลีแอนด์เพอร์รินส์ ซึ่งต่อมาบริษัทเอชพีฟูดส์ได้ถูกควบรวมโดยบริษัทอิมพีเรียลโทแบกโคใน ค.ศ. 1967 ต่อมาเอชพีฟูดส์ได้ถูกขายต่อไปให้ดานอนใน ค.ศ. 1988 และไฮนซ์ใน ค.ศ. 2005

ซอสที่วางจำหน่ายในสหรัฐจะบรรจุหีบห่อแตกต่างจากซอสที่วางจำหน่ายในสหราชอาณาจักร โดยจะบรรจุในขวดสีเข้ม ฉลากสีน้ำตาลอ่อน และห่อกระดาษ ลีแอนด์เพอร์รินส์ยูเอสเออ้างว่าเป็นการรักษาลักษณะการบรรจุหีบห่อที่ทำมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 19 เพื่อป้องกันไม่ให้ขวดแตกระหว่างขนส่งจากอังกฤษมายังสหรัฐ[17] พวกเขายังอ้างด้วยว่าซอสวุร์สเตอร์เชอร์ของพวกเขาเป็นซอสหมักบรรจุขวดที่วางจำหน่ายเชิงพาณิชย์ที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐ[18]. ส่วนประกอบในซอสสูตรที่วางจำหน่ายในสหรัฐจะแตกต่างออกไปเล็กน้อยโดยจะใช้น้ำส้มสายชูกลั่นแทนน้ำส้มสายชูจากมอลต์ที่ใช้ในสูตรที่วางจำหน่ายในสหราชอาณาจักรและแคนาดา[19]

ซอสในทวีปยุโรป

[แก้]

ในประเทศเดนมาร์กจะเรียกซอสชนิดนี้ว่า Engelsk sauce หรือ "ซอสอังกฤษ"[20] ขณะที่ในประเทศเยอรมนีจะมีซอสที่คล้ายคลึงกันที่มีรสชาติหวานกว่าและเค็มน้อยกว่าที่เรียกว่า วุสเทอร์โซเซอเดรสเดอเนอร์อาร์ท (Worcestersauce Dresdener Art) ซึ่งเริ่มผลิตตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 ในนครเดรสเดินและยังคงผลิตมาจนถึงปัจจุบัน ซอสชนิดนี้จะนิยมรับประทานทางฝั่งตะวันออกของประเทศ[21]

ซอสในลาตินอเมริกา

[แก้]

ในประเทศเอลซัลวาดอร์จะเรียกซอสชนิดนี้ว่า ซัลซาอิงเกลซา (salsa inglesa 'ซอสอังกฤษ') หรือ ซัลซาเปร์รินส์ (salsa Perrins 'ซอสเพอร์รินส์') ซึ่งจะพบได้ตามร้านอาหารทั่วไป ใน ค.ศ. 1996 ปริมาณการบริโภคซอสต่อประชากรในเอลซัลวาดอร์อยู่ที่ 2.5 ออนซ์ (71 กรัม) ซึ่งสูงที่สุดในโลกในปีนั้น[22] ส่วนในประเทศเวเนซุเอลาก็เรียกซอสชนิดนี้ว่าซัลซาอิงเกลซาเช่นกัน ซอสชนิดนี้เป็นส่วนหนึ่งของอาหารเวเนซุเอลาหลายชนิด เช่น อายากา (hallaca) ซึ่งเป็นอาหารที่นิยมรับประทานในเทศกาลคริสต์มาส หรือ อาซาโดเนโกร (asado negro) เป็นต้น[23]

ซอสในทวีปเอเชีย

[แก้]

ในทวีปเอเชียจะมีซอสที่คล้ายคลึงกับซอสวุร์สเตอร์เชอร์แต่ถูกดัดแปลงไปจากซอสสูตรดั้งเดิมอย่างชัดเจน ที่เห็นได้เด่นชัดที่สุดได้แก่ซอสเหล่านี้จะไม่มีส่วนผสมของปลา

ซอสวุร์สเตอร์เชอร์ตราไก่งวง (Gy-Nguang) เริ่มผลิตในประเทศไทยตั้งแต่ ค.ศ. 1917[24] ซึ่งจะใช้ซอสถั่วเหลืองเพื่อให้รสชาติอูมามิแทนแอนโชวี โดยบริษัทจะผลิตซอสสองสูตร ได้แก่สูตร 1 สำหรับอาหารเอเชีย และสูตร 2 สำหรับอาหารนานาชาติ ความแตกต่างของทั้งสองสูตรอยู่ที่สูตร 2 จะมีซอสถั่วเหลืองน้อยกว่าแต่มีเครื่องเทศมากกว่า[25]

