มาเลเซียแอร์ไลน์
| |||||||
ก่อตั้ง | 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 (77 ปี) (ในชื่อมาลายันแอร์เวย์) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน |
| ||||||
ท่าหลัก | ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ | ||||||
ท่ารอง | ท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู | ||||||
เมืองสำคัญ | ท่าอากาศยานนานาชาติกุจิง | ||||||
สะสมไมล์ | เอนริช | ||||||
พันธมิตรการบิน | วันเวิลด์[1] | ||||||
บริษัทลูก | |||||||
ขนาดฝูงบิน | 78 | ||||||
จุดหมาย | 67 | ||||||
บริษัทแม่ | คาซานาห์นาซิโอนัล | ||||||
สำนักงานใหญ่ | ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ อำเภอเซอปัง รัฐเซอลาโงร์ ประเทศมาเลเซีย | ||||||
บุคลากรหลัก | |||||||
กำไร | 1.099 พันล้านริงกิต (ค.ศ. 2023)[2] | ||||||
พนักงาน | 12,000 คน[3] | ||||||
เว็บไซต์ | www |
มาเลเซียแอร์ไลน์ (มลายู: Penerbangan Malaysia; อังกฤษ: Malaysia Airlines) เป็นสายการบินประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ที่มีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ และมีสำนักงานนตั้งอยู่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซียแอร์ไลน์เป็นสมาชิกของกลุ่มพันธมิตรทางการบินวันเวิลด์[4]
มาเลเซียแอร์ไลน์มีสายการบินลูกสองสายการบิน ดำเนินการเที่ยวบินตามกำหนดเวลาจากฐานสองแห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติปีนังและท่าอากาศยานนานาชาติสุบัง มาเลเซียแอร์ไลน์มีฝูงบินขนส่งสินค้าที่ดำเนินการโดยบริษัทในเครือ มาสคาร์โก ซึ่งจัดการการขนส่งสินค้าสำหรับเที่ยวบินโดยสารของมาเลเซียแอร์ไลน์ทั้งหมด[5]
มาเลเซียแอร์ไลน์เคยเป็น 1 ใน 5 สายการบินที่ได้รับการจัดอันดับโดยสกายแทรกซ์ให้อยู่ในอันดับ 5 ดาว มาเลเซียแอร์ไลน์เคยเป็นหนึ่งในสายการบินที่มีผู้คนยอมรับมากที่สุดในโลกตะวันออก จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์เครื่องบินของเที่ยวบินที่ 370 สูญหายระหว่างทำการบินในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557[6]
ประวัติ
[แก้]สายการบินนี้เริ่มเปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2490 ในชื่อว่า มาลายันแอร์เวย์ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นมาเลเซียนแอร์เวย์หลังจากมาเลเซียประกาศเอกราช และเมื่อสิงคโปร์ประกาศแยกตัวเป็นเอกราชจากมาเลเซีย สายการบินมาเลเซียนแอร์เวย์ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมาเลเซีย-สิงคโปร์แอร์ไลน์ ต่อมาเกิดปัญหาทางการเมืองระหว่างรัฐบาลของทั้งสองประเทศ ทำให้ทางสายการบินแยกตัวออกเป็น 2 บริษัท คือ มาเลเซียแอร์ไลน์ซิสเต็ม และสิงคโปร์แอร์ไลน์ และในปี พ.ศ. 2530 มาเลเซียแอร์ไลน์ซิสเต็ม ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมาเลเซียแอร์ไลน์
กิจการองค์กร
[แก้]สำนักงานใหญ่
[แก้]มาเลเซียแอร์ไลน์มีสำนักงานใหญ่และสำนักงานจดทะเบียนอยู่ที่ชั้น 1 อาคารบริหาร ที่ท่าอากาศยานานานาชาติกัวลาลัมเปอร์
บริษัทลูก
[แก้]มาเลเซียแอร์ไลน์มีบริษัทลูกดังนี้:
บริษัท | ประเภท | กิจการหลัก | สัดส่วนการถือหุ้น |
---|---|---|---|
Malaysia Airlines Cargo Sdn. Bhd | บริษัทลูก | การขนส่งสินค้า | 100% |
GE Engine Services Malaysia | บริษัทที่เกี่ยวข้อง | บริการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ | 30% |
