ข้ามไปเนื้อหา

ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์

พิกัด: 51°28′39″N 000°27′41″W / 51.47750°N 0.46139°W / 51.47750; -0.46139
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สนามบินลอนดอนฮีทโธรว์)
ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์

London Heathrow Airport
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
เจ้าของ-ผู้ดำเนินงานบริษัท ท่าอากาศยานฮีทโธรว์ จำกัด
พื้นที่บริการเกรเทอร์ลอนดอน, บาร์กเชอร์, บักกิงแฮมเชอร์, เซอร์รีย์ และฮาร์ตฟอร์ดเชอร์
ที่ตั้งลอนดอนโบโรออฟฮิลลิงดัน, อังกฤษ, สหราชอาณาจักร
เปิดใช้งาน25 มีนาคม 1946; 78 ปีก่อน (1946-03-25)
ฐานการบิน
เหนือระดับน้ำทะเล83 ฟุต / 25 เมตร
พิกัด51°28′39″N 000°27′41″W / 51.47750°N 0.46139°W / 51.47750; -0.46139
เว็บไซต์www.heathrow.com
แผนที่
EGLLตั้งอยู่ในเกรเทอร์ลอนดอน
EGLL
EGLL
EGLLตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร
EGLL
EGLL
EGLLตั้งอยู่ในยุโรป
EGLL
EGLL
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
09L/27R 12,802 3,902 แอสฟอลต์คอนกรีตแบบมีร่อง
09R/27L 12,008 3,660 แอสฟอลต์คอนกรีตแบบมีร่อง
สถิติ (2022)
ผู้โดยสาร61,611,381
จำนวนเที่ยวบิน384,383
พื้นที่1,227 เฮกตาร์[1]

ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ (อังกฤษ: London Heathrow Airport) หรือมักเรียกโดยย่อว่า ฮีทโธรว์ เป็นท่าอากาศยานที่มีการจราจรทางอากาศหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเป็นท่าอากาศยานที่หนาแน่นที่สุดของสหราชอาณาจักร และทวีปยุโรป ในด้านจำนวนผู้โดยสาร และเป็นท่าอากาศยานที่หนาแน่นที่สุดของโลก ในด้านของจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศ ดำเนินการโดย บริษัท ท่าอากาศยานอังกฤษ จำกัด (เดิมคือ องค์การท่าอากาศยานแห่งประเทศอังกฤษ)

ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองฮิลลิงดอน ห่างจากตัวเมืองของกรุงลอนดอนประมาณ 24 กิโลเมตร (15 ไมล์) เป็นหนึ่งในหกของท่าอากาศยานที่อยู่ในเขตเกรเทอร์ลอนดอน อีก 5 แห่งก็คือท่าอากาศยานลอนดอนแกตวิก, ท่าอากาศยานลอนดอนสแตนสเต็ด, ท่าอากาศยานลอนดอนลูตัน, ท่าอากาศยานลอนดอนเซาท์เอ็นด์, และท่าอากาศยานลอนดอนซิตี

ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์มีทางวิ่งขนานกัน 2 ทางวิ่ง ตามแนวทิศตัวออกและทิศตะวันตก และ มีอาคารผู้โดยสาร 4 อาคาร และยังมีแผนปรับปรุงอาคารผู้โดยสารฝั่งตะวันออกใหม่ รวมทั้งเพิ่มทางวิ่งอีกด้วย

ประวัติ

[แก้]
ฮีทโธรว์ เมื่อปีพ.ศ. 2503

ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ เริ่มให้บริการช่วงทศวรรษ 1930 (พ.ศ. 2473) ดำเนินการโดย Fairey Aviation ใช้สำหรับการผลิตและทดสอบการบินเป็นหลัก ชื่อของท่าอากศยานตั้งตามชื่อของหมู่บ้าน Heath row ที่ถูกทำลายไปจากการสร้างสนามบิน ซึ่งประมาณการว่าอยู่บริเวณที่อาคารผู้โดยสาร 3 ตั้งอยู่ในปัจจุบัน โดยในช่วงแรกยังไม่เปิดบริการแก่เที่ยวบินพาณิชย์ ซึ่งในขณะนั้นมีท่าอากาศยานยานโครยดอน เป็นท่าอากศยานหลัก

