ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศเลโซโท

พิกัด: 29°36′S 28°18′E / 29.6°S 28.3°E / -29.6; 28.3
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เลโซโท)

29°36′S 28°18′E / 29.6°S 28.3°E / -29.6; 28.3

ราชอาณาจักรเลโซโท

Mmušo wa Lesotho (โซโท)
Kingdom of Lesotho (อังกฤษ)
ตราแผ่นดินของเลโซโท
ตราแผ่นดิน
คำขวัญKhotso, Pula, Nala
"สันติภาพ ฝน มั่งคั่ง"
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
มาเซรู
29°28′S 27°56′E / 29.467°S 27.933°E / -29.467; 27.933
ภาษาราชการภาษาโซโท
ภาษาอังกฤษ
เดมะนิมโมโซโท (เอกพจน์)
บาโซโท (พหูพจน์)
การปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
• พระมหากษัตริย์
สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3
• นายกรัฐมนตรี
Sam Matekane
เอกราช 
จากสถานะรัฐในอารักขาของสหราชอาณาจักร
• ประกาศ
4 ตุลาคม พ.ศ. 2509
พื้นที่
• รวม
30,355 ตารางกิโลเมตร (11,720 ตารางไมล์) (137)
0.0032%
ประชากร
• พ.ศ. 2560 ประมาณ
2,203,821[1] (144)
• สำมะโนประชากร 2547
2,142,249
68.1 ต่อตารางกิโลเมตร (176.4 ต่อตารางไมล์) (138)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$7.448 พันล้าน[2]
$3,868[2]
จีดีพี (ราคาตลาด) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$2.721 พันล้าน[2]
$1,413[2]
จีนี (2558)54.2[3]
สูง · 17
เอชดีไอ (2562)เพิ่มขึ้น 0.527[4]
ต่ำ · 165
สกุลเงินโลตี (LSL)
เขตเวลาUTC+2 (SAST)
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์+266
โดเมนบนสุด.ls

เลโซโท (โซโทและอังกฤษ: Lesotho) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรเลโซโท (โซโท: Mmušo wa Lesotho; อังกฤษ: Kingdom of Lesotho) เป็นประเทศขนาดเล็กในทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ทั้งหมด 30,355 ตารางกิโลเมตร (11,720 ตารางไมล์) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เนื่องจากพรมแดนถูกล้อมรอบทุกด้านด้วยประเทศเดียว คือประเทศแอฟริกาใต้ ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่ราบสูง[5] มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดคือมาเซรู เลโซโทมีรูปแบบการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเป็นหนึ่งในสามประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เช่นเดียวกับประเทศโมร็อกโกและประเทศเอสวาตีนี[6][7]

เดิมเลโซโทเป็นหนึ่งในคราวน์โคโลนี ในนามบาซูโตแลนด์ ซึ่งได้ประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1966 ทำให้กลายเป็นรัฐอธิไตย และเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ เครือจักรภพ สหภาพแอฟริกา และประชาคมพัฒนาแอฟริกาตอนใต้ ชื่อ เลโซโท สามารถแปลประมาณว่า "แผ่นดินของโซโท"[8][9]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

เลโซโทเป็นหนึ่งในสามของประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (อีก 2 ประเทศ คือ ประเทศโมร็อกโกและประเทศเอสวาตีนี) เดิมประเทศเลโซโทมีชื่อว่าบาซูโต ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2361 โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีโมโชโชที่ 1 เป็นผู้ปกครอง ต่อมา ชนเผ่าซูลู และคนผิวขาวเข้าไปตั้งหลักแหล่งในประเทศ และถูกแอฟริกาใต้รุกราน บาซูโตจึงต้องขอรับความคุ้มครองจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร และมีฐานะเป็นรัฐในปกครองของสหราชอาณาจักร (British protectorate of Basutoland) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้ประกาศเอกราชและเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นเลโซโท

สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 พระประมุขแห่งเลโซโท พระองค์ปัจจุบัน

การเมือง

[แก้]

ระบอบการเมือง ระบอบประชาธิปไตยมีกษัตริย์เป็นประมุข โดยฝ่ายบริหาร มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติรัฐสภา (National Assembly) แบบ 2 สภา (bicameral) ประกอบด้วยวุฒิสมาชิก 33 คน (ซึ่งในจำนวนนี้ 11 คน กษัตริย์เป็นผู้เสนอและพรรครัฐบาลเป็นผู้แต่งตั้งอีก 22 คนมาจากหัวหน้าเผ่าต่าง ๆ) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 65 คน ซึ่งอยู่ในวาระคราวละ 5 ปี ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วย ศาลสูง ศาลอุทธรณ์ ศาลพิพากษา และศาลพื้นเมือง

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

เลโซโทมี 10 เขต คือ:

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ประเทศเลโซโท เป็นประเทศที่มีแอฟริกาใต้ล้อมรอบหมดทุกด้าน มีพื้นที่ประมาณ 30,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณสองเท่าของจังหวัดอุบลราชธานี ของประเทศไทย แต่เลโซโทมีพื้นที่ส่วนมากอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 1,400-1,800 เมตร จึงทำให้มีหิมะปกคลุม เป็นเพียงไม่กี่ประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีหิมะ แต่ใช้ประโยชน์จากหิมะที่ละลายเป็นน้ำอุปโภคบริโภคใช้ในประเทศ[10]

