ข้ามไปเนื้อหา

ท่าอากาศยานลอนดอนแกตวิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าอากาศยานลอนดอนแกตวิก

London Gatwick Airport
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
เจ้าของGlobal Infrastructure Partners
ผู้ดำเนินงานGatwick Airport Limited
พื้นที่บริการLondon
ที่ตั้งCrawley, West Sussex
ฐานการบินBritish Airways
เหนือระดับน้ำทะเล202 ฟุต / 62 เมตร
เว็บไซต์http://www.gatwickairport.com/
แผนที่
ข้อผิดพลาด Lua ใน มอดูล:Location_map บรรทัดที่ 522: Unable to find the specified location map definition: "Module:Location map/data/United Kingdom West Sussex" does not exist
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
08L/26R 8,415 2,565 Asphalt/Concrete
08R/26L 10,879 3,316 Asphalt/Concrete
สถิติ (2009)
Aircraft Movements251,879
ผู้โดยสาร32,392,520
แหล่งข้อมูล: UK AIP at NATS[1]
Statistics from the UK Civil Aviation Authority[2]

ท่าอากาศยานลอนแกตวิก (London Gatwick Airport) เป็นท่าอากาศยานขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของลอนดอน และเป็นท่าอากาศยานที่มีความหนาแน่นเป็นอันดับสองของของสหราชอาณาจักร เป็นรองจากฮีทโธรว์ และยังได้ชื่อว่าเป็นท่าอากาศยานที่มีความหนาแน่นที่สุดที่มีทางวิ่งให้บริการเพียงเส้นเดียว เป็นท่าอากาศยานที่มีความหนาแน่นที่สุดเป็นอับดับ 22 (เป็นอับดับที่ 7 ในกรณีจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศ) ของโลกในกรณีจำนวนผู้โดยสารต่อปี ท่าอากาศยานแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ ครอว์ลีย์ เวสต์ซัสเซกซ์ ห่างจากตัวเมืองไปทางเหนือประมาณ 5 กิโลเมตร (3 ไมล์) ห่างจากกรุงลอนดอนไปทางใต้ประมาณ 46 กิโลเมตร (28 ไมล์) และทางเหนือของบริงตันประมาณ 40 กิโลเมตร

ในปีพ.ศ. 2549 แกตวิกให้บริการ 200 จุดหมายปลายทาง จำนวนผู้โดยสารกว่า 34 ล้านคน เที่ยวบิน 263,363 เที่ยว โดยปกติแล้วที่ฮีทโธรว์จะไม่ได้ให้บริการเครื่องเช่าเหมาลำเป็นจำนวนมากนัก ผู้ให้บริการส่วนใหญ่จึงหันมาตั้งฐานบริการอยู่ที่แกตวิก และยังมีเที่ยวบินปกติของหลายสายการบินจากอเมริกาหันมาใช้บริการที่แกตวิก เนื่องจากติดขัดเรื่องข้อกำหนดเกี่ยวกับเส้นทางบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกมายังฮีทโธรว์ นอกจากนี้แกตวิกยังเป็นท่าอากาศยานรองของ บริติช แอร์เวย์ และเวอร์จิ้น แอตแลนติก แอร์เวย์

ผลของการปรับปรุงขยายท่าอากาศยานครั้งใหญ่ในปีพ.ศ. 2522 ทำให้เกิดมีข้อตกลงกับสภาท้องถิ่นว่าจะไม่มีการขยายใดๆ อีกจนกว่าจะถึงปีพ.ศ. 2562 แต่ในขณะนี้ได้มีข้อเสนอให้มีการสร้างทางวิ่งเส้นทางที่ 2 ที่สามารถรองรับการใช้งานกับเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ได้ที่แกตวิก ประเด็นนี้นำไปสู่การต่อต้านเกี่ยวกับปัญหามลภาวะทางเสียงและอากาศเป็นพิษ รวมถึงการรื้อถอนอาคารอีกหลายหลังคาเรือน ในตอนนี้รัฐบาลได้มีมติที่จะขยายสแตนสเต็ด และฮีทโธรว์แล้ว แต่ยังไม่มีคำสั่งอนุมัติให้ขยายที่แกตวิกออกมา ทางผู้บริหารท่าอากาศยานแกตวิก (BAA) ก็ได้แถลงงานประเมินชิ้นใหม่ที่เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการสร้างทางวิ่งที่ 2 ทางด้านใต้ของท่าอากาศยาน เพื่อเลี่ยงหมู่บ้านชาร์ลวู้ดและฮุกวู้ดที่อยู่ทางเหนือของท่าอากาศยาน

