วิกิพีเดีย:โครงการวิกิสามก๊ก
|
โครงการวิกิสามก๊ก เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิวรรณศิลป์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเนื้อหาและรายละเอียดต่าง ๆ ของวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก บทประพันธ์โดยหลอกว้านจง ซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาและมีการตีพิมพ์อย่างแพร่หลายทั่วโลก มีเนื้อหาหลากหลายรสชาติ เต็มไปด้วยกลเล่ห์เพทุบาย กลศึกในการรบ การชิงรักหักเหลี่ยม ความเคียดแค้นชิงชัง ความซื่อสัตย์และการให้อภัย ซึ่งมีเนื้อหาและเรื่องราวในทางที่ดีและร้ายปะปนกัน มีตัวละครเป็นจำนวนมาก มีบุคลิกลักษณะที่แตกต่างกันออกไป รวมทั้งมีสถานที่ต่าง ๆ การศึกสงคราม ข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ รวมทั้งศิลปะในการใช้คนในสามก๊ก
ด้วยความที่เป็นวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ ซึ่งอ้างอิงประวัติศาสตร์ของจีนเป็นหลัก ทำให้สามก๊กมีตัวละครเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดในสามก๊ก ซึ่งการจดจำตัวละครจำนวนมากในสามก๊กอาจเป็นเรื่องค่อนข้างยากสำหรับผู้ที่ไม่เคยสัมผัสกับสามก๊กมาก่อน ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับตัวละครหลัก ๆ เช่นโจโฉ เล่าปี่ ซุนกวน ขงเบ้ง สุมาอี้ กวนอู จูล่ง เตียวหุย เป็นต้น โดยเน้นหลักที่บทความตัวละครในสามก๊กทุกตัวละคร ข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างกัออกไปตามแต่ลักษณะของตัวละคร การทำศึกสงครามรวมทั้งรายละเอียดปลีกย่อยที่ปรากฏในสามก๊ก เพื่อเป็นการรวบรวมรายละเอียดต่าง ๆ เนื้อหาของวรรณกรรม
สามก๊กเป็นวรรณกรรมที่ทรงคุณค่า อ่านสนุกจึงเป็นที่นิยมและรู้จักกันอย่างแพร่หลายในประเทศจีนและต่างประเทศ เต็มไปด้วยเล่ห์เหลี่ยม กลศึกและการวางแผน ดังเคยมีคำกล่าวไว้ว่า "ผู้ใดอ่านสามก๊กสามจบคบไม่ได้" อีกทั้งยังเป็นหนังสือที่อ่านง่ายสำหรับบุคคลทั่วไป แฝงอุดมการณ์และคติธรรมที่ดี เป็นวรรณกรรมที่ช่วยให้ผู้อ่านได้ชื่นชมคุณค่าของความกตัญญูกตเวที คุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน นอกจากนี้สามก๊กยังเหมาะที่จะใช้เป็นบทเรียนทางประวัติศาสตร์ แม้ในปัจจุบันการประเมินค่าของวรรณกรรมสามก๊กจะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่สามก๊กยังคงเป็นที่นิยมของนักอ่านทั่วไปไม่เสื่อมคลายและมีความหมายในด้านการศึกษาพอสมควร
โครงการวิกิสามก๊กจึงเป็นโครงการที่ถือกำเนิดขึ้น สำหรับผู้ที่ชื่นชอบในเนื้อหาของประวัติศาสตร์จีน การสงคราม การบรรยายลักษระของกลศึกซ้อนกลศึก วาทศิลป์ การโต้ตอบอย่างชาญฉลาดที่มีความสนุก พิสดารน่าอ่านและน่าเชื่อถือในสามก๊ก ทำให้สามก๊กมีอิทธิพลต่อผู้ที่ได้อ่านหรือได้ฟังสามก๊กเป็นอย่างมาก สำหรับผู้ที่สนใจในการก้าวเข้าสู่โครงการวิกิสามก๊ก สามารถตรวจสอบดูเนื้อหาและรายละเอียดต่าง ๆ ที่สนใจเพิ่มเติมได้ที่ตัวละครในสามก๊กและสามก๊ก
สำรวจสามก๊ก
[แก้]สำรวจสามก๊กเป็นการเกริ่นนำในส่วนของวรรณกรรมสามก๊ก (ฉบับหอพระสมุด) หรือสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ซึ่งเป็นสามก๊กที่ออกมาปรากฏสู่สายตาบุคคลทั่วไปให้เป็นที่ชื่นชอบกันแล้ว นอกจากนี้ยังมีสามก๊ก ฉบับวณิพกของยาขอบ ซึ่งเป็นนักประพันธ์นวนิยายอมตะเรื่องผู้ชนะสิบทิศ โดยเขียนในรูปแบบของการนำเสนอรายละเอียดปลีกย่อยของตัวละครต่าง ๆ เช่น ตั๋งโต๊ะผู้ถูกแช่งทั้งสิบทิศ เล่าปี่ผู้พนมมือให้แก่ชนทุกชั้น โจโฉผู้ไม่ยอมให้โลกทรยศ ขงเบ้งผู้หยั่งรู้ฟ้าดิน จูล่งสุภาพบุรุษแห่งเสียงสาน จิวยี่ผู้ถ่มน้ำลายรดฟ้า กวนอูเทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อ เตียวหุยคนชั่วช้าที่น่ารัก ยีเอ๋งผู้เปลือยกายตีกลอง ฯลฯ รวมทั้งพิชัยสงครามสามก๊กของมั่น พัธโนทัย และสามก๊ก ฉบับคนเดินดินเป็นต้น
สามก๊กเป็นวรรณกรรมที่มีเนื้อหาหลากหลาย ความหนาหลายพันหน้า ปรากฏสถานที่ต่าง ๆ เช่นเมือง หัวเมือง แม่น้ำ ภูเขาและเทือกเขาเป็นจำนวนมาก สำรวจสามก๊กจะเป็นตัวนำทางให้ผู้อ่านได้เข้าถึงวรรณกรรมสามก๊กอย่างเข้าใจ ละเอียดลึกซึ้งและเป็นการรู้จักตัวตนของสามก๊กได้อย่างดียิ่งขึ้น เช่นศึกสงครามต่าง ๆ ซึ่งเป็นเหตุการณ์จริงทางประวัติศาสตร์ของจีน เช่นศึกกัวต๋อ ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว ศึกทุ่งพกบ๋องหรือศึกเซ็กเพ็ก ซึ่งเป็นศึกสำคัญในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊กที่เป็นตัวชี้ชัดอำนาจและความเป็นใหญ่ รวมทั้งเป็นการแบ่งแยกแผ่นดินจีนออกเป็นสามก๊กได้แก่ วุยก๊ก จ๊กก๊กและง่อก๊ก
สามก๊กเป็นวรรณกรรมที่ถ่ายทอดให้ผู้อ่านได้เห็นถึงสัจธรรมและแก่นแท้ของความเป็นมนุษย์ หลักปรัชญาทางทหาร การใช้ชีวิตและคติเตือนใจ แฝงแง่คิดไว้ในทุกบททุกตอน ทั้งนี้การสอดแทรกคติธรรมและข้อคิดต่าง ๆ ในสามก๊กที่สามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ขึ้นอยู่กับตัวของผู้อ่านสามก๊กเองว่าจะเลือกสรรนำคำสอน ข้อคิดต่าง ๆ ในสามก๊กจากบทใด ซึ่งนอกจากศึกสงครามที่ปรากฏตลอดทั้งเรื่องแล้ว ในสามก๊กยังมีการใช้กลศึกจำนวนมาก เล่ห์เหลี่ยมกลอุบายต่าง ๆ ในการทำศึก หลอกล่อศัตรูให้หลงต้องกลอุบายเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ รวมทั้งรายละเอียดข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ซึ่งหลอ กว้านจงผู้ประพันธ์ได้นำมาสอดแทรกกับเรื่องราวจากจินตนาการของตนเอง เป็นต้น
