ข้ามไปเนื้อหา

สถานีวัดมังกร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สถานีวัดมังกรกมลาวาส)
วัดมังกร
BL29

Wat Mangkon
ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนเจริญกรุง เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาต่างระดับ
ทางวิ่ง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างใต้ดิน
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีBL29
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ29 กรกฎาคม พ.ศ. 2562; 5 ปีก่อน (2562-07-29)
ผู้โดยสาร
25642,672,715
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
สามยอด
มุ่งหน้า หลักสอง
สายเฉลิมรัชมงคล หัวลำโพง
มุ่งหน้า ท่าพระ ผ่าน บางซื่อ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีวัดมังกร (อังกฤษ: Wat Mangkon Station, รหัส BL29) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลโดยเป็นสถานีที่อยู่ใจกลางย่านธุรกิจของชาวไทยเชื้อสายจีน ในแนวถนนเจริญกรุง กรุงเทพมหานคร บริเวณย่านวัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) ใกล้กับถนนเยาวราช ซึ่งถือเป็นไชน่าทาวน์ของเมืองไทย

ที่ตั้ง

[แก้]

ถนนเจริญกรุง บริเวณสี่แยกแปลงนาม (จุดบรรจบถนนเจริญกรุง, ถนนแปลงนาม และถนนพลับพลาไชย) ใกล้กับวัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) ในพื้นที่แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และแขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร

สถานีวัดมังกรเป็นหนึ่งในสถานีรถไฟฟ้าที่มีตัวสถานีอยู่ใจกลางพื้นที่เมืองเก่าของกรุงเทพมหานคร ภายในขอบเขตระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา คลองรอบกรุง และคลองผดุงกรุงเกษม โดยแผนงานก่อนหน้านี้ได้ระบุที่ตั้งสถานีและจุดขึ้น-ลงสถานีอยู่ที่ซอยเจริญกรุง 16 (ตรอกอิสรานุภาพ หรือตรอกเล่งบ๊วยเอี้ย) หรือตลาดใหม่เยาวราช ซึ่งถือเป็นย่านการค้าเก่าแก่ใกล้กับโบราณสถานที่สำคัญคือวัดมังกรฯ เป็นย่านที่มีวิถีชุมชนเป็นเอกลักษณ์และเกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของชาวไทยเชื้อสายจีน ดังนั้นแผนการเวนคืนเพื่อก่อสร้างสถานีบริเวณซอยเจริญกรุง 16 จึงได้รับการคัดค้านอย่างหนักจากประชาชนส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งในแผนเดิมของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ได้ตัดสินใจยกเลิกการก่อสร้างสถานีแห่งนี้ แต่หลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็น จึงมีทางออกร่วมกันคือปรับเปลี่ยนทางขึ้น-ลงสถานีมาใช้พื้นที่ว่างที่อยู่ใกล้เคียงแทน ได้แก่พื้นที่รกร้างตรงข้ามวัดมังกรฯ และหน้าโรงภาพยนตร์ศิริรามา (ป้ายรถประจำทางวัดมังกรฯ ระหว่างสี่แยกแปลงนามและห้าแยกหมอมี) เพื่อลดผลกระทบจากการเวนคืน โดยจุดศูนย์กลางสถานีอยู่ที่บริเวณสี่แยกแปลงนาม ซึ่งอยู่ถัดออกไปจากซอยเจริญกรุง 16 ประมาณ 200-300 เมตร[1]

นอกจากนี้ ด้วยที่ตั้งสถานีที่เป็นย่านการค้าหนาแน่นบนถนนเจริญกรุงซึ่งเป็นถนนสายหลักในย่านเมืองเก่า และเป็นถนนที่มีพื้นที่แคบ มีการจราจรคับคั่งตลอดทั้งวัน จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนก่อสร้างเส้นทางและตัวสถานีวัดมังกรฯ อย่างระมัดระวัง โดยเลือกวิธีการก่อสร้างแบบไม่เปิดหน้าดิน เพื่อลดผลกระทบจากการปิดการจราจร

การออกแบบ

[แก้]

ลักษณะสถานีวัดมังกรเป็นชานชาลาต่างระดับมี 3 ชั้น มีทางเข้าออกบริเวณสี่แยกแปลงนามและบริเวณซอยเจริญกรุง 18 เมื่อเริ่มก่อสร้างสถานีได้รื้อถอนอาคารบางส่วนด้านทิศใต้ของถนนเจริญกรุงออก โดยออกแบบทางเข้าออกสอดคล้องกับอาคารบริเวณใกล้เคียง[2]

การออกแบบตัวสถานีทั้งภายนอกบริเวณระดับดินและภายใน มีรูปแบบสถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกส หรือชิโนโปรตุกีส เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมโดยรอบ และยังสื่อสารถึงวัฒนธรรมแบบไทย-จีนของประชาชนชาวเยาวราชเป็นหลัก รวมถึงได้นำลวดลายของมังกรมาประดับใช้ในบริเวณสถานี ตั้งแต่เพดานบริเวณชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร และบริเวณหัวเสาในสถานีที่ใช้สลับกับประแจจีนและลายดอกบัว และบริเวณทางลงเข้าสู่ตัวสถานี โดยได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบจากวัดมังกรกมลาวาส หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ โดย เล่ง ในภาษาจีนแต้จิ๋ว คือ มังกร คำว่า เน่ย คือ ดอกบัว และ คำว่า ยี่ คือวัด[3] และยังได้มีการออกแบบเพดานให้มีความรู้สึกเหมือนกำลังลงไปอยู่ใต้ท้องของมังกร โดยให้ประตูทางเข้าสถานีเป็นส่วนหาง และหัวของมังกรอยู่ภายในบริเวณสถานี [4]

