แอร์ไชนา
| |||||||
ก่อตั้ง | 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1988 (36 ปี) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ท่าหลัก | |||||||
ท่ารอง | เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง | ||||||
เมืองสำคัญ | |||||||
สะสมไมล์ | ฟีนิกซ์ไมล์ | ||||||
พันธมิตรการบิน | สตาร์อัลไลแอนซ์ | ||||||
บริษัทลูก |
| ||||||
ขนาดฝูงบิน | 495 | ||||||
จุดหมาย | 200 | ||||||
บริษัทแม่ | แอร์ไชนากรุป (53.46%) คาเธ่ย์แปซิฟิค (18.13%) | ||||||
การซื้อขาย | LSE: AIRC | ||||||
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 30 ถนนเทียนจู่ เขตชุ่นอี้ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน | ||||||
บุคลากรหลัก |
| ||||||
รายได้ | RMB¥ 121.3 พันล้าน (2560) | ||||||
รายได้สุทธิ | RMB¥ 7.2 พันล้าน (2560) | ||||||
สินทรัพย์ | RMB¥ 235.7 พันล้าน (2560) | ||||||
ส่วนของผู้ถือหุ้น | RMB¥ 14.5 พันล้าน (2560) | ||||||
พนักงาน | 50,000 (2559) | ||||||
เว็บไซต์ | airchina.com |
แอร์ไชนา (อังกฤษ: Air China; จีน: 中国国际航空公司; พินอิน: Zhōngguó Guójì Hángkōng Gōngsī) เป็นสายการบินประจำชาติและสายการบินที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐประชาชนจีน[2] เป็น 1 ใน 3 สายการบินรายใหญ่ของจีนร่วมกับสายการบินไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์และไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ โดยปฏิบัติการบินจากท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่งเป็นหลัก ในปี 2017 แอร์ไชนาได้ให้บริการผู้โดยสารทั้งในและต่างประเทศเป็นจำนวน 102 ล้านคน โดยมีอัตราการบรรทุกโดยเฉลี่ย 81%[3] และเป็นหนึ่งในพันธมิตรสายการบินสตาร์อัลไลแอนซ์ตั้งแต่ปี 2007 ในปีค.ศ. 2018 เที่ยวบิน china airline flight 885 ขนส่งผู้โดยสารและสินค้า[4]ทำการบินจากปักกิ่ง–นานาชาติแวะฮิวสตันไปปานามา ส่งผลให้สายการบินแอร์ไชนาเป็นสายการบินเดียวในเอเซียที่ทำการบินไปทวีปอเมริกากลาง
ประวัติ
[แก้]ช่วงแรก
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การพัฒนาตั้งแต่ปี 2010
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กิจการองค์กร
[แก้]สำนักงานใหญ่
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ผลประกอบการ
[แก้]ผลประกอบการของแอร์ไชนาระหว่างปี 2010-2022 มีดังนี้:
2010 | 2011 | 2012 | 2013 | 2014 | 2015 | 2016 | 2017 | 2018 | 2019 | 2020 | 2021 | 2022 | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รายได้สุทธิ (พันล้านหยวน) | 80.4 | 95.9 | 99.6 | 98.2 | 105 | 110 | 115 | 121 | 136 | 136 | 69.5 | 74.5 | 52.8 |
กำไรสุทธิ (พันล้านหยวน) | 11.9 | 7.5 | 4.8 | 3.2 | 3.8 | 7.0 | 6.8 | 7.2 | 7.3 | 6.4 | −14.4 | −16.6 | −38,6 |
จำนวนผู้โดยสาร (ล้านคน) | 60.0 | 69.6 | 72.4 | 80.8 | 83.0 | 89.8 | 96.6 | 101 | 109 | 115 | 68.6 | 69.0 | 38.6 |
อัตราบรรทุกผู้โดยสาร (%) | 80.0 | 81.4 | 80.4 | 77.6 | 79.8 | 79.9 | 80.6 | 81.1 | 80.6 | 81.0 | 70.3 | 68.6 | 62.7 |
จำนวนสินค้าบรรทุก (ตัน) | 1,347 | 1,426 | 1,460 | 1,456 | 1,552 | 1,664 | 1,769 | 1,841 | 1,460 | 1,434 | 1,113 | 1,186 | 844 |