ดัชนี
[แก้]ดัชนี เป็นการรวบรวมเนื้อหาและรายละเอียดทั้งหมดในสามก๊ก ฉบับหอพระสมุด โดยแบ่งแยกออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อเป็นการง่ายและสะดวกต่อการสืบค้นหา เช่น รายชื่อตัวละครในง่อก๊ก จะแสดงรายชื่อตัวละครที่ปรากฏในง่อก๊กทุกตัวละคร, กลศึกสามก๊ก จะแสดงรายชื่อกลศึกที่ใช้ในเรื่องสามก๊กจำนวน 36 กลศึก นอกจากนี้ยังรวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ เมือง อาวุธ ฯลฯ หากผู้ที่สนใจค้นคว้าหาข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ของตัวละครในสามก๊ก สามารถค้นหาและเพิ่มเติมรายชื่อตัวละครที่ต้องการได้ตลอดเวลา เพื่อโครงการวิกิสามก๊กเป็นแหล่งรวบรวมรายละเอียดต่าง ๆ ในสามก๊กที่สมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย
- หมวดหมู่:จักรพรรดิในยุคสามก๊ก เช่น พระเจ้าฮั่นเลนเต้ พระเจ้าจิ้นหวู่ตี้ พระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ พระเจ้าฮั่นเหี้ยนเต้ เป็นต้น
- หมวดหมู่:ตัวละครในสามก๊ก เช่น เล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ซุนกวน โจโฉ ขงเบ้ง เป็นต้น
- หมวดหมู่:กลศึกสามก๊ก เช่น กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเล กลยุทธ์ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหว กลยุทธ์หลี่ตายแทนถาว กลยุทธ์ตีชิงตามไฟ กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคน เป็นต้น
- หมวดหมู่:สงครามสามก๊ก เช่น ศึกเซ็กเพ็ก ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว ศึกทุ่งพกบ๋อง ศึกหับป๋า เป็นต้น
- หมวดหมู่:อาณาจักรสามก๊ก เช่น วุยก๊ก จ๊กก๊ก ง่อก๊ก เป็นต้น
- หมวดหมู่:สถานที่ในยุคสามก๊ก เช่น เมืองเกงจิ๋ว เมืองเสฉวน ลำเขาปินสาน เป็นต้น
- หมวดหมู่:การทหารในสามก๊ก
คู่มือการเขียนบทความ
[แก้]คู่มือการเขียนบทความ เป็นคู่มือแนะนำหลักการเขียนบทความสามก๊กในวิกิพีเดีย จากจุดเริ่มต้นของการเขียนบทความ จนสามารถไต่ระดับของการเขียนจาก {{โครง}} เพื่อให้ได้ระดับ {{บทความคัดสรร}} โดย ใช้แม่แบบ {{Three Kingdoms infobox}} หรือ {{กล่องข้อมูล ตัวละครสามก๊ก}} สำหรับใช้ในการเขียนบทความสามก๊กในส่วนของตัวละคร ใช้แม่แบบ {{กล่องข้อมูล กลศึกสามก๊ก}} สำหรับใช้ในการเขียนบทความสามก๊กในส่วนของกลศึกสามก๊ก และใช้แม่แบบ {{กล่องข้อมูล สงครามสามก๊ก}} สำหรับใช้ในการเขียนบทความสามก๊กในส่วนของศึกสงครามที่ปรากฏในวรรณกรรม
การใช้กล่องข้อมูล ตัวละครสามก๊ก
[แก้]การใช้กล่องข้อมูล ตัวละครสามก๊ก เป็นการแนะนำเบื้องต้นของการเริ่มเขียนบทความสามก๊กในส่วนของตัวละคร ทุก ๆ คนที่มีความสนใจที่จะเริ่มต้นการเขียนบทความสามก๊กในส่วนของตัวละครในวิกิพีเดีย สามารถเริ่มต้นก้าวแรกของบทความ ด้วยการคัดลอกเอา code ของกล่องข้อมูล ตัวละครสามก๊กจากบทความตัวละครสามก๊กจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ และนำมาใช้งานในวิกิพีเดียไทยได้ทั้งหมด เพราะการแสดงผลของกล่องข้อมูล ถูกกำหนดค่าไว้ให้สามารถแสดงผลเป็นภาษาไทย โดยลักษณะเฉพาะของกล่องข้อมูล ตัวละครสามก๊ก มีรายละเอียดดังนี้
- Royalty เป็นส่วนที่ใช้กำหนดสถานะชื่อของตัวละคร โดยแบ่งเป็น yes และ no ถ้าตัวละครมีสถานะเป็นพระราชวงศ์ ให้กำหนดค่าในส่วนนี้ = yes เช่นพระเจ้าเหี้ยนเต้ สถานะจะกำหนดเป็น
| Royalty = yes
ถ้าตัวละครเป็นสามัญชนธรรมดา ให้กำหนดค่าในส่วนนี้ = no เช่นเตียวเสี้ยน สถานะจะกำหนดเป็น| Royalty = no
- Name เป็นการกำหนดชื่อของตัวละคร ให้กำหนดค่าในส่วนนี้เช่น ตั๋งโต๊ะ ลิโป้ ลกซุน กองซุนจ้าน งักจิ้น เป็นต้น
- Title เป็นการกำหนดตำแหน่งของตัวละคร ให้กำหนดค่าในส่วนนี้ตามตำแหน่งของตัวละคร เช่น เจ้าเมือง, แม่ทัพ, ขุนพล, เสนาธิการ, กวี, หมอดู ผู้เป็นใหญ่ ฯลฯ ตามแต่ตำแหน่งของตัวละคร เป็นต้น
- Kingdom เป็นการกำหนดอาณาจักร เขตแดน ราชวงศ์ ให้กำหนดค่าในส่วนนี้ เช่น วุยก๊ก ราชวงศ์ฮั่น เจ้าเมืองปักเพ้ง เป็นต้น
- Belong เป็นการกำหนดสังกัดของตัวละคร ว่าเป็นขุนพลของผู้ใด เช่น กิเหลงเป็นขุนพลของอ้วนสุด เป็นต้น
- Image เป็นภาพที่ใช้แสดงประกอบบทความ ให้กำหนดค่าในส่วนนี้ เช่น ภาพ:Cao Cao Portrait.jpg เป็นต้น
- การนำภาพตัวของละครในสามก๊กมาใช้ประกอบบทความ ในส่วนของกล่องข้อมูล ตัวละครสามก๊ก สามารถใช้ได้ทั้งภาพแนวตั้งและแนวนอน โดยกำหนดขนาดของภาพที่นำมาใช้ที่ขนาด 250px
- หากต้องการภาพของตัวละครในสามก๊กในภาพอื่น ๆ สามารถนำภาพตัวละครจากวิกิคอมมอนส์ อาณาจักรสามก๊กมาประกอบบทความ
- Image_size เป็นการกำหนดขนาดของภาพที่ใช้แสดบประกอบบทความ ซึ่งหากไม่กำหนดขนาดของภาพในส่วนนี้ ภาพที่นำมาใช้ประกอบบทความจะถูกกำหนดขนาดโดยอัตโนมัติที่ 250px
- Caption เป็นคำบรรยายที่ใช้ในการอธิบายรายละเอียดภาพ แหล่งที่มาหรืออื่น ๆ ถ้าไม่สามารถกำหนดคำบรรยายได้ ให้ปล่อยว่างไว้ เช่นตัวอย่างคำบรรยายของภาพ "ภาพวาดโจโฉในสมัยราชวงศ์ฮั่น"
- Born เป็นการกำหนดวัน เดือน ปีเกิดของตัวละคร เช่น ไทสูจู้ เกิดในปี พ.ศ. 709 โดยให้กำหนดเพียงแค่ปี พ.ศ. เท่านั้นเป็นต้น