ฮีทโธรว์เปิดให้บริการการบินพาณิชย์ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 โดยมีทางวิ่ง 3 ทางวิ่ง พร้อมกับอีก 3 ทางวิ่งที่กำลังก่อสร้างตามแผนแม่บทดั้งเดิม ซึ่งใช้รองรับเครื่องบินที่ใช้เครื่องยนต์พิสตัน ที่ต้องการระยะทางวิ่งสั้นในการขึ้น-ลงจอด และสามารถขึ้น-ลงจอดในทุกสภาพของทิศทางลม ทางวิ่งผิวคอนกรีตอย่างรูปแบบในปัจจุบันเปิดใช้ในปี พ.ศ. 2496 โดยสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธ ที่ 2 และพระองค์ยังเสด็จมาเปิดอาคารผู้โดยสารหลังแรก อาคารยูโรปา (หรือที่รู้จักกันในปัจจุบันว่า อาคารผู้โดยสาร 2) ในปี พ.ศ. 2498 และหลังจากนั้นไม่นานนัก อาคารโอเชียนิก (อาคารผู้โดยสาร 3) ก็เปิดให้บริการ ส่วนอาคารผู้โดยสาร 1 เปิดใช้ในปี พ.ศ. 2511 ทำให้เกิดเป็นกลุ่มอาคารเต็มพื้นที่จุดศูนย์ของท่าอากาศยาน และเป็นข้อจำกัดในการขยายตัวในอนาคต

ที่ตั้งของท่าอากาศยานซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงลอนดอนเป็นพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมนัก เนื่องจากทิศทางของกระแสลม ทำให้หลายๆสายการบินจะต้องบินเลียดต่ำผ่านตัวเมืองเป็นช่วงเวลาทั้ง ร้อยละ 80 ของปี ในขณะที่ท่าอากาศยานสำคัญของประเทศอื่นๆในภูมิภาคยุโรป มักจะตั้งอยู่ทางเหนือหรือใต้ของตัวเมือง ทำให้ประสบปัญหาน้อยกว่า ข้อเสียอีกประการหนึ่งคือ ท่าอากาศยานอยู่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลางเพียง 25 เมตร (83 ฟุต) ทำให้เกิดปัญหาเรื่องหมอกอีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2520 รถไฟใต้ดินเมืองลอนดอนให้ขยายเส้นทางมาถึงฮีทโธรว์ เชื่อมต่อการเดินทางจากใจกลางกรุงลอนดอนกับท่าอากาศยาน

อาคารผู้โดยสาร 4 สร้างห่างออกจาก 3 อาคารผู้โดยสารแรกลงมาทางใต้ และเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2529 ซึ่งเป็นอาคารให้บริการหลักของสายการบินบริติชแอร์เวย์

ในปี พ.ศ. 2530 รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้แปรรูปรัฐวิสาหกิจ การท่าอากาศยานอังกฤษ (British Airports Authority) มาเป็นบริษัทเอกชน BAA ซึ่งบริหารงานท่าอากาศยานฮีทโธรว์และท่าอากาศยานอื่นๆในสหราชอาณาจักรอีก 6 แห่ง

การก่อวินาศกรรม

[แก้]
  • 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 กลุ่ม IRA ให้วางระเบิดบริเวณลานจอดรถอาคารผู้โดยสาร 1 มีผู้บาดเจ็บ 2 ราย
  • 17 เมษายน พ.ศ. 2529 พบระเบิด semtex ในถุงของสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ชาวไอริช กำลังพยายามจะนำขึ้นเครื่องของสายการบินเอลอัล โดยระเบิดถูกส่งมอบมาจากแฟนหนุ่มชาวจอร์แดน ผู้ซึ่งเป็นพ่อของเด็กในท้อง
  • พ.ศ. 2537 ฮีทโธรว์ตกเป็นเป้าหมาย 3 ครั้ง ในช่วงเวลา 6 วัน (8 มีนาคม, 10 มีนาคม และ 13 มีนาคม) โดยกลุ่ม IRA เนื่องจากท่าอากาศยานฮีทโธรว์เป็นเป้าหมายสำคัญในการทำลายเศรษฐกิจของอังกฤษ ทำให้ต้องหยุดทำการท่าอากาศยานไปหลายวัน และการคุ้มกันมีความเข้มงวดมากขึ้นเพราะว่าสมเด็จพระราชินีนาถจะเดินทางกลับในวันที่ 10 มีนาคม พอดี
  • เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 กองทัพบกอังกฤษ 1000 นาย เข้าตึงกำลังภายในฮีทโธรว์ เนื่องหน่ยวข่าวกรองรายงานว่า กลุ่มอัลกออิดะ อาจจะส่งจรวดระบิดโจมตีเครื่องบินของสายการบินสัญชาติอังกฤษหรืออเมริกัน ในวันที่ 6 พฤศจิกายน จึงได้ประกาศใช้มาตรการความปลอดภัยใหม่ มีผลบัลคับใช้กับผู้โดยสารทุกคนที่เดินทางออกจากท่าอากาศยานประเทศสหราชอาณาจักร
  • 10 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ได้ประกาศปรับแผนการรักษาความปลอดภัยให้มีความเข้มงวดมากขึ้น เพื่อป็องกันการโจมตีเที่ยวบินที่บินข้ามมหาสมุทรของกลุ่มอัลกออิดะ โดยกฎใหม่มีผลบังคับใช้ทันที และทำให้เกิดความล่าช้าและความไม่สะดวกสบายต่อผู้โดยสาร ซึ่งมาตรการเหล่านี้รวมถึงข้อห้ามการนำกระเป๋าขึ้นเครื่องโดยสาร ยกเว้นสิ่งของสำคัญเช่น เอกสารเดินทาง และอุปกรณ์หรือยารักษาโรค โดยของที่เป็นของเหลวทุกชนิดจะต้องทดสอบโดยผู้โดยสารคนนั้นที่จุดตรวจ ซึ่งต่อมาภายหลัง ได้มีการข้อผ่อนปรนสำหรับกรณียารักษาโรค และนมเด็ก
  • 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ได้ออกมาตรการใหม่ ให้บังคับใช้กับผู้โดยสารทุกคนที่เดินทางออกจากท่าอากาศยานของประเทศสหราชอาณาจักร [1] โดยอนุญาตให้ของเหลวบางชนิดที่กำหนดไว้สามารถผ่านจุดตรวจเข้าไปได้ ส่วนของเหลวชนิดอื่นๆมีการกำหนดปริมาณที่สามารถนำขึ้นเครื่องโดยสารได้

