ข้ามไปเนื้อหา

คมบุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาหร่ายคมบุ (Saccharina japonica)
Saccharina japonica
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน577 กิโลจูล (138 กิโลแคลอรี)
56.5 g
น้ำตาล0.6
ใยอาหาร31.4 g
2.0 g
8.0 g
วิตามิน
วิตามินเอ
(9%)
71 μg
(8%)
850 μg
ไทอามีน (บี1)
(70%)
0.8 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(29%)
0.35 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(13%)
2 มก.
(13%)
0.642 มก.
โฟเลต (บี9)
(45%)
180 μg
วิตามินซี
(18%)
15 มก.
วิตามินอี
(7%)
1 มก.
วิตามินเค
(105%)
110 μg
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(76%)
760 มก.
เหล็ก
(18%)
2.4 มก.
แมกนีเซียม
(152%)
540 มก.
แมงกานีส
(10%)
0.2 มก.
ฟอสฟอรัส
(34%)
240 มก.
โพแทสเซียม
(113%)
5300 มก.
โซเดียม
(180%)
2700 มก.
สังกะสี
(11%)
1 มก.

ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

คมบุ (ญี่ปุ่น: 昆布โรมาจิKonbu) หรือ ไห่ไต้ (จีนตัวย่อ: 海带; จีนตัวเต็ม: 海帶; พินอิน: hǎidài) เป็นสาหร่ายชนิดหนึ่ง ที่พบได้ในทะเลแถบญี่ปุ่นและเกาหลี คมบุในตลาดกว่า 90% ในญี่ปุ่น เป็นคมบุที่มาจากฟาร์มที่ส่วนใหญ่อยู่ในฮกไกโด นอกจากนี้ยังสามารถพบคมบุได้แถบทะเลในเซโตะที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะปลูกที่ก้าวไกล

คมบุถูกนำไปประยุกต์ใช้มากมายสำหรับอาหารญี่ปุ่น โดยเฉพาะถือเป็น 1 ใน 3 วัตถุดับหลักเพื่อทำดาชิ (น้ำซุป) คมบุมักจะวางจำหน่ายในรูปแบบหลักๆ คือ แบบเป็นแผ่นอบแห้ง (ดาชิคมบุ) ซึ่งนิยมที่สุด, แบบดองในน้ำส้มสายชู (ซุคมบุ) หรือแบบชิ้นๆอบแห้ง (โบโระคมบุหรือชิงาระคมบุ) นอกจากนี้ ในบางครั้งยังมีการใช้คมบุสด ๆ ทานคู่กับปลาดิบ

การทำคมบุดาชิ นั้นไม่ยาก การใช้ผงคมบุนั้นเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด สำหรับการทำดาชิจากแผ่นคมบุ ขั้นตอนแรก เริ่มจากแช่คมบุแห้งในน้ำเย็น ระหว่างนั้นให้ต้มน้ำจนใกล้เดือด และนำคมบุที่คลายแล้วลงไปต้มซักพัก ก็จะได้น้ำซุปคมบุ ส่วนแผ่นคมบุนิ่มจากการต้ม โดยทั่วไปมักจะรับประทานปิดท้ายอาหาร นอกจากนี้ยังสามารถซอยเป็นเส้นเพื่อใช้ทำสึกุดานิซึ่งเป็นเส้นคมบุที่เคี่ยวในซอสถั่วเหลืองและมิริง

อ้างอิง

[แก้]
  • Davidson, Alan. Oxford Companion to Food (1999), "Kombu", p. 435 ISBN 0-19-211579-0
  • Culture of Kelp (Laminaria japonica) in China
  • Hosking, Richard (1996). A dictionary of Japanese food: ingredients & culture. Tutle Publishing. pp. 206–208. ISBN 0-8048-2042-2.