ข้ามไปเนื้อหา

วัดสุนทรธรรมทาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดสุนทรธรรมทาน
แผนที่
ชื่อสามัญวัดสุนทรธรรมทาน, วัดแคนางเลิ้ง, วัดสนามกระบือ
ที่ตั้งเลขที่ 216 ถนนพะเนียง แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระประธานพระพุทธสุนทรมุนี
พระพุทธรูปสำคัญหลวงพ่อบารมี
เจ้าอาวาสพระราชวชิรธรรมสุนทร​ (เกรียง​ไกร​ กฺลวฑฺฒโน)​
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดสุนทรธรรมทาน เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

ประวัติ

[แก้]

วัดสุนทรธรรมทานหรือ วัดแคนางเลิ้ง เพี้ยนมาจากคำว่า วัดแค่ ตามสำเนียงชาวใต้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนั้น ยังเคยเรียกวัดนี้ว่า วัดสนามกระบือ ตามชื่อตำบลที่ตั้งของวัดในขณะนั้น (ตำบลสนามควาย) ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดสุนทรธรรมทาน" ด้วยการเอาพระนามกรมหมื่นสุนทรธิบดีและนามพระธรรมทานาจารย์ วัดสระเกศ มาผสมกัน[1] แต่ชาวบ้านยังคงเรียกวา "วัดแค"[2] วัดสุนทรธรรมทานตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2380 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2502

อาคารเสนาสนะ

[แก้]

พระอุโบสถหลังใหม่ก่อสร้างแทนหลังเดิมที่ชำรุดทรุดโทรม ภายในประดิษฐาน พระพุทธสุนทรมุนี พระประธานหน้าตักกว้าง 4 ศอก มีซุ้มเรือนแก้วประดับแบบพระพุทธชินราชลงรักปิดทองประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีหินอ่อน ภายนอกเป็นชานกำแพงแก้วประดับมุกด้านหน้าและด้านหลังโดยรอบพระอุโบสถ มีวิหารคดตกแต่งด้วยดวงดาวปิดทองล่องชาดที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ประดับภาพปูนปั้นลายไทยปิดทองล่องชาด แสดงภาพพุทธประวัติพระพุทธเจ้าขณะประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน

ปูชนียวัตถุมี หลวงพ่อบารมี ประดิษฐานอยู่ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ใกล้กับพระอุโบสถ วัดยังมีอนุสรณ์พระราชธรรมวิจารณ์ (ธูป เขมะสิริ) อดีตเจ้าอาวาส วัดสุนทรธรรมทานยังเป็นที่บรรจุอัฐิของมิตร ชัยบัญชา[3]

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประวัติชุมชนชาวละคอนหรือชาวนอกและละคอนชาตรี นางเลิ้ง กรุงเทพมหานคร". กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.[ลิงก์เสีย]
  2. "วัดสุนทรธรรมทาน (วัดแค)". กองการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-05. สืบค้นเมื่อ 2020-09-17.
  3. "เดิน เล่น @นางเลิ้ง ย่านบันเทิงรุ่นปู่ย่า #เที่ยวเก๋ในย่านเก่า". ธนาคารไทยพาณิชย์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-22. สืบค้นเมื่อ 2020-09-17.