ริเวอร์ซิตี
![]() | |
![]() | |
ที่ตั้ง | 23 ท่าน้ำสี่พระยา ตรอกโรงน้ำแข็ง ถนนโยธา แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร |
---|---|
พิกัด | 13°43′46″N 100°30′50″E / 13.729480°N 100.513950°E |
เปิดให้บริการ | 1 ธันวาคม 2527 |
ผู้บริหารงาน | บริษัท เจ้าพระยา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด |
พื้นที่ชั้นขายปลีก | 47,567 ตารางเมตร |
จำนวนชั้น | 5 ชั้น |
ที่จอดรถ | 500 คัน |
เว็บไซต์ | www |
ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก (อังกฤษ: River City Bangkok) คือศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมแนวหน้าของประเทศไทยและเป็นจุดรวมระบบนิเวศทางศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์ และประวัติศาสตร์ ทั้งเป็นที่ตั้งของแกลเลอรี่อิสระมากมาย เป็นพื้นที่ให้แก่ศิลปินในพำนัก ไปจนถึงการจัดนิทรรศการหมุนเวียนอันน่าตื่นตาตื่นใจจากศิลปินทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งยังคงสืบทอดจุดประสงค์แรกเริ่มด้วยการเป็นจุดรวมของชิ้นงานแอนทีคจากทั่วทุกมุมโลกซึ่งถูกนำเสนอโดยเหล่านักสะสมเจ้าของร้านแอนทีคและชิ้นงานศิลปะมากมายใน ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก และนอกจากนี้ ยังมีการจัดประมูลโดย Rcb Auctions, ซึ่งเปิดโอกาสให้เหล่านักสะสม ทั้งผู้ที่ชำนาญการและนักสะสมมือใหม่ ได้มาตามหาชิ้นส่วนของสมบัติหายากที่หายสาบสูญไปในกาลเวลาอีกด้วย
ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2527 ณ ริมโค้งแม่น้ำเจ้าพระยาโดย นาย อดิศร จรณะจิตต์ (พ.ศ. 2495 - 2546) อดีตผู้บริหารระดับสูง โรงแรมโอเรียนเต็ล ปัจจุบันคือ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ และ บริษัทอิตัลไทยฯ ปัจจุบันคือ กลุ่มบริษัทอิตัลไทย ผู้เนรมิตรให้ ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก เดิมคือ ริเวอร์ ซิตี้ กลายมาเป็นศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมแห่งแรกบนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ขึ้นชื่อในเรื่องชิ้นงานแอนทีคหายากจากทั่วทุกมุมโลก ส่งผลให้เหล่านักสะสมจากทั้งในและต่างประเทศได้เดินทางมายังศูนย์รวมของโบราณแห่งนี้เพื่อครอบครองชิ้นงานที่ตนตามหามานาน
รายละเอียด
[แก้]ภายใน ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก
[แก้]
ชั้น 1 ประกอบด้วย The Gallery Shop ร้านจำหน่ายของที่ระลึกจากงานนิทรรศการต่าง ๆ และจากทั่วประเทศไทย ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าไหม ร้านเครื่องประดับ กล้องวินเทจ ร้านตัดเสื้อผ้า สูท บูติก ทั้งสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี ร้านเฟอร์นิเจอร์ สตูดิโอดนตรี แกลเลอรี่ศิลปะ ร้านเปียโนและพรมโบราณ พร้อมอาหารสุดอร่อยหลากหลายสัญชาติ และบริเวณ RCB Artery สำหรับจัดกิจกรรมตามเทศกาลต่าง ๆ
ชั้น 2 ประกอบด้วยห้องนิทรรศการ ที่ใช้จัดแสดงผลงานศิลปะของศิลปินแนวหน้าทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ โดยจัดสลับหมุนเวียนไปตลอดทั้งปี อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของแกลเลอรี่อิสระมากมาย รวมไปถึงสตูดิโอสอนร้องเพลง สตูดิโอเครื่องครัวชื่อดังจากเยอรมัน ร้านกาแฟ และร้านแผ่นเสียงคลาสสิก นอกจากนี้ ที่ชั้น 2 ของ ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก ยังเป็นที่ตั้งของห้อง RCB Forum สถานที่ในการจัดทำ RCB Experimental Art Lab ให้ผู้ชมและศิลปินได้มีโอกาสแสดงออกทางศิลปะมากมายหลากหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ ละครเวที และอีกมากมาย