MASwings Sdn. Bhd. | บริษัทลูก | สายการบิน | 100% |
Firefly Sdn. Bhd. | บริษัทลูก | สายการบิน | 100% |
MAS Aerotechnologies Sdn Bhd | บริษัทลูก | ไม่มีการดำเนินกิจการ | 100% |
MAS Golden Holidays Sdn Bhd | บริษัทลูก | ไม่มีการดำเนินกิจการ | 100% |
Malaysian Aerospace Engineering Sdn Bhd | บริษัทลูก | ไม่มีการดำเนินกิจการ | 100% |
MAS Academy Sdn Bhd | บริษัทลูก | ไม่มีการดำเนินกิจการ | 100% |
Abacus Distribution Systems (Malaysia) Sdn Bhd | บริษัทลูก | ระบบจองคอมพิวเตอร์ | 80% |
Taj Madras Flight Kitchen Limited | บริษัทที่เกี่ยวข้อง | บริการจัดเลี้ยง | 20% |
MAS Awana Services Sdn Bhd | บริษัทลูก | บริการจัดเลี้ยง | 60% |
Brahim's Airline Catering, หรือ LSG Sky Chefs | บริษัทที่เกี่ยวข้อง | บริการจัดเลี้ยง | 30% |
จุดหมายปลายทาง
[แก้]ข้อตกลงการบินร่วม
[แก้]มาเลเซียแอร์ไลน์มีข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินต่อไปนี้:
- แอร์มอริเชียส
- อเมริกันแอร์ไลน์
- บางกอกแอร์เวสย์
- บริติชแอร์เวย์[7]
- คาเธ่ย์แปซิฟิค
- ไชนาแอร์ไลน์[8]
- เอมิเรตส์
- เอธิโอเปียนแอร์ไลน์
- สายการบินเอทิฮัด
- ฟินน์แอร์
- ไฟเออร์ฟลาย (สายการบินลูก)
- การูดาอินโดนีเซีย
- เจแปนแอร์ไลน์
- เคแอลเอ็ม
- โคเรียนแอร์
- ลาตัม ชิลี[9]
- มาสวิงส์ (สายการบินลูก)
- เมียนมาร์แอร์เวย์อินเตอร์แนชนัล
- โอมานแอร์
- ฟิลิปปินส์แอร์ไลน์
- กาตาร์แอร์เวย์
- ควอนตัส
- รอยัลบรูไนแอร์ไลน์
- รอยัลจอร์แดเนียน
- สิงคโปร์แอร์ไลน์
- ศรีลังกันแอร์ไลน์
- การบินไทย
- เตอร์กิชแอร์ไลน์[10]
- อุซเบกิสถานแอร์เวย์[11]
- เซี่ยเหมินแอร์
ข้อตกลงระหว่างสายการบิน
[แก้]มาเลเซียแอร์ไลน์มีข้อตกลงกับสายการบินดังต่อไปนี้:
ฝูงบิน
[แก้]ฝูงบินปัจจุบัน
[แก้]ณ เดือนธันวาคม ค.ศ. 2024 มาเลเซียแอร์ไลน์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[12][13][14]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
S | B | E+ | E | รวม | อ้างอิง | ||||
แอร์บัส เอ330-200 | 6 | — | — | 19 | 42 | 226 | 287 | [15] | จะปลดประจำการในปี 2024 และทดแทนด้วยแอร์บัส เอ330-900[ต้องการอ้างอิง] |
แอร์บัส เอ330-300 | 15 | — | — | 27 | 16 | 247 | 290 | [16] | |
แอร์บัส เอ330-900 | 1 | 19 | — | 28 | 24 | 245 | 297 | ส่งมอบจนถึงปี 2028[17] ทดแทนแอร์บัส เอ330-200 และแอร์บัส เอ330-300 สั่งซื้อพร้อม 20 ตัวเลือก[18] | |
แอร์บัส เอ350-900 | 7 | 3 | 4 | 35 | 27 | 220 | 286 | [19] | หนึ่งลำโอนย้ายมาจากสแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ จะปรับห้องโดยสารใหม่เป็นของมาเลเซียในปี 2025[20][21] |
— | 40 | 32 | 228 | 300 | [ต้องการอ้างอิง] | ||||
โบอิง 737-800 | 42 | — | — | 16 | — | 144 | 160 | [22] | จะปรับปรุงห้องโดยสารใหม่[23] |
12 | 162 | 174 | [24] | ||||||
โบอิง 737 แมกซ์ 8 | 4 | 21 | — | 12 | — | 162 | 174 | [25] | เช่าจากเอแอลซี[26] ส่งมอบจนถึงปี 2026[27][28][29] |
ฝูงบินของมาสคาร์โก | |||||||||
แอร์บัส เอ330-200เอฟ | 3 | — | สินค้า | [30][31] | |||||
รวม | 78 | 43 |
มาเลเซียแอร์ไลน์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 11.3 ปี
รางวัล