จำนวนฝูงบิน (ลำ) | 393 | 432 | 461 | 497 | 540 | 590 | 623 | 655 | 684 | 699 | 707 | 746 | 762 |
อ้างอิง | [5] | [6] | [7] | [8] | [9] | [10] | [11] | [12] | [13] | [14] | [15] | [16] | [17] |
อัตลักษณ์องค์กร
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
จุดหมายปลายทาง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ข้อตกลงการบินร่วม
[แก้]แอร์ไชนาได้มีข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินต่างๆ ดังต่อไปนี้:[18]
- การบินจี๋เสียง
- การูดาอินโดนีเซีย
- คาเธ่ย์แปซิฟิค
- คุนหมิงแอร์ไลน์
- ชานตงแอร์ไลน์
- เชินเจิ้นแอร์ไลน์
- ไชนาเอกซ์เพรสแอร์ไลน์
- เซาท์แอฟริกันแอร์เวส์
- ตัปปูร์ตูกัล
- เตอร์กิชแอร์ไลน์
- ทิเบตแอร์ไลน์
- ฟินน์แอร์
- ยูนิแอร์
- ยูไนเต็ดแอร์ไลน์
- ลอตโปลิชแอร์ไลน์
- ลาตัม ชิลี
- ลาตัม บราซิล
- ลุฟท์ฮันซ่า
- เวสต์เจ็ต
- เวอร์จินแอตแลนติก
- สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์
- สวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์
- สิงคโปร์แอร์ไลน์
- ออล นิปปอน แอร์เวย์
- ออสเตรียนแอร์ไลน์
- อาเบียงกา
- อีวีเอแอร์
- เอเชียนาแอร์ไลน์
- เอธิโอเปียนแอร์ไลน์
- เอ็ลอัล
- แอร์แคนาดา (คู่กิจการร่วมค้า)
- แอร์เซอร์เบีย
- แอร์นิวซีแลนด์
- แอร์มาเก๊า
- แอร์โดโลมีตี
- แอร์อินเดีย
- ฮาวาเอียนแอร์ไลน์
ฝูงบิน
[แก้]ฝูงบินปัจจุบัน
[แก้]ณ เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2024 แอร์ไชนามีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[19][20][21]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
F | B | E+ | E | รวม | ||||
แอร์บัส เอ319-100 | 30 | — | — | 8 | — | 120 | 128 | |
แอร์บัส เอ319นีโอ | — | 13[22] | รอประกาศ | |||||
แอร์บัส เอ320-200 | 38 | — | — | 8 | — | 150 | 158 | |
แอร์บัส เอ320นีโอ | 53 | 8[23][22] | — | 8 | — | 150 | 158 | [24] |
แอร์บัส เอ321-200 | 61 | — | — | 16 | — | 161 | 177 | |
12 | 173 | 185 | ||||||
แอร์บัส เอ321นีโอ | 30 | 45[22] | — | 12 | — | 182 | 194 | [24] |
แอร์บัส เอ330-200 | 21 | — | — | 30 | — | 207 | 237 | |
18 | 247 | 265 | ||||||
12 | 271 | 283 | ||||||
แอร์บัส เอ330-300 | 28 | — | — | 30 | 16 | 255 | 301 | |
36 | 20 | 311 | ||||||
แอร์บัส เอ350-900 | 30 | — | — | 32 | 24 | 256 | 312[25] | [26] |
โบอิง 737-700 | 18 | — | — | 8 | — | 120 | 128 | B-3999 ใช้สำหรับการขนส่งแบบวีไอพี |
โบอิง 737-800 | 88 | — | — | 8 | — | 159 | 167 | |
168 | 176 | |||||||
12 | 147 | 159 | ||||||
โบอิง 737 แมกซ์ 8 | 20 | 18[27] | — | 8 | — | 168 | 176 | |
โบอิง 747-400 | 3 | — | 10 | 42 | — | 292 | 344 | จะปลดประจำการในปี 2025 |
โบอิง 747-8ไอ | 7 | — | 12 | 54 | 66 | 233 | 365[28] | B-2479 ใช้สำหรับการขนส่งแบบวีไอพี |
โบอิง 777-300อีอาร์ | 28 | — | 8 | 42 | — | 261 | 311 | |
— | 36 | 356 | 392[29] | |||||
โบอิง 787-9 | 14 | — | — | 30 | 34 | 229 | 293[30] | |
โคแม็ก เออาร์เจ21-700 | 25 | 10[31] | — | — | — | 90 | 90 | ส่งมอบจนถึงปี 2024 |
โคแม็ก ซี919 | — | 105 | รอประกาศ | ส่งมอบจนถึงปี 2031[32] | ||||
รวม | 495 | 199 |
แอร์ไชนามีอายุฝูงบินเฉลี่ย 9.3 ปี
แอร์ไชนาคาร์โก