อุบัติเหตุ

[แก้]
  • 3 มีนาคม พ.ศ. 2491 Sabena Douglas DC3 Dakota ตกจากเพราะสภาพอากาศที่เป็นหมอก ลูกเรือ 3 คน และผู้โดยสารอีก 19 จาก 22 คน เสียชีวิต
  • 1 สิงหาคม พ.ศ. 2499 เครื่องบินทิ้งระเบิด XA897 Avro Vulcan ของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร ตกที่ท่าอากาศยานฮีทโธรว์ หลังจากพยายามจะนำเครื่องขึ้นในสภาพทัศนวิสัยไม่ดี เดิมทีเครื่องบินลำนี้จะส่งมอบให้กับกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร และกำลังกลับจากการบินสาธิตจากประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ทั้งนักบินและผู้ช่วยนักบินดีดตัวออกมาได้ทัน แต่นักบินอีก 4 คน เสียชีวิต
  • 27 ตุลาคม พ.ศ. 2508 Vickers Vanguard G-APEE ของ British European Airway (BEA) บินมาจากอดินเบิร์ก ขณะที่กำลังลงจอดโดยสภาพทัศนวิสัยไม่ดี พุ่งชนกับทางวิ่ง 28R ลูกเรือ 6 คน และผู้โดยสารทั้งหมด 30 คน เสียชีวิต
  • 8 เมษายน 2511เครื่องบินโบอิง 707 G-ARWE ของ BOAC เดินทางไปออสเตรเลีย โดยแวะผ่านสิงคโปร์ เครื่อยนต์เกิดลุกไหม้หลังจากนำเครื่องขึ้น เครื่องยนต์หลุดออกจากตัวเครื่องบริเวณใกล้กับอ่างเก็บน้ำ Queen Mother ที่ Datchet แต่นักบินสามารถนำเครื่องลงจอดฉุกเฉินได้ ตัวเครื่องบินลุกไหม้ทั้งลำ มีลูกเรือ 1 คน และผู้โดยสาร 4 คน เสียชีวิต ที่เหลืออีก 122 คน รอดชีวิต
  • 3 กรกฎาคม 2511 Airspeed Ambassador G-AMAD ของ BKS Air Transport ปีกเครื่องบินกระแทกกับพื้นขณะลงจอด ทำให้เครื่องบินตกลงบนพื้นหญ้าและไถลไปทางอาคารผู้โดยสาร ชนเข้ากับเครื่องบิน Hawker Siddeley Trident 2 ลำ ของ BEA จนระเบิดลุกไหม้ ลูกเรือเสียชีวิต 6 คน และม้าที่บรรทุกมาอีก 8 ตัว
  • 18 มิถุนายน พ.ศ. 2515 เครื่องบินHawker Siddeley Trident ของ BEA เที่ยวบิน 548 บินจากฮีทโธรว์ไปยังกรุงบลัสเซลส์ ตกลงใกล้กับ Staines ผู้โดยสาร 109 คน และ ลูกเรือ 9 คน ทั้งหมดเสียชีวิต

ฮีทโธรว์ในวันนี้

[แก้]

ในปัจจุบันท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ มีอาคารผู้โดยสารทั้งหมด 4 อาคาร (โดยอาคารที่ 5 กำลังก่อสร้าง) อาคารคลังสินค้า 1 อาคาร เดิมทีนั้นฮีทโธรว์จะมีทางวิ่งทั้งหมด 6 เส้นทาง เป็นทางขนานกัน 3 คู่ วางตามแนวทิศทางที่ต่างกัน แต่เนื่องจากความต้องการระยะทางวิ่งที่เพิ่มมากขึ้น ฮีทโธรว์จึงเหลือทางวิ่งเพียงสองเส้น ตั้งตามแนวตะวันออก-ตะวันตก ความยาว 3,901 และ 3,660 เมตร ทั้งนี้ได้มีการศึกษาให้สร้างทางวิ่งอีกหนึ่งเส้นขนานไปกับทางวิ่งเดิม เพื่อรองรับการจราจรที่หนาแน่นในอนาคต