ซอสวุร์สเตอร์เชอร์ในประเทศญี่ปุ่นจะระบุบนฉลากว่า อูซูตาโซซุ (ญี่ปุ่น: ウスターソースโรมาจิUsutā sōsu) หรือ "ซอสวุร์สเตอร์" ซึ่งซอสนี้ในประเทศญี่ปุ่นจะเป็นสูตรมังสวิรัติโดยมีส่วนผสมหลักได้แก่น้ำ น้ำเชื่อม น้ำส้มสายชู แอปเปิลบด และมะเขือเทศบด โดยจะมีรสชาติหวานกว่าและเผ็ดน้อยกว่า[26] ในขณะที่ซอสทงกัตสึจะเป็นซอสสำหรับทงกัตสึและคล้ายกับซอสวุร์สเตอร์เชอร์แต่ข้นกว่า[27][28]

ซอสไท่คังฉลากเหลืองจากเซี่ยงไฮ้

ในบริเวณที่พูดภาษาจีนมีการผลิตซอสวุร์สเตอร์เชอร์หลายชนิดเช่น ล่าเจี้ยงโหยว (จีน: 辣酱油; พินอิน: là jiàngyóu) หรือ "ซอสถั่วเหลืองเผ็ด" ในเซี่ยงไฮ้ และ กิ๊บซับ (จีน: 喼汁; พินอิน: jízhī; ยฺหวิดเพ็ง: gip1zap1) ในฮ่องกง เป็นต้น ล่าเจี้ยงโหยวมีที่มาจากซอสวุร์สเตอร์เชอร์ซึ่งผลิตโดยบริษัทเมลลิงอะแควเรียสตั้งแต่ ค.ศ. 1933 ซึ่งในสมัยนั้นยังเป็นบริษัทของอังกฤษ เมลลิงอะแควเรียสได้ย้ายไปฮ่องกงใน ค.ศ. 1946 ในขณะที่เมลลิงอะแควเรียสในเซี่ยงไฮ้กลายเป็นของจีนใน ค.ศ. 1954 กิจการผลิตซอสได้ถ่ายโอนไปยังบริษัทไท่คังใน ค.ศ. 1960 บริษัทได้ปรับปรุงสูตรใน ค.ศ. 1981 และอีกครั้งใน ค.ศ. 1990 ซึ่งในครั้งหลังได้ผลิตซอสสองชนิดได้แก่ไท่คังฉลากเหลืองและไท่คังฉลากน้ำเงิน[29][30] ณ ค.ศ. 2020 มีเพียงฉลากเหลืองเท่านั้นที่ยังมีวางจำหน่าย ไท่คังฉลากเหลืองจะไม่มีส่วนผสมของปลา มีกลิ่นหอมแต่ไม่มีรสอูมามิ นิยมใช้ในอาหารไห่ไพ่ซึ่งเป็นอาหารที่ผสมผสานระหว่างอาหารเซี่ยงไฮ้กับอาหารตะวันตก เช่นพอร์กชอปหรือบอชช์แบบเซี่ยงไฮ้ เป็นต้น[31]