แกตวิก มีพื้นที่ลานจอดรถยนต์จำนวนจำกัดไม่ต่างไปจากท่าอากาศยานอื่นๆ ทั้งนั้นเป็นผลมาจากข้อกัดในการวางผังเมือง และจะยิ่งจำกัดมากขึ้นในช่วงฤดูร้อนที่มีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้น

ประวัติ

[แก้]

ที่มาของชื่อ "แกตวิก" นั้น ต้องนับย้อนไปถึงปีพ.ศ. 1784 โดยเป็นชื่อของหมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานในปัจจุบัน คำว่าแกตวิก รับเอามาจากภาษาแองโกล-แซกซอน ของคำว่า แกต (gāt) หมายถึง แพะ (goat) และ วิค (wīc) หมายถึง ฟาร์มปศุสัตว์ (dairy farm) ดังนั้นจึงหมายถึง "ฟาร์มแพะ"

ในปีพ.ศ. 2434 มีการสร้างสนามแข่งม้าขึ้นที่แกตวิก ใกล้กับเส้นทางรถไฟสายลอนดอน-บริงตัน โดยที่ตัวสถานีนั้นก็ได้สร้างทางลาดไว้สำหรับคอกที่ขนม้าอีกด้วย สนามแข่งได้รับความนิยมอย่างมากและได้จักการแข่งขันทั้งทางวิบากและทางเรียบ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้น สนามแห่งนี้ก็ได้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันแข่งม้าระดับชาติ (Grand National)

จนกระทั่งทศวรรษ 1920 (พ.ศ. 2463) พื้นที่ที่ติดกับสนามแข่งม้าที่ Hunts Green Farm ไปจนถึง Tinsley Green Lane ถูกนำไปใช้เป็นสนามบินและได้จดทะเบียนในเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2473 จากนั้นได้มีการตั้ง Surrey Aero Club ขึ้น และเข้ามาใช้โรงนาเก่าของ Hunts Green Farm มาเป็นที่ตั้งสโมสร

บริษัทเรดวิง แอร์คราฟท์ (Redwing Aircraft Company) เข้ามาซื้อที่สนามบินในปีพ.ศ. 2475 และเปิดเป็นโรงเรียนสอนการบิน สนามบินแห่งนี้ยังถูกใช้เป็นที่ขึ้นบินเพื่อชมการแข่งขันอีกด้วย ในปีพ.ศ. 2476 สนามบินถูกขายให้กับนักลงทุนคนหนึ่งที่ต้องการจะปรับเปลี่ยนให้เป็นท่าอากาศยาน และรัฐมนตรีที่ดูแลการคมนาคมทางอากาศก็ได้อนุญาตให้เปิดเส้นทางการบินพาณิชย์จากแกตวิกในปีถัดมา จนกระทั่งปีพ.ศ. 2479 ได้ให้บริการเที่ยวบินไปยังจุดหมายปลายหลายแห่งทั่วภาคพื้นทวีป มีการสร้างอาคารผู้โดยสารรูปวงกลมที่ชื่อว่า "The Beehive" ซึ่งมีรถไฟใต้ดินที่เชื่อมกับสถานีรถไฟแกตวิด ทำให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางจากสถานีวิคตอเรียไปยังอาคารผู้โดยสารได้โดยตรง มีอุบัติเหตุร้ายแรงถึง 2 ครั้งในปีพ.ศ. 2479 สร้างความสงสัยเรื่องความปลอดภัยของท่าอากาศยาน และปัญเรื่องหมอกและน้ำก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทางรถไฟใต้ดินก็มักจะถูกน้ำท่วมหลังจากที่ฝนตกหนัก และเนื่องจากข้อจำกัดต่างๆ และความต้องการทางวิ่งที่ยาวขึ้น บริติช แอร์เวย์ จำกัด จึงย้ายการบินไปอยู่ที่ท่าอากาศยานครอยดอนในปีพ.ศ. 2480 แทน แกตวิกจึงได้เปลี่ยนมาเป็นสนามบินส่วนบุคคลอีกครั้ง และยังเป็นที่ฝึกนักบินของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร รวมทั้งเป็นที่สนใจของบริษัทซ่อมบำรุงอากาศยานอีกด้วย