- Birth_place เป็นการกำหนดสถานที่เกิดของตัวละคร เช่น จงโฮย เกิดที่ตำบลฉางเซ่อ เมืองอิงชวน มณฑลเหอนาน ประเทศจีน เป็นต้น
- Died เป็นการกำหนดวัน เดือน ปีเสียชีวิตของตัวละคร เช่น จูล่ง ตายในปี พ.ศ. 772 โดยให้กำหนดเพียงแค่ปี พ.ศ. เท่านั้นเป็นต้น
- Death_place เป็นการกำหนดสถานที่เสียชีวิตของตัวละคร เช่นโตเกี๋ยมเสียชีวิตที่ซีจิ๋ว เป็นต้น
- Predecessor เป็นการกำหนดรายชื่อบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในสมัยก่อน เช่น พระเจ้าเลนเต้ทรงดำรงตำแหน่งก่อนพระเจ้าหองจูเปียน เป็นต้น
- Successor เป็นการกำหนดรายชื่อบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในสมัยถัดไป เช่น พระเจ้าโจผีทรงดำรงตำแหน่งต่อจากพระเจ้าโจโฉ เป็นต้น
- Simp เป็นการกำหนดอักษรจีนตัวย่อของตัวละคร เช่น ขงเบ้ง มีชื่ออักษรจีนตัวย่อ = 诸葛亮
- Trad เป็นการกำหนดอักษรจีนตัวเต็มของตัวละคร เช่น กวนลอ มีชื่ออักษรจีนตัวเต็ม = 管輅
- Pinyin เป็นการกำหนดอักษรจีนพินอินของตัวละคร เช่น สุมาอี้ มีชื่ออักษรจีนพินอิน = Sīmǎ Yì
- WG เป็นการกำหนดอักษรจีนเวด-ไจลส์ของตัวละคร เช่น เตียวคับ มีชื่อักษรเวด-ไจลส์ = Chang Ho
- Putonghua เป็นการกำหนดคำอ่านของชื่อตัวละครเป็นจีนกลาง เช่น กองซุนจ้าน กำหนดคำอ่านตามสำเนียงจีนกลาง = กงซุนจ้าน
- Minnan เป็นการกำหนดคำอ่านของชื่อตัวลครตามคำอ่านสำเนียงฮกเกี้ยน ตามฉบับของสามก๊ก (ฉบับหอพระสมุด) เช่น กาเซี่ยง กำหนดคำอ่านตามสำเนียงฮกเกี้ยน = กาเซี่ยง
- Zi เป็นการกำหนดชื่อรองของตัวละคร เช่น กวนอู มีชื่อรองหวินฉาง หรือ หยุนฉาง หรือ หุนเตี๋ยง (雲長) -- ทีฆเมฆา ฉางเซิง (長生) -- ทีฆชีวิน
- Post เป็นการกำหนดสมัญญานามของตัวละครหลังเสียชีวิต เช่นสมัญญานามของกวนอูหลังจากเสียชีวิตคือ จ้วงโหมวโห (壯繆侯) -- เจ้าพระยาจ้วงโหมว
- Buddhism เป็นการกำหนดชื่อในคติพุทธศาสนามหายานของตัวละคร เช่นกวนอูมีชื่อในทางคติพุทธศาสนามหายานคือสังฆรามโพธิสัตว์ เฉียหลันปู๋ซ่า (伽藍菩薩)
- Deity = เป็นการกำหนดเทพนามของตัวละครซึ่งเป็นชื่อที่ให้แก่บุคคลในฐานะเทพเจ้าเมื่อวายชนม์ไปแล้ว เช่นกวนอูมีเทพนามคือ กวนเซิ่งตี้จุน (關聖帝君) เทพกษัตริย์กวนอวี่
- Other = เป็นการกำหนดชื่ออื่น ๆ ของตัวละคร เช่น กวนอูมีชื่อเรียกอื่น ๆ คือกวนกง (關公) พระยากวนอวี่ กวนเอ้อเหยฺ (關二爺) ท่านปู่รองกวนอวี่ เหม่ยหรันกง (美髯公) พระยาผู้มีหนวดงาม กวนตี้ หรือกวนเต้ (關帝) สมเด็จพระจักรพรรดิกวนอวี่
- ในกรณีที่ไม่สามารถกำหนดค่าในพารามิเตอร์ใดในแม่แบบได้ ให้เว้นว่างไว้โดยไม่ต้องกำหนดค่า การแสดงผลของพารามิเตอร์จะไม่ปรากฏในหน้าของบทความ
วิธีการใช้งานกล่องข้อมูล
[แก้]วิธีใช้งานกล่องข้อมูล ตัวละครสามก๊ก สำหรับบทความตัวละครในสามก๊ก ให้ทำการคัดลอกข้อมูลทางด้านล่างนี้ แล้วนำไปใส่ไว้ในส่วนบนสุดของบทความที่เริ่มดำเนินการเขียน
code ของกล่องข้อมูลตัวละครสามก๊ก ที่นำมาใส่ในหน้าบทความ | รายละเอียดของตัวละครที่ปรากฏ |
---|---|
{{กล่องข้อมูล ตัวละครสามก๊ก | Royalty = | Name = | Title = | Kingdom = | Image = | Image_size = | Caption = | Born = | Birth_place = | Died = | Death_place = | Predecessor = | Successor = | Simp = | Trad = | Pinyin = | WG = | Putonghua = | Minnan = | Zi = | Post = | Buddhism = | Deity = | Other = }} |
= yes = โจโฉ = จักรพรรดิ = ราชวงศ์วุย = Cao Cao Portrait.jpg = 250px = สมเด็จพระจักรพรรดิเฉาเชาแห่งราชวงศ์เฉาเว่ย = [[พ.ศ. 698]] = เมืองโป๋โจว มณฑลอันฮุย ประเทศจีน = [[15 มีนาคม]] [[พ.ศ. 763]] = เมืองลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน = [[ตั๋งโต๊ะ]] = [[โจผี]] = 曹操 = 曹操 = Cáo Cāo = Ts'ao² Ts'ao¹ = เฉาเชา = โจโฉ = เมิ่งเต๋อ (孟德) = หวู่ (武) = หวู่ตี้ (武帝) "ยุทธราชัน" ไท่จู่ (太祖)"พระเจ้าปู่" = '''พระนามขณะทรงพระเยาว์''' อาหมาน (阿瞞) จี๋ลี่ (吉利) = <!---ถ้าตัวละครไม่มีชื่ออื่น ๆ ให้เว้นว่างไว้---> |
ตัวอย่างการใช้งานกล่องข้อมูล ตัวละครสามก๊ก
[แก้]ตำแหน่งจักรพรรดิ | ตำแหน่งเจ้าเมือง | ตำแหน่งเสนาธิการ | ตำแหน่งแม่ทัพ | ตำแหน่งขุนพล | ตัวละครอื่น ๆ |
การใช้กล่องข้อมูล สงครามสามก๊ก
[แก้]การใช้กล่องข้อมูล สงครามสามก๊ก เป็นการแนะนำเบื้องต้นของการเริ่มเขียนบทความสามก๊กในส่วนของการเกิดศึกสงครามในยุคสามก๊ก ทุก ๆ คนที่มีความสนใจที่จะเริ่มต้นการเขียนบทความสามก๊กในส่วนของศึกสงครามสามก๊กในวิกิพีเดีย สามารถเริ่มต้นก้าวแรกของบทความ ด้วยการคัดลอกเอา code ของ{{กล่องข้อมูล สงครามสามก๊ก}}จากบทความศึกสงครามสามก๊กจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ และนำมาใช้งานในวิกิพีเดียไทยได้ทั้งหมด เพราะการแสดงผลของกล่องข้อมูล ถูกกำหนดค่าไว้ให้สามารถแสดงผลเป็นภาษาไทย โดยลักษณะเฉพาะของกล่องข้อมูล สงครามสามก๊ก มีรายละเอียดดังนี้
- name เป็นการกำหนดชื่อศึกสงครามที่ปรากฏในสามก๊ก ให้กำหนดชื่อศึกสงคราม เช่น ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว, ศึกเซ็กเพ็ก, ศึกทุ่งพกบ๋อง เป็นต้น
- partof เป็นการกำหนดสถานะของศึกสงคราม ซึ่งจะปรากฏชื่อของศึกสงครามเป็นส่วนหนึ่งของสงครามสามก๊ก เช่นศึกหับป๋าเป็นส่วนหนึ่งของสงครามสามก๊ก เป็นต้น
- image เป็นภาพที่ใช้แสดงประกอบบทความ ให้กำหนดค่าในส่วนนี้ เช่น ภาพ:Zhaoyunfightsatchangban.jpg เป็นต้น