กิ๊บซับเป็นซอสที่คล้ายกับซอสวุร์สเตอร์เชอร์อีกชนิดหนึ่งซึ่งบริโภคในฮ่องกง ที่มาของชื่อไม่ชัดเจน อาจจะมาจากคำภาษาอังกฤษว่า catsup หรือ give[32] กิ๊บซับจะมีรสชาติอูมามิเข้มข้นเนื่องจากได้เติมซอสถั่วเหลือง น้ำปลา หรือผงชูรสผสมลงไปด้วย บางสูตรจะไม่มีส่วนผสมของปลาเลย ซอสนี้จะนิยมรับประทานกับติ่มซำเช่นลูกชิ้นนึ่งหรือเปาะเปี๊ยะ เป็นต้น[33]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Worcester, n.", OED Online (ภาษาอังกฤษแบบบริติช), Oxford University Press, สืบค้นเมื่อ 2022-03-30
  2. "It's 2009, the 40th Anniversary of 'Canada's Drink': The Caesar". That's the Spirit. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2013.
  3. "Fish Sauce: An Ancient Roman Condiment Rises Again". NPR.org.
  4. 4.0 4.1 "Heinz Acquires Leading Sauce Brands, Including Lea & Perrins(R), From Groupe Danone for US$820 Million; Transaction Accelerates Growth in Global Condiments and Sauces" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-02-24.
  5. Pezarkar, Leora (12 June 2017). "Worcestershire A Sauce from India?". Live History India (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 23 January 2022.
  6. 6.0 6.1 6.2 Shurtleff, William; Aoyagi, Akiko (2012). History of Worcestershire Sauce (1837–2012) (PDF). Soyinfo Center. ISBN 9781928914433.
  7. Keogh, Brian (1997) The Secret Sauce: a History of Lea & Perrins ISBN 978-0-9532169-1-8
  8. Steinman, HA (August 1996). "'Hidden' allergens in foods". Journal of Allergy and Clinical Immunology. 98 (2): 241–250. doi:10.1016/s0091-6749(96)70146-x. PMID 8757199. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2014. สืบค้นเมื่อ 14 January 2014.
  9. "Alabama Firm Recalls Beef Jerky Products Due to Misbranding and Undeclared Allergen" (Press release). USDA. June 12, 2013.
  10. Taylor, SL; Kabourek, JL; Hefle, SL (October 2004). "Fish Allergy: Fish and Products Thereof" (PDF). Journal of Food Science. Institute of Food Technologists. 69 (8): R175–R180. doi:10.1111/j.1750-3841.2004.tb18022.x. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 January 2014. สืบค้นเมื่อ 14 January 2014.
  11. Simpson, Alicia C. (2009). Quick and Easy Vegan Comfort Food: Over 150 Great-Tasting, Down-Home Recipes and 65 Everyday Meal Ideas—for Breakfast, Lunch, and Dinner. The Experiment. p. 13. ISBN 978-1-61519-109-3.
  12. "Ask the Expert: Meat and Fish—My Jewish Learning".
  13. Cohen, Dovid. "Fish and Meat". Chicago Rabbinical Council. สืบค้นเมื่อ 14 January 2014.
  14. "Kosher certification". Star-K. สืบค้นเมื่อ 4 July 2009.
  15. "Our Sauce – Lea & Perrins UK". www.leaandperrins.co.uk.
  16. "Spicy delight as our world-famous sauce is bottled in city again". Worcester News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-07-23.
  17. About, Lea & Perrins
  18. History, Lea & Perrins
  19. https://www.thespruceeats.com/worcestershire-sauce-history-1807686
  20. "engelsk sauce". Saucer, krydderier og garniture (ภาษาเดนมาร์ก). Den store danske.
  21. "Strehlener erfand Dresdner Worcester-Sauce". www.saechsische.de (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 2021-11-18.
  22. "Salvadorans Relish a Bottle of Worcestershire Sauce". The Wall Street Journal. 22 July 1996.
  23. Angélica (December 28, 2017). "Asado negro al estilo venezolano". Bizcochos y Sancochos (ภาษาสเปน).
  24. "GY-NGUANG Worcester Sauce". www.gy-nguang.com. Tinnakorn Worcester Sauce.
  25. "GY-NGUANG Worcester Sauce ingredient". www.gy-nguang.com. สืบค้นเมื่อ 7 November 2019.
  26. 彩流社『ニッポン定番メニュー事始め』澁川祐子 198頁
  27. "About Tonkatsu". Bull-Dog Sauce Company. สืบค้นเมื่อ 22 April 2018.
  28. "Western Roots, Japanese Taste: Tonkatsu". Food Forum. Kikkoman. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-04.
  29. 上海轻工业志-第一编行业-第二章食品-第二节主要产品- 七.其他食品- 2.辣酱油 [Shanghai Chronical of Light Industries, 1.2.2.7.2. Worcestershire sauce]. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-03. สืบค้นเมื่อ April 5, 2008.
  30. 上海粮食志 -第七篇粮油工业-第六章产品开发-第一节粮油食品开发-辣酱油 [Shanghai Chronical of Food, 7.6.1.x. Worcestershire sauce]. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-27. สืบค้นเมื่อ April 5, 2008.
  31. 舌尖上的海派西餐 [Haipai western cuisine on tongue-tip]. 上海热线. 15 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2013. สืบค้นเมื่อ 8 February 2014. 上海人的炸猪排裹了厚厚的金黄色面包粉,外脆里嫩,完全不似现在的炸品那么油腻张扬,很多人吃之前上面略微浇一点口感带微酸的辣酱油,这也是上海人独有的吃西餐的诀窍。 [The Shanghainese pork chop is heavily breaded in golden-yellow powder, crispy outside while tender on the inside, completely unlike the flagrantly oily fried food of today. Many people add a splash of slightly sour "spicy soy sauce" before eating, a western dining trick specific to the Shanghainese.]
  32. "英式喼汁﹝Worcestershire Sauce﹞". 太陽報 (ภาษาจีน). 此汁於二十世紀傳至中國廣東,並把英國人俗稱為Catsup的Worcestershire Sauce,直譯成喼汁,自此喼汁成為廣東人對Worcestershire Sauce的專用名詞。 [This sauce is brought to Canton in the 20th century. The colloquial name "catsup" was directly [phonetically] translated into "gip-sauce", the Cantonese proper noun for Worcestershire Sauce ever since.]
  33. "飲食中的東成西就" [Achievements east and west, in food]. 長訊月刊. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. 於是,這英國產物真正融入我們的飲食,無論你吃春卷、山竹牛肉,總有支喼汁在旁,或許我們接觸到最西化的 喼汁用法,就是把它加入雞尾酒 Bloody Mary。 [So this English product truly blended into our [Hongkongese] diet, with a bottle of gip-sauce next to us whenever we eat spring rools and steamed meatballs. Probably the most westernized way to use this sauce we see in everyday life is the Bloody Mary cooktail.]