แกตวิกครอบครองโดยกองทัพอากาศเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2482 เพื่อใช้เป็นที่ซ่อมบำรุงอากาศยาน และถึงแม้ว่าจะมีกองบิน และกองพันทหารใช้ที่แกตวิกเป็นฐาน แต่ก็จะใช้เป็นหน่วยซ่อมบำรุงเป็นหลักเท่านั้น

ช่วงหลังสงคราม หน่วยบำรุงรักษาอากาศยานยังคงประจำการที่แกตวิก แต่ก็มีเครื่องบินเช่าเหมาลำจำนวนหนึ่งเริ่มมาใช่บริการที่แกตวิก และส่วนใหญ่จะเป็นการขนส่งสินค้า แต่ตัวท่าอากาศยานก็ยังประสบปัญหาน้ำขังและประมาณการใช้ที่น้อย ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2491 เจ้าของท่าอากาศได้ออกเตือนว่าควรถอนกองกำลังออกก่อนเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2492 และให้กลับไปใช้เป็นท่าอากาศยานเอกชน

ขณะนั้นท่าอากาศยานสแตนสเต็ดถูกยกให้เป็นท่าอากาศยานอันดับสองของลอนดอน ส่วนอนาคตของแกตวิกนั้นยังไม่แน่นอน นอกจากที่สภาปกครองท้องถิ่นและรัฐบาลในปีพ.ศ. 2493 ตัดสินใจให้แกตวิกเป็นท่าอากาศยานเสริมของฮีทโธรว์ ต่อมาบริติช ยูโรเปียน แอร์เวย์ ได้เริ่มเปิดเส้นทางบินจากแกตวิก และบีอีเอ เฮลิคอปเตอร์ ก็เริ่มให้บริการที่ท่าอากาศยานแห่งนี้ จากนั้นรัฐบาลได้ออกประกาศในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2495 ว่าจะต้องพัฒนาท่าอากาศยานแห่งนี้ แกตวิกจึงปิดตัวอย่างเพื่อการปรับปรุงด้วยงบมหาศาล (7.8ล้านปอนด์) ช่วงปีพ.ศ. 2499 ถึง 2501 ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2501 สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธ ที่2 เสด็จพระราชดำเนินมายังท่าอากาศยานแห่งใหม่ ด้วยเครื่องบินDe Havilland Heron เปิดท่าอากาศยานอย่างเป็นทางการ

แกตวิกโฉมใหม่ได้เป็นท่าอากาศยานแห่งแรกของโลกที่มีทางรถไฟเชื่อมต่อโดยตรง และยังเป็นท่าอากาศยานแห่งแรกๆที่มีการออกแบบทางเชื่อมจากอาคารผู้โดยสารไปยังบริเวณที่รอเครื่องใกล้กับเครื่องโดยสาร มีเพียงระยะทางสั้นๆ เท่านั้นที่ต้องเดินออกนอกอาคารไปยังเครื่องโดยสาร ส่วนงวงช้าง (jetbridge) ที่ให้บริการเต็มรูปแบบ ถูกติดตั้งภายหลังในการต่อเติมและขยายในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 (พ.ศ. 2513-2532)

ตลอดช่วงทศวรรษ 1950 และ 1960 (พ.ศ. 2493-2502) จำนวนผู้โดยสารเพิ่มชึ้นอย่างต่อเนื่อง จนต้องมีการปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร และสร้างอาคารจอดเครื่องบินระยะไกลขึ้นในปรพ.ศ. 2526 แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ ในปีพ.ศ. 2531 อาคารผู้โดยสารฝั่งเหนือจึงแล้วเสร็จ ซึ่งมีระบบเครื่อย้ายคนเชื่อมต่อกับอาคารผู้โดยสารฝั่งใต้ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549 อาคารจอดเครื่องบิน 6 มูลค่า 110 ล้านปอนด์ ก็เปิดให้บริการพร้อมด้วยทางเชื่อลอยฟ้ากับอาคารผู้โดยสารฝั่งเหนือ ซึ่งเป็นทางเชื่อมที่อยู่เหนือทางขับที่ยังคงใช้งานปกติอยู่ จึงกลายเป็นจุดชมเครื่องบินที่กำลังวิ่งอยู่บนทางขับ

