ข้ามไปเนื้อหา

ชีวนิเวศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิธีหนึ่งในการทำแผนที่ไบโอมบนบก (แผ่นดิน) ทั่วโลก

ชีวนิเวศ (อังกฤษ: biome) หมายถึง สภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น อุณหภูมิ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่คล้ายคลึงกันบนโลก ซึ่งเป็นชุมชนกลุ่มสิ่งมีชีวิต ของพืชและสัตว์ รวมไปถึงสิ่งมีชีวิตในดิน ซึ่งมักจะหมายถึงระบบนิเวศ ซึ่งบางส่วนของโลกจะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับชนิดการแพร่กระจายขององค์ประกอบสิ่งมีชีวิต (Abiotic Factor) และองค์ประกอบของสิ่งไม่มีชีวิต ในพื้นที่ขนาดใหญ่ ประเภทของชีวนิเวศ แบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ คือ

  1. ชีวนิเวศบนบก
  2. ชีวนิเวศในน้ำ

ชีวนิเวศบนบก

[แก้]

ไบโอมบนบก (terrestrial biomes) ใช้เกณฑ์ปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิเป็นตัวกำหนด ไบโอมบนบกที่มีอยู่ในโลกนี้แบ่งออกได้หลายไบโอม แต่ไบโอมบนบกที่สำคัญที่จะกล่าวถึง ได้แก่ ไบโอมป่าดิบชื้น ไบโอมป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น ไบโอมทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น ไบโอมสะวันนา ไบโอมป่าสน ไบโอมทะเลทราย และไบโอมทุนดรา เป็นต้น

ไบโอมป่าดิบชื้น

  • ป่าดิบชื้น (tropical rain forest) พบได้ในบริเวณใกล้เขตเส้นศูนย์สูตรของโลกในทวีปอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชียตอนใต้ และบริเวณบางส่วนของหมู่เกาะแปซิฟิก

ลักษณะของภูมิอากาศร้อนและชื้น มีฝนตกตลอดปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 200-400 เซนติเมตรต่อปี ในป่าชนิดนี้พบพืชและสัตว์หลากหลายนับพันสปีชีส์ เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์

ไบโอมป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น

  • ป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น (temperate deciduous forest) พบกระจายทั่วไปในละติจูตกลาง ซึ่งมีปริมาณความชื้นเพียงพอที่ต้นไม้ใหญ่จะเจริญเติบโตได้ โดยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 100 เซนติเมตรต่อปี

และมีอากาศค่อนข้างเย็น ในป่าชนิดนี้ต้นไม้จะผลัดใบก่อนที่จะถึงฤดูหนาวและจะเริ่มผลิใบอีกครั้งจากฤดูหนาวผ่านพ้นไปแล้ว ต้นไม้ที่พบมีหลากหลายทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม รวมถึง ไม้ล้มลุก

ไบโอมป่าสน

  • ป่าสน (coniferous forest) ป่าไทกา (taiga) และ ป่าบอเรียล (boreal) เป็นป่าประเภทเดียวกันที่มีต้นไม้เขียวชอุ่มตลอดปีพบได้ทางตอนใต้ของแคนาดา ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปเอเชีย และยุโรป ในเขตละติจูตตั้งแต่ 45-67 องศาเหนือ ลักษณะของภูมิอากาศมีฤดูหนาวค่อนข้างยาวนาน อากาศเย็นและแห้งพืชเด่นที่พบ ได้แก่ พืชจำพวกสน เช่น ไพน์ (pine) เฟอ (fir) สพรูซ (spruce) และเฮมลอค (hemlok) เป็นต้น

ไบโอมทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น

  • ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น (temperate grassland) หรือที่รู้จักกันในชื่อของ ทุ่งหญ้าแพรี่ (prairie) ในตอนกลางของทวีปอเมริกาเหนือและทุ่งหญ้าสเตปส์ (steppes) ของประเทศรัสเซีย เป็นต้น สภาพภูมิอากาศมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 25-50 เซนติเมตรต่อปี ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่นนี้เหมาะสำหรับการทำการกสิกรรมและปศุสัตว์ เพราะดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงมีหญ้านานาชนิดขึ้นอยู่ ส่วนใหญ่พบมีการทำเกษตรกรรมควบคู่ในพื้นที่นี้ด้วย

ไบโอมสะวันนา

  • สะวันนา (savanna) เป็นทุ่งหญ้าที่พบได้ในทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปออสเตรเลีย และพบบ้างทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ลักษณะของภูมิอากาศร้อน พืชที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็นหญ้าและมีต้นไม้ขึ้นกระจายเป็นหย่อม ๆ ในฤดูร้อนมักมีไฟป่า เกิดขึ้นอยู่เสมอ ๆ

ไบโอมทะเลทราย

  • ทะเลทราย (desert) พบได้ทั่วไปในโลก ในพื้นที่ที่มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยน้อยกว่า 25 เซนติเมตรต่อปี ทะเลทรายบางแห่งร้อนมากมีอุณหภูมิเหนือผิวดินสูงถึง 60 องศาเซลเซียสตลอดวัน บางแห่งค่อนข้างหนาวเย็น พืชที่พบในไบโอมทะเลทรายนี้มีการป้องกันการสูญเสียน้ำโดยใบเปลี่ยนรูปเป็นหนาม ลำต้นอวบเก็บสะสมน้ำ ทะเลทรายที่รู้จักกันโดยทั่วไปได้แก่ ทะเลทรายซาฮารา (Sahara) ในทวีปแอฟริกา ทะเลทรายโกบี (Gobi) ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและทะเลทรายโมฮาวี (Mojave) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

ไบโอมทุนดรา

  • ทุนดรา (tundra) เป็นเขตที่มีฤดูหนาวค่อนข้างยาวนานฤดูร้อนช่วงสั้น ๆ ลักษณะเด่นคือ ชั้นของดินชั้นบนลงไปจะจับตัวเป็นน้ำแข็งอย่างถาวร ทุนดราพบทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ และยูเรเซีย พบพืชและสัตว์อาศัยอยู่น้อยชนิด ปริมาณฝนน้อยมาก ฤดูร้อนช่วงสั้น ๆ น้ำแข็งที่ผิวหน้าดินจะละลาย แต่เนื่องจากน้ำสามารถซึมผ่านลงไปในชั้นน้ำแข็งได้จึงท่วมขังอยู่บนผิวดิน ทำให้ปลูกพืชได้ในระยะสั้น ๆ พืชที่พบจะเป็นพวกไม้ดอกและไม้พุ่ม นอกจากนี้ยังพบสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ เช่น ไลเคน ด้วย

ชีวนิเวศในน้ำ

[แก้]

ไบโอมในน้ำ (aquatic biomes) ที่พบเป็นองค์ประกอบหลักในไบโอสเฟียร์นั้น ประกอบด้วย ไบโอมแหล่งน้ำจืด (freshwater biomes) และไบโอมแหล่งน้ำเค็ม(marine biomes) และพบกระจายอยู่ทั่วเขตภูมิศาสตร์ในโลกนี้

  • ไบโอมแหล่งน้ำจืด

โดย ทั่วไปประกอบด้วยแหล่งน้ำนิ่ง ซึ่งได้แก่ ทะเลสาบ สระ หนอง หรือบึง กับแหล่งน้ำไหล ซึ่งได้แก่ ธารน้ำไหลและแม่น้ำ เป็นต้น