- การนำภาพตัวของสงครามในสามก๊กมาใช้ประกอบบทความ ในส่วนของกล่องข้อมูล สงครามสามก๊ก สามารถใช้ได้ทั้งภาพแนวตั้งและแนวนอน โดยกำหนดขนาดของภาพที่นำมาใช้ที่ขนาด 250px
- หากต้องการภาพของสงครามในสามก๊กในภาพอื่น ๆ สามารถนำภาพสงครามต่าง ๆ ในยุคสามก๊กจากวิกิคอมมอนส์ อาณาจักรสามก๊กมาประกอบบทความ
- caption เป็นคำบรรยายที่ใช้ในการอธิบายรายละเอียดภาพ แหล่งที่มาหรืออื่น ๆ ถ้าไม่สามารถกำหนดคำบรรยายได้ ให้ปล่อยว่างไว้ เช่นตัวอย่างคำบรรยายของภาพ "ภาพวาดเล่าปี่ กวนอู เตียวหุยรุมลิโป้ในศึกปราบลิโป้"
- date เป็นการกำหนดวัน เดือน ปีเกิดของการเกิดศึกสงคราม เช่น ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 751 เป็นต้น
- place เป็นการกำหนดสถานที่เกิดศึกสงคราม เช่น ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยวเกิดขึ้นที่เตียงปัน มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน เป็นต้น
- territory เป็นการกำหนดอาณาเขตแดนของการทำศึกสงคราม เช่น ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยวมีอาณาเขตแดนที่บริเวณสะพานเตียงปันเกี้ยว เมืองกังเหลง เป็นต้น
- result เป็นการกำหนดผลลัพธ์ของศึกสงคราม เช่น ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยวโจโฉเป็นฝ่ายชนะ เล่าปี่ต้องอพยพหลบหนี เป็นต้น
- combatant1 เป็นการกำหนดผู้เข้าร่วมทำศึกสงคราม สามารถกำหนดผู้เข้าร่วมทำศึกได้ 3 ฝ่ายด้วยกัน เช่นผู้เข้าร่วมทำศึกเซ็กเพ็กฝ่ายที่ 1 ได้แก่เล่าปี่
- combatant2 เป็นการกำหนดผู้เข้าร่วมทำศึกสงคราม สามารถกำหนดผู้เข้าร่วมทำศึกได้ 3 ฝ่ายด้วยกัน เช่นผู้เข้าร่วมทำศึกเซ็กเพ็กฝ่ายที่ 2 ได้แก่โจโฉ
- combatant3 เป็นการกำหนดผู้เข้าร่วมทำศึกสงคราม สามารถกำหนดผู้เข้าร่วมทำศึกได้ 3 ฝ่ายด้วยกัน เช่นผู้เข้าร่วมทำศึกเซ็กเพ็กฝ่ายที่ 3 ได้แก่ซุนกวน
- commander1 เป็นการกำหนดผู้บัญชาการกองทัพ สามารถกำหนดผู้บัญญาการกองทัพได้ 3 ฝ่ายด้วยกัน โดยหมายเลข 1 2 3 จะเป็นตัวกำหนดฝ่ายของผู้ร่วมทำศึก เช่นผู้บัญญาการกองทัพในศึกเซ็กเพ็ก ฝ่ายที่ 1 ได้แก่กวนอู, เตียวหุย, จูล่ง
- commander2 เป็นการกำหนดผู้บัญชาการกองทัพ สามารถกำหนดผู้บัญญาการกองทัพได้ 3 ฝ่ายด้วยกัน เช่นผู้บัญญาการกองทัพในศึกเซ็กเพ็ก ฝ่ายที่ 2 ได้แก่เทียเภา, เตียวเลี้ยว
- commander3 เป็นการกำหนดผู้บัญชาการกองทัพ สามารถกำหนดผู้บัญญาการกองทัพได้ 3 ฝ่ายด้วยกัน เช่นผู้บัญญาการกองทัพในศึกเซ็กเพ็ก ฝ่ายที่ 3 ได้แก่โลซก, จิวยี่
- strength1 เป็นการกำหนดกองกำลังของทหารในแต่ะฝ่าย เช่นกองกำลังทหารในศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว ฝ่ายที่ 1 มีกองกำลังทหารราบ 10,000 คน ,ทหารม้า 5,000 คน
- strength2 เป็นการกำหนดกองกำลังของทหารในแต่ะฝ่าย เช่นกองกำลังทหารในศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว ฝ่ายที่ 2 มีกองกำลังทหารราบ 10,000 คน
- casualties1 เป็นการกำหนดความสูญเสียที่เกิดจากสงครามในแต่ละฝ่าย โดยหมายเลข 1 2 3 จะเป็นตัวกำหนดค่าของความสูญเสียจากสงคราม
- ในกรณีที่ไม่สามารถกำหนดค่าในพารามิเตอร์ใดในแม่แบบได้ ให้เว้นว่างไว้โดยไม่ต้องกำหนดค่า การแสดงผลของพารามิเตอร์จะไม่ปรากฏในหน้าของบทความ
วิธีการใช้งานกล่องข้อมูล
[แก้]วิธีใช้งานกล่องข้อมูล สงครามครสามก๊ก สำหรับบทความสงครามในสามก๊ก ให้ทำการคัดลอกข้อมูลทางด้านล่างนี้ แล้วนำไปใส่ไว้ในส่วนบนสุดของบทความที่เริ่มดำเนินการเขียน
code ของกล่องข้อมูล สงครามสามก๊ก ที่นำมาใส่ในหน้าบทความ | รายละเอียดของสงครามที่ปรากฏ |
---|---|
{{กล่องข้อมูล สงครามสามก๊ก | name = | partof = | image = | caption = | date = | place = | territory = | result = | combatant1 = | combatant2 = | combatan3 = | commander1 = | commander2 = | commander3 = | strength1 = | strength2 = | strength3 = }} |
= ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว = [[สงครามสามก๊ก]] = ภาพ:Zhaoyunfightsatchangban.jpg = ภาพศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว = [[พ.ศ. 751]] = เตียงปัน [[มณฑลหูเป่ย]] [[ประเทศจีน]] = สะพานเตียงปันเกี้ยว เมืองกังเหลง = โจโฉเป็นฝ่ายชนะ เล่าปี่ต้องอพยพหลบหนี = [[เล่าปี่]] = [[โจโฉ]] = <!---ถ้าไม่มีผู้เข้าร่วมสงครามฝ่ายที่ 3 ให้เว้นว่างไว้---> = [[กวนอู]], [[เตียวหุย]], [[จูล่ง]] = [[โจหยิน]], [[เคาทู]] = <!---ถ้าไม่มีผู้เข้าร่วมสงครามฝ่ายที่ 3 ให้เว้นว่างไว้---> = ทหารราบ 10,000 คน ทหารม้า 5,000 คน = ทหาราบ 10,000 คน = <!---ถ้าไม่มีผู้เข้าร่วมสงครามฝ่ายที่ 3 ให้เว้นว่างไว้---> |
การใช้กล่องข้อมูลกลศึกสามก๊ก
[แก้]ผู้วางกลศึก | ตั๋งโต๊ะ |
---|---|
ผู้ต้องกลศึก | พระเจ้าหองจูเหียบ |
ผู้ร่วมกลศึก | ลิโป้, ลิยู |
ประเภท | กลยุทธ์ชนะศึก |
หลักการ | ฉวยโอกาสซ้ำเติมศัตรูยามเสียเปรียบ |
สาเหตุ | ตั๋งโต๊ะซึ่งมีจิตใจหยาบช้าและเต็มไปด้วยความทะเยอทะยาน มองเห็นโอกาสที่จะฉกฉวยแย่งชิงเอาราชสมบัติมาเป็นของตน |
สถานที่ | วังหลวง |
ผลลัพธ์ | ตั๋งโต๊ะเข้ายึดอำนาจมาเป็นของตน |
กลศึกก่อนหน้า | กลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ย |
กลศึกถัดไป | กลยุทธ์ส่งเสียงบูรพาฝ่าตีประจิม |
