ข้ามไปเนื้อหา

อุทยานแห่งชาติดอยจง

พิกัด: 17°55′2″N 99°15′0″E / 17.91722°N 99.25000°E / 17.91722; 99.25000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุทยานแห่งชาติดอยจง
แผนที่
ที่ตั้งจังหวัดลำปางและจังหวัดลำพูน
พิกัด17°55′2″N 99°15′0″E / 17.91722°N 99.25000°E / 17.91722; 99.25000
พื้นที่332 ตารางกิโลเมตร (208,000 ไร่)
ผู้เยี่ยมชม3,932[1] (2551)
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

อุทยานแห่งชาติดอยจง ตั้งอยู่ในท้องที่ของอำเภอเถิน อำเภอสบปราบ อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง และอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

ลักษณะภูมิประเทศ

[แก้]

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป เป็นเทือกเขาสูงต่ำสลับซับซ้อนของแนวเทือกเขาถนนธงชัย ทอดตัวยาวจากทิศเหนือไปทางทิศใต้ ยามประมาณ 40 กิโลเมตร มีความสูง ระหว่าง 270 – 1,379 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มียอดดอยจง เป็นยอดเขาสูงที่สุดในพื้นที่ สูงจากระดับน้ำทะเล 1,379 เมตร เป็นแหล่งกำเนิดลำห้วยสำคัญหลายสาย ที่ไหลลงสู่แม่น้ำวังทางด้านจังหวัดลำปางและแม่น้ำปิงทางด้านจังหวัดลำพูน

ลักษณะภูมิอากาศ

[แก้]

ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุมเขตร้อน แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ

  • ฤดูร้อน เริ่มต้นตั้งแต่ระหว่างเดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม
  • ฤดูฝน เริ่มต้นตั้งแต่ระหว่างเดือนมิถุนายน - เดือนตุลาคม
  • ฤดูหนาว เริ่มต้นตั้งแต่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์

สภาพอากาศโดยทั่วไปค่อนข้างร้อนในฤดูร้อน และอากาศหนาวในฤดูหนาว บนยอดดอยจงจะมีอากาศเย็นตลอดปี และหนาวจัดในฤดูหนาว อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 40 องศาเซลเซียส และต่ำสุดประมาณ 4 องศาเซลเซียส

ทรัพยากรป่าไม้

[แก้]

ลักษณะทางธรณีวิทยา ลักษณะดิน เป็นดินเหนียวปนทราย ดินลูกรัง และดินกรวด บางส่วนเป็นภูเขาหิน มีการสำรวจพบแร่หลายชนิด เช่น พลวง แบไรด์ หินอ่อน ลิกไนต์ หินคาร์บอเนต และดินมาร์ ( ที่มา : ทรัพยากรธรณี จังหวัดลำปาง )

ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยจง ประกอบด้วยสภาพป่าหลายชนิด ได้แก่

1. ป่าเบญจพรรณ ( Mixed deciduous forest ) พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สัก แดง ประดู่ มะค่าโมง ตะเคียน ตะแบก รกฟ้า และไม้ไผ่ชนิดต่างๆ ไม้พื้นล่างประกอบด้วย หญ้า และพืชในวงศ์ ขิง ข่า

2. ป่าเต็งรัง ( Dry dipterocarp forest ) พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง ไม้พื้นล่างได้แก่ มะขามเครือ ปรง และเห็ดชนิดต่างๆ

3. ป่าดิบเขา ( Hill evergreen forest ) พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ก่อเดือย ก่อแป้น ก่อตาหมู สนสองใบ สนสามใบ กฤษณา อบเชย พันธุ์ไม้พื้นล่างได้แก่ มอส และเฟิร์นต่าง ๆ

ทรัพยากรสัตว์ป่า

[แก้]

สัตว์ป่าที่สำคัญประกอบด้วย เลียงผา หมี เก้ง หมูป่า สุนัขจิ้งจอก งู อีเห็น กระรอก ไก่ฟ้า ไก่ป่า นกชนิดต่าง ๆ สัตว์น้ำ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน และแมลงชนิดต่าง ๆ

แหล่งท่องเที่ยว

[แก้]

ด้านธรรมชาติ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]