[แก้]เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
ผู้มอบรางวัล | ประเทศ / ภูมิภาค | รางวัลที่ได้รับ | ปีที่ได้รับรางวัล |
---|---|---|---|
In Flight Research | สหราชอาณาจักร | Best Cabin Staff in First Class | 2541 |
Best Cabin Staff in Business Class | 2541 | ||
Best Cabin Staff in Economy Class | 2541 | ||
Best Asian Airline in First Class | 2541 | ||
Best Asian Airline in Business Class | 2541 | ||
Best Cabin Staff in First Class | 2542 | ||
Best Cabin Staff in Business Class | 2542 | ||
Best First Class Lounge in First Class | 2542 | ||
Best Asian Airline in Business Class | 2542 | ||
Best Cabin Staff Service in Business Class | 2543 | ||
Best Asian Airline in Business Class | 2543 | ||
Best Airport Service in Business Class | 2543 | ||
Skytrax | สหราชอาณาจักร | Best Cabin Staff in First Class (Ranked As Five Star Airline | 2543 |
Best Cabin Staff Service in First Class | 2544 | ||
Best Cabin Staff Service in Business Class | 2544 | ||
Best Asian Airline in Business Class | 2544 | ||
World Best Signature Dish | 2545 | ||
World's Best Cabin Staff | 2545 | ||
Top Three Airline Lounges Worldwide | 2545 | ||
World Best Signature Dish | 2546 | ||
Top Five Airlines of The Year 2003 | 2546 | ||
Top Three Airlines Of The Year | 2546 | ||
Top Three Best Airlines - Asia | 2546 | ||
Best Airlines Signature Dish 2003 | 2546 | ||
Top Five Airlines Lounge of The Year 2003 | 2546 | ||
World Best Cabin Staff Award | 2546 | ||
World's Best Cabin Staff Award | 2547 | ||
Airline of the Year | 2547 | ||
Best Economy Class | 2547 | ||
Airline Lounge of the Year | 2547 | ||
World Airline Star Ranking (5 Star Airline) | 2548 | ||
Airline of the Year | 2548 | ||
Best In-flight Entertainment (Top 5 Airlines) | 2548 | ||
Best Cabin Staff (Top 3 Airlines) | 2548 | ||
Best Airline South-east Asia | 2548 | ||
World Airline Awards 'Best Economy Class' | 2549 | ||
Best Economy Class Onboard Service Excellence | 2549 | ||
Business Travel World Magazine | สหราชอาณาจักร | Best Business Airline Asia | 2541 |
Airports Company South Africa | แอฟริกาใต้ | International Airlines of The Year | 2541 |
Asia Week | - | Top Advertiser | 2542 |
The American Academy of Hospitality Sciences | สหรัฐอเมริกา | Five Star Diamond Award | 2543 |
Reise & Preise Magazine | เยอรมนี | World 7th Best Airline In Economy Class | 2543 |
Conde Nast Travel Magazine | สหรัฐอเมริกา | Top 10 Transpacific Routes | 2543 |
TravelQuality.com | - | Top Five Best Shorthaul First/Business Class | 2546 |
N/A | สวิตเซอร์แลนด์ | Third Best Carrier in Switzerland | |
TTG Asia | เอเชีย | Best South-East Asian Airline | 2548 |
Smart Travel Asia Fovourite Airline | - | Favourite Airline Food (First Place) | 2548 |
ท่าอากาศยานแมนเชสเตอร์ | สหราชอาณาจักร | Skyliner Award/Long Haul Airline | 2548 |
Reader Digest | - | Reader's Digest Trusted Brand Platinum Award | 2549 |