การใช้กล่องข้อมูล กลศึกสามก๊ก เป็นการแนะนำเบื้องต้นของการเริ่มเขียนบทความสามก๊กในส่วนของกลศึกที่ใช้ในสงครามยุคสามก๊ก ทุก ๆ คนที่มีความสนใจที่จะเริ่มต้นการเขียนบทความสามก๊กในส่วนของกลศึกสามก๊กในวิกิพีเดีย สามารถเริ่มต้นก้าวแรกของบทความ ด้วยการคัดลอกเอา code ของ{{กล่องข้อมูล กลศึกสามก๊ก}} โดยลักษณะเฉพาะของกล่องข้อมูล กลศึกสามก๊ก มีรายละเอียดดังนี้
- ชื่อ เป็นการกำหนดชื่อกลศึกสงครามที่ปรากฏในสามก๊ก ให้กำหนดชื่อศึกสงคราม เช่น กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเล, กลยุทธ์หลบหนี, กลยุทธ์ตีชิงตามไฟ เป็นต้น
- ภาพ, ภาพ2 เป็นภาพที่ใช้แสดงประกอบบทความ ให้กำหนดค่าในส่วนนี้ เช่น ภาพกลยุทธ์ยามพ่าย.jpg ซึ่งในเป็นภาพที่จัดหมวดหมู่ของกลยุทธ์ต่าง ๆ เป็นต้น
- คำอธิบายภาพ, คำอธิบายภาพ2 เป็นคำบรรยายที่ใช้ในการอธิบายรายละเอียดภาพ ถ้าไม่มีการอธิบายรายละเอียดให้เว้นว่างไว้
- ผู้วางกลศึก เป็นการกำหนดชื่อของผู้วางแผนกลศึก เช่น ผู้วางแผนกลยุทธยุทธ์หลบหนีคือขงเบ้ง เป็นต้น
- ผู้ต้องกลศึก เป็นการกำหนดชื่อของผู้ต้องกลศึก เช่น ผู้ต้องกลยุทธ์หลบหนีคือจิวยี่ เป็นต้น
- ผู้ร่วมกลศึก
- ประเภท เป็นการกำหนดประเภทของกลศึกสามก๊ก ซึ่งมีทั้งหมด 6 หมวดหมู่ได้แก่ กลยุทธ์ชนะศึก กลยุทธ์เผชิญศึก กลยุทธ์เข้าตี กลยุทธ์ติดพัน กลยุทธ์ร่วมรบ กลยุทธ์ยามพ่าย ซึ่งประกอบไปด้วยกลศึก 36 กลศึกได้แก่
- กลยุทธ์ชนะศึก
- กลยุทธ์เผชิญศึก
- กลยุทธ์เข้าตี
- กลยุทธ์ติดพัน
- กลยุทธ์ร่วมรบ
- กลยุทธ์ยามพ่าย
- กลสาวงาม • กลปิดเมือง • กลไส้ศึก • กลทุกข์กาย • กลลูกโซ่ • หนีคือยอดกลยุทธ์
- หลักการ เป็นการกำหนดลักษณะขอบเขตของกลศึก เช่น กลยุทธ์หลบหนีใช้ลักษณะขอบเขตถอยหนีมิผิด เป็นวิสัยแห่งสงคราม เป็นต้น
- สาเหตุ
- สถานที่ เป็นการกำหนดสถานที่ในการวางแผนกลศึก เช่น สถานที่ที่ขงเบ้งใช้กลยุทธ์หลบหนี เอาตัวรอดจากจิวยี่คือลำเขาปินสาน เป็นต้น
- ผลลัพธ์ เป็นการกำหนดผลลัพธ์ของการใช้กลศึก เช่น ผลลัพธ์ของการใช้กลยุทธ์หลบหนีคือขงเบ้งสามารถลอบหลบหนีกจาการปองร้ายจากจิวยี่ได้อย่างปลอดภัย เป็นต้น
- กลศึกก่อนหน้า
- กลศึกถัดไป
- หมายเหตุ
- ในกรณีที่ไม่สามารถกำหนดค่าในพารามิเตอร์ใดในแม่แบบได้ ให้เว้นว่างไว้โดยไม่ต้องกำหนดค่า การแสดงผลของพารามิเตอร์จะไม่ปรากฏในหน้าของบทความ
วิธีการใช้งานกล่องข้อมูล
[แก้]วิธีใช้งานกล่องข้อมูล กลศึกสามก๊ก สำหรับบทความกลศึกในสามก๊ก ให้ทำการคัดลอกข้อมูลทางด้านล่างนี้ แล้วนำไปใส่ไว้ในส่วนบนสุดของบทความที่เริ่มดำเนินการเขียน
{{กล่องข้อมูล กลศึกสามก๊ก | ชื่อ = | ภาพ = | คำอธิบายภาพ = | ภาพ2 = | ผู้วางกลศึก = | ผู้ต้องกลศึก = | ผู้ร่วมกลศึก = | ประเภท = | หลักการ = | สาเหตุ = | สถานที่ = | ผลลัพธ์ = | กลศึกก่อนหน้า = | กลศึกถัดไป = | หมายเหตุ = }}
การตั้งชื่อบทความ
[แก้]การตั้งชื่อบทความในสามก๊ก ใช้หลักการตั้งชื่อตามวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นหลัก โดยยึดเอาชื่อตัวละคร เหตุการณ์ สถานที่หรือส่วนต่าง ๆ ที่ปรากฏในสามก๊กเป็นแนวทางการตั้งขื่อบทความ โดยพิจารณาการตั้งชื่อให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ สถานที่ที่ปรากฏในเรื่องสามก๊ก
การอ้างอิง
[แก้]การอ้างอิงการเขียนบทความในโครงการวิกิสามก๊ก ให้ใช้การอ้างอิงจากวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นหลัก และอ้างอิงจากหนังสือหรือเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวบทความ ตัวละคร เหตุการณ์และสถานที่ที่สามารถตรวจสอบความถูกต้องของบทความได้
หลักวิธีการเขียนบทความสามก๊ก
[แก้]หลักวิธีการเขียนบทความในสามก๊ก เป็นการกำหนดทิศทางของบทความเพื่อให้ทุก ๆ คนที่สนใจร่วมเขียนบทความในสามก๊กเช่นบทความตัวละครสามก๊ก สามารถเขียนบทความที่มีเนื้อหาและรายละเอียดครบถ้วนและสมบูรณ์ จนถึงได้รับคัดเลือกให้เป็นบทความคุณภาพและบทความคัดสรรของวิกิพีเดียไทย เช่นกวนอู หรือการเขียนบทความสงครามในสามก๊ก เช่นศึกเซ็กเพ็ก ศึกทุ่งพกบ๋อง หรือการเขียนบทความกลศึกสามก๊ก เช่นกลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเล กลยุทธ์ลูกโซ่ กลยุทธ์จูงแพะติดมือ ซึ่งต้องมีเนื้อหาและรายละเอียดครบถ้วนตามหลักวิธีการเขียนบทความ การเขียนบทความในสามก๊กในวิกิพีเดีย ควรมีหลักการและเนื้อหาในการเขียนดังนี้
เหตุการณ์
[แก้]การเขียนเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสามก๊กซึ่งเป็นวรรณกรรม ให้ผู้เขียนเขียนโดยยึดเนื้อหาและรายละเอียดต่าง ๆ ที่ปรากฏในวรรณกรรมเป็นหลักเช่นคำสาบานในสวนท้อ ซึ่งเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ปรากฏในสามก๊ก การร่วมสาบานเป็นพี่น้องระหว่างเล่าปี่ กวนอูและเตียวหุย ซึ่งจากหลักฐานอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ระบุว่าไม่มีเหตุการณ์นี้จริง ให้ผู้เขียนบทความสามก๊กเขียนในลักษณะของการเขียนในส่วนวรรณกรรมและเพิ่มเติมในส่วนของข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น
ตัวละคร
