ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า
ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า | |
---|---|
ส่วนหนึ่งของกองทัพเรือไทย | |
สัตหีบ ชลบุรี | |
ภาพถ่ายทางอากาศของค่ายแสมสาร หรือค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้าในปี พ.ศ. 2512 | |
พิกัด | 12°38′41″N 100°57′31″E / 12.644657°N 100.958623°E |
ประเภท | ค่ายทหาร |
ข้อมูล | |
เจ้าของ | สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2510–2519) ไทย (พ.ศ. 2520–ปัจจุบัน) |
ผู้ดำเนินการ | กองทัพเรือไทย |
ควบคุมโดย | กองพลนาวิกโยธิน |
ประวัติศาสตร์ | |
สร้าง | เมษายน 2510 |
สร้างโดย | กองพันทหารช่างที่ 538 (ก่อสร้าง) |
การใช้งาน | 13 พฤษภาคม 2513 (กองทัพสหรัฐ) 1 เมษายน 2532 (กองพลนาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย) |
การต่อสู้/สงคราม | สงครามเวียดนาม |
ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า (อังกฤษ: Phramahachedsadharajchao Camp)[1] หรือ ค่ายแสมสาร (อังกฤษ: Camp Samae San)[2] เป็นค่ายทหารที่ตั้งหลักของกองพลนาวิกโยธิน และหน่วยในสังกัดอื่นๆ ของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย ตั้งอยู่ในตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
ในอดีตเป็นที่ตั้งของหน่วยทหารบกสหรัฐในช่วงสงครามเวียดนาม โดยถูกเรียกขานว่า ค่ายแสมสาร[3]
ประวัติ
[แก้]ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า เดิมชื่อว่า ค่ายแสมสาร ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยกองทัพสหรัฐในช่วงสงครามเวียดนาม[1] เป็นส่วนหนึ่งของ ท่าเรือสัตหีบและศูนย์ส่งกำลังบำรุง (Sattahip port and Logistical Complex) ของกองทัพสหรัฐ ตั้งอยู่ระหว่างสนามบินอู่ตะเภา และท่าเรือน้ำลึกสัตหีบ[4]
ค่ายแสมสารเริ่มต้นก่อสร้างในเดือนเมษายน พ.ศ. 2510 โดยมีกองร้อยดีของกองพันทหารช่างที่ 538 (ก่อสร้าง) (538th Engineer Battalion (Construction)) โดยรูปแบบฐานจะเป็นฐานทัพที่สามารถรองรับกำลังพลได้ 1,800 นาย พร้อมด้วยคลังเก็บของ และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกด้านวิศวกรรม ซึ่งหลังจากการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 เสร็จสิ้น หน่วยที่เหลือของกองพันทหารช่างที่ 538 ได้ย้ายที่ตั้งมายังค่ายแสมสารเพื่อช่วยกองร้อยดีก่อสร้างในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2511 โดยระหว่างการก่อสร้าง ได้ใช้ดินในการบดอัดก่อสร้างฐานรากของค่ายแสมสารรวมถึงถนนลาดยางความยาว 8 ไมล์จำนวน 2.5 ล้านลูกบาก์หลา และใช้แผ่นพื้นขนาด 11.9 ล้านตารางฟุตสำหรับการก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ[5]
สำหรับส่วนปฏิบัตงานและใช้งานประกอบไปด้วยพื้นที่สำนักงานจำนวน 57,000 ตารางฟุต โกดังและพื้นที่เก็บของขนาด 1 ล้านตารางฟุต และพื้นที่สำหรับซ่อมบำรุงยานยนต์ขนาด 500,000 ตารางฟุต พื้นที่ทั้งหมดถูกป้องกันด้วยรั้วความยาว 7 ไมล์ รวมถึงการวางระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ทันสมัยในพื้นที่ด้วยการสร้างระบบกระจายน้ำประปาและน้ำทิ้ง พร้อมด้วยสถานียกระดับน้ำ (lift station) จำนวน 6 แห่ง และระบบจ่ายไฟฟ้าหลักขนาด 12,000 โวลต์[5]
ภายในประกอบไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกหลักต่าง ๆ สำหรับทหารสหรัฐ คือ ที่พักพลทหารจำนวน 55 หลังพร้อมกับอาคารที่เกี่ยวข้อง โรงอาหารความจุ 750 คนจำนวน 2 หลัง สำนักงานไปรษณีย์ ห้องสมุด โรงภาพยนตร์ โบสถ์คริสต์ สำนักงานด้านการเงิน โรงยิม สนามกีฬาประเภทต่าง ๆ อาทิ ฟุตบอล ลู่วิ่ง ซอฟต์บอล บาสเก็ตบอล และลานโบวลิ่ง เป็นต้น[4][5]
พิธีเปิดค่ายแสมสารมีขึ้นในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 หลักจากใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 3 ปี งบประมาณในการก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 7.6 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ[5]
มีหน่วยที่เข้าประจำการในเวลานั้น ประกอบไปด้วย[2]
- Area Materiel Supply Facility