แผนผังสถานี

[แก้]
3
ร้านค้า
(เฉพาะทางออก 2)
- ร้านค้า
2
ร้านค้า
(เฉพาะทางออก 2)
- ร้านค้า, ห้องเครื่อง, ปล่องระบายอากาศ
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, วัดมังกรกมลาวาส, ย่านเยาวราช, ถนนเจริญกรุง
B1
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-3, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
B2
ชานชาลา
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
B3
ห้องเครื่อง
ชั้น Plant ชั้นห้องเครื่อง
B4
ชานชาลา
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย

รายละเอียดสถานี

[แก้]

สัญลักษณ์ของสถานี

[แก้]

ตราสัญลักษณ์ของสถานีเป็นมังกร เพื่อสื่อถึงย่านไชน่าทาวน์ ถนนเยาวราชและวัดมังกรกมลาวาส และใช้สีแดงกับสีทองตกแต่งภายในเนื่องมาจากเป็นสีมงคลของชาวจีน ส่วนกระเบื้องหัวเสาใช้ ลวดลายของประแจจีนบุพื้นสีทอง สลับกับกระเบื้องลายดอกบัว

รูปแบบของสถานี

[แก้]

เป็นชานชาลาต่างระดับ (Station with Stack Platform) เนื่องจากถนนเจริญกรุงมีพื้นที่คับแคบ ทำให้ต้องสร้างอุโมงค์ซ้อนกัน

ทางเข้า-ออกสถานี

[แก้]

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี

[แก้]
ชานชาลา 2 มุ่งหน้าสถานีท่าพระ (ผ่านสถานีบางซื่อ)

แบ่งเป็น 7 ชั้น โดยเป็นอาคารเหนือพื้นดิน 3 ชั้น และชั้นใต้ดิน 4 ชั้น ประกอบด้วย

  • 3 ร้านค้า (อาคาร 3 ชั้น บริเวณทางออก 2)
  • 2 ร้านค้า (อาคาร 3 ชั้น บริเวณทางออก 2) ,ห้องเครื่อง และปล่องระบายอากาศ
  • G ชั้นระดับถนน (Ground level) ทางเข้า-ออก ลานกิจกรรมบริเวณสถานี (ฝั่งเขตสัมพันธวงศ์) และร้านค้า (อาคาร 3 ชั้น บริเวณทางออก 2)
  • B1 ชั้นออกบัตรโดยสาร เหรียญโดยสาร และห้องประชาสัมพันธ์ (Concourse level)
  • B2 ชั้นชานชาลาหมายเลข 2 มุ่งหน้าสถานีท่าพระ (ผ่านสถานีบางซื่อ)
  • B3 ชั้นห้องเครื่อง
  • B4 ชั้นชานชาลาหมายเลข 1 มุ่งหน้าหลักสอง

เวลาให้บริการ

[แก้]
ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายเฉลิมรัชมงคล[5]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง จันทร์ – ศุกร์ 05:53 00:10
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 05:59 00:10
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ – ศุกร์ 05:51 23:28
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 06:00 23:28
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง 22:41

รถโดยสารประจำทาง

[แก้]

ถนนเจริญกรุง

[แก้]
  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

[แก้]
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
1 (2) ถนนตก ท่าเตียน 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ขสมก.
4 (1) รถโดยสารประจำทาง ท่าเรือคลองเตย ท่านํ้าภาษีเจริญ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-นํ้าเงิน

21 (1) รถโดยสารประจำทาง วัดคู่สร้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) 3.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

25 (3) รถโดยสารประจำทาง อู่แพรกษาบ่อดิน ท่าช้างวังหลวง 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

49 (1) รถโดยสารประจำทาง วงกลม: สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

53 (1) วงกลม: สนามหลวง เทเวศร์ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
73 (3) รถโดยสารประจำทาง อู่สวนสยาม สะพานพระพุทธยอดฟ้า รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
ตลาดห้วยขวาง

รถเอกชน

[แก้]
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
1 (3-35) เซ็นทรัลพระราม 3 สนามหลวง 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
4 (3-36) ท่าเรือคลองเตย ท่าน้ำภาษีเจริญ
7 (4-36) เอกชัย สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) บจก.ไทยสมายล์บัส (ให้บริการในนาม บจก.ต.มานิตย์การเดินรถ)
35 (4-8) เคหะธนบุรี บางลำพู (วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร) บจก.ไทยสมายล์บัส (ให้บริการในนาม บจก.บี.บี.ริช ประเทศไทย)
40 (4-39) สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย) บจก.ไทยสมายล์บัส (ให้บริการในนาม บจก.สมาร์ทบัส)
507 (3-13) ไทยสมายล์บัส สาขาปากน้ำ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) บจก.ไทยสมายล์บัส (ให้บริการในนาม บจก.สมาร์ทบัส)
529 (4-28) แสมดำ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บจก.ไทยสมายล์บัส
  • ถนนเจริญกรุง สาย 1 4 7 21 25(ขสมก.) 35 40 49 53(วนซ้าย) 73 85 507 529

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ 12 กุมภาพันธ์ 2551
  2. "เรื่องเล่าสองข้างราง MRT สีน้ำเงิน". p. 36.
  3. "BEM Magazine Vol. 9" (PDF). 29 กรกฎาคม 2562. p. 8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-17. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  4. สถานีวัดมังกร แลนด์มาร์คใหม่! เตรียมเปิดใช้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง – หลักสอง[ลิงก์เสีย]
  5. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]