ท่าอากาศยานฮีทโธรว์บริหารโดย BAA มาช้านาน ซึ่งในปัจจุบัน BAA เป็นของบริษัทสัญชาติสเปน Ferrovial Group (Grupo Ferrovial)

รัฐบาลได้ออกข้อบังคับสำหรับเที่ยวบินช่วงเวลากลางคืน ให้ใช้เครื่องบินที่มีเครื่องยนต์ที่มีเสียงเงียบตามข้อกำหนด แต่อาจจะถูกระงับการบินได้ตลอดช่วงเวลากลางคืน หากว่ารัฐบาลไม่รู้สึกพอใจคำตัดสินจาก European Court of Human Rights

เพื่อป้องกันการค้ากำไรเกินควร ค่าธรรมเนียมลงจอดของสายการบินที่ BAA จะได้รับ กำหนดโดยกรมขนส่งทางอากาศของสหราชอาณาจักร (Inited Kingdom Civil Aviation Authority) จนเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2546 ต้นทุนการลงจอดต่อผู้โดยสารหนึ่งคน เพิ่มขึ้นในอัตราเงินเฟ้อลบ 3% ทำให้ต้นทุนในการลงจอดจะลดลงในเชิงราคาสัมบูรณ์ โดยในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2546 ต้นทุนการลงจอดเฉลี่ยอยู่ที่ 6.13 ปอนด์ ซึ่งใกล้เคียงกับของท่าอากาศยานแก็ตริคและท่าอากาศยานสแตนสเต็ด แต่เพื่อสะท้อนภาพความเป็นศูนย์กลางการบินที่ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก กรมขนส่งทางอากาศของสหราชอาณาจักรจึงอนุญาตให้ BAA เพิ่มค่าธรรมเนียมลงจอดที่อัตราเงินเฟ้อบวก 6.5% ต่อปี สำหรับช่วงห้าปีแรก และเมื่ออาคารผู้โดยสาร 5 แล้วเสร็จ ก็คาดว่าจะเพิ่มค่าธรรมเนียมลงจอดเป็น 8.63 ปอนด์ ต่อผู้โดยสารหนึ่งคน

ถึงแม้ว่าค่าธณรมเนียมลงจอดจะกำหนดโดย กรมขนส่งทางอากาศของสหราชอาณาจักร และ BAA ก็ตาม แต่การเก็บค่าธรรมเนียมลงจอดที่ท่าอากาศยานฮีทโธรว์จะจัดเก็บโดย หน่วยงานเอกชนที่ไม่หวังผลกำไร Airport Co-ordination Limited (ACL) ซึ่งกำกับโดยกฎหมายอังกฤษและสหภาพยุโรป รวมทั้งหน่วยงานของ IATA เงินทุนของ ACL มาจาก 10 สายการบินสัญชาติอังกฤษ บริษัทท่องเที่ยว และ BAA

นอกจากนี้ กาารจราจรทางอากาศระหว่างฮีทโธรว์และสหรัฐอมเริกาจะควบคุมอย่างเข้มงวดโดยรัฐบาลของทั้งสองประเทศตามกฎบัตรเบอร์มิวด้าที่ 2 ในแรกเริ่มนั้นจะอนุญาตให้เฉพาะสายการบินบริติชแอร์เวย์ แพนแอม และทรานส์เวิลด์แอร์ไลน์ ที่สามารถบินออกจากฮีทโธรว์เข้าสู่สหรัฐอเมริกาได้ จนในปี พ.ศ. 2534 สายการบินแพนแอม และทรานส์เวิลด์แอร์ไลน์ขายสิทธิ์การบินให้กับ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ กับ อเมริกันแอร์ไลน์ ตามลำดับ ส่วนสายการบินเวอร์จิ้นแอตแลนติกแอร์ไลน์ ได้รับสิทธิการบินภายหลัง กฎบัตรเบอร์มิวด้านี้ไปขัดกับข้อตกลงเรื่องสิทธิการแข่งขันของสหราชอาณาจักรที่ให้ไว้กับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ดังนั้นสหราชอาณาจักรจึงถูกสั่งให้ระงับกฎบัตรนี้ในปี พ.ศ. 2547

ท่าอากาศยานฮีโธรว์จะสามารถรองรับเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ได้ที่อาคารผู้โดยสาร 5 และที่ท่าจอด 6 ของอาคารผู้โดยสาร 3 โดยเครื่องบินแอร์บัส เอ380 จะให้บริการที่ฮีทโธรว์เป็นครั้งแรกในช่วงปี พ.ศ. 2550 อย่างไรก็ตามได้มีการทดสอบเครื่องเอ380 ที่ฮีทโธรว์แล้วเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 [2][ลิงก์เสีย]