[แก้]- บทนำ : เป็นส่วนแรกของเนื้อหา เพื่อเกริ่นให้รู้ถึงเนื้อหาและรายละเอียดคร่าว ๆ ของบทความตัวละครในสามก๊ก เช่น กวนอู (จีนตัวย่อ: 关羽; จีนตัวเต็ม: 關羽; พินอิน: Guān Yǔ; เวด-ไจลส์: Kuan Yu) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือน 6 จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 703 ในรัชสมัยของพระเจ้าฮั้งซวงตี่ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนที่ 7 จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี พ.ศ. 762 ในรัชสมัยของพระเจ้าฮั้งเหี่ยงตี่
- การกำหนดลักษณะคำอธิบายของตัวละครที่มีตัวตนจริงทางประวัติศาสตร์ ให้พิจารณาจากปี พ.ศ. เกิดและเสียชีวิตของตัวละคร เช่น
- จิวยี่ (อังกฤษ: Zhou Yu; จีน: 周瑜; พินอิน: Zhōu Yú) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก แม่ทัพคนสำคัญของง่อก๊ก ขุนพลผู้ปราดเปรื่อง และเป็นคู่ปรับคนสำคัญของขงเบ้ง เป็นชาวเมืองลู่เจียนซู มีกำเนิดในครอบครัวขุนนางเก่า ชื่อรองกงจิ้น ลักษณะเป็นบุรุษรูปงาม หน้าขาว เมื่อวัยเด็กได้เรียนรู้วิชาอย่างแตกฉาน ทั้งการทหารและศิลปะแขนงต่าง ๆ
- การกำหนดลักษณะคำอธิบายของตัวละครที่เกิดจากจินตนาการ ให้พิจารณาจากปี พ.ศ. เกิดและเสียชีวิตของตัวละคร ถ้าไม่มีการกำหนดปี พ.ศ. ให้พิจารณาจัดเป็นตัวละครที่เกิดจากจินตนาการ เช่น
- จิวฉอง (อังกฤษ: Zhou Cang; จีนตัวย่อ: 周仓; จีนตัวเต็ม: 周倉) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นชาวกวนซี หน้าดำ รูปร่างสูงใหญ่ เคราดก ท่าทางสง่าผ่าเผย บ่าทั้ง 2 ข้างมีกำลังมาก แบกของหนักได้พันชั่ง ว่ายนำเก่ง เคยเป็นกำลังโจรโพกผ้าเหลือง ภายหลังเข้าสวามิภักดิ์กับกวนอู
- การกำหนดลักษณะคำอธิบายของตัวละครที่มีตัวตนจริงทางประวัติศาสตร์ ให้พิจารณาจากปี พ.ศ. เกิดและเสียชีวิตของตัวละคร เช่น
- เนื้อหาของบทความ : เนื้อหาของบทความตัวละครในสามก๊ก เป็นส่วนหลักสำคัญที่เก็บรายละเอียดต่าง ๆ ทั้งหมด เช่น กวนอูมีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (จีน: 云长) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า "ง้าวมังกรเขียว" หรือ "ง้าวมังกรจันทร์ฉงาย" เชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ เป็นต้น โดยมีองค์ประกอบสำคัญของบทความ ดังนี้
- ประวัติ
- ลักษณะนิสัย (ถ้ามี)
- ครอบครัว
- อาวุธ (ถ้ามี)
- อ้างอิง : อ้างอิง เป็นส่วนสำคัญที่สุดของการเขียนบทความ เพื่อเป็นการยืนยันและเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่บทความ การอ้างอิงในบทความตัวละครสามก๊ก สามารถใช้เอกสารอ้างอิงภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่เน้นไปทางการอ้างอิงทางหนังสือสามก๊ก (ฉบับหอพระสมุด) หนังสือสามก๊กฉบับวณิพกและหนังสืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกันสามก๊ก
- ดูเพิ่ม : ใช้ในกรณีที่ในวิกิพีเดียมีบทความที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เพื่อเป็นการแนะนำให้ผู้อ่านสามารถค้นคว้าอ่านเพิ่มเติม
- แหล่งข้อมูลอื่น : ใช้สำหรับแนะนำแหล่งข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและบทความตัวละครสามก๊ก
- แม่แบบเชื่อมโยงบทความ : แม่แบบเชื่อมโยงบทความ ใช้สำหรับเชื่อมโยงบทความที่ลักษณะใกล้เคียงกันผ่านทางแม่แบบ อาจอยู่ทางด้านขวามือหรือทางด้านล่างสุดของบทความเช่น แม่แบบ:ตัวละครในสามก๊ก
- หมวดหมู่ : ใช้สำหรับจัดหมวดหมู่บทความสามก๊ก เรียงลำดับตามความสำคัญเช่น กวนอู มีการจัดหมวดหมู่คือ หมวดหมู่:ตัวละครในสามก๊ก • หมวดหมู่:จ๊กก๊ก • หมวดหมู่:เทพเจ้าจีน • หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 2 • หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 3 เป็นต้น
- โครง : ใส่ {{โครงสามก๊ก}} ในส่วนล่างสุดของบทความตัวละครสามก๊ก สำหรับบทความตัวละครในสามก๊กที่ยังไม่สมบูรณ์
- ลิงก์ข้ามภาษา : ใช้สำหรับเชื่อมโยงบทความตัวละครไปยังบทความตัวละครเรื่องเดียวกันในวิกิพีเดียภาษาอื่น เช่น en:Guan Yu • es:Guan Yu • fr:Guan Yu
ศึกสงคราม
[แก้]- บทนำ : เป็นส่วนแรกของเนื้อหา เพื่อเกริ่นให้รู้ถึงเนื้อหาและรายละเอียดคร่าว ๆ ของบทความศึกสงครามในสามก๊ก ศึกผาแดง (อังกฤษ: Battle of Red Cliffs; จีน: 赤壁之戰) หรือ ศึกเซ็กเพ็ก (Battle of Chìbì) ศึกเปี๊ยะเชี๊ยะหรือ ศึกชื่อปี้ เป็นสงครามที่มีความสำคัญที่สุดสงครามหนึ่งในสมัยยุคสามก๊ก ศึกผาแดงนี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 751 โดยฝั่งหนึ่งเป็นกองทัพพันธมิตรของเล่าปี่และซุนกวนทางตอนใต้ และอีกฝั่งคือทัพของโจโฉทางตอนเหนือ ซุนกวนและเล่าปี่นั้นได้ชัยชนะเหนือโจโฉ ทำให้ความพยายามในการยึดดินแดนทางใต้ของโจโฉต้องล้มเหลวลง โดยจุดแตกหักเกิดขึ้น ณ ตำบลที่เรียกว่า "เซ็กเพ็ก" ริมแม่น้ำแยงซีเกียง ศึกผาแดงนี้นับว่าเป็นศึกที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสามก๊กและประวัติศาสตร์จีน
- เนื้อหาของบทความ : เนื้อหาของบทความศึกสงครามในสามก๊ก เป็นส่วนหลักสำคัญที่เก็บรายละเอียดต่าง ๆ ทั้งหมด เช่น ในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เล่าปี่ต้องทิ้งเมืองซินเอี๋ยและอ้วนเซีย อพยพราษฎรจำนวนมาก เพื่อหนีการตามล่าจากโจโฉไปอยู่ที่เมืองแฮเค้าของเล่ากี๋ จากนั้นจึงส่งขงเบ้งไปเป็นทูตเจรจาขอให้ซุนกวนร่วมกันต้านโจโฉ ขณะที่โจโฉสามารถยึดเกงจิ๋วที่เดิมเป็นของเล่าเปียวได้สำเร็จ เพราะชัวมอคิดทรยศยอมยกเมืองให้โจโฉ ซึ่งภายหลังโจโฉก็สั่งสังหารเล่าจ๋องและชัวฮูหยินเสีย และประหารชัวมอและเตียวอุ๋น ตามแผนของจิวยี่ แม่ทัพใหญ่ฝ่ายง่อก๊ก เป็นต้น โดยมีองค์ประกอบสำคัญของบทความ ดังนี้