  • ไบโอมแหล่งน้ำเค็ม

โดยทั่วไปประกอบด้วยแหล่งน้ำเค็ม ซึ่งได้แก่ ทะเลและมหาสมุทร ซึ่งพบได้ในปริมาณมากถึงร้อยละ 71 ของพื้นที่ผิวโลก และมีความลึกมากโดยเฉลี่ยถึง 3,750 เมตร ไบโอมแหล่งน้ำเค็มจะแตกต่างจากน้ำจืดตรงที่มีน้ำขึ้นน้ำลงเป็นปัจจัยกายภาพสำคัญ[1]

  • ไบโอมแหล่งน้ำกร่อย

ช่วงรอยต่อของแหล่งน้ำจืดและน้ำเค็มที่มาบรรจบกัน ซึ่งมักจะพบตามปากแม่น้ำ การขึ้นลงของกระแสน้ำมีอิทธิผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าความเค็มของน้ำในแหล่ง น้ำกร่อยเป็นอย่างมาก

  • ละติจูด:อาร์กติกเหนือพอสมควรค่อนข้างร้อนในเขตร้อนชื้น
  • ความชื้น:แห้งแล้ง

แผนที่ของไบโอม

[แก้]

biomes ของโลกมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเภทของสภาพภูมิอากาศที่มีประสบการณ์ พื้นที่ที่ได้รับในปริมาณมากเฉลี่ยของปริมาณน้ำฝน (เช่นหมู่เกาะอินโดนีเซียหรือกลางแอฟริกา) และสภาพอากาศที่อบอุ่นมีแนวโน้มที่จะมีความเขียวชอุ่มของป่าสีเขียวและความหลากหลายทางชีวภาพกว้าง biomes เหล่านี้จะถูกระบุไว้ในสีเขียวบนแผนที่ดังกล่าวข้างต้น ในทางตรงกันข้ามร้อนพื้นที่กึ่งเขตร้อนที่มีปริมาณน้ำฝนน้อย (เช่นตอนเหนือของแอฟริกา, เอเชียกลางและตะวันตกกลางออสเตรเลีย) ที่มีพันธุ์ไม้กระจัดกระจายปรากฏเป็นสีเหลืองบนแผนที่ ขอให้สังเกตการเตรียมการที่คล้ายกันของ biomes สำหรับชายฝั่งตะวันออกของเอเชียและอเมริกาเหนือ, สมมาตรของประเภทนิเวศวิทยาแน่นิ่งอยู่บนเส้นศูนย์สูตรผ่านทวีปแอฟริกาและแถบเหนือ (ภาคเหนือ) ป่าที่มีอยู่เพียงพื้นที่ขนาดใหญ่ในขณะที่ซีกโลกเหนือ[2]

การจำแนกประเภทของป่าในประเทศไทย

[แก้]

ในประเทศไทยได้แบ่งประเภทของป่าออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกันคือ

- ป่าไม่ผลัดใบ (evergreen forests)

- ป่าผลัดใบ (deciduous forests)

  • ป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen Forests)

- ป่าดิบชื้น (tropical rain forest) ป่าดิบชื้นเกิดทั่วไปในเขตร้อนและชุ่มชื้น มีฝนตกรายปีโดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 2,000 มม.ต่อปี และมีช่วงฤดูแล้งที่สั้น พบที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร ในประเทศไทยพบได้ทุกส่วนของประเทศ แต่มีลักษณะที่แตกต่างกันไปบ้างตามสภาพดินฟ้าอากาศและภูมิประเทศที่ขึ้นอยู่ สภาพโดยทั่วไปเป็นป่ารกทึบ ไม้ชั้นบนส่วนใหญ่เป็นไม้ใหญ่วงศ์ไม้ยาง ไม้ชั้นกลาง และไม้ชั้นล่างสามารถขึ้นใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ได้ พื้นป่าประกอบด้วย ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก ระกำ หวาย และไผ่ รวมทั้งพืชตระกูลปาล์มที่มักพบอยู่เสมอ บนไม้ใหญ่จะมีพรรณไม้พวกเกาะอาศัย (epiphyte) เช่น เฟิร์น มอส ขึ้นอยู่ทั่วไป และพบเถาวัลย์เป็นจำนวนมาก พรรณไม้ที่สำคัญในป่าดิบชื้นได้แก่ ยางนา (Dipterocarpus alatus ) ยางแดง (D.costulus ) ยางยูง (D. gradiflorus ) ตะเคียนทอง (Hopea odorata ) ไข่เขียว (Parashorea stellat ) เป็นต้น