- บริษัทเฟดเดอรัลอิเล็คทริค (Federal Electric Corporation: FEC)[6]
- HHC Terminal
- HHC Terminal Command Deep Water Port
- HHC MACTHAI
- MACTHAI SPT GP
- บริษัท เพจ คอมมูนิเคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (Page Communications Engineers, Inc.)[7]
- ห้องปฏิบัติการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลกลางสหรัฐ ประจำประเทศไทย (U.S. Army Central Identification Laboratory: USA CIL THAI)[8][9] – เริ่มปฏิบัติการวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2516
- U.S. Army Support
- ยูซ่าไทย (USARSUPTHAI) – ยุติปฏิบัติการในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2517[10]
- รองหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง แผนงาน และปฏิบัติการ[11] ยูซ่าไทย (USARSUPTHAI DCSSPO)
- ศูนย์สื่อสาร กองบัญชาการการสื่อสารทางยุทธศาสตร์กองทัพบกสหรัฐ (USASTRATCOM Comm Center)
- สำนักทดสอบกิจกรรม การวัด และการวินิจฉัยอุปกรณ์กองทัพบกสหรัฐ (U.S. Army Test, Measurement, and Diagnostic Equipment Activity: USATA)
- กองบัญชาการส่งกำลังบำรุงที่ 9 (9th Logistical Command) – ย้ายจากนครราชสีมามาเมื่อมีนาคม พ.ศ. 2512 และถูกยุบเลิกเมื่อ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2513[12]
- 9th Terminal Command
- 13th AF Liasion NCO
- 16th Infantry
- หมู่ทหารสื่อสารที่ 29 (29th Signal Group)[13]
- กองร้อยทหารช่างที่ 142 (142nd Enginner Company)
- กองร้อยทหารช่างที่ 145 (145th Engineer Company)
- กองร้อยทหารสื่อสารที่ 207 (207th Signal Company)[14]
- กองร้อยสารวัตรทหารที่ 219 (219th Military Police Company: MPCo)
- กองร้อยทหารขนส่งที่ 229 (229th Transportation Company)[15]
- กองร้อยทหารขนส่งที่ 233 (233rd Transportation Company)[15]
- กองร้อยทหารขนส่งที่ 260 (260th Transportation Company) – ถูกยุบเลิกเมื่อ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2518[16]
- กองร้อยสารวัตรทหารที่ 281 (281st Military Police Company: MPCo)
- กองร้อยทหารขนส่งที่ 313 (13th Transportation Company) – ถูกยุบเลิกเมื่อ 31 มีนาคม พ.ศ. 2515[16]
- กองพันทหารสื่อสารที่ 379 (379th Signal Battalion)[14]
- 449th Term Battalion
- กองพันขนส่งที่ 519 (519th Transportation Battalion)[16]
- กองพันก่อสร้างที่ 537 (537th Engineer Battalion)
- กองพันก่อสร้างที่ 538 (538th Engineer Battalion)[5][17][18]
- หมวด ดี กองพันก่อสร้างที่ 358 (538th Engineer Battalion Paltoon D)
- กองพันซ่อมบำรุงที่ 562 (562nd LT Maintenance) – ประจำการ 12 มกราคม พ.ศ. 2510 – 25 มิถุนายน พ.ศ. 2514[12]
- กองพันทหารขนส่งที่ 640 (640th Transportation Battalion)
- ส่วนแยกทหารขนส่งที่ 604 (เรือลากจูง) (604th Transportation Detachment (Tugboat))
- กองร้อยทหารช่างที่ 697 (ท่อส่ง) (697th Engineer Company (Pipeline))[18]
จากรายงานใน ASEAN-Indochina Relations Since 1975: The Politics of Accommodation ซึ่งรวบรวมและเผยแพร่โดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ระบุไว้ว่ากำลังทหารสหรัฐในค่ายแสมสารมีจำนวนถึง 1,200 นาย[19] ก่อนที่รัฐบาลไทยจะร้องขอให้กองกำลังทั้งหมดของสหรัฐถอนกำลังออกจาประเทศไทยในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2519[10] คงเหลือแต่กำลังส่วนสำคัญเท่านั้นที่ยังคงอยู่ และมีการถอนกำลังชุดสุดท้ายในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2519[20]
ต่อมาค่ายแสมสารได้ถูกใช้งานโดยรัฐบาลไทย เพื่อใช้เป็นที่ตั้งทางทหารของกรมนาวิกโยธิน โดยในปี พ.ศ. 2520 ได้ย้ายกรมทหารราบที่ 1 กรมผสมนาวิกโยธินจากที่ตั้งเดิมค่ายกรมหลวงชุมพรมาอยู่ที่ค่ายแสมสารซึ่งเป็นที่ตั้งเดิมของทหารช่างสหรัฐ[3] และในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2521 ได้ย้ายกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 กรมนาวิกโยธิน (พัน.ร.1 กรม ร.1 นย.)[21] จากที่ตั้งเดิมอ่าวเตยงามมาตั้งที่ค่ายแสมสาร[22]
