ข้ามไปเนื้อหา

สยามดิสคัฟเวอรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สยามดิสคัพเวอรี่)
สยามดิสคัฟเวอรี
สยามดิสคัฟเวอรี logo
แผนที่
ที่ตั้ง194 ถนนพญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
เปิดให้บริการ8 เมษายน พ.ศ. 2540
28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 (ปรับปรุงครั้งใหญ่)
ผู้บริหารงานบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด
พื้นที่ชั้นขายปลีก40,000 ตารางเมตร
จำนวนชั้น8 ชั้น
ขนส่งมวลชน สยาม
สยาม, สนามกีฬาแห่งชาติ
เว็บไซต์www.siamdiscovery.co.th
สยามดิสคัฟเวอรีเซ็นเตอร์ก่อนการปรับปรุงครั้งใหญ่

ศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี เป็นศูนย์การค้าในประเทศไทย บริการงานโดยสยามพิวรรธน์ เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์การค้ากลุ่มวันสยาม โดยสยามดิสคัฟเวอรีตั้งอยู่ในย่านสยาม ติดกับสี่แยกปทุมวัน และมีทางเดินเชื่อมเข้าสู่สยามเซ็นเตอร์ทางฝั่งตะวันออก รวมถึงสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม, หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ และสยามสแควร์ ทางฝั่งตะวันตกผ่านสกายวอล์กวันสยาม

สยามดิสคัฟเวอรีสร้างขึ้นบนที่ดินลานเบียร์คลอสเตอร์เดิม ซึ่งเป็นพบปะของวัยรุ่นในช่วงราวปี พ.ศ. 2522-2540[1][2][3][4] ก่อนภายหลังจะถูกวิกฤตต้มยำกุ้งทำให้ธนาคารศรีนคร รวมถึงเบียร์คลอสเตอร์ไทยที่นำเข้าไทย ซึ่งเป็นธุรกิจของตระกูลเตชะไพบูลย์ ถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาด และสิทธิดังกล่าวก็ได้ถูกบุญรอด บริวเวอรี่คู่แข่งเข้าควบคุมธุรกิจแทนที่[5][6] สยามดิสคัฟเวอรี่เปิดตัวเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2540 ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจแห่งเอเชีย ได้รับการออกแบบสำนักงานออกแบบ โรเบิร์ต จี บุย แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด[7] เป็นศูนย์การค้าภายใต้แนวคิด "Lifestyle shopping" ในแต่ละชั้นจะนำเสนอสินค้าประเภทเดียวหรือแนวคิดเดียว (One Floor One Concept) ซึ่งนำต้นแบบมาจากเอ็มโพเรียม และต่อมาสยามพารากอนได้นำรูปแบบนี้มาใช้ในการบริหารศูนย์การค้าด้วย

จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2558 มีลูกค้าวันละ 80,000 คน[8] และในปีเดียวกันนี้ สยามพิวรรธน์ได้รวมตัวกับกลุ่มธุรกิจสยามสแควร์ และบริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งสมาคมการค้าพลังสยามขึ้น เพื่อพัฒนาศูนย์การค้าในย่านสยามให้เป็นย่านค้าปลีกระดับโลก[9][10] สยามพิวรรธน์จึงได้รับเงินจำนวน 4,000 ล้านบาท ในการปรับปรุงศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรีให้มีความแตกต่างจากศูนย์การค้าอื่น ๆ ในย่านเดียวกัน โดยมีแนวความคิดใหม่คือ "สนามทดลองความคิด" (Experiment Playground) ได้รับการออกแบบปรับปรุงโดยโอกิ ซาโตะ (Oki Sato) จากสำนักงานออกแบบเนนโดะ (Nendo) ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 จนแล้วเสร็จและได้เปิดให้บริการอีกครั้งในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559[11][12]

การจัดสรรพื้นที่

[แก้]
บริเวณชั้น 4 มองจากโค-เวิร์คคิงสเพซดิสคัฟเวอรี ฮับบา ชั้น 5 เห็นบริเวณของอีโคโทเพีย ชัดเจน