-ป่าดิบแล้ง (dry evergreen forest) องค์ประกอบของพรรณไม้ที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัดระหว่างป่าดิบแล้งกับป่าดิบชื้นก็คือการลดลงของจำนวนชนิดพรรณไม้วงศ์ยางของป่าดิบแล้งเมื่อเปรียบเทียบกับป่าดิบชื้น โครงสร้างของป่าประกอบด้วยเรือนยอด 3 ชั้น โดยไม้ในเรือนยอดชั้นบน (canopy layer) นั้นประกอบด้วยพรรณไม้ผลัดใบน้อยกว่าหนึ่งในสาม ชั้นของไม้พุ่ม (shrub layer) มีการพัฒนาดี และมีเถาวัลย์ที่มีเนื้อไม้ (woody climber) หลายชนิด พรรณไม้พวกปาล์มพบกระจายอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะในบริเวณที่มีความชื้นสูง เช่น ตามแนวลำน้ำ พบที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 100 ถึง 800 เมตร พรรณไม้สำคัญในป่าดิบแล้งได้แก่ กระบาก (Anisoptera costata ) ยางนา (Dipterocarpus alatus ) ยางปาย (D. costatus ) ยางแดง (D. turbinatus ) ตะเคียนทอง (Hopea odorata )

-ป่าดิบเขา (montane forest or hill evergreen forest) ในพื้นที่ภูเขาสูงในเขตร้อน (tropical mountain) สังคมพืชเขตร้อน จะถูกแทนที่ด้วยสังคมพืชเขตอบอุ่น (temperate vegetation) หรือสังคมพืชป่าดิบเขา (montane vegetation) มักปรากฏให้เห็นที่ระดับความสูงประมาณ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ขึ้นไป

- ป่าชายหาด (beach forest) พบอยู่ตามชายฝั่งทะเลซึ่งพื้นดินเป็นกรวด ทราย และโขดหิน ที่น้ำทะเลท่วมไม่ถึง เนื่องจากอยู่ติดทะเลจึงได้รับอิทธิพลจากคลื่น ละอองน้ำเค็ม และลมทะเลอย่างต่อเนื่อง ป่าชายหาดพบกระจายอยู่ทั่วไปบริเวณชายฝั่งทะเลเป็นพื้นที่เล็กๆ องค์ประกอบของพรรณไม้และลักษณะโครงสร้างของป่าชายหาดจะมีความแตกต่างกันค่อนข้างมากตามสภาพแวดล้อมของแต่ละท้องที่ พรรณไม้สำคัญในป่าชายหาดได้แก่ ทุ้งฟ้า (Alstonia macrophylla ) โพทะเล (Thespesia populnea ) และก้านเหลือง (Nuaclea orientalis )