[แก้]แอร์ไชนาคาร์โก (อังกฤษ: Air China cargo; จีน: 中国国际货运航空公司; พินอิน: Zhōngguó Guójì Huòyùn Hángkōng gōngsī) เป็นบริษัทลูกของแอร์ไชนา มุ่งเน้นการขนส่งสินค้าเป็นหลัก ให้บริการเส้นทางทั่วเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือด้วยฝูงบินโบอิง 747-400เอฟ, โบอิง 757-200พีซีเอฟ และโบอิง 777เอฟ
บริการ
[แก้]ห้องโดยสาร
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ฟินิกซ์ไมล์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อุบัติการณ์และอุบัติเหตุ
[แก้]- 16 ธันวาคม พ.ศ. 2532 - ซีเอเอซีแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 981 (ดำเนินการโดยแอร์ไชนา) เครื่องบิน โบอิง 747-200บีเอ็ม ทะเบียน B-2448 ถูกจี้ขณะกำลังบินบนเส้นทางปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้-ซานฟรานซิสโก-นครนิวยอร์ก จุดหมายปลายทางของผู้จี้คือ ท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพ ในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ แต่หลังจากที่ทางการเกาหลีใต้ปฏิเสธการอนุญาตให้ลงจอด เครื่องบินก็ไปลงจอดที่ท่าอากาศยานฟูกูโอกะ ในเมืองฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ผู้จี้เครื่องบินได้รับบาดเจ็บหลังจากถูกผลักออกจากเครื่องบิน และถูกทางการญี่ปุ่นจับกุมได้ ผู้โดยสารและลูกเรือที่เหลือไม่มีใครไม่ได้รับบาดเจ็บ และเครื่องบินก็เดินทางกลับปักกิ่งในวันเดียวกัน[33]
- 10 สิงหาคม พ.ศ. 2536 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 973 เครื่องบิน โบอิง 767 ถูกจี้หลังบินขึ้นจากกรุงปักกิ่งระหว่างทางไปจาการ์ตา ผู้จี้เป็นชายชาวจีนวัย 30 ปี ได้ส่งจดหมายด้วยลายมือถึงพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพื่อขอให้เครื่องบินไปยังไต้หวัน หากไม่ทำตาม "ผู้สมรู้ร่วมคิด" ของเขาจะทำลายเครื่องบินลำดังกล่าว เขาถือขวดแชมพูที่มีส่วนผสมของกรดไฮโดรคลอริกและกรดไนตริก และขู่ว่าจะทำให้ผู้โดยสารในบนเครื่องเสียโฉมด้วยกรด เว้นแต่จะปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของเขา ต่อมาเครื่องบินลำดังกล่าวก็ได้บินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติไทเป ซึ่งผู้จี้ได้เข้ามอบตัว[34]
- 28 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 905 เครื่องบิน โบอิง 737-300 ทะเบียน B-2949 จากปักกิ่งไปคุนหมิงและย่างกุ้ง ถูกจี้โดยนักบิน และบินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติเจียง ไคเชก ในไต้หวัน ต่อมานักบินและภรรยาถูกทางการไต้หวันจับกุม ผู้โดยสารและลูกเรือไม่ได้รับบาดเจ็บใด ๆ และเครื่องบินก็เดินทางกลับไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ในวันเดียวกัน เหตุการณ์นี้ถือเป็นการจี้เครื่องบินพลเรือนของจีนแผ่นดินใหญ่ไปยังไต้หวันครั้งสุดท้าย[35]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2542 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 9018 เครื่องบิน โบอิง 747-2J6BSF ทะเบียน B-2246 จากนครนิวยอร์กไปชิคาโก เกิดอุบัติการณ์ลงจอดล่วงล้ำทางวิ่งของโคเรียนแอร์ เที่ยวบินที่ 96 เครื่องบิน โบอิง 747-400 ขณะกำลังจะบินขึ้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์ เครื่องบินทั้งสองลำไม่ได้ชนกัน[36]