Global Traveler Awards 2006 | นิวยอร์ก,สหรัฐอเมริกา | 8th Best Airline In The World | 2549 |
10th Best Business Class | 2549 | ||
Best New Business Class | 2549 | ||
3rd Best On Board Service | 2549 | ||
4th Best Trans Pacific Airline | 2549 | ||
The Travel Weekly | สหราชอาณาจักร | Best Airline to Asia | 2549 |
Center for Asia Pacific Aviation | เอเชียแปซิฟิก | CAPA Airline Turnaround of The Year | 2549 |
Hospitality India | อินเดีย | Best South Asia Airline | 2549 |
อุบัติเหตุ
[แก้]ปลอดภัย
[แก้]- 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เครื่องบิน โบอิง 777-200 เกิดเหตุท้ายตัวเครื่องกระแทกพื้นขณะกำลังบินขึ้นที่ท่าอากาศยานซูริค ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
- 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 เครื่องบิน โบอิง 777-200 (9M-MRI) บินออกจากท่าอากาศยานสต็อกโฮล์มออลันดา จำเป็นต้องลงจอดฉุกเฉินที่ท่าอากาศยานเดิมอีกครั้ง หลังจากเครื่องยนต์เกิดระเบิดขึ้น ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
- 23 มีนาคม พ.ศ. 2557 เครื่องบิน โบอิง 737-800 เที่ยวบิน MH114 เดินทางจากกัวลาลัมเปอร์ไปยังกรุงกาฐมาณฑุ เมืองหลวงของเนปาล แต่ชนเข้ากับฝูงนกเป็ดน้ำ ขณะกำลังร่อนลงจอด แต่เครื่องบินสามารถลงจอดได้โดยปลอดภัย และไม่มีผู้ใดได้รับอันตราย
- 24 มีนาคม พ.ศ. 2557 เครื่องบิน แอร์บัส เอ330-300 เที่ยวบิน MH066 เดินทางจากกัวลาลัมเปอร์ ไปยังสนามบินอินชอน โซล แต่ระหว่างที่กำลังบินอยู่กลางอากาศ นักบินก็ได้เบี่ยงเส้นทางและขอนำเครื่องลงจอดที่สนามบินนานาชาติฮ่องกงแทน หลังจากเกิดปัญหาขัดข้องบางประการในระบบไฟฟ้า ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
ตก
[แก้]- 4 ธันวาคม พ.ศ. 2520 เครื่องบิน โบอิง 737-200 (9M-MBD) เที่ยวบินที่ 653 ถูกปล้นขณะทำการบิน และตกที่ Tanjung Kupang รัฐยะโฮร์ คนบนเครื่องบินจำนวน 100 คนเสียชีวิตทั้งหมด
- 15 กันยายน พ.ศ. 2538 เครื่องบิน ฟอกเกอร์ เอฟ50 (9M-MGH) ตกระหว่างร่อนลงที่ตาเวา รัฐซาบะฮ์ เนื่องจากมีลมปะทะรุนแรง ผู้โดยสารทั้ง 34 คนเสียชีวิต
- 8 มีนาคม พ.ศ. 2557 เครื่องบิน โบอิง 777-200 เที่ยวบิน MH370 สูญหายระหว่างบินอยู่เหนืออ่าวไทยขณะกำลังบินจากกัวลาลัมเปอร์สู่ปักกิ่ง โดยบนเครื่องบินมีผู้โดยสาร 239 คน[32] ภายหลังรัฐบาลมาเลเซียแถลงข่าว ว่าเครื่องบินประสบอุบัติเหตุตกกลางมหาสมุทรอินเดียตอนใต้
- 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เครื่องบิน โบอิง 777-200อีอาร์ เที่ยวบิน MH017 เดินทางจากกรุงอัมสเตอร์ดัม ไปยังกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ถูกขีปนาวุธยิงตกในประเทศยูเครน ใกล้กับพรมแดนของรัสเซีย เบื้องต้นมีรายงานว่าบนเครื่องมีผู้โดยสารและเจ้าหน้าที่อยู่ 298 คน โดยเจ้าหน้าที่ของมาเลเซีย แอร์ไลน์ระบุว่าเครื่องขาดการติดต่อในน่านฟ้าของยูเครน ขณะที่แหล่งข่าวทางการบินในมอสโกกล่าวกับรอยเตอร์ว่า มีการพบซากเครื่องบินไหม้อยู่ในเขตทางตะวันออกของยูเครน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Malaysia Airlines to Join Oneworld in February". Malaysian Digest. 30 October 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2012. สืบค้นเมื่อ 17 February 2013.