- จุดเกิดของศึกสงคราม
- ความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ (ถ้ามี)
- ศึกสงครามในสามก๊ก (ถ้ามี)
- ผลของศึกสงคราม (ถ้ามี)
- อ้างอิง : อ้างอิง เป็นส่วนสำคัญที่สุดของการเขียนบทความ เพื่อเป็นการยืนยันและเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่บทความ การอ้างอิงในบทความศึกสงครามสามก๊ก สามารถใช้เอกสารอ้างอิงภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่เน้นไปทางการอ้างอิงทางหนังสือสามก๊ก (ฉบับหอพระสมุด) หนังสือสามก๊กฉบับวณิพกและหนังสืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกันสามก๊ก
- ดูเพิ่ม : ใช้ในกรณีที่ในวิกิพีเดียมีบทความที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เพื่อเป็นการแนะนำให้ผู้อ่านสามารถค้นคว้าอ่านเพิ่มเติม
- แหล่งข้อมูลอื่น : ใช้สำหรับแนะนำแหล่งข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและบทความศึกสงครามสามก๊ก
- แม่แบบเชื่อมโยงบทความ : แม่แบบเชื่อมโยงบทความ ใช้สำหรับเชื่อมโยงบทความที่ลักษณะใกล้เคียงกันผ่านทางแม่แบบ อาจอยู่ทางด้านขวามือหรือทางด้านล่างสุดของบทความเช่น แม่แบบ:สงครามสามก๊ก
- หมวดหมู่ : ใช้สำหรับจัดหมวดหมู่บทความสามก๊ก เรียงลำดับตามความสำคัญเช่น ศึกเซ็กเพ็ก มีการจัดหมวดหมู่คือ หมวดหมู่:สงครามสามก๊ก • หมวดหมู่:พ.ศ. 751 เป็นต้น
- โครง : ใส่ {{โครงสามก๊ก}} ในส่วนล่างสุดของบทความศึกสงครามสามก๊ก สำหรับบทความศึกสงครามที่ยังไม่สมบูรณ์
- ลิงก์ข้ามภาษา : ใช้สำหรับเชื่อมโยงบทความศึกสงครามไปยังบทความศึกสงครามเรื่องเดียวกันในวิกิพีเดียภาษาอื่น เช่น de:Schlacht von Chibi • en:Battle of Red Cliffs • fr:Bataille de la Falaise rouge • id:Pertempuran Chibi
กลศึก
[แก้]- บทนำ : เป็นส่วนแรกของเนื้อหา เพื่อเกริ่นให้รู้ถึงเนื้อหาและรายละเอียดคร่าว ๆ ของบทความกลศึกในสามก๊ก เช่น กลยุทธ์หลบหนี หรือ โจ่วเหวยซ่าง (จีนตัวย่อ: 走为上; จีนตัวเต็ม: 走為上; พินอิน: Zǒu wéi shàng) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก เป็นกลยุทธ์ที่หมายความถึงเมื่อทำการศึกสงครามกับศัตรู หากศัตรูมีกองกำลังทหารที่เข้มแข็ง มีกองทัพที่แข็งแกร่ง ชำนาญภูมิศาสตร์ เป็นต่อในทุก ๆ ด้านไม่มีช่องโหว่ให้พลิกเอาชัยชนะแม้แต่น้อย ขึนนำกำลังเข้าต่อสู้ก็มีแต่สูญเสีย การถอยหนีย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
- เนื้อหาของบทความ : เนื้อหาของบทความกลศึกในสามก๊ก เป็นส่วนหลักสำคัญที่เก็บรายละเอียดต่าง ๆ ทั้งหมด เช่น กลศึกยุทธ์หลบหนี ตามคัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "ถอยหนีมิผิด เป็นวิสัยแห่งสงคราม" ซึ่งเป็นการชี้ชัดว่าการถอยหนีในการทำสงครามนั้นมิใช่ความผิดผลาด หากแต่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญในการทำศึกที่มักจะพบเห็นเสมอ นอกจากนี้ยังมีคำกล่าวว่า "การพ่ายแพ้หมายถึงความล้มเหลวในทุก ๆ ด้าน การยอมสงบศึกหมายถึงการล้มเหลวในบางด้าน แต่การหนีมิได้หมายความว่าล้มเหลวเลย" ดังนั้นการถอยหนีเป็นการถอยเพื่อหาหนทางหลีกเลี่ยงความเสียหาย แลหาโอกาสชิงตอบโต้ในภายหลัง มิใช่เป็นการถอยหนีอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์หลบหนีไปใช้ได้แก่ขงเบ้งที่ลอบหลบหนีจิวยี่ภายหลังจากทำพิธีเรียกลมตะวันออกเฉียงใต้ที่ลำเขาลำปินสานเพื่อใช้ไฟเผากองทัพเรือโจโฉในคราวศึกเซ็กเพ็กเป็นต้น โดยมีองค์ประกอบสำคัญของบทความ ดังนี้
- ตัวอย่างกลยุทธ์
- อ้างอิง : อ้างอิง เป็นส่วนสำคัญที่สุดของการเขียนบทความ เพื่อเป็นการยืนยันและเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่บทความ การอ้างอิงในบทความตัวละครสามก๊ก สามารถใช้เอกสารอ้างอิงภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่เน้นไปทางการอ้างอิงทางหนังสือสามก๊ก (ฉบับหอพระสมุด) หนังสือสามก๊กฉบับวณิพกและหนังสืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกันสามก๊ก
- ดูเพิ่ม : ใช้ในกรณีที่ในวิกิพีเดียมีบทความที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เพื่อเป็นการแนะนำให้ผู้อ่านสามารถค้นคว้าอ่านเพิ่มเติม
- แหล่งข้อมูลอื่น : ใช้สำหรับแนะนำแหล่งข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและบทความตัวละครสามก๊ก
- แม่แบบเชื่อมโยงบทความ : แม่แบบเชื่อมโยงบทความ ใช้สำหรับเชื่อมโยงบทความที่ลักษณะใกล้เคียงกันผ่านทางแม่แบบ อาจอยู่ทางด้านขวามือหรือทางด้านล่างสุดของบทความเช่น แม่แบบ:กลศึกสามก๊ก
- หมวดหมู่ : ใช้สำหรับจัดหมวดหมู่บทความสามก๊ก เรียงลำดับตามความสำคัญเช่น กวนอู มีการจัดหมวดหมู่คือ หมวดหมู่:กลศึกสามก๊ก เป็นต้น
- โครง : ใส่ {{โครงสามก๊ก}} ในส่วนล่างสุดของบทความตัวละครสามก๊ก สำหรับบทความตัวละครที่ยังไม่สมบูรณ์
- ลิงก์ข้ามภาษา : ใช้สำหรับเชื่อมโยงบทความตัวละครไปยังบทความตัวละครเรื่องเดียวกันในวิกิพีเดียภาษาอื่น เช่น zh:走為上計
การจัดระดับบทความ
[แก้]ทุกคนสามารถช่วยจัดระดับบทความสามก๊กตามระดับการจัดบทความ โดยติดป้ายบทความสามก๊กตามระดับการเขียนบทความ ในหน้าพูดคุยของบทความนั้น ๆ ดังนี้
