หงสาจอมราชันย์
หงสาจอมราชันย์ | |
---|---|
หน้าปกหนังสือ หงสาจอมราชันย์ ฉบับที่ 16 | |
火鳳燎原 | |
แนว | ปรัชญา, จิตวิทยา, กำลังภายใน |
เขียนโดย | เฉิน โหม่ว |
สำนักพิมพ์ | ตงลี่คอมิกส์ (ฮ่องกงและไต้หวัน) |
สำนักพิมพ์ภาคภาษาไทย | บุรพัฒน์ |
สำนักพิมพ์อื่น | |
นิตยสาร | ซินเช่าเหนียนรายสัปดาห์ (ฮ่องกง) ซินเช่าเหยียนไคว่เป้า (ไต้หวัน) ซังโงกูชิแมกกาซีน (ญี่ปุ่น) |
วางจำหน่ายตั้งแต่ | 15 มิถุนายน พ.ศ. 2544 |
จำนวนเล่ม | 75 (ฮ่องกง) 73 (ไทย) |
หงสาจอมราชันย์ | |||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 火鳳燎原 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 火凤燎原 | ||||||
ความหมายตามตัวอักษร | หงส์ไฟลามทุ่ง | ||||||
|
หงสาจอมราชันย์ เป็นซีรีส์การ์ตูนช่องฮ่องกงที่สร้างสรรค์โดยเฉิน โหม่ว เป็นการนำเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์จีนช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นและยุคสามก๊กมาเล่าใหม่ เรื่องราวส่วนใหญ่มีความเกี่ยวพันกับการแสวงผลประโยชน์ของสุมาอี้ตั้งแต่วัยเยาว์[1][2]
ซีรีส์การ์ตูนหงสาจอมราชันย์ขึ้นชื่อเรื่องการใช้ความคิดสร้างสรรค์ตีความเหตุการณ์และบุคคลในสามก๊กในหลายแง่มุม ในขณะที่รายละเอียดหลักของเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ไม่เปลี่ยนแปลงจากประวัติศาสตร์ (เช่น ผลลัพธ์ของยุทธการครั้งสำคัญ การเสียชีวิตของบางตัวละคร) รายละเอียดปลีกย่อยหลายอย่างถูกเปลี่ยนแปลงและสมมติขึ้นใหม่ ยกตัวอย่างเช่นสุมาอี้ซึ่งในเรื่องมีอายุมากกว่าสุมาอี้ตัวจริงในประวัติศาสตร์ ตัวละครอื่น ๆ เช่น เล่าปี่ เตียวจูล่ง เตียวหุย เตียวเสียน และลิโป้ก็มีบทบาทที่แตกต่างจากในบันทึกประวัติศาสตร์และจากแนวคิดนิยมของตัวละคร
เนื้อเรื่องให้ความสำคัญกับการเมืองและการสงครามในยุคสามก๊ก เนื่องจากหนึ่งในจุดเด่นหลักของซีรีส์คือการประลองทางจิตวิทยา การใช้กลยุทธ์และยุทธวิธีทางการทหาร แต่เฉิน โหม่วก็ยังให้ความสำคัญกับการติดตามพัฒนาการของกลุ่มตัวละครเอกโดยตลอด โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับการตอบสนองและทัศนคติต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวตัวละครเหล่านี้
