สภากาชาดไทย
Thai Red Cross Society | |
![]() | |
ก่อนหน้า | สภากาชาดสยาม |
---|---|
ก่อตั้ง | 26 เมษายน พ.ศ. 2436 |
ผู้ก่อตั้ง | เปลี่ยน ภาสกรวงศ์ |
ประเภท | องค์กรสาธารณกุศลไม่แสวงหาผลกำไร |
สถานะตามกฎหมาย | องค์กรในพระบรมราชูปถัมภ์ |
สํานักงานใหญ่ | เลขที่ 1871 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 |
ที่ตั้ง |
|
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ | ประเทศไทย |
สมาชิก | สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ |
ภาษาทางการ | ภาษาไทย |
เลขาธิการ | เตช บุนนาค |
| |
บุคลากรหลัก | |
งบประมาณ (พ.ศ. 2568) | 9,178,645,600 บาท[1] |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ |
ชื่อในอดีต | สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม |
สภากาชาดไทย เป็นสภากาชาดประจำประเทศไทย มีภารกิจปกป้องชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) เดิมเรียก "สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม" ริเริ่มก่อตั้งโดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ภริยาของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ซึ่งมีสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงเป็นสภานายิกาพระองค์แรก สันนิบาตสภากาชาดมีมติรับสภากาชาดสยามเป็นสมาชิกในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2464
ประวัติ
[แก้]- พ.ศ. 2436 เกิดกรณีพิพาทระหว่าง ประเทศสยาม กับ ประเทศฝรั่งเศส เรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงซึ่งส่งผลให้ทหารบาดเจ็บล้มตายมาก แต่ไม่มีองค์การกุศลหลักที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือพยาบาลและบรรเทาทุกข์ ดังนั้น ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ จึงได้ชักชวนสตรีอาสาสมัครขึ้นและได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ตั้ง "สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม" เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชกระแสว่า เป็นความคิดอันดีตามแบบอย่างประเทศที่เจริญแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง "สภาอุณาโลมแดง" ขึ้น เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2436 ซึ่งถือเป็น "วันสถาปนาสภากาชาดไทย" นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงเป็น"สภาชนนี"สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงเป็น"สภานายิกา" และท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ เป็นเลขานุการิณีสภาอุณาโลมแดง [2]
- พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระดำริว่า ถ้าได้จัดโรงพยาบาลของกาชาด ก็จะเป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง พระองค์จึงได้ร่วมกับพระราชภราดาภคินี ทรงบริจาคทรัพย์รวมกับทุนของสภาอุณาโลมแดง สร้างโรงพยาบาลขึ้นในที่ดินส่วนพระองค์ แล้วโปรดเกล้าฯ ขนานนามตามพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์" เพื่อเป็นอนุสรณ์ในพระราชบิดา และให้โรงพยาบาลนี้เป็นของสภากาชาดสยาม
- พ.ศ. 2463 สภากาชาดไทยได้รับการรับรองจาก "ส่วนการรับรองระหว่างประเทศ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ"
- พ.ศ. 2464 สภากาชาดไทยเข้าเป็นสมาชิกของ "สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ"
สภากาชาดสยาม-สภากาชาดไทย
[แก้]สภานายิกา
[แก้]- พ.ศ. 2436 - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2462 พันเอกหญิง สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2463 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2498 สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า [3]
- 12 สิงหาคม พ.ศ. 2499 - ปัจจุบัน จอมพลหญิง จอมพลเรือหญิง จอมพลอากาศหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง[4]
องค์บรมราชูปถัมภิกา
[แก้]- 2 มี.ค. 2497 - 22 พ.ค. 2527 พันเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 - องค์บรมราชูปถัมภิกาแห่งกองบรรเทาทุกข์และอนามัย [5]
- 6 เม.ย. 2497 - 12 ส.ค. 2499 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง - องค์บรมราชูปถัมภิกาแห่งอนุกาชาดไทย [6]
องค์อุปถัมภิกา
[แก้]- 18 ส.ค. 2502 - 10 ต.ค. 2528 พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ 6 - องค์อุปถัมภิกากองอาสากาชาด สภากาชาดไทย
- 18 ส.ค. 2502 - 27 ก.ค. 2554 พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี - องค์อุปถัมภิกากองอาสากาชาด สภากาชาดไทย[7]
อุปนายก-อุปนายิกา
[แก้]- 3 เม.ย. 2457 - 13 มิ.ย. 2463 จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ[8]
- 12 ก.ค. 2463 - 30 มิ.ย. 2475 จอมพล จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต[9]
- 30 มิ.ย. 2475 - 17 ก.พ. 2482 มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) [10]
- 27 ก.พ. 2482 - 16 ส.ค. 2482 พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอกมังกร พรหมโยธี (มังกร ผลโยธิน) [11]
- 28 ต.ค. 2486 - 31 ม.ค. 2491 พันเอกช่วง เชวงศักดิ์สงคราม (ช่วง ขวัญเชิด) [12]
- 13 ม.ค. 2491 - 15 ก.ย. 2502 พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต[13]
- 18 มี.ค. 2503 - 30 มิ.ย. 2507 มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) [14]
- 1 ก.ค. 2507 - 13 ก.พ. 2512 พระตีรณสารวิศวกรรม (ตรี ตีรณสาร)[15]