- {{บทความสามก๊ก|ระดับ=คัดสรร}} สำหรับบทความระดับคัดสรร
- {{บทความสามก๊ก|ระดับ=คุณภาพ}} สำหรับบทความระดับคุณภาพ
- {{บทความสามก๊ก|ระดับ=ดี}} สำหรับบทความระดับดี
- {{บทความสามก๊ก|ระดับ=พอใช้}} สำหรับบทความระดับพอใช้
- {{บทความสามก๊ก|ระดับ=โครง}} สำหรับบทความระดับโครง
- {{บทความสามก๊ก|ระดับ=รายชื่อ}} สำหรับบทความระดับรายชื่อ หรือบทความที่เป็นดัชนีรายชื่อ
- {{บทความสามก๊ก}} สำหรับบทความที่ยังไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่แน่ใจว่าอยู่ในระดับใด
การพิจารณาในการจัดระดับบทความสามก๊กในโครงการวิกิสามก๊ก ใช้ระดับการพิจารณาดังต่อไปนี้
- ระดับรายชื่อ
การจัดระดับบทความสามก๊กในระดับรายชื่อ ใช้จัดระดับสำหรับบทความสามก๊กที่เป็นดัชนีรายชื่อ มีเนื้อหาแสดงรายชื่อของตัวละครในก๊กต่าง ๆ เช่น รายตัวละครในจ๊กก๊ก รายชื่อตัวละครในง่อ๊ก ฯลฯ ทุกคนที่ทำการจัดระดับบทความสามก๊กในระดับรายชื่อ ให้ใส่ {{บทความสามก๊ก|ระดับ=รายชื่อ}} ในหน้าพูดคุยของบทความนั้น ดังตัวอย่าง
การจัดระดับรายชื่อ | แม่แบบสามก๊กที่ปรากฏ | ||||
---|---|---|---|---|---|
{{บทความสามก๊ก|ระดับ=รายชื่อ}} |
|
- ระดับโครง
การจัดระดับบทความสามก๊กในระดับโครง ใช้จัดระดับสำหรับบทความสามก๊กที่มีเพียงกล่องข้อมูล {{กล่องข้อมูล ตัวละครสามก๊ก}} หรือ {{กล่องข้อมูล สงครามสามก๊ก}} หรือ {{กล่องข้อมูล กลศึกสามก๊ก}} ที่มีเนื้อหาแสดงเพียงแค่ชื่อของบทความสามก๊ก ขาดเนื้อหาในส่วนสำคัญ ๆ ตามหลักการเขียนบทความสามก๊ก สามารถเขียนรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา หรือถ้าในกรณีที่ทุกคนที่เริ่มเขียนบทความสามก๊ก มีข้อมูลและรายละเอียดครบถ้วน สามารถนำมาเขียนใหม่ได้ทั้งหมด โดยแก้ไขปรับเปลี่ยนเนื้อหาและรายละเอียดบางส่วน เช่นจิวฉอง จิวท่าย จูกัดกิ๋น ฯลฯ ทุกคนที่ทำการจัดระดับบทความสามก๊กในระดับรายชื่อ ให้ใส่ {{บทความสามก๊ก|ระดับ=โครง}} ในหน้าพูดคุยของบทความนั้น ดังตัวอย่าง
การจัดระดับโครง | แม่แบบสามก๊กที่ปรากฏ | ||||
---|---|---|---|---|---|
{{บทความสามก๊ก|ระดับ=โครง}} |
|
- ระดับพอใช้
การจัดระดับบทความสามก๊กในระดับพอใช้ ใช้จัดระดับสำหรับบทความสามก๊กที่มี{{กล่องข้อมูล ตัวละครสามก๊ก}} หรือ {{กล่องข้อมูล สงครามสามก๊ก}} หรือ {{กล่องข้อมูล กลศึกสามก๊ก}} ที่มีเนื้อหาในส่วนบทนำ เนื้อหาส่วนสำคัญมีค่อนข้างละเอียดแต่อาจจะไม่ครบถ้วนเท่าที่ควร ขาดรายละเอียดของบทความในบางส่วน สามารถแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาในบางส่วนให้สมบูรณ์ แต่สรุปโดยรวมคือเมื่อผู้อ่านได้อ่านบทความสามก๊กแล้ว เห็นว่าพอที่จะให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านพอสมควร เช่น กวนลอ กองซุนจ้าน จิวยี่ ฯลฯ ทุกคนที่ทำการจัดระดับบทความสามก๊กในระดับรายชื่อ ให้ใส่ {{บทความสามก๊ก|ระดับ=พอใช้}} ในหน้าพูดคุยของบทความนั้น ดังตัวอย่าง
การจัดระดับพอใช้ | แม่แบบสามก๊กที่ปรากฏ | ||||
---|---|---|---|---|---|
{{บทความสามก๊ก|ระดับ=พอใช้}} |
|
- ระดับดี
การจัดระดับบทความสามก๊กในระดับดี ใช้จัดระดับสำหรับบทความสามก๊กที่มี{{กล่องข้อมูล ตัวละครสามก๊ก}} หรือ {{กล่องข้อมูล สงครามสามก๊ก}} หรือ {{กล่องข้อมูล กลศึกสามก๊ก}} ที่มีเนื้อหาในส่วนบทนำ เนื้อหาส่วนสำคัญครบถ้วนตามหลักวิธีการเขียนบทความ ข้อมูลอ้างอิงและแหล่งข้อมูลอื่นสำหรับผู้อ่านที่สนใจติดตามอ่านในส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ของบทความ เนื้อหาสำคัญของบทความสามารถแก้ไขเพิ่มเติมและปรุบปรุงนิดหน่อย เพื่อเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านได้อย่างครบถ้วน เช่น กลศึกสามก๊ก ฯลฯ ทุกคนที่ทำการจัดระดับบทความสามก๊กในระดับรายชื่อ ให้ใส่ {{บทความสามก๊ก|ระดับ=ดี}} ในหน้าพูดคุยของบทความนั้น ดังตัวอย่าง
การจัดระดับดี | แม่แบบสามก๊กที่ปรากฏ | ||||
---|---|---|---|---|---|
{{บทความสามก๊ก|ระดับ=ดี}} |
|
- ระดับคุณภาพ
การจัดระดับบทความสามก๊กในระดับคุณภาพ ใช้จัดระดับสำหรับบทความสามก๊กที่มีการส่งบทความเข้าคัดเลือกเพื่อให้เป็นบทความคุณภาพของวิกิพีเดีย โดยมีเนื้อหาและรายละเอียดครบถ้วน ให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างบทความสามก๊กในระดับคุณภาพและต่อมาได้รับการคัดเลือกให้เป็นบทความคัดสรร ทุกคนที่ทำการจัดระดับบทความสามก๊กในระดับรายชื่อ ให้ใส่ {{บทความสามก๊ก|ระดับ=คุณภาพ}} ในหน้าพูดคุยของบทความนั้น ดังตัวอย่าง
การจัดระดับคุณภาพ | แม่แบบสามก๊กที่ปรากฏ | ||||
---|---|---|---|---|---|
{{บทความสามก๊ก|ระดับ=คุณภาพ}} |
|
- ระดับคัดสรร
การจัดระดับบทความสามก๊กในระดับคัดสรร ใช้จัดระดับสำหรับบทความสามก๊กที่มีการส่งบทความเข้าคัดเลือกเพื่อให้เป็นบทความคัดสรร ซึ่งถือว่าเป็นบทความที่ดีที่สุดของวิกิพีเดีย โดยมีเนื้อหาและรายละเอียดครบถ้วน ให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างบทความสามก๊กในระดับคัดสรรเช่นกวนอู ได้รับการคัดเลือกให้เป็นบทความคัดสรร ทุกคนที่ทำการจัดระดับบทความสามก๊กในระดับรายชื่อ ให้ใส่ {{บทความสามก๊ก|ระดับ=คัดสรร}} ในหน้าพูดคุยของบทความนั้น ดังตัวอย่าง
การจัดระดับคัดสรร | แม่แบบสามก๊กที่ปรากฏ | ||||
---|---|---|---|---|---|
{{บทความสามก๊ก|ระดับ=คัดสรร}} |
|