สายการบิน และอาคารผู้โดยสาร

[แก้]

ท่าอากาศยานลอนดอนแกตวิกมีอาคารผู้โดยสาร 2 อาคาร

อาคารผู้โดยสาร ฝั่งเหนือ

[แก้]

ก่อสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2526 เป็นโครงการก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดของทางใต้ของลอนดอนที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1980 (พ.ศ. 2523-2532) อาคารผู้โดยสารหลังนี้ทำการเปิดโดย สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธ ที่2 ในปีพ.ศ. 2531 และได้ขยายตัวอาคารในปีพ.ศ. 2534

  • ไซปรัส เตอร์กิส แอร์ไลน์ (ดาลาแมน, แอนทัลยา)
  • ดาอัลโล แอร์ไลน์ (ดจิโบติ)
  • เดลต้า แอร์ไลน์ (ซินซิเนติ/นอร์ทเทิร์น เคนตัคกี, นิวยอร์ก-เจเอฟเค, แอตแลนตา)
  • เนชั่นไวด์ แอร์ไลน์ (โจฮันเนสเบิร์ก)
  • บรัสเซลส์ แอร์ไลน์ (บรัสเซลล์)
  • บริติช แอร์เวย์ (กราโกว, กลาสโกว, เกรเนดา, เกรเรเบิล, คาเกลียรี, คาตาเนีย, คิงส์ตัน, เจนีวา, เจอร์ซีย์, ซาราเจโว, ซาลซ์เบิร์ก, ซูริค, เซนต์ลูเชีย, โซเฟีย, ดับลิน, ดัลลาส/ฟอร์ทเวิร์ธ, ดูโบรฟนิก, เดรสเดน, ติรานา, ตูริน, ตูลูส, เทเนไรฟ, แทมป้า, โทบาโก, เธสซาโลนิกิ, นิซ, นิวคาสเซิล, นิวเควย์, เนเปิลส์, บอร์ดิว, บาร์เซโลนา, บาร์เบโดส, บารี, เบอร์มิวด้า, โบลอกนา, ปราก, ปิซา, พริสตินา, พอร์ท ออฟ สเปน, มาดริด, มาร์เซล์, แมนเชสเตอร์, เรกยาวิก-เกฟลาวิก, โรม-ฟิอูมีชิโน, ลักเซมเบิร์ก, วาร์นา, เวนิซ, เวโรนา, สปลิต, อดินเบิร์ก, อเบอร์ดีน, ออร์แลนโด, อัมสเตอร์ดัม, อิชเมีย, แอนติกา, แอลเจียร์, ฮุสตัน, แฮสซี เมสเซาด์)
    • บริติช แอร์เวย์ ที่ดำเนินการโดย จีบีแอร์เวย์ (ชาร์ท เอล ชีค, เซวิลล์, ดาลาแมน, ตูนิส, เตเนไรฟ เซาท์, เตเนไรฟ นอร์ท, นานท์, บาสเชีย, ปาฟอส, พาลมา เดอ มัลลอร์คา, ฟังคัล, ฟาโร, มอนท์เพลเลอร์, มัลตา, มาร์ราเคค, มะละกา, มาหน, ยิบรอลตา, โรดส์, ลาส พาลมาส, ลียง, อกาเดีย, อลิคานติ, อัจจาชิโอ, อารีไคฟ, อินสบรัค, อิบีซา, เฮรากลิออน, เฮอร์กาดา)
  • ฟลายเจ็ต (เคอร์ฟู, ชาร์ม เอล ชีค, เตเนไรฟ, ปาฟอส, มาหน, ลักซอร์, ลาร์นาคา, แอมรีตซาร์, เฮรากลิออน)
  • ฟลายลาล (วิลเนียส)