- 11 กันยายน พ.ศ. 2544 - แอร์ไชนา เครื่องบิน โบอิง 747 จากปักกิ่งไปซานฟรานซิสโก ได้รับการคุ้มกันโดยเครื่องบิน เอฟ-15 ของกองทัพอากาศสหรัฐ จำนวน 2 ลำ ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติแวนคูเวอร์ระหว่างปฏิบัติการเยลโลริบบิ้น เนื่องจากมีปัญหาในการสื่อสาร เครื่องบินลงจอดที่ท่าอากาศยานโดยไม่มีเหตุใด ๆ เกิดขึ้น[37][38][39]
- 15 เมษายน พ.ศ. 2545 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 129 เครื่องบิน โบอิง 767-200อีอาร์ จากปักกิ่งไปปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ประสบอุบัติเหตุชนกับเนินเขาขณะพยายามลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติคิมแฮ ในช่วงที่สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 129 ราย จากทั้งหมด 166 ราย[40][41] นับเป็นอุบัติเหตุร้ายแรงเพียงครั้งเดียวของแอร์ไชนา
- 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 941 เครื่องบิน โบอิง 767 ทะเบียน B-2553 จากปักกิ่งไปดูไบ เกิดอุบัติเหตุล้อหน้าของเครื่องบินพับอย่างกะทันหัน ขณะบินขึ้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง เมื่อเวลา 17.17 น. ส่งผลให้จมูกของเครื่องบินกระแทกพื้น มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 คน[42]
- 27 ตุลาคม พ.ศ. 2550 เวลา 01.45 น. - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 4174 จากปักกิ่งไปคุนหมิง ถูกบังคับให้บินกลับไปยังท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง เนื่องจากเกิดฟ้าผ่า ไม่มีผู้เสียชีวิต[43]
- 20 มิถุนายน พ.ศ. 2551 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 934 เครื่องบิน โบอิง 777-200
- 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 103
- 29 มีนาคม พ.ศ. 2552 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 1666 เครื่องบิน โบอิง 737-300
- 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 982 เครื่องบิน โบอิง 747-400
- 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 933 เครื่องบิน โบอิง 777-300อีอาร์ ทะเบียน B-2037
- 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 1822
- 9 เมษายน พ.ศ. 2559 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 181
- 19 มิถุนายน พ.ศ. 2559 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 936
- 4 มิถุนายน พ.ศ. 2560 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 428 เครื่องบิน แอร์บัส เอ320-200 ทะเบียน B-6822
- 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 106 เครื่องบิน โบอิง 737-800 ทะเบียน B-5851
- 4 มีนาคม พ.ศ. 2562 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 983 เครื่องบิน โบอิง 777-300อีอาร์ ทะเบียน B-2040
- 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 183 เครื่องบิน แอร์บัส เอ330-343เอกซ์ ทะเบียน B-5958 จากปักกิ่งไปโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เกิดอุบัติการณ์เพลิงไหม้สินค้าขณะจอดอยู่ที่ปักกิ่งก่อนออกเดินทางไม่นาน ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ[44]
- 25 ตุลาคม พ.ศ. 2562 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 1449
- 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 1704