ค่ายแสมสารได้เป็นที่ตั้งของกองพลนาวิกโยธินที่ได้ปรับขยายขนาดกรมนาวิกโยธิน โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2532 เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน มีหน้าที่ในการปฏิบัติการทำลายข้าศึกและควบคุมพื้นที่ด้วยการปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก การปฏิบัติการรบทางบก และการรบพิเศษ[23]
จากนั้น ค่ายแสมสาร ได้รับโปรดเกล้าจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระราชสมัญญาของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อว่า ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Phramahachedsadharajchao Camp เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2542[1]
ปัจจุบัน ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้ายังถูกเรียกขานโดยกองทัพสหรัฐในชื่อว่า ค่ายแสมสาร ซึ่งเป็นชื่อเดิมของค่ายในการฝึกร่วมต่าง ๆ ระหว่างไทยและสหรัฐ[24]
หน่วยภายใน
[แก้]ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า ประกอบด้วยที่ตั้งทางทหารของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินต่าง ๆ ดังนี้
- กองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
- กรมทหารราบที่ 1 กองพลนาวิกโยธิน
- กองพันทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 1 กองพลนาวิกโยธิน
- กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 กองพลนาวิกโยธิน
- กองพันทหารราบที่ 5 กรมทหารราบที่ 2 กองพลนาวิกโยธิน
- กองพันรถถัง กองพลนาวิกโยธิน
- กองร้อยกองบัญชาการ กองพลนาวิกโยธิน
- กองร้อยสารวัตร กองพลนาวิกโยธิน
สิ่งอำนวยความสะดวก
[แก้]สนามยิงปืน
[แก้]สนามยิงปืน ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า ตั้งอยูในพื้นที่ของค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า เป็นสถานที่สำหรับฝึกฝนการใช้อาวุธปืนของนาวิกโยธิน โดยเปิดให้ประชาชนเข้าร่วมใช้งานได้ในการแข่งขันต่าง ๆ ที่ทางหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินได้จัดแข่งขันขึ้น[25] โดยการฝึกซ้อมด้วยกระสุนจริงขนาดใหญ่ของค่ายจะดำเนินการฝึกที่สนามฝึกหมายเลข 16 ในอำเภอเขาคิชฌกูฎ จังหวัดจันทบุรี[26]
สถานีเรดาร์ฝนหลวงสัตหีบ
[แก้]สถานีเรดาร์ฝนหลวงสัตหีบ เป็นสถานีเรดาร์แบบประจำที่ ชนิด S Band ย่านความถี่ 2.8 GHz ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า[27] สังกัดกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ใช้สำหรับการตรวจสอบและติดตามกลุ่มเมฆบนท้องฟ้าเพื่อใช้วางแผนในการปฏิบัติการฝนหลวงและพยากรณ์การเกิดฝนฟ้าคะนอง และการใช้งานทางอุตุนิยมวิทยาอื่น ๆ[28]
หาดค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า
[แก้]หาดค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า เป็นชายหาดในพื้นที่ของค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า เปิดให้บริการนักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาพักผ่อนทั้งรูปแบบไปกลับ และสามารถค้างคืนได้ โดยแจ้งที่กองรักษาการณ์ว่าจะเข้ามาเที่ยวชายหาดของค่าย พื้นที่ภายในประกอบไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกของทางค่ายที่เตรียมไว้ ทั้งร้านอาหาร ห้องน้ำ และพื้นที่พักแรม ซึ่งชายหาดจะสามารถพักผ่อนได้ตามพื้นที่ที่กำหนด หากค้างคืนสามารถกางเต็นท์ได้ และมีห้องพักให้บริการแต่ควรจองล่วงหน้า[29]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
นาวิกโยธินไทยและสหรัฐระหว่างการฝึก คชรน. ในค่าย
-
นาวิกโยธินไทยและสหรัฐฝึกการควบคุมความได้เปรียบเชิงกลระหว่างการฝึกคอบร้าโกลด์ 2015
-
นาวิกโยธินไทยและสหรัฐ ฝึกยิงปืนร่วมกันที่สนามยิงปืน ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า
-
นาวิกโยธินไทยและสหรัฐระหว่างการฝึกคอบร้าโกลด์ 2015
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานชื่อค่ายทหาร (ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า)". dl.parliament.go.th. 2542-04-01.