- ป่าพรุ (swamp forest) ป่าพรุถือได้ว่าเป็นป่าที่มีน้ำท่วมขังประเภทหนึ่ง เกิดขึ้นตามแอ่งน้ำที่มีน้ำขังตลอดปี มีการสะสมซากพืช หรืออินทรียวัตถุอย่างถาวรของสังคมที่ขึ้นอยู่ เนื่องจากมีน้ำจืดแช่ขังอยู่ตลอดทั้งปี ทำให้ขาดออกซิเจน ซากพืช และอินทรียวัตถุจึงสลายตัวได้ช้ามาก ทำให้เกิดเป็นพรุ (peat bog) ขึ้น พืชส่วนใหญ่จึงมีวิวัฒนาการในส่วนของอวัยวะให้มีโครงสร้างพิเศษ เพื่อดำรงชีพอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ได้ เช่นโคนต้นมีพูพอน (buttress) มีรากหายใจ (pnuematophore) โผล่เหนือชั้นดินอินทรีย์ที่มีน้ำขัง ประเทศไทยมีป่าพรุที่สมบูรณ์เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวคือ ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส พรรณไม้ที่สำคัญในป่าพรุได้แก่ หว้าหิน (Eugenia tumida ) สะเตียว (Ganua motleyana ) ชะเมาน้ำ (Eugenia grandis ) ช้างไห้ (Neesia altissima ) เสม็ดแดงใบใหญ่ (Eugenia chlorantha ) กล้วยไม้ (Polyalthia curtisii ) ขี้หนอนพรุ (Campnosperma coriaceum )

- ป่าชายเลน (mangrove forest) จะพบทั่วไปตามพื้นที่ชายฝั่งทะเล บริเวณปากน้ำ อ่าว ทะเลสาบ และเกาะซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำทะเลท่วม น้ำขึ้นน้ำลง เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดการแบ่งเขตการขึ้นอยู่ของพรรณไม้ หรือสิ่งมีชีวิต ในป่าชายเลน คลื่นและกระแสน้ำ มีบทบาทต่อการแพร่กระจายของพันธุ์ไม้ สภาพแวดล้อมที่รุนแรง ทำให้พรรณไม้ในป่าชายเลนต้องมีการปรับตัว และเปลี่ยนแปลงลักษณะบางประการของระบบราก ลำต้น ใบ ดอก และผลทั้งลักษณะภายนอกและภายในให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ที่พรรณไม้แต่ละชนิดขึ้นอยู่ เช่นการมีรากค้ำจุนในไม้โกงกาง รากหายใจของไม้แสม และลำพู เป็นต้น

  • ป่าผลัดใบ (Deciduous forest)

-ป่าเต็งรัง (deciduous dipterocarp forest) ป่าเต็งรังเป็นสังคมพืชที่แห้งแล้ง ซึ่งปัจจัยดิน (edaptic factors) และไฟป่าที่เกิดเป็นประจำทุกปีมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาและการกระจายของป่าเต็งรัง ต้นไม้ส่วนใหญ่มีความทนทานต่อไฟผิวดินซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีได้ดี ป่าเต็งรังเกิดบนพื้นที่แห้งแล้งจนถึงแห้งแล้งมากที่สุดบนที่ลาดเชิงเขา บนไหล่เขา ตามแนวสันเขา และตามแนวลาดของภูเขาจนถึงความสูงประมาณ 600 – 800 เมตร จากระดับน้ำทะเล ดินตื้น เป็นกรวดจนถึงเป็นทราย หรือเป็นดินแลงที่มีหิน ต้นไม้ที่แสดงคุณลักษณะของป่าเต็งรังอย่างเด่นชัดที่สุด ได้แก่ เต็ง (Shorea obtusa ) และรัง (Shorea siamensis )

-ป่าผสมผลัดใบ (mixed deciduous forest) ป่าผลัดใบผสมเขตร้อนหรือป่าผลัดใบผสม หรือป่าเบญจพรรณ โดยปกติแล้วการพัฒนาจะเกิดขึ้นดีที่สุดบนดินที่ถือกำเนิดมาจากหินปูน (limestone) และดินที่มีความอุดมสมบูรณ์จากการทับถมของตะกอน (alluvium soil) ป่าผลัดใบผสมจะพัฒนาอยู่อย่างกว้างขวางในระดับที่ต่ำกว่า 800 เมตร จากระดับน้ำทะเล และได้รับผลกระทบจากความแห้งแล้งตามฤดูกาลไม่มากก็น้อย ป่าผลัดใบผสมแตกต่างอย่างเด่นชัดกับป่าเต็งรังตรงที่ไม่มีพรรณไม้ผลัดใบในวงศ์ยางที่ทนแล้งได้ดี แต่จะมีไม้ไผ่ที่มีลำใหญ่และยาวปรากฏอยู่แทนซึ่งจะมากหรือน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ พรรณไม้ที่สำคัญในป่าพรุได้แก่ กระบก (Irvingia malayana ) หว้า (Eugenia cumini ) มะม่วงป่า (Mangifera caloneura )