สยามดิสคัฟเวอรี เป็นศูนย์การค้าอาคารเดี่ยว ความสูง 8 ชั้น พื้นที่ 40,000 ตารางเมตร โดยมีพื้นที่สำคัญดังนี้[13]

โดยมีทางเชื่อมไปยังหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ, สยามสแควร์, เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ และอาคารสยามปทุมวันเฮาส์ ที่ชั้นเอ็ม และชั้น 1 นอกจากนี้ยังมีทางเชื่อมไปสยามเซ็นเตอร์ที่ชั้น 2 อีกด้วย

พื้นที่จัดสรรในอดีต

[แก้]
  • โรงภาพยนตร์แกรนด์ อีจีวี ในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2542[14] และปิดให้บริการเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553[15] และย้ายไปรวมกับพารากอน ซีนีเพล็กซ์ ในศูนย์การค้าสยามพารากอน ส่วนพื้นที่เดิมปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุซโซต์ กรุงเทพฯ[16]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ข้อมูลประกอบเรื่อง บุญรอดบริวเวอรี่ สิงห์ผยองบนฟองเบียร์นิตยสารผู้จัดการ". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-05. สืบค้นเมื่อ 2022-07-23.
  2. "บุญรอดบริวเวอรี่ สิงห์ผยองบนฟองเบียร์". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-05. สืบค้นเมื่อ 2022-07-23.
  3. ""คลอสเตอร์:ในเยอรมนีไม่มีใครรู้จัก เมืองไทยดังเป็นบ้า" สิงหาคม 2535". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-05. สืบค้นเมื่อ 2022-07-23.
  4. "คลอสเตอร์ อดีตเบียร์ของผู้นำฝ่ายค้านในวันนี้". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-05. สืบค้นเมื่อ 2022-07-23.
  5. "ทำความรู้จัก 'ลานเบียร์ยุคแรก' ของไทย". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-05. สืบค้นเมื่อ 2022-07-23.
  6. รู้มั้ย คลอสเตอร์ – อะมิโน โอเค หายไปไหน[ลิงก์เสีย]
  7. "SIAM DISCOVERY". rgbarchitects.com/. สืบค้นเมื่อ 15 April 2023.
  8. "เตรียมเงินให้ตุงกระเป๋า! 10 ข้อ รู้ก่อนช็อป ส่งท้ายสยามดิสฯ ปิดปรับปรุง". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-04. สืบค้นเมื่อ 2016-05-25.
  9. "3 ยักษ์ค้าปลีก ผนึก 'พลังสยาม' เทียบชั้นมหานครใหญ่". วอยซ์ทีวี. 2015-10-02. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-23. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
  10. "พันธมิตรพลังสยามผนึกกำลังครั้งประวัติศาสตร์ ผลักดัน "ย่านสยาม" ยุทธศาสตร์สำคัญทางเศรษฐกิจการค้า". สมาคมการค้าพลังสยาม. 2015-09-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-23. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
  11. "ยกเครื่องสยามดิสคัฟเวอรี่ 4 พันล้าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-27. สืบค้นเมื่อ 2015-04-02.
  12. "'สยามพิวรรธน์' เปิดคอนเซ็ปต์ค้าปลีกรูปแบบใหม่". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-23. สืบค้นเมื่อ 2016-02-23.
  13. "สยามดิสคัฟเวอรี่ โฉมใหม่ 4,000 ล้านบาท สนามทดลองแห่งความคิดสร้างสรรค์ที่ใหญ่ที่สุด เปิด 28 พ.ค.นี้". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-20. สืบค้นเมื่อ 2016-05-17.
  14. "อีจีวีเจาะสาขากลางเมือง ช๊อคตลาดโรงภาพยนตร์ สร้างแกรนด์อีจีวี". ryt9.com.
  15. แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2553 บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
  16. "สยามดิสฯปรับใหญ่พันลบ. ผุดมาดามทุสโซ-ไอซ์สเก็ต". mgronline.com. 2010-01-18.