ท่าอากาศยานฮีทโธรว์ถูกจัดอันดับให้เป็นท่าอากาศยานที่แย่ที่สุด ในการจัดการสำรวจของ TripAdvisor จากผู้ตอบในสอบถามกว่า 4,000 คน [3]

อนาคตของฮีทโธรว์

[แก้]

อาคารผู้โดยสาร 5

[แก้]

เมื่อ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม Stephen Byers ออกแถลงการว่ารัฐบาลอังกฤษลงมติอนุญาตให้สร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 5 ที่ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ได้ โดยอาคารผู้โดยสารหลังใหม่จะสร้างอยู่ภายในบริเวณที่ดินของท่าอากาศยาน ทางฝั่งตะวันตก ซึ่งมีกำหนดการว่าจะเริ่มเปิดใช้ในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2551 เวลา 04:00 ตามเวลาท้องถิ่น และคาดว่าจะเปิดใช้เต็มประสิทธิภาพได้ในปี พ.ศ. 2558 เมื่อเสร็จสมบูรณ์ ท่าอากาศยานฮีทโธรว์จะมีขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 90 ล้านคนต่อปี จากปัจจุบันที่ 68 ล้านคนต่อปี

โดยอาคารหลังใหม่มีมูลค่ามากกว่า 4 พันล้านปอนด์ และจะมีพนักงานเพิ่นขึ้นอีกประมาณ 20,000 คน ทั้งนี้ยังจะมีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารระยะไกลอีกสองอาคาร ซึ่งจะเชื่อมต่อระบบระหว่างอาคารผู้โดยสาร 5 จากทางใต้ดิน และยังมีการขยายเส้นทางรถไฟใต้ดินให้เชื่อต่อจนถึงอาคารหลังใหม่ รวมถึงการต่อเส้นทางจากทางหลวง M25 เข้าเชื่อมกับอาคาร

อาคารผู้โดยสารหลังนี้ออกแบบโดย Richard Rogers Partnership โดยอาคารหลัก (คอนคอร์ด เอ) จะมี 4 ชั้น อยู่ภายใต้โครงสร้างหลังคาเดียวกัน ซึ่งจะรองรับจำนวนผู้โดยสารถึง 30 ล้านคนต่อปี และจะเป็นอาคารหลักที่บริติชแอร์เวย์ จะย้ายเที่ยวบินทั้งหมดมายังอาคารนี้ ยกเว้นเพียงเส้นทางที่ไป/มาจาก สเปน, ออสเตรเลีย และอิตาลี จากข้อมูลของ BAA นอกจากอาคารหลักแล้ว อาคารผู้โดยสาร 5 จะมีอาคารระยะไกลอีก 2 อาคาร (อาคารที่ 2 จะสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2554) จะมีหลุดจอดทั้งหมด 60 หลุดจอด รวมทั้งหอบังคับการบินหลังใหม่ อาคารจอดรถ ความจุ 4,000 คัน โรงแรมขนาด 600 เตียง และการขยายการคมนาคมให้เข้าถึงตัวอาคารผู้โดยสารหลังใหม่

อาคารผู้โดยสาร 5 จะเตรียมหลุดสำหรับ เครื่องบินแอบัส เอ380 ไว้ที่อาคารระยะไกลหลังแรก (คอนคอร์ส บี)

ทางวิ่งเส้นที่ 3

[แก้]
เครื่องบินที่กำลังรอจะนำเครื่องขึ้น

สายการบินใหญ่ๆ โดยเฉพาะบริติชแอร์เวย์ ได้เรียกร้องให้มีการสร้างทางวิ่งที่ 3 ขึ้น เพื่อรองรับการใช้งานอาคารผู้โดยสาร 5 โดยในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2546 Transport Secretary Alistair Darling ได้ออกหนังสือปกขาว http://www.dft.gov.uk/aviation/whitepaper (อังกฤษ) รายงานการวิเคราะห์อนาคตการบินของสหราชอาณาจักร ประเด็นของรายงานชุดนี้คือควรจะมีการสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 ภายในปี พ.ศ. 2563 และให้ข้อมูลทางด้านผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสูญเสียโบสถ์เก่าแก่ด้วย