- 26 ก.พ. 2512 - 21 พ.ย. 2516 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์[16]
- 22 พ.ย. 2516 - 12 ธ.ค. 2520 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ (รักษาการแทน)
- 13 ธ.ค. 2520 - ปัจจุบัน ศาสตราจารย์ พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี [17]
งานกาชาด
[แก้]งานกาชาด เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อหารายได้บำรุงสภากาชาดไทย มีการจัดงานทั้งในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ
งานกาชาด จัดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรกระหว่างวันที่ 31 มีนาคม 2465 – 8 เมษายน 2466 (สมัยนั้นวันขึ้นปีใหม่ยังเป็นวันที่ 1 เมษายน) ณ ท้องสนามหลวง แรกเริ่มเป็นการรับสมาชิกโดยเสียค่าบำรุงปีละ 1 บาท ต่อมาจึงเพิ่มกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การละเล่น การออกร้านขององค์กรต่าง ๆ การประกวดธิดากาชาด เป็นต้น และได้ย้ายมาจัดที่ สถานเสาวภา และบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า, สวนอัมพร และสนามเสือป่า ตามลำดับ โดยจัดในช่วงประมาณปลายเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนเมษายนของทุกปี เป็นเวลา 9 วัน
ภายในงานจะมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าราคาถูก, บริการตรวจสุขภาพ, จำหน่ายสลากรางวัล "สลากกาชาด" เป็นต้น ซึ่งร้านในงานมาจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น หน่วยงานรัฐ, กองทัพ, สถานีโทรทัศน์, โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย ตลอดจนถึงบริษัทเอกชน
งานกาชาดประจำปี พ.ศ. 2561 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 พฤศจิกายน ถึง 1 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ณ สวนลุมพินี แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ภายใต้แนวคิด "125 ปี สภากาชาดไทย ร้อยดวงใจส่งต่อการให้ที่งดงาม"[18]
งานกาชาดประจำปี พ.ศ. 2563 มีการเปลี่ยนรูปแบบการจัดงานเป็นรูปแบบออนไลน์ครั้งแรก ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย โดยจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 19 – 29 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ผ่านทางเว็บไซต์ของงานกาชาด ตลอด 24 ชั่วโมง [19]
ในปี พ.ศ. 2565 สภากาชาดไทยได้จัดงานกาชาดคู่ขนานทั้งที่สวนลุมพินีและผ่านเว็บไซต์ของงาน เพื่อเฉลิมพระเกียรติองค์สภานายิกา เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 รวมถึงฉลองครบรอบ 100 ปีของการจัดงาน[20]
หน่วยงานภายใน
[แก้]
|
|
ดูเพิ่ม
[แก้]- การบริจาคโลหิต
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- สถานเสาวภา
- สถานีเอื้อน อนามัย จังหวัดเพชรบุรี
- โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
- ยุวกาชาดไทย
- กาชาด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๕๓๖, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ ประกาศจากราชกิจจานุเบกษา วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2436
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งสภานายิกาแห่งสภากาชาดสยาม
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งสภานายิกาสภากาชาดไทย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-07-29.
- ↑ https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2497/D/051/1843.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2497/D/051/1842_1.PDF
- ↑ "พระกรณียกิจ - พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-22. สืบค้นเมื่อ 2014-03-05.
- ↑ ประกาศจากราชกิจจานุเบกษา วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2457
- ↑ ประกาศจากราชกิจจานุเบกษา วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2463
- ↑ ประกาศจากราชกิจจานุเบกษา วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2475
- ↑ ประกาศจากราชกิจจานุเบกษา วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2482
- ↑ ประกาศจากราชกิจจานุเบกสา วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 (ตัวสะกดตามต้นฉบับ)
- ↑ ประกาศจากราชกิจจานุเบกษา วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2491
- ↑ ประกาศจากราชกิจจานุเบกษา วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503
- ↑ ประกาศจากราชกิจจานุเบกษา วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2507
- ↑ ประกาศจากราชกิจจานุเบกษา วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2512
- ↑ ประกาศจากราชกิจจานุเบกษา วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2520
- ↑ https://www.redcross.or.th/news/information/5847/
- ↑ https://www.redcross.or.th/news/information/12218/ ครั้งแรก…กับงานกาชาดออนไลน์เต็มรูปแบบบนแพลตฟอร์มออนไลน์
- ↑ "สภากาชาดไทย จัดงานกาชาดประจำปี 2565 ภายใต้แนวคิด "9 ทศวรรษใต้ร่มพระบารมี สดุดีสภานายิกาสภากาชาดไทย"". thainews.prd.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-25. สืบค้นเมื่อ 2022-11-25.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สภากาชาดไทย เก็บถาวร 2006-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย
- สำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย เก็บถาวร 2009-01-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน