รถไฟใต้ดินลอนดอน
รถไฟใต้ดินลอนดอน | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
ที่ตั้ง | กรุงลอนดอน |
ประเภท | รถไฟใต้ดิน |
จำนวนสาย | 11[1] |
จำนวนสถานี | ให้บริการ 272 สถานี[1] (เป็นเจ้าของ 262 สถานี) |
ผู้โดยสารต่อวัน | 1.8 ล้าน (กรกฎาคม 2021)[2] |
ผู้โดยสารต่อปี | 1.23 พันล้านคน (ค.ศ. 2012/13)[2][3] |
เว็บไซต์ | tfl |
การให้บริการ | |
เริ่มดำเนินงาน | 10 มกราคม 1863 |
ผู้ดำเนินงาน | London Underground Ltd (LUL); ส่วนหนึ่งของ การคมนาคมลอนดอน (TfL) |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
ระยะทาง | 402 กิโลเมตร (250 ไมล์) |
รางกว้าง |
|
การจ่ายไฟฟ้า | 630–750 V DC รางที่สี่ |
ความเร็วเฉลี่ย | 33 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (21 ไมล์ต่อชั่วโมง)[4] |
รถไฟใต้ดินลอนดอน (อังกฤษ: London Underground) เป็นระบบขนส่งมวลชนของกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ตัวระบบใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก มีทั้งรถไฟบนดินและรถไฟใต้ดินอยู่ภายในสายเดียวกัน ถือเป็นระบบรถไฟใต้ดินที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เริ่มเปิดใช้เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1863) โดยสายแรกคือ สายเมโทรโพลิตัน ซึ่งปัจจุบันกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของ "สาย Circle" ซึ่งวิ่งรอบโซน 1 ชั้นในของเมือง และ "สาย Hammersmith & City" ที่วิ่งพาดจากด้านตะวันตกเฉียงใต้ไปยังด้านตะวันออกของเมือง ปัจจุบันระบบรถไฟฟ้าใต้ดินลอนดอนมีทั้งหมด 274 สถานี มีระยะทางรวมประมาณ 406 กิโลเมตร (253 ไมล์) และมีผู้โดยสารในปี ค.ศ. 2016–17 ประมาณ 1,379 ล้านคน-เที่ยว หรือเฉลี่ย 4.8 ล้านคน-เที่ยวต่อวัน[5] แม้ว่าชื่อ "the Underground" จะทำให้คนส่วนใหญ่นึกถึงรถไฟใต้ดิน แต่ความจริงแล้วมีเพียงร้อยละ 45 ของเส้นทางทั้งหมดเท่านั้นที่เป็นทางรถไฟในอุโมงค์ใต้ดิน พื้นที่ให้บริการส่วนใหญ่ของรถไฟใต้ดินลอนดอน ได้แก่พื้นที่ทางตอนเหนือของแม่น้ำเทมส์ ทำให้ส่วนพื้นที่ตอนใต้ของเกรเทอร์ลอนดอน มีจำนวนสถานีให้บริการเพียงร้อยละ 10 ของสถานีทั้งหมดเท่านั้น[6]
ในระยะแรกเส้นทางแต่ละสายของรถไฟใต้ดินลอนดอน เป็นกรรมสิทธิ์และอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของแต่ละบริษัทเอกชนที่ลงทุนสร้างทางเส้นทางรถไฟ แต่ภายหลังถูกรวมเข้าด้วยกันภายใต้แบรนด์ "UNDERGROUND" ในตอนต้นศตวรรษที่ 20 และภายหลัง ในปี ค.ศ. 1933 ก็ถูกควบรวมเข้ากับเส้นทางขนส่งทางรางใต้ผิวดินอื่น ๆ และ เส้นทางรถเมล์ เพื่อก่อตั้งการขนส่งแห่งนครลอนดอน (London Transport) ขึ้นภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการขนส่งผู้โดยสารลอนดอน (London Passenger Transport Board) ปัจจุบันผู้ดำเนินการให้บริการของรถไฟใต้ดินลอนดอน คือ บริษัท London Underground Limited (LUL) ซึ่งเป็นหน่วยงานสาขาขององค์การคมนาคมสำหรับลอนดอน (อังกฤษ: Transport for London) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 (พ.ศ. 2546) เป็นต้นมา รถไฟใต้ดินลอนดอนได้ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ องค์การคมนาคมสำหรับลอนดอน (TfL) ซึ่งควบคุมการบริหารจัดการรถเมล์ รถไฟรางเบาสายดอคแลนดส์ รถไฟเหนือดินลอนดอน และครอสเรล (Crossrail หรือตามชื่อเป็นทางการว่า สายอลิซาเบธ) ด้วย
การก่อสร้างทางรถไฟใต้ดินลอนดอน เป็นโครงการที่ต้องมีการระดมทุนอย่างมหาศาล แบบที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน ทำให้การก่อสร้างเครือข่ายทางรถไฟใต้ดินสายแรกของโลกนี้มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติการระดมทุนผ่านสถาบันการเงินสมัยใหม่
รถไฟใต้ดินลอนดอน บางครั้งจะเรียกว่า ดิอันเดอร์กราวนด์ (The Underground) หรือ เดอะทูป (The Tube) ตามลักษณะของอุโมงค์รถไฟใต้ดิน
ประวัติศาสตร์
[แก้]ในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 มหานครลอนดอนมีการขยายตัวทางประชากรอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้มีแรงงานจำนวนมากจากพื้นที่ชนบทอพยพเข้ามาหางานทำ พอถึงปี ค.ศ. 1830 พื้นที่เขตชั้นในของลอนดอนก็มีประชากรมากถึง 1.5 ล้านคน และยังมีแรงงานจำนวนไม่ต่ำกว่า 2 แสนคน เดินทางเข้ามาทำงานทุกเช้า ทำให้การจราจรในท้องถนนของนครลอนดอนแทบหยุดนิ่งเป็นอัมพาต เพราะในขณะนั้นต้องพึ่งพารถลาก และรถโดยสารเทียมม้า หรือเทียมวัวซึ่งเคลื่อนที่ช้า[8] และยังทำให้แรงงานจำนวนมากต้องมาอาศัยอยู่กันอย่างแออัดเป็นสลัมในพื้นที่ชั้นในของเมือง เนื่องจากการจราจรที่เกือบหยุดนิ่งในช่วงเช้า ทำให้แรงงานเหล่านี้จำเป็นต้องเข้ามาหาที่อยู่ใกล้ ๆ สถานที่ทำงาน ขณะนั้นเทคโนโลยีรถไฟยังเป็นของใหม่ แต่ความพยายามที่จะสร้างทางรถไฟเพื่อขนผู้โดยสารจากชานเมือง เข้ามาใจกลางเมือง ยังถูกต่อต้านในรัฐสภาเพราะพื้นที่ใจกลางกรุงลอนดอนล้วนแต่เป็นที่ดินที่มีเศรษฐี และผู้มีอิทธิพลถือกรรมสิทธิ์อยู่ ทำให้การเวนคืนพื้นที่เพื่อสร้างทางรถไฟในพื้นที่ส่วนในของเมืองหลวงเป็นเรื่องที่มีอุปสรรคมากในทางการเมือง ดังนั้นแม้จะมีชุมทางรถไฟถึง 7 แห่งเกิดขึ้นรอบพื้นที่โซนภายในของนครลอนดอน[9] แต่การจะเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟใหญ่ ๆ เหล่านั้นเข้าด้วยกันโดยทางรถไฟบนดิน (at grade) เป็นเรื่องที่ถูกคัดค้านมาตลอด ด้วยเหตุนี้ในปี ค.