ทั้งนี้มีการเสนอให้สร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 6 เพื่อขยายขีดความสามารถจากการสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 ซึ่งจะทำให้รองรับผู้โดยสารได้ 115 ล้านคนต่อปี งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 17,600 ล้านปอนด์ หรือ คิดเป็นเงินไทย 760,000 ล้านบาท คาดว่าหลังจากโครงการแล้วเสร็จ จะสามารถเพิ่มเส้นทางบินตรงจากสนามบินฮีทโธรว์ไปยังเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกได้มากถึง 40 เมือง รวมทั้งเมืองอู่ฮั่นในจีน เมืองโอซากาในญี่ปุ่น และกรุงกีโตในเอกวาดอร์ ล่าสุดคณะรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรได้อนุมัติให้ก่อสร้างแล้ว โดยหลังจากนี้ โครงการต้องผ่านขั้นตอนการปรึกษาหารือ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น ก่อนจะมีการลงมติในสภาในอีกราว 2 ปีข้างหน้า หากทุกอย่างดำเนินไปตามแผน คาดว่าการก่อสร้างจะเริ่มในปี 2561 หรือ 2562 และรันเวย์ใหม่จะเริ่มเปิดใช้งานได้หลังจากปี 2568

ปรับเปลี่ยนการขึ้น-ลง

[แก้]

มีการเสนอให้จัดระบบแบบผสม ที่สามารถให้เครื่องบินขึ้นและลงจอดได้บนทางวิ่งเดียวกัน ซึ่งในทางทฤษฎีจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพจาก 480,000 เที่ยวบินต่อปี ในปัจจุบัน เป็น 550,000 เที่ยวบินต่อปี ได้ [4]

อาคารผู้โดยสารตะวันออก

[แก้]

BAA ได้ออกแถลงการเมื่อเดือนพฤศจิกายนว่าอาคารผู้โดยสาร 2 จะปิดลงทันทีที่อาคารผู้โดยสาร 5 เปิดใช้งาน เพื่อดำเนินการตามแผนปรับปรุงกลุ่มอาคารผู้โดยสารฝั่งตะวันออก (Heathrow East scheme) จากโครงการนี้จะทำให้ อาคารผู้โดยสาร 2 และ อาคาร Queen ถูกแทนที่ด้วยอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ที่สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 30 ล้านคนต่อปี โครงการนี้มีกำหนดการเริ่มในปี พ.ศ. 2551 และจะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2555 ปีเดียวกันกับที่กรุงลอนดอนเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ทั้งนี้ BAA ยังคงรอการอนุมัติที่จะเริ่มโครงการ แต่ก็มีการยืนยันแล้วว่า อาคารผู้โดยสาร 2 จะปิดตัวลงอย่างแน่นอนไม่ว่าโครงการนี้จะได้ดำเนินการหรือไม่ [5] (อังกฤษ)

ปรับเปลี่ยนการจัดการอาคารผู้โดยสาร

[แก้]

เมื่ออาคารผู้โดยสาร 5 เปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2551 อาคารผู้โดยสารจะเริ่มปรับเปลี่ยนระบบอาคารผู้โดยสารใหม่เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการกับการเคลื่อนย้ายผู้โดยสาร โดย:

  • อาคารผู้โดยสาร 1 - กลุ่มสตาร์อัลไลแอนซ์
  • อาคารผู้โดยสาร 3 - กลุ่มวันเวิลด์ ยกเว้นบริติชแอร์เวย์ (สเปน ออสเตรเลีย และอิตาลี) จะอยู่อาคารนี้จนกว่าอาคารระยะไกลที่ 2 จะแล้วเสร็จ
  • อาคารผู้โดยสาร 4 - กลุ่มสกายทีม และสายการบินที่ไม่ได้เข้าร่วมพันธมิตรสายการบินใดๆ
  • อาคารผู้โดยสาร 5 - บริติช แอร์เวย์

ปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร 3

[แก้]

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 BAA ได้ออกประกาศว่าจะปรับเปลี่ยนอาคารผู้โดยสาร 3 เพื่อลดความคับคั่ง และเพิ่มประสิทธิภาพระบบรักษาความปลอดภัย โดยจะแล้วเสร็จสิ้นปี พ.ศ. 2550