- 23 กันยายน พ.ศ. 2563 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 4230 เครื่องบิน แอร์บัส เอ321นีโอ ทะเบียน B-305G จากฝูโจวไปเฉิงตู ถูกเปลี่ยนเส้นทางบินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติฉางชาหวงฮฺวา หลังพบผู้โดยสารฆ่าตัวตายในห้องน้ำของเครื่องบิน[45]
- 7 เมษายน พ.ศ. 2564 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 8228
- 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 1524 จากเซี่ยงไฮ้ไปปักกิ่ง ประสบกับสภาพอากาศแปรปรวนอย่างรุนแรง มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย
- 10 กันยายน พ.ศ. 2566 - แอร์ไชนา เที่ยวบินที่ 403 เครื่องบิน แอร์บัส เอ320นีโอ ทะเบียน B-305J จากท่าอากาศยานนานาชาติเฉิงตูเทียนฟู่ไปยังท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์ เกิดอุบัติการณ์เครื่องยนต์เกิดเพลิงไหม้ก่อนจะลงจอด เครื่องบินลำดังกล่าวลงจอดฉุกเฉินที่สิงคโปร์เมื่อเวลา 16.15 น. ผู้โดยสารและลูกเรือทุกคนอพยพออกไปได้อย่างปลอดภัย มีผู้โดยสาร 9 รายได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยจากการสูดควันไฟและรอยถลอกระหว่างการอพยพ[46][47][48][49]
ดูเพิ่ม
[แก้]- การบินพลเรือนในประเทศจีน
- รายชื่อสายการบินในประเทศจีน
- รายชื่อท่าอากาศยานในประเทศจีน
- รายชื่อบริษัทในประเทศจีน
- การขนส่งในประเทศจีน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Air China 2017 Annual Report". Air China. 2011.
- ↑ "About Air China". Star Alliance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2015. สืบค้นเมื่อ 6 May 2015.
- ↑ "Air China Annual Report 2017" (PDF). สืบค้นเมื่อ 5 November 2018.
- ↑ [1]
- ↑ "Annual Report 2010" (PDF). Air China. สืบค้นเมื่อ November 12, 2023.
- ↑ "Annual Report 2011" (PDF). Air China. สืบค้นเมื่อ November 12, 2023.
- ↑ "Annual Report 2012" (PDF). Air China. สืบค้นเมื่อ November 12, 2023.
- ↑ "Annual Report 2013" (PDF). Air China. สืบค้นเมื่อ November 12, 2023.
- ↑ "Annual Report 2014" (PDF). Air China. สืบค้นเมื่อ November 12, 2023.
- ↑ "Annual Report 2015" (PDF). Air China. สืบค้นเมื่อ November 12, 2023.
- ↑ "Annual Report 2016" (PDF). Air China. สืบค้นเมื่อ November 12, 2023.
- ↑ "Annual Report 2017" (PDF). Air China. สืบค้นเมื่อ November 12, 2023.
- ↑ "Annual Report 2018" (PDF). Air China. สืบค้นเมื่อ November 12, 2023.
- ↑ "Annual Report 2019" (PDF). Air China. สืบค้นเมื่อ November 12, 2023.
- ↑ "Annual Report 2020" (PDF). Air China. สืบค้นเมื่อ November 12, 2023.
- ↑ "Annual Report 2021" (PDF). Air China. สืบค้นเมื่อ November 12, 2023.
- ↑ "Annual Report 2022" (PDF). Air China. สืบค้นเมื่อ November 12, 2023.
- ↑ "Profile on Air China". CAPA. Centre for Aviation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-29. สืบค้นเมื่อ 2016-10-29.
- ↑ "Air China Fleet in Planespotters.net". Planespotters.net. สืบค้นเมื่อ 3 May 2022.
- ↑ Air China - Aircraft Information Airchina.com Retrieved 2016-11-23
- ↑ "Air China Fleet in Planelogger.com". Planelogger.com. สืบค้นเมื่อ 2020-06-28.