ศ. 1830 จึงเกิดแนวคิดที่จะสร้างทางรถไฟใต้ดินเพื่อนำผู้คนจากพื้นที่ภายนอกของลอนดอนเข้ามาทำงานในใจกลางเมือง โดยมีนายชาร์ลส เพียรสัน (Charles Pearson) อัยการของนครลอนดอนรับหน้าที่เป็นหัวเรือในการผลักดันแนวคิดนี้ไปสู่การปฏิบัติ นายเพียร์สันจึงได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นบิดาแห่งรถไฟใต้ดินลอนดอนมาจนปัจจุบัน
ในปี ค.ศ. 1854 ทางรถไฟสายเมโทรโพลิตันได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างได้เป็นสายแรก หลังจากเปิดทดลองอยู่สองปี ทางรถไฟใต้ดินสายแรกของโลกก็เปิดให้บริการในเดือนมกราคม ค.ศ. 1863 ระหว่างสถานีแพดดิงตัน กับสถานีฟาร์ริงตัน โดยเป็นรถโดยสารที่ให้ความสว่างด้วยแก๊ส และมีหัวรถจักรไอน้ำฉุดลาก มีผู้โดยสารใช้บริการถึง 38,000 คนในวันเปิดให้บริการ
ลำดับเวลา
[แก้]- ค.ศ. 1863: รถไฟฟ้าใต้ดินลอนดอนเปิดให้บริการ โดยบริษัทรถไฟเมโทรโพลิตันเป็นผู้สร้างสายแรก และให้บริการ 7 สถานีระหว่างสถานีแพดดิงตัน กับสถานีฟาร์ริงตัน
- ค.ศ. 1864: สายเมโทรโพลิตันขยายต่อไปทางทิศตะวันตกและมุ่งลงใต้ไปถึง Hammersmith กับ Kensington
- ค.ศ. 1865: สายเมโทรโพลิตันขยายไปทางทิศตะวันออกจนถึงสถานี Moorgate
อุบัติเหตุและการก่อการร้าย
[แก้]- เหตุระเบิดที่ลอนดอน วันที่ 7 กรกฎาคม 2548 และวันที่ 21 กรกฎาคม 2548
การบริการ
[แก้]รถไฟใต้ดินไม่ได้เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ยกเว้นวันปีใหม่ เพราะว่าสายรถไฟใต้ดินส่วนใหญ่จะมีทางรถไฟแค่สองรางสวนกันเท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องปิดบริการตอนกลางคืนเพื่อทำการปรับปรุงรักษารางรถไฟ รถไฟจะเริ่มให้บริการเที่ยวแรกเวลา 04.30 น. เป็นต้นไปจนถึงเวลา 01.30 น. ซึ่งแตกต่างจากระบบรถไฟฟ้าใต้ดินที่นิวยอร์กตรงที่ลอนดอนไม่มีรางให้อ้อมบริเวณที่บำรุงรักษา เมื่อไม่นานมานี้จึงได้มีการเริ่มใช้เวลาที่รถไฟปิดบริการวันสุดสัปดาห์ในการบำรุงรักษา
สถานี
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สาย
[แก้]ตารางข้างล่างนี้แสดงสายรถไฟใต้ดินต่าง ๆ ที่วิ่งบนรถไฟใต้ดินลอนดอน ถึงปี พ.ศ. 2550 รถไฟใต้ดินลอนดอนมีทั้งหมด 12 สาย สายที่ 12 ซึ่งก็คือสายอีสต์ลอนดอน แต่สายนี้ถูกปิดลงเพื่อเปลี่ยนแปลงไปเป็นรถไฟเหนือดินลอนดอน และเปิดให้บริการอีกครั้งในปี พ.ศ. 2553
ชื่อสาย | สีบนแผนที่ | ให้บริการครั้งแรก | ส่วนแรกเปิด * | ตั้งชื่อสายเมื่อ | ประเภท | ระยะทาง (กม.) | ระยะทาง (ไมล์) | จำนวนสถานี | รอบการเดินรถต่อปี (พันรอบ) | รอบการเดินรถเฉลี่ยต่อไมล์ (พันรอบ) |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สายเบเคอร์ลู | น้ำตาล | พ.ศ. 2449 | พ.ศ. 2449 | พ.ศ. 2449 | ระดับลึก | 23.2 | 14.5 | 25 | 95,947 | 6,617 |
สายเซ็นทรัล | แดง | พ.ศ. 2443 | พ.ศ. 2399 | พ.ศ. 2443 | ระดับลึก | 74 | 46 | 49 | 183,582 | 3,990 |
สายเซอร์เคิล | เหลือง | พ.ศ. 2427 | พ.ศ. 2406 | พ.ศ. 2492 | กึ่งใต้ดิน-บนดิน | 22.5 | 14 | 27 | 68,485 | 4,892 |
สายดิสทริกต์ | เขียว | พ.ศ. 2411 | พ.ศ. 2401 | พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2448 | กึ่งใต้ดิน-บนดิน | 64 | 40 | 60 | 172,879 | 4,322 |
สายแฮมเมอร์สมิธและซิตี | ชมพู | พ.ศ. 2406 | พ.ศ. 2401 | พ.ศ. 2531 | กึ่งใต้ดิน-บนดิน | 26.5 | 16.5 | 28 | 45,845 | 2,778 |
สายจูบิลี | เทา | พ.ศ. 2522 | พ.ศ. 2422 | พ.ศ. 2522 | ระดับลึก | 36.2 | 22.5 | 27 | 127,584 | 5,670 |
สายเมโทรโพลิตัน | ม่วง | พ.ศ. 2406 | พ.ศ. 2406 | พ.ศ. 2406 | กึ่งใต้ดิน-บนดิน | 66.7 | 41.5 | 34 | 53,697 | 1,294 |
สายนอร์ธเธิร์น | ดำ | พ.ศ. 2433 | พ.ศ. 2410 | พ.ศ. 2480 | ระดับลึก | 58 | 36 | 50 | 206,734 | 5,743 |
สายพิคคาดิลลี่ | น้ำเงิน | พ.ศ. 2449 | พ.ศ. 2412 | พ.ศ. 2449 | ระดับลึก | 71 | 44.3 | 52 | 176,177 | 3,977 |
สายวิกตอเรีย | ฟ้า | พ.ศ. 2511 | พ.ศ. 2511 | พ.ศ. 2511 | ระดับลึก | 21 | 13.25 | 16 | 161,319 | 12,175 |
สายวอเตอร์ลูและซิตี | ฟ้าอ่อน | พ.ศ. 2441 | พ.ศ. 2441 | พ.ศ. 2441 | ระดับลึก | 2.5 | 1.5 | 2 | 9,616 | 6,410 |
* เมื่อปีที่แสดงเป็นปีก่อนหน้าปี ให้บริการครั้งแรก ก็หมายความว่าสายที่กล่าวเปิดบริการเป็นส่วนหนึ่งของสายอื่นมาก่อนหรือโดยบริษัทอื่นมาก่อน. |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "About TfL – What we do – London Underground – Facts & figures". Transport for London. สืบค้นเมื่อ 17 June 2014.
- ↑ 2.0 2.1 Transport for London (2021-08-23). "Public Transport Journeys by Type of Transport". London Datastore. สืบค้นเมื่อ 2021-09-14.
- ↑ "Annual Report and Statement of Accounts" (PDF). Transport for London. 2021-07-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 November 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-09-14.
- ↑ Transport for London (29 July 2019). "Facts & figures".
- ↑ "TfL annual report 201617" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 August 2017.
- ↑ Attwooll, Jolyon (5 August 2015). "London Underground: 150 fascinating Tube facts". The Daily Telegraph. London.
- ↑ Peacock (1970), pp. 37–38.
- ↑ Wolmar 2004, p. 22.
- ↑ Green 1987, p. 3.
บรรณานุกรม
[แก้]- Artmonsky, Ruth (2012). Designing Women: Women Working in Advertising and Publicity from the 1920s to the 1960s (1st ed.). Artmonsky Arts. ISBN 978-0-9551994-9-3.
- Bonavia, Michael R. (1981). British Rail: The First 25 Years. Newton Abbot: David & Charles. ISBN 978-0-7153-8002-4.
- Brown, Joe (1 October 2012). London Railway Atlas (3rd ed.). Ian Allan Publishing. ISBN 978-0-7110-3728-1.
- Cooke, B.W.C., บ.ก. (September 1964). "The Why and the Wherefore: London Transport Board". Railway Magazine. Vol. 110 no. 761. Westminster: Tothill Press.
- Croome, D.; Jackson, A (1993). Rails Through The Clay — A History Of London's Tube Railways (2nd ed.). Capital Transport. ISBN 978-1-85414-151-4.
- Day, John R; Reed, John (2010) [1963]. The Story of London's Underground (11th ed.). Capital Transport. ISBN 978-1-85414-341-9.
- Day, John R.; Reed, John (2008) [1963]. The Story of London's Underground (10th ed.). Harrow: Capital Transport. ISBN 978-1-85414-316-7.
- Fennell, Desmond (1988). Investigation into the King's Cross Underground Fire. Department of Transport. ISBN 978-0-10-104992-4. Scan available online at railwaysarchive.co.uk. Retrieved 27 October 2012.
- Green, Oliver (1987). The London Underground — An illustrated history. Ian Allan. ISBN 978-0-7110-1720-7.
- Hardy, Brian (2002) [1976]. London Underground Rolling Stock (15th ed.). Harrow Weald: Capital Transport. ISBN 978-1-85414-263-4.
- Horne, Mike (2003). The Metropolitan Line. Capital Transport. ISBN 978-1-85414-275-7.
- Horne, Mike (2006). The District Line. Capital Transport. ISBN 978-1-85414-292-4.
- Jackson, Alan (1986). London's Metropolitan Railway. David & Charles. ISBN 978-0-7153-8839-6. Snippet view at google.com, retrieved 20 August 2012
- Lentin, Antony (2013). Banker, Traitor, Scapegoat, Spy? The Troublesome Case of Sir Edgar Speyer. Haus. ISBN 978-1-908323-11-8.
- Ovenden, Mark (2013). London Underground by Design. Penguin Books. ISBN 978-1-84614-417-2.
- Peacock, Thomas B. (1970). Great Western London Suburban Services. Oakwood Press. ASIN B0006C7PD2.
- Rose, Douglas (December 2007) [1980]. The London Underground: A Diagrammatic History (8th ed.). Capital Transport. ISBN 978-1-85414-315-0.
- Simpson, Bill (2003). A History of the Metropolitan Railway. Vol 1. Lamplight Publications. ISBN 978-1-899246-07-6.
- Wolmar, Christian (2004). The Subterranean Railway: how the London Underground was built and how it changed the city forever. Atlantic. ISBN 978-1-84354-023-6.
- Transport Committee (December 2009). "Too Close For Comfort: Passengers' experiences of the London Underground" (PDF). London Assembly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 August 2012. สืบค้นเมื่อ 1 April 2013.
- Transport Committee (November 2010). "Accessibility of the transport network" (PDF). London Assembly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 August 2012. สืบค้นเมื่อ 20 April 2013.
- Transport Committee (September 2011). "The State of the Underground" (PDF). London Assembly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 May 2015. สืบค้นเมื่อ 1 April 2012.
- "Your accessible transport network" (PDF). Transport for London. December 2012. สืบค้นเมื่อ 20 April 2013.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- รถไฟใต้ดินลอนดอน เก็บถาวร 2008-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