ชั้น 3 และชั้น 4 ประกอบด้วยร้านค้าที่รวบรวมศิลปวัตถุและของโบราณจากทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็นชิ้นงานจากช่างฝีมือชาวจีน ชิ้นงานศิลปะไทย และศิลปะยุโรป รวมทั้งของแต่งบ้านสไตล์แอนทีค กว่า 60 ร้าน อาทิ งานพุทธศิลป์ญี่ปุ่น ร้านของเก่าที่รวบรวมภาพถ่ายและของสะสมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ร้านแอนทีคที่เก็สะสมเครื่องลายคราม อีกทั้งยังประกอบไปด้วย ร้านไม้หอม และ อาร์ตแกลเลอรี่โปเกมอนเทรดดิ้งการ์ดเกมแห่งแรกของประเทศไทย อีกด้วย
นอกจากนี้ ชั้น 4 ของ ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก ยังเป็นที่ตั้งของห้องประมูล RCB AUCTIONS ห้องประมูลศิลปะและวัตถุโบราณแห่งแรกของประเทศไทยที่ก่อตั้งขึ้นในป พ.ศ. 2528 ซึ่งเป็นเวลา 1 ปีหลังจากการก่อตั้ง ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก โดยปัจจุบันมีการจัดการประมูลทั้งหมดสองรูปแบบคือ “Live Auction” (การประมูลแบบมาที่ห้องประมูลและยกป้าย) และ “Timed Auction” (การประมูลรูปแบบออนไลน์) โดยห้องประมูล RCB Auctions ยังเปิดรับสินค้าการประมูลตลอดทั้งปีผ่านระบบ Consignment อีกด้วย
ชั้น 5 หรือดาดฟ้า RCB Rooftop เป็นจุดสำคัญสำหรับจัดอีเว้นต์อันน่าตื่นตาตื่นใจ บนรูฟท็อปของริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก จะได้ชมทัศนียภาพที่งดงามที่สุด และเป็นสถานที่สำหรับจัดการฉายภาพยนตร์ คอนเสิร์ต การแสดง และงานแฟร์ต่าง ๆ สำหรับเปิดตัวสินค้าสุดพิเศษ
การเดินทางมา ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก
[แก้]รถไฟฟ้า
[แก้]- MRT สถานีหัวลำโพง ทางออกวัดมหาพฤฒาราม (ทางออกที่ 1) และเดินเท้าประมาณ 800 เมตร
- BTS สถานีสะพานตากสิน ต่อด้วย รถสาธารณะสาย 1, 35, 75 ลงป้ายไปรษณีย์กลาง เดินทางต่อประมาณ 500 เมตร หรือต่อด้วยเรือด่วนลงสถานีสี่พระยา เดินทางเท้าต่ออีกประมาณ 200 เมตร
การเดินทางด้วยเรือ
[แก้]- จากท่าเรือบริเวณด้านหน้า ICONSIAM ท่านสามารถโดยสารเรือข้ามฝาก มาลงที่ท่าเรือสี่พระยา ซึ่งจะมีอัตราค่าโดยสาร 6 บาท ให้บริการตั้งแต่เวลา 09.00 - 23.00 น. ของทุกวัน
- การเดินทางด้วยเรือท่านสามารถโดยสารทางเรือมาลงที่ท่าเรือสี่พระยา และสามารถเดินมาที่ River City Bangkok ได้เลย โดยเดินออกจากซอยของท่าเรือสี่พระยา แล้วเลี้ยวซ้าย เดินทางเท้าต่ออีกประมาณ 200 เมตร ก็จะถึง ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก
การเดินทางด้วยรถเมล์
[แก้]- สำหรับการเดินทางด้วยรถเมล์ สาย 75 แนะนำลงที่ป้าย "ตลาดน้อย Talat Noi" และเดินต่อเข้าซอยเจริญกรุง 24 เมื่อเดินเข้าซอยมาจะเจอ River City Bangkok
- สำหรับการเดินทางด้วยรถเมย์ สาย 36 แนะนำลงที่ป้าย "สี่พระยา" และเดินย้อนกลับมาทางโรงแรม Royal Orchid Sheraton Hotel & Towers จะเจอ River City Bangkok อยู่ด้านขวามือ
อ้างอิง
[แก้]- ริเวอร์ซิตี้ ลุยตลาดดินเนอร์หรู, สยามธุรกิจ, ฉบับที่ 1145 ประจำวันที่ 23-26 ตุลาคม 2553