- ↑ 22.0 22.1 22.2 "Aircraft orders in 2022". Airbus. สืบค้นเมื่อ 4 December 2022.
- ↑ 27 May 2013. "Air China orders 100 Airbus A320 planes". cargonewsasia.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-22. สืบค้นเมื่อ 2013-09-22.
- ↑ 24.0 24.1 "Air China to acquire five A320neo, 13 A321neo". Ch-Aviation. 21 March 2021.
- ↑ "Air China to take first A350 in early August". atwonline.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ Jul 18, 2018.
- ↑ "Archived copy". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2019. สืบค้นเมื่อ 11 July 2019.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Air China Fleet Details and History". www.planespotters.net. สืบค้นเมื่อ 2022-03-16.
- ↑ Shih, Kai-Chin (30 September 2014). "Air China Boeing 747-8I Interior Information". >talkairlines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2019. สืบค้นเมื่อ 30 September 2014.
- ↑ "Air China begins 2-class 777 service from Dec 2016". routesonline.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-03. สืบค้นเมื่อ 2016-10-01.
- ↑ "Air China Files Preliminary Boeing 787-9 Operational Routes in S16". 2016. สืบค้นเมื่อ 8 September 2016.
- ↑ "Air China orders 35 domestically-built ARJ21s". flightglobal.com. สืบค้นเมื่อ 30 August 2019.
- ↑ "Air China orders 100 C919s with extended range". Ch-Aviation. สืบค้นเมื่อ 28 April 2024.
- ↑ Accident description for B-2448 at the Aviation Safety Network. Retrieved on 25 สิงหาคม 2557.
- ↑ "Hijacking description". Aviation Safety Network. สืบค้นเมื่อ 29 August 2013.
- ↑ "1998年10月28日 袁斌劫机到台湾". พิเพิลส์เดลี. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2014-03-16.
- ↑ "ASN Aircraft accident Boeing 747-2J6BSF B-2446 Chicago-O'Hare International Airport, IL (ORD)". เครือข่ายความปลอดภัยการบิน. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-15. สืบค้นเมื่อ 2014-04-26.
- ↑ Higgins, Michael; Smyth, Julie (September 12, 2001). "Military escorts jets to airports in Whitehorse, Vancouver after hijacking fears". The National Post. p. A9.
- ↑ Global National (television). Global TV. 2001-09-11.
- ↑ "NAV CANADA and the 9/11 Crisis". Nav Canada. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2012. สืบค้นเมื่อ 2009-03-19.
- ↑ The Evil Queen (2002-04-15). "Chinese jet hits foggy mountain - World News". TVNZ. สืบค้นเมื่อ 2013-06-30.
- ↑ "ASN Aircraft accident Boeing 767-2J6ER B-2552 Pusan-Kimhae Airport (PUS)". Aviation-safety.net. สืบค้นเมื่อ 2013-06-30.
- ↑ 新华网,国航一架客机起落架出现故障 机头触地 เก็บถาวร 2013-08-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 陈鹏,新华时评:国航应急服务缺位令人寒心 เก็บถาวร 2012-09-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,新华网
- ↑ "Breaking: Air China Airbus A330 Suffers Huge Fire In Beijing". Simple Flying (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-08-27. สืบค้นเมื่อ 2019-08-27.
- ↑ "Flight in China diverted after man found dead in aircraft toilet | The Star". www.thestar.com.my. สืบค้นเมื่อ 2020-09-26.
- ↑ "Air China plane lands safely at Changi Airport after engine catches fire; one runway closed". Elaine Lee. September 10, 2023. สืบค้นเมื่อ September 10, 2023.
- ↑ "Air China flight lands in Singapore after detecting smoke; all passengers safe". September 10, 2023. สืบค้นเมื่อ September 10, 2023.
- ↑ "Changi Airport temporarily closes runway after Air China flight catches fire". September 10, 2023. สืบค้นเมื่อ September 10, 2023.
- ↑ "Air China plane makes emergency landing at Changi Airport after engine catches fire". Ashley Tan. September 10, 2023. สืบค้นเมื่อ September 10, 2023.