- ↑ 2.0 2.1 "Camp Samae San (Sattahip) - APO 96232". us-seasia.tripod.com.
- ↑ 3.0 3.1 กิจการวารสารนาวิกโยธิน. E-book วารสารนาวิกโยธิน ฉบับเดือน กันยายน ๒๕๖๕. p. 23.
- ↑ 4.0 4.1 Lessons Learned, Headquarters, US Army Support, Thailand (PDF). DTIC Defense Technical Information Center.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 "Engineers in Thailand - 538th Engineer Battalion (Construction) construction of Camp Samae San, Sattahip cantonment area 1968-1970". groups.io (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Chapter III: The War in Vietnam - DAHSUM FY 1972". history.army.mil.
- ↑ Command History. 1972-1973. Volume 2. Sanitized - DTIC (PDF). Defense Technical Information Center. pp. E-45.
- ↑ "Chapter X: Support Services - DAHSUM FY 1974". history.army.mil.
- ↑ "Chapter 9: Support Services - DAHSUM FY 1975". history.army.mil.
- ↑ 10.0 10.1 "United States Army Support Thailand". usarsupthaiassociation.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Army Training and Evaluation Program No. 8-705-MTP: Mission Training Manual for the Combat Support Hospital | The Afterlives of Government Documents". documentafterlives.newmedialab.cuny.edu.
- ↑ 12.0 12.1 "9th Logistical Command (B)". usarsupthaiassociation.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Getting the Message Through-Chapter 10". www.history.army.mil.
- ↑ 14.0 14.1 "Citation Nr: 1527884 Decision Date: 06/30/15 Archive Date: 07/09/15". www.va.gov.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 15.0 15.1 "Operation Igloo White". groups.io (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ 16.0 16.1 16.2 "519th Transportation Battalion". transportation.army.mil.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Lessons Learned, Headquarters, 538th Engineer Battalion". apps.dtic.mil. สืบค้นเมื่อ 2024-08-11.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 18.0 18.1 "RoyNey.htm". adamsan.tripod.com.
- ↑ Nair, Kannan K. (1984). ASEAN-Indochina Relations Since 1975: The Politics of Accommodation. มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย.
- ↑ "เมื่อ กต.เจรจาสหรัฐ ถอนสถานีสอดแนม 'รามสูร' 2519". www.matichonweekly.com. สืบค้นเมื่อ 2024-08-11.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ยุทธการกรุงชิง". www.marines.navy.mi.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-08-11. สืบค้นเมื่อ 2024-08-11.
- ↑ "Royal Thai Navy - Detail History". marines.navy.mi.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-08-11. สืบค้นเมื่อ 2024-08-11.
- ↑ "Royal Thai Navy - Detail History". www.marines.navy.mi.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-08-09. สืบค้นเมื่อ 2024-08-11.
- ↑ "Thai, U.S. Marines Learn Mechanical Advantage Control Holds". dod.defense.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Royal Thai Navy - Detail Main". marines.navy.mi.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-08-09. สืบค้นเมื่อ 2024-08-11.
- ↑ "นาวิกฯ ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้าซ้อมใหญ่ทหารก่อนลงใต้". mgronline.com. 2009-08-29.
- ↑ "ผู้บัญชาการกองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน เยี่ยมคำนับอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร". www.navy.mi.th (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "5 เรื่องชวนรู้เกี่ยวกับ #เรดาร์ฝนหลวง". www.royalrain.go.th. สืบค้นเมื่อ 2024-08-09.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "หาดค่ายเจษฯ สัตหีบ กางเต็นท์ เล่นน้ำ นอนรับลม ชมทะเลฟ้าใส เที่ยวใกล้กรุงเทพ". https://travel.trueid.net.
{{cite web}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|website=