สายการบิน

[แก้]
สายการบิน จุดหมายปลายทาง
Aegean Airlines Athens
Aer Lingus Belfast–City, Cork, Dublin, Shannon
Aeroflot Moscow–Sheremetyevo
Aeroméxico Mexico City
Air Algérie Algiers
Air Astana Nur-Sultan
Air Canada Calgary, Halifax, Montréal–Trudeau, Ottawa, St. John's, Toronto–Pearson, Vancouver
Air China Beijing–Capital, Chengdu
Air France Paris–Charles de Gaulle
Air India Ahmedabad, Bangalore, Delhi, Mumbai
Air Malta Malta
Air Mauritius Mauritius
Air Serbia Belgrade
Alitalia Milan–Linate, Rome–Fiumicino
All Nippon Airways Tokyo–Haneda
American Airlines Boston, Charlotte, Chicago–O'Hare, Dallas/Fort Worth, Los Angeles, Miami, New York–JFK, Philadelphia, Phoenix–Sky Harbor, Raleigh/Durham, Seattle/Tacoma (begins 28 March 2021)[4]
Asiana Airlines Seoul–Incheon
Austrian Airlines Vienna
Avianca Bogotá
Azerbaijan Airlines Baku
Beijing Capital Airlines Qingdao
Biman Bangladesh Airlines Dhaka, Sylhet
British Airways Aberdeen, Abu Dhabi, Abuja, Accra, Alicante, Amman–Queen Alia, Amsterdam, Athens, Atlanta, Austin, Bahrain, Baltimore, Bangalore, Bangkok–Suvarnabhumi, Barcelona, Basel/Mulhouse, Beijing–Daxing, Belfast–City, Berlin–Tegel, Billund, Bologna, Boston, Brussels , Bucharest, Budapest, Buenos Aires–Ezeiza , Cairo, Cape Town, Chennai, Chicago–O'Hare, Copenhagen, Dallas/Fort Worth, Dammam, Delhi, Denver, Doha, Dubai–International, Dublin, Dubrovnik, Durban, Düsseldorf, Edinburgh, Faro, Frankfurt, Geneva, Gibraltar, Glasgow, Gothenburg, Grand Cayman, Hamburg, Hanover, Hong Kong, Houston–Intercontinental, Hyderabad, Innsbruck, Inverness, Islamabad, Istanbul, Jeddah, Jersey, Johannesburg–O.R. Tambo, Kraków, Kuala Lumpur–International, Kuwait City, Lagos, Lanzarote, Larnaca, Las Vegas, Lisbon, Los Angeles, Luxembourg, Lyon, Madrid, Mahé, Málaga, Manchester, Marseille , Mexico City, Miami, Milan–Linate, Milan–Malpensa, Montréal–Trudeau, Moscow–Domodedovo, Mumbai, Munich, Nairobi–Jomo Kenyatta, Nashville, Nassau, Newark, Newcastle upon Tyne, Newquay (begins 24 July 2020),[5] New Orleans, New York–JFK, Nice, Osaka–Kansai, Oslo–Gardermoen, Palma de Mallorca, Paris–Charles de Gaulle, Philadelphia, Phoenix–Sky Harbor, Pisa, Pittsburgh, Prague, Reykjavík–Keflavík, Rio de Janeiro–Galeão, Riyadh, Rome–Fiumicino, San Diego, San Francisco, San Jose (CA), Santiago de Chile, São Paulo–Guarulhos, Seattle/Tacoma, Seoul–Incheon, Shanghai–Pudong, Singapore, Sofia, Stockholm–Arlanda, Stuttgart, Sydney, Tel Aviv, Tenerife–South, Tokyo–Haneda, Toronto–Pearson, Toulouse, Valencia, Vancouver, Venice, Vienna, Warsaw–Chopin, Washington–Dulles, Zagreb, Zürich
Seasonal: Bastia, Bodrum, Brindisi, Calgary, Chania, Charleston (SC),[6][7] Corfu, Dalaman, Figari, Grenoble, Ibiza, Kalamata, Kefalonia, Ljubljana, Malé (begins 25 October 2020),[8] Marrakesh, Menorca, Muscat, Mykonos, Olbia, Palermo, Perugia (begins 1 August 2020),[9] Preveza/Lefkada, Pristina,[9] Pula, Rhodes , [9] Salzburg, Santorini, Split, Thessaloniki (begins 18 July 2020; ends 7 September 2020),[10] Zakynthos
Brussels Airlines Brussels
Bulgaria Air Sofia
Cathay Pacific Hong Kong
China Airlines Taipei–Taoyuan (ends 24 October 2020)[11]
China Eastern Airlines Shanghai–Pudong
China Southern Airlines Beijing–Daxing (begins 21 March 2021),[12] Guangzhou, Zhengzhou
Croatia Airlines Zagreb
Seasonal: Split
Czech Airlines Prague[13]
Delta Air Lines Atlanta, Boston, Detroit, Minneapolis/St. Paul, New York–JFK, Salt Lake City
EgyptAir Cairo
Seasonal: Luxor
El Al Tel Aviv
Emirates Dubai–International
Ethiopian Airlines Addis Ababa
Etihad Airways Abu Dhabi
Eurowings Cologne/Bonn, Düsseldorf, Hamburg, Stuttgart
EVA Air Bangkok–Suvarnabhumi, Taipei–Taoyuan
Finnair Helsinki
Gulf Air Bahrain
Hainan Airlines Changsha
Iberia Madrid
Icelandair Reykjavík–Keflavík
Iran Air Tehran–Imam Khomeini
Japan Airlines Tokyo–Haneda
Kenya Airways Nairobi–Jomo Kenyatta
KLM Amsterdam
Korean Air Seoul–Incheon
Kuwait Airways Kuwait City
LATAM Brasil São Paulo–Guarulhos
LOT Polish Airlines Warsaw–Chopin
Lufthansa Frankfurt, Munich
Malaysia Airlines Kuala Lumpur–International
Middle East Airlines Beirut
Oman Air Muscat
Philippine Airlines Manila
Qantas Melbourne, Perth, Singapore, Sydney
Qatar Airways Doha
Royal Air Maroc Casablanca, Rabat
Royal Brunei Airlines Bandar Seri Begawan
Royal Jordanian Amman–Queen Alia
Saudia Jeddah, Riyadh
Seasonal: Medina
Scandinavian Airlines Copenhagen, Oslo–Gardermoen, Stavanger, Stockholm–Arlanda
Seasonal: Sälen-Trysil
Shenzhen Airlines Shenzhen
Singapore Airlines Singapore
South African Airways Johannesburg–O.R. Tambo
SriLankan Airlines Colombo–Bandaranaike
Swiss International Air Lines Geneva, Zürich
Seasonal: Sion
TAP Air Portugal Lisbon
Seasonal: Porto [14]
TAROM Bucharest
Thai Airways Bangkok–Suvarnabhumi
Tianjin Airlines Chongqing, Tianjin, Xi'an
Tunisair Tunis
Turkish Airlines Istanbul
United Airlines Chicago–O'Hare, Denver, Houston–Intercontinental, Los Angeles, Newark, San Francisco, Washington–Dulles
Uzbekistan Airways Tashkent
Vietnam Airlines Hanoi, Ho Chi Minh City
Virgin Atlantic Antigua (begins 1 October 2020),[15] Atlanta, Barbados, Boston, Delhi, Grenada (begins 2 October 2020),[16] Havana,[17] Hong Kong, Johannesburg–O.R. Tambo, Lagos, Las Vegas, Los Angeles, Miami, Montego Bay (begins 2 October 2020),[18] Mumbai, New York–JFK, Orlando (begins 24 August 2020),[19] San Francisco, Seattle/Tacoma, Shanghai–Pudong, Tel Aviv, Tobago (begins 4 October 2020),[20] Washington–Dulles
Seasonal: Cape Town
Vueling A Coruña

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Facts and figures | Heathrow".
  2. "Aircraft and passenger traffic data from UK airports". UK Civil Aviation Authority. 3 March 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2017. สืบค้นเมื่อ 30 July 2019.
  3. "Traffic Statistics | Heathrow". Heathrow Airport. สืบค้นเมื่อ 22 January 2020.
  4. https://www.routesonline.com/news/38/airlineroute/292259/american-airlines-adds-seattle-london-service-from-late-march-2021/
  5. "British Airways – BRITISH AIRWAYS LAUNCHES NEWQUAY ROUTE FOR SUMMER 2020". Mediacentre.britishairways.com. 2020-02-12. สืบค้นเมื่อ 2020-02-16.
  6. "British Airways adds Charleston SC service in S19". Routesonline.
  7. https://abcnews4.com/news/local/british-airways-suspends-seasonal-service-to-Charleston
  8. https://www.britishairways.com/travel/schedules/public/en_gb
  9. 9.0 9.1 9.2 "GET INTO THE 2020 HOLIDAY SPIRIT WITH SIX NEW BRITISH AIRWAYS ROUTES FROM HEATHROW". British Airways. 12 December 2019. สืบค้นเมื่อ 16 January 2020.
  10. https://www.britishairways.com/travel/booking/public/en_gr/#/flightList?origin=SKG&destination=LON&outboundDate=2020-07-18&adultCount=1&youngAdultCount=0&childCount=0&infantCount=0&cabin=M&ticketFlexibility=LOWEST&journeyType=OWFLT
  11. https://www.routesonline.com/news/38/airlineroute/291705/china-airlines-to-resume-taipei-london-heathrow-service-in-july-2020/
  12. https://www.routesonline.com/news/38/airlineroute/291720/china-southern-removes-beijing-daxing-london-heathrow-schedules-in-s20/
  13. "Smartwings Group obnovují další letecká spojení nejen do Středomoří, novinkou je pravidelná linka ČSA na Heathrow". smartwings.cz. 28 May 2020.
  14. https://www.flytap.com/en-gb/
  15. https://www.routesonline.com/news/38/airlineroute/291945/virgin-atlantic-july-oct-2020-operations-as-of-20jun20/
  16. https://www.routesonline.com/news/38/airlineroute/291945/virgin-atlantic-july-oct-2020-operations-as-of-20jun20/
  17. "Important information regarding our routes to the Caribbean". Virgin Atlantic Travel News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2019. สืบค้นเมื่อ 27 July 2019.
  18. https://www.routesonline.com/news/38/airlineroute/291945/virgin-atlantic-july-oct-2020-operations-as-of-20jun20/
  19. https://corporate.virginatlantic.com/gb/en/media/press-releases/returnn-to-flying.html
  20. https://www.routesonline.com/news/38/airlineroute/291945/virgin-atlantic-july-oct-2020-operations-as-of-20jun20/

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]