นโยบายต่างประเทศ

[แก้]

ความสัมพันธ์กับราชอาณาจักรไทย

[แก้]

ด้านการเมือง

[แก้]

ไทยและเลโซโทได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2532 โดยไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย แอฟริกาใต้ มีเขตอาณาครอบคลุมเลโซโท และเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรียดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำเลโซโทอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย ส่วนเลโซโทได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตเลโซโท ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยและได้แต่งตั้ง อภิชาติ สุดแสวง เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำประเทศไทย

  • เลโซโทให้การสนับสนุนไทยมาตลอดในเรื่องปัญหากัมพูชา
  • รัฐบาลไทยได้ส่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรียเข้าร่วมในพระราชพิธีพระบรมศพกษัตริย์สมเด็จพระราชาธิบดีโมโชโชที่ 2 แห่งเลโซโท ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2536
  • รัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาภาวะขาดแคลนพืชพันธุ์ธัญญาหาร อันเนื่องมาจากความแห้งแล้งแก่นรัฐบาลเลโซโทในปี พ.ศ. 2538 เป็นมูลค่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ และต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ไทยได้ให้ความช่วยเหลืออีก 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเลโซโทประสบภัยจากหิมะ

ด้านเศรษฐกิจ

[แก้]

มูลค่าการค้าระหว่างไทย – เลโซโทยังมีไม่มากนัก ในปี พ.ศ. 2543 การค้าระหว่างไทย – เลโซโทมีมูลค่ารวม 3.1 ล้านบาท โดยไทยเป็นฝ่ายส่งออก 3.1 ล้านบาท สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปเลโซโท ได้แก่ กระดาษ เยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัวและบ้านเรือน น้ำมันสำเร็จรูป ปูนซีเมนต์ สิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และสินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากเลโซโท ได้แก่ กุ้งสดแช่เย็นและแช่แข็ง ยากำจัดศัตรูพืช ไม้ซุง ไม้แปรรูปและไม้อื่น ๆ เคมีภัณฑ์ เมล็ดพืช น้ำมัน เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ

เศรษฐกิจ

[แก้]

ประเทศเลโซโท มีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศแอฟริกาใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 หลังจากที่เนลสัน แมนเดลา ประธานาธิบดีของแอฟริกาใต้ได้ไปเยือน ซึ่งก่อนหน้านั้นความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศไม่ค่อยดีนัก ต่อมาจึงมีการพัฒนาความสัมพันธ์ตามลำดับ บนพื้นฐานของการมีผลประโยชน์ร่วมกัน ที่สำคัญได้แก่ โครงการสร้างเขื่อนและอุโมงค์ส่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อส่งน้ำจากเลโซโทไปให้แอฟริกาใต้ อันทำรายได้ให้เลโซโทปีละประมาณ 70 ล้านดอลลาร์ และสร้างงานให้ชาวเลโซโทประมาณ 10,000 คน

เศรษฐกิจของประเทศเลโซโท นอกเหนือจากการส่งน้ำให้แอฟริกาใต้แล้ว ก็มีการทำเหมืองเพชร และสินแร่อื่น ๆ การเกษตรกรรม เช่น การปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และการปศุสัตว์ แต่ปัญหาสำคัญของประเทศคือ ผลิตอาหารได้ไม่พอเพียง ต้องนำเข้าจากต่างประเทศถึงร้อยละ 70 ของการบริโภค ทำให้ขาดดุลการค้าปีละประมาณ 900 ล้านดอลลาร์ อย่างต่อเนื่อง[10]

ประชากร

[แก้]

เลโซโทเป็นประเทศที่ไม่มีปัญหาเรื่องเชื้อชาติเหมือนหลายประเทศในทวีปแอฟริกา เพราะประชากรที่มีประมาณ 2,000,000 คน ร้อยละ 99.7 เป็นชนเผ่าโซโท[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Lesotho". International Monetary Fund.
  3. "GINI index". World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 เมษายน 2016. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2016.
  4. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  5. "ข้อมูลรายประเทศ: ราชอาณาจักรเลโซโท". กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2015.
  6. User, Super. "Governance". www.gov.sz. {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  7. "Swaziland: Africa′s last absolute monarchy". Deutsche Welle. 2014-07-14. สืบค้นเมื่อ 2014-10-19.
  8. Nicole Itano (2007). No Place Left to Bury the Dead. Simon and Schuster. p. 314. ISBN 978-0-7432-7095-3.
  9. Roman Adrian Cybriwsky (2013). Capital Cities around the World: An Encyclopedia of Geography, History, and Culture. ABC-CLIO. p. 182. ISBN 9781610692489. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 พฤษภาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2018.
  10. 10.0 10.1 10.2 "ไทยกับเลโซโท". คมชัดลึก. 29 October 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-29. สืบค้นเมื่อ 29 October 2014.