ปัจจุบันหงสาจอมราชันย์ตีพิมพ์ในนิตยสารการ์ตูนของฮ่องกง ไต้หวัน และญี่ปุ่น และมีตีพิมพ์หนังสือการ์ตูนรวมเล่มในจีนแผ่นดินใหญ่ เกาหลี ไทย เวียดนาม และสิงคโปร์เช่นกัน ในประเทศไทยมีลิขสิทธิ์โดยสำนักพิมพ์บุรพัฒน์
ซีรีส์การ์ตูนหงสาจอมราชันย์ได้รับการดัดแปลงเป็นซีรีส์แอนิเมชัน ฉายทางปีลีปีลีตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2566
เนื้อเรื่อง
[แก้]หงสาจอมราชันย์ เป็นเรื่องที่ดัดแปลงมาจากวรรณกรรมสามก๊กของ หลอ กว้านจง เนื่องจากบันทึกสามก๊กหลายส่วนมีความคลุมเครือ จึงเป็นช่องให้มีการเสริมแต่งเรื่องราวได้จากการอ้างอิงประวัติศาสตร์ เช่น การที่สกุลพ่อค้าที่ทรงอิทธิพล จะชุบเลี้ยงกองทหารและมือสังหาร ในเรื่องจึงให้สกุลสุมามีกลุ่มมือสังหารชื่อซากทัพ ซึ่งรับคนพิการให้มาฝึกเป็นสมาชิก และคอยกระทำการเบื้องหลังประวัติศาสตร์ เช่น การลอบสังหารบุคคลสำคัญ
นอกจากนั้นยังมีการสร้างเรื่องราวว่ากุนซือผู้โด่งดังในยุคนั้น ล้วนแต่เป็นศิษย์ของสุมาเต็กโชผู้เปิดสำนักคันฉ่องวารี โดยมีผู้ที่ความสามารถสูงสุด 8 คน มีชื่อเสียงโด่งดังว่า 8 พิสดาร ได้แก่ อ้วนปึง (ตัวละครที่สร้างขึ้นใหม่ให้เป็นกุนซือของอ้วนเสี้ยว) ซุนฮก กาเซี่ยง กุยแก จิวยี่ บังทอง ขงเบ้ง และสมาชิกคนที่แปดที่ยังไม่เผยตัว ซึ่งกุนซือเหล่านี้ต่างก็แยกย้ายไปรับใช้นายของตน หรือให้คำแนะนำและการสนับสนุนแผนการในเหตุการณ์ต่าง ๆ
เรื่องราวเริ่มขึ้นในช่วงการเข้ายึดเมืองหลวงของตั๋งโต๊ะ โดยเปิดประเด็นไปที่กุนซือของตั๋งโต๊ะชื่อฮือหลิน เดินทางมาสกุลสุมาพ่อค้าที่ทรงอิทธิพลในเมืองโห้ลาย เพื่อเจรจา (ข่มขู่) ให้สนับสนุนตั๋งโต๊ะ สุมาอี้คุณชายรองของสกุลสุมาตระกูลเศรษฐีพอค้า จึงแอบทำการว่าจ้างกลุ่มนักฆ่าซากทัพ ให้ดำเนินภารกิจลอบสังหารฮือหลิน และเป็นจุดเริ่มเรื่องที่สร้างบุญคุณความแค้นต่อตั๋งโต๊ะและลิโป้ ที่สร้างเรื่องราวซับซ้อนต่อมา เช่น สุมาล่งพี่ชายของสุมาอี้รับราชการในเมืองหลวง จึงถูกตั๋งโต๊ะคุมขัง ขบวนการซากทัพส่งสมาชิกชื่อเสี่ยวม่านปลอมตัวเป็นเตียวเสี้ยนเข้ามาเป็นสายลับ และเหลี่ยวหยวนหว่อผู้นำแห่งซากทัพปลอมตัวในชื่อเตียวหุน(เตียวหยุน) เพื่อช่วยสุมาล่ง และได้พบกับเล่าปี่ หลังจากนั้นซากทัพก็ส่งเตียวเสี้ยนปลอมตัวมาเป็นบุตรีบุญธรรมของอ้องอุ้นและร่วมมือกับลิโป้ในการสังหารตั๋งโต๊ะ