{{cite news}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) - ↑ "Malaysia Aviation Group Achieves Positive Operating Profit for Second Consecutive Year, up 64% at RM889mil". www.malaysiaairlines.com (Press release). 2024-03-21. สืบค้นเมื่อ 24 March 2024.
- ↑ "Join Our Sky-High Team", Malaysia Airlines, สืบค้นเมื่อ 2024-01-31
- ↑ "Malaysia Airlines - oneworld Member Airline". www.oneworld.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "MASkargo Handles Biggest Ever i-Port Shipment | MASkargo Logistics". archive.ph. 2012-06-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-30. สืบค้นเมื่อ 2023-09-20.
- ↑ Schlappig, Ben; April 18, 2016; 20 (2016-04-18). "Malaysia Airlines' Puzzling Revived 747 Is Back In Service!". One Mile at a Time (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
{{cite web}}
: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์) - ↑ Jim Liu (8 October 2019). "British Airways / Malaysia Airlines begins codeshare partnership from Oct 2019". Routes Online. สืบค้นเมื่อ 5 October 2021.
- ↑ "China Airlines / Malaysia Airlines proposes codeshare service from Nov 2016".
- ↑ Liu, Jim (16 December 2019). "LATAM / Malaysia Airlines begins codeshare partnership from mid-Dec 2019". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 16 December 2019.
- ↑ Liu, Jim (26 November 2019). "Turkish Airlines extends Malaysia Airlines codeshare to Oceania from Nov 2019". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 16 December 2019.
- ↑ Liu, Jim (3 April 2018). "Uzbekistan Airways / Malaysia Airlines expands codeshare routes from April 2018". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 3 April 2018.
- ↑ "Malaysia Airlines Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2024-03-31.
- ↑ "Global Airline Guide 2019 (Part One)". Airliner World. October 2019: 20.
- ↑ "Our Fleet". Malaysia Airlines.
- ↑ "Airbus A330-200 Interior Arrangement". Malaysia Airlines. สืบค้นเมื่อ 7 May 2018.
- ↑ "Airbus A330-300 Interior Arrangement". Malaysia Airlines. สืบค้นเมื่อ 7 May 2018.
- ↑ Freed, Jamie (2022-08-15). "Malaysia Airlines signs provisional deal for 20 Airbus A330neos". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-08-15.
- ↑ "MAG expects first A330-900neo to arrive in September next year". Business Times. 2 November 2023.
- ↑ "Airbus A350-900 Interior Arrangement". Malaysia Airlines. สืบค้นเมื่อ 7 May 2018.
- ↑ "Malaysia Airlines Welcomes Its First A350 XWB". Malaysia Airlines (Press release). 30 November 2017. สืบค้นเมื่อ 14 November 2020.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Malaysia Airlines Welcomes Sixth A350 XWB". malaysiaairlines.com. 13 July 2018. สืบค้นเมื่อ 23 April 2022.
- ↑ "Boeing 737-800 Interior Arrangement". Malaysia Airlines. สืบค้นเมื่อ 7 May 2018.
- ↑ "Malaysia Airlines reveals new Boeing 737 business class". Executive Traveller. 21 July 2022.
- ↑ "Boeing 737-800NG Interior Arrangement". Malaysia Airlines. สืบค้นเมื่อ 27 December 2023.
- ↑ "Boeing 737-8 Interior Arrangement". Malaysia Airlines. สืบค้นเมื่อ 27 December 2023.
- ↑ "Air Lease Corporation Announces Delivery of First of 25 New Boeing 737-8 Aircraft to Malaysia Airlines Berhad". aviator.aero. 21 November 2023.
- ↑ "Malaysia Airlines retires A380s, to take B737 max in 2024". Ch-Aviation. 6 May 2021.
- ↑ "Malaysia Aviation Group reports first operating profit since 2014's reset". 18 April 2023.
- ↑ "MAG's First Boeing 737-8 Aircraft Advances its Fleet Modernisation" (Press release). Malaysia Airlines. 20 November 2023.
- ↑ "Cargo capacity configuration". MASKargo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-27. สืบค้นเมื่อ 27 December 2023.
- ↑ "MASKargo ushers new year with brand new A330-200F". Maskargo. 30 January 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-27. สืบค้นเมื่อ 2024-03-31.
- ↑ "MH370 Flight Incident" (Press release). Malaysia Airlines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-08. สืบค้นเมื่อ 2014-03-08.