  • เฟิร์ทชอยส์ แอร์เวย์ (กราโกว, กา ,กาลามาตา, กิตตาลา, เกฟาลลิเนีย, เกรโนเบิล, โกส, เคอร์ฟู, แคนคูน, เจนีวา, ชาร์ม เอล ชีค, แชนย่า, ซากินธอส, ซาดาร์, ซาลเบิร์ก, เซนต์โทมัส, ดาลาแมน, ดูโบรฟนิก, ตูริน, ตูลูส, เตเรไรฟ, ทาบา, เทลอาวีฟ, เนเปิลส์, บันจูล, บาร์เซโลนา, เบอร์กาส, โบดรัม, ปอร์ลามาร์, ปาฟอส, ปุนตา คานา, เปอร์โต ปลาสตา, พรีเวซา, พาลมา เดอ มอลลอร์คา, ฟังคัล, ฟาโร, เฟอร์เตเวนทูรา, มอมบาซา, มอลตา, มะละกา, มาเล, มาหน, มิติลินี, โมนาสเทียร์, ยับยานา, เรอุซ, โรดส์, ลาร์นาคา, ลาส พาลมาส ,ลิเบอเรีย, วาร์นา, วาราเดโร, เวโรนา, สเกียธอส, อกาเดีย, อลิคานติ, ออร์แลนโด-แซนฟอร์ด, อะรูบา, อัลเมเรีย, อาร์เรไคฟ, อินน์สบรัค, อิบิซา, แอนติกา, แอนเทย์ลา, ฮอลกูอิน, แฮรากลิออน)
  • มาเลฟฮังกาเรียนแอร์ไลน์ (บูดาเปรตส์)
  • รอยัลแอร์โมรอค (มาร์ราเคค)
  • เวียดนามแอร์ไลน์ (ฮานอย, นครโฮจิมินห์)
  • อเมริกัน แอร์ไลน์ (ดัลลาส/ฟอร์ทเวิร์ธ, ราไลจ์/ดูแรม)
  • อาร์เกีย อิสราเอล แอร์ไลน์ (เทลอาวีฟ)
  • อิสแรร์แอร์ไลน์ (เทลอาวีฟ)
  • เอเดรียแอร์เวย์ (ยับยานา)
  • เอมิเรตส์ (ดูไบ)
  • แอร์เซาท์เวส (นิวเควย์, พลายเมาธ์)
  • แอร์นามิเบีย (วินโฮก)
  • แอร์พลัสโคเม็ต (มาดริด)
  • แอร์ฟรานซ์
    • แอร์ฟรานซ์ ที่ดำเนินการโดย บริทแอร์ (สตาร์สเบิร์ก)
  • แอสแทรอัส (เอล อลาเมน, กาลามาตา, กูซาโม, เกฟาลลิเนีย, เคอร์ฟู, คาลวี, เจนีวา, ชัมเบรี, ชาร์ม เอล ชีค, ซากินธอส, ซาดาร์, ซาล์ซเบิร์ก, เซนต์จอห์น, ดูโบรฟมิก, เดียร์เลก, ทาบา, เทเนไรฟ, ธีรา, บันจูล, บาสเทีย, เบอร์เจน, โบดรัม, ปาฟอส, พรีเวซา, ฟรีทาวน์, ฟาเจอเนส, มอนโรเวีย, มะละกา, มาลาโบ, มิโคนอส, เมอร์เซีย, เมอร์มานส์, ยูราล์ก, ลาส พาลมอส, สปริต, อคาบา, อักกรา, อัลเจโร, อัสวาน, โอลเบีย, เฮรากลิออน, แฮสซี เมสเซาด์)

อาคารผู้โดยสาร ฝั่งใต้

[แก้]
อาคารผู้โดยสาร ฝั่งใต้

อาคารผู้โดรสาร ฝั่งใต้ เริ่มสร้างในช่วงปีพ.ศ. 2499-2501และได้มีการเพิ่มหลุดจอดขึ้นอีกในปี พ.ศ. 2505 จนกระทั่งปีพ.ศ. 2526 อาคารเทียบท่าระยะไกลรูปวงกลมได้เปิดให้บริการ พร้อมกับระบบเคลื่อนย้ายมวลชนอัตโนมัติแห่งแรกของสหราชอาณาจักร จากนั้นอาคารผู้โดยสารหลักได้ทำการดัดแปลงเพิ่มเติมขึ้นในปีพ.ศ. 2528 และในขณะนี้กำลังมีการปรับปรุงอาคารผู้โดยสารฝั่งใต้ทั้งหมดอยู่

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "London Gatwick - EGKK". Nats-uk.ead-it.com. สืบค้นเมื่อ 15 August 2010.[ลิงก์เสีย]
  2. "Annual UK Airport Statistics: 2009 - annual". Caa.co.uk. สืบค้นเมื่อ 15 August 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]