-ป่าเต็งรังผสมสน (pine deciduous dipterocarp forest) เป็นสังคมของป่าเต็งรังผสมกับสนพื้นเมืองสองชนิดคือ สนสองใบ และสนสามใบ โดยเกิดจากการซ้อนทับกัน (overlapping) ระหว่างป่าดิบเขาระดับต่ำสังคมสนเขา - ก่อ ซึ่งมีไม้สนสามใบ กับป่าเต็งรังผสมสนในพื้นที่สูงของภาคเหนือ อันเป็นผลมา จากไฟป่าในฤดูหนาวที่อากาศแห้ง (ธันวาคม – กุมภาพันธ์) โดยการกระทำของมนุษย์ ที่ระดับความสูงประมาณ 800 – 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล[3]

ระดับความสูง

[แก้]

ระดับความสูง : ความสูงที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดการกระจายตัวของที่อยู่อาศัยประเภทเดียวกับที่เส้นรุ้งที่เพิ่มขึ้น

การอนุรักษ์และรักษา biomes

[แก้]

แนวปะการังในลีนีเซียฝรั่งเศส แนวปะการังอยู่รอบ ๆ เกาะใน French Polynesia เพราะเราแบ่งปันโลกที่มีสายพันธุ์อื่น ๆ อีกมากมายของพืชและสัตว์เราจะต้องพิจารณาผลของการกระทำของเรา ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมากิจกรรมของมนุษย์ที่เพิ่มขึ้นได้ทำลายอย่างรวดเร็ว หรือปนเปื้อนที่อยู่อาศัยในระบบนิเวศหลายทั่วโลก มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะรักษาทุกประเภทของ biomes เป็นบ้านแต่ละรูปแบบที่ไม่ซ้ำกันจำนวนมากของชีวิต อย่างไรก็ตามการใช้ประโยชน์หนักอย่างต่อเนื่องของ biomes บางอย่างเช่นป่าน้ำจืดและทะเลอาจมีผลกระทบที่รุนแรงมากขึ้น ป่าไม้มีความสำคัญที่พวกเขาเป็นบ้านที่มีความหลากหลายทางชีววิทยา Communties มากที่สุดในโลก ซ่อนอยู่ภายใน biomes เหล่านี้เป็นยาที่มีศักยภาพและหลายพันคนของสปีชีส์ที่มองไม่เห็นและยังไม่ได้เปิด นอกจากนี้ป่ามีกำลังการผลิตสภาพภูมิอากาศบัฟเฟอร์ทั่วโลกดังนั้นการทำลายล้างของพวกเขาอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในสภาพภูมิอากาศโลก เข้าสู่ระบบได้หมดหลายเจริญเติบโตเก่าป่าไม้เมืองหนาว ต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับบ้านกระดาษและผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ ยังไม่ได้รับอนุญาตในการอนุรักษ์มาก เมื่อเร็ว ๆ นี้มีคนเริ่มตระหนักถึงการบันทึกว่าได้เคลียร์มากของป่าเหล่านี้ ใช้ฉลาดของป่าไม้และความพยายามที่จะปลูกต้นไม้ได้ช่วยในการชะลอการสูญเสียของชุมชนเหล่านี้