เนื้อเรื่องเริ่มจากความสัมพันธ์ฉันท์มิตรที่สนิทสนมของสุมาอี้และเหลี่ยวหยวนหว่อ จนกระทั่งเกิดความไม่ลงรอย เหตุการณ์แตกหัก จนถึงช่วงเวลาที่สุมาอี้ได้ไปรับใช้โจโฉ ขณะที่เหลี่ยวหยวนหว่อทิ้งชื่อตัวเองเพื่อไปรับใช้เล่าปี่ แต่มีการดำเนินเรื่องไปหลากหลายทิศทางในที่ต่าง ๆ แบ่งเป็นช่วงคร่าว ๆ ดังนี้
- ช่วงเวลาเรืองอำนาจของตั๋งโต๊ะ
- การก้าวขึ้นสู่อำนาจของโจโฉ
- เล่าปี่เข้าช่วยซีจิ๋วจากการรุกรานของโจโฉ
- ซุนเซ็กขึ้นมีอิทธิพลเหนือกังตั๋ง
- ศึกระหว่างลิโป้และโจโฉที่ซีจิ๋ว
- จุดจบของซุนเซ็กและอิเกียด
- ศึกแห่งกัวต๋อระหว่างโจโฉกับอ้วนเสี้ยว (ฉบับล่าสุด)
- ศึกพาแดงระหว่างโจโฉกับตระกูลเล่า ซุน (ฉบับล่าสุด)
- ศึกอิเหลงระหว่างเล่าปี่กับซุนกวน
- การรบครั้งสุดท้ายของสุมาอี้กับขงเบ้ง
ตัวละคร
[แก้]ตระกูลสุมาและซากทัพ
[แก้]- สุมาอี้
- เหลียวหยวนหว่อ
- เสี่ยวม่าน
- เตียวลุย
- ก้วยงัง
- ซันอู๋หลิน
- สุมาล่ง
- มิฟูเน่
ฝ่ายลิโป้
[แก้]- ลิโป้
- ตันก๋ง
- เตียวเลี้ยว
- เสี่ยวม่าน
- กอสุ้น
- เฉินอี้ลู่
- จั่นปา
- โจเสง
ฝ่ายเล่าปี่
[แก้]- เล่าปี่
- กวนอู
- เตียวหุย
- เหลียวหยวนหว่อ แยกตัวออกมาจากซากทัพ
- บิต๊ก
- เจียนโอว
- เลียวหัว
ฝ่ายโจโฉ
[แก้]- โจโฉ
- แฮหัวตุ้น
- แฮหัวเอี๋ยน
- กุยแก
- ซุนฮก
- ซุนฮิว
- โจหยิน
- โจหอง
- เทียหยก
- อิกิ๋ม
- งักจิ้น
- ลิเตียน
- เคาทู
- เตียวเลี้ยว มาอยู่หลังจากลิโป้ตาย
- โจซุ่ง หัวหน้าหน่วยอาชาเสือดาว
- ฮั่นเฮา
- เคาเต็ง พี่ชายของเคาทู
ฝ่ายสำนักคันฉ่องวารี
[แก้]ฝ่ายอ้วนเสี้ยว
[แก้]- อ้วนเสี้ยว
- อ้วนปึง
- งันเหลียง
- บุนทิว
- เตียวคับ
- กอหลำ
- เขาฮิว
ฝ่ายซุนเซ็ก
[แก้]อื่น ๆ
[แก้]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Zhang Dazhi (張達智), บ.ก. (14 May 2010). 陳某縱橫三國新史詩《火鳳燎原》第38集上市 [Chan Mou's new poetic history of Three Kingdoms diplomacy The Ravages of Time issue 38 released]. Cdnews.com.tw 中央日報網路報 (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2012.
- ↑ 貂蝉是太监?《火凤燎原》改写三国斗智史. Southcn.com. 2005-03-31. สืบค้นเมื่อ 2013-02-15.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- List of volumes in the series on Tongli Comics website เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- หงสาจอมราชันย์ : สามก๊กในมุมมองใหม่ที่ไม่เหมือนใคร บทความจาก kartoon-discovery.com
- ซีรีส์แอนิเมชัน หงสาจอมราชันย์ ที่ปีลีปีลี