ป่าเขตร้อนได้ตกเป็นเหยื่อการใช้ประโยชน์ไม้เฉือนและการเผาไหม้การเกษตรและ clearfelling สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมหรือวัว ranching โดยเฉพาะอย่างยิ่งในละตินอเมริกา ต้องการที่เพิ่มขึ้นของเราสำหรับผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์มีการกระตุ้นเหตุการณ์เหล่านี้ สำหรับปีนี้ได้รับการทำลายที่เกิดขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว กว่าครึ่งหนึ่งของป่าเขตร้อนของโลกเดิมจะหายไปแล้ว ความสนใจของประชาชนที่จะแสวงหาผลประโยชน์นี้ได้ช่วยในการบรรเทาปัญหาบ้าง แต่ความท้าทายจำนวนมากยังคงที่จะต้องเผชิญ

น้ำจืดและทะเล biomes อาจจะเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดของทุก biomes กลางน้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ น้ำเป็นพื้นฐานของชีวิตที่จะสนับสนุนชีวิตและสายพันธุ์ที่นับไม่ถ้วนอยู่ในนั้นทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งของชีวิตของพวกเขา biomes น้ำจืดให้เรามีน้ำดื่มและน้ำเพื่อการชลประทานการเพาะปลูกของเรา มหาสมุทรของโลกมีผลกระทบที่ยิ่งใหญ่กว่าในสภาพภูมิอากาศโลกกว่าป่าทำ น้ำมีความจุสูงสำหรับความร้อนและเพราะโลกเป็นส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยน้ำอุณหภูมิของบรรยากาศจะถูกเก็บไว้อย่างเป็นธรรมอย่างต่อเนื่องและสามารถรองรับชีวิต นอกจากนี้กำลังการผลิตสภาพภูมิอากาศบัฟเฟอร์มหาสมุทรมีหลายพันล้านแพลงก์ตอนการสังเคราะห์แสงซึ่งมีสัดส่วนมากที่สุดของการสังเคราะห์แสงที่เกิดขึ้นบนโลก โดยเหล่านี้มีอาจจะไม่ออกซิเจนเพียงพอที่จะสนับสนุนเช่นประชากรโลกมีขนาดใหญ่และชีวิตสัตว์ที่ซับซ้อน

biomes น้ำจืดส่วนใหญ่ได้รับความเดือดร้อนจากมลพิษ ไหลบ่าที่มีปุ๋ยและของเสียอื่น ๆ และ dumpings อุตสาหกรรมใส่ลงไปในแม่น้ำบึงและทะเลสาบและมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเจริญเติบโตของสาหร่ายอย่างรวดเร็วผิดปกติ เมื่อสาหร่ายเหล่านี้ตายสารอินทรีย์ที่ตายแล้วสะสมอยู่ในน้ำ นี้จะทำให้น้ำไม่ได้และมันฆ่าจำนวนมากของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัย กฎหมายที่เข้มงวดมีส่วนช่วยในการชะลอมลพิษทางความคิดนี้

overfishing และมลพิษได้ขู่ว่าจะทำให้มหาสมุทรเป็นพื้นที่ภัยพิบัติทางนิเวศวิทยา สารมลพิษอุตสาหกรรมที่มีการทิ้งต้นน้ำของอ้อยได้กลายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสัตว์ทะเลจำนวนมากที่ไม่เหมาะสมสำหรับการใช้ชีวิต อีกครั้งกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นได้รับการใช้ในการป้องกันการทำลายต่อไปของมหาสมุทร biomes

โดยการให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับผลของการกระทำของเราเราทุกคนสามารถได้รับความเข้าใจที่ดีขึ้นของวิธีการรักษา biomes ธรรมชาติของโลก พื้นที่ที่ได้รับการทำลายส่วนใหญ่จะไม่ฟื้นรูปแบบเดิมของพวกเขา แต่การอนุรักษ์จะช่วยให้พวกเขาจากเลวร้ายลง[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-2/biomes/index.html
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-21. สืบค้นเมื่อ 2015-03-14.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-14. สืบค้นเมื่อ 2015-03-14.
  4. http://www.ucmp.berkeley.edu/exhibits/biomes/index.php