ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าเหี้ยนเต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระเจ้าหองจูเหียบ)
พระเจ้าเหี้ยนเต้ (ฮั่นเซี่ยนตี้)
漢獻帝
จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
พระบรมสาทิสลักษณ์ของพระเจ้าเหี้ยนเต้ในยุคราชวงศ์ชิง
จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น
ครองราชย์28 กันยายน ค.ศ. 189 – 11 ธันวาคม ค.ศ. 220[1]
ก่อนหน้าหองจูเปียน
ผู้สำเร็จราชการ
ซันเอียงก๋ง (山陽公 ชานหยางกง)
ดำรงพระยศ11 ธันวาคม ค.ศ. 220 – 21 เมษายน ค.ศ. 234
ถัดไปหลิว คัง (劉康)
อ๋องแห่งปุดไฮ (渤海王 ปั๋วไห่หวาง)
ดำรงพระยศค.ศ. 189
ตันลิวอ๋อง (陳留王 เฉินหลิวหวาง)
ดำรงพระยศค.ศ. 189
ประสูติ2 เมษายน ค.ศ. 181[2]
นครลกเอี๋ยง ประเทศจีนยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
สวรรคต21 เมษายน ค.ศ. 234(234-04-21) (53 ปี)[3]
เมืองโห้ลาย รัฐวุยก๊ก
มเหสีฮกเฮา
โจเฮา
พระนามเต็ม
นามสกุล: หลิว/เล่า (劉)
ชื่อตัว: เสีย/เหียบ (協)
ชื่อรอง: ปั๋วเหอ (伯和)
พระสมัญญานาม
สั้น: เซี่ยน/เหี้ยน (獻) (วุยก๊ก), หมิ่น/มิน (愍) (จ๊กก๊ก)
ยาว: เสี่ยวเซี่ยน/เฮาเหี้ยน (孝獻) (วุยก๊ก), เสียวหมิ่น/เฮามิน (孝愍) (จ๊กก๊ก)
ราชวงศ์ฮั่น
พระราชบิดาพระเจ้าเลนเต้
พระราชมารดาอองบีหยิน

พระเจ้าเหี้ยนเต้ (2 เมษายน ค.ศ. 181 - 21 เมษายน ค.ศ. 234) หรือ จักรพรรดิฮั่นเซี่ยนตี้ (จีน: 漢獻帝; พินอิน: Hàn Xiàn Dì) พระนามส่วนพระองค์ เล่าเหียบ[a] หรือภาษาจีนกลางเรียกว่า หลิว เสีย (จีน: 劉協; พินอิน: Liú Xié) พระนามรอง ปั๋วเหอ (จีน: 伯和; พินอิน: Bóhé) เป็นจักรพรรดิลำดับที่ 14 และลำดับสุดท้ายของราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในประวัติศาสตร์จีน ครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 189 จนถึง 11 ธันวาคม ค.ศ. 220[4][5]

เล่าเหียบเป็นพระราชโอรสองค์เล็กของพระเจ้าเลนเต้และเป็นพระราชอนุชาต่างพระราชมารดาของจักรพรรดิองค์ก่อนคือหองจูเปียน ในปี ค.ศ. 189 ขณะมีพระชนมายุได้ 8 พรรษา พระองค์ได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิหลังจากขุนศึกตั๋งโต๊ะ ผู้ควบคุมราชสำนักฮั่นประกาศปลดพระเชษฐาของพระองค์ออกจากราชบัลลังก์ เล่าเหียบที่เพิ่งขึ้นครองราชย์หรือที่รู้จักในพระนามพระเจ้าเหี้ยนเต้ แท้จริงแล้วเป็นจักรพรรดิหุ่นเชิดภายใต้การควบคุมของตั๋งโต๊ะ ในปี ค.ศ. 190 เมื่อพันธมิตรของกลุ่มขุนศึกร่วมกันเปิดฉากการทัพปราบตั๋งโต๊ะในนามของการปลดปล่อยพระเจ้าเหี้ยนเต้ ตั๋งโต๊ะสั่งทำลายเมืองหลวงของจักรวรรดิในเวลานั้นคือลกเอี๋ยง และบังคับย้ายเมืองหลวงของจักรวรรดิพร้อมกับผู้อยู่อาศัยไปยังเตียงฮันซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกและเคยเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก หลังจากการลอบสังหารตั๋งโต๊ะโดยลิโป้ซึ่งเป็นองครักษ์ส่วนตัวและบุตรบุญธรรมของเขาในปี ค.ศ. 192 พระเจ้าเหี้ยนเต้ก็ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของลิฉุยและกุยกี อดีตสองผู้ใต้บังคับบัญชาของตั๋งโต๊ะ ขุนศึกในหัวเมืองต่าง ๆ ยอมรับความชอบธรรมของพระเจ้าเหี้ยนเต้อย่างเป็นทางการ แต่ไม่เคยดำเนินการใด ๆ เพื่อช่วยเขาจากการถูกจับเป็นตัวประกัน

ใน ค.ศ. 195 พระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงสามารถหลบหนีออกมาจากเตียงฮันและกลับไปที่ซากเมืองลกเอี๋ยงในช่วงที่เกิดความบาดหมางระหว่างลิฉุยและกุยกี ที่ซึ่งในไม่ช้าพระองค์ทรงติดอยู่ที่นั่น ปีต่อมา ขุนศึกโจโฉได้นำกองทัพเข้าสู่ลกเอี๋ยง ต้อนรับพระเจ้าเหี้ยนเต้ รับพระองค์ไว้ภายใต้การคุ้มครอง และคุ้มกันพาพระองค์ไปที่นครฮูโต๋ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงใหม่ของจักรวรรดิ แม้ว่าโจโฉจะจงรักภักดีต่อพระเจ้าเหี้ยนเต้เพียงเล็กน้อย แต่แท้จริงแล้ว เขาเป็นหัวหน้ารัฐบาลส่วนกลางโดยพฤตินัย เขาใช้พระเจ้าเหี้ยนเต้อย่างชาญฉลาดในฐานะ"ไพ่ตาย" เพื่อเสริมสร้างความชอบธรรมของเขา เมื่อเขาโจมตีและกำจัดขุนศึกที่เป็นคู่แข่งในเป้าหมายของเขาในการรวบรวมจักรวรรดิฮั่นอีกครั้งภายใต้การปกครองของรัฐบาลส่วนกลาง ความสำเร็จของโจโฉดูเหมือนใกล้จะเป็นจริงจนกระทั่งฤดูหนาว ค.ศ. 208-209 เมื่อเขาพ่ายแพ้ในยุทธการที่เซ็กเพ็กให้แก่ขุนศึกฝ่ายใต้อย่างซุนกวนและเล่าปี่ การต่อสู้ครั้งนี้ได้ปูทางไปสู่การก่อกำเนิดของอาณาจักรสามก๊ก ได้แก่ วุยก๊ก จ๊กก๊ก และง่อก๊กในเวลาต่อมา

ในช่วงปลายปี ค.ศ. 220 ไม่กี่เดือนภายหลังโจโฉถึงแก่กรรม โจผี ทายาทผู้สืบทอดของโจโฉได้บีบบังคับให้พระเจ้าเหี้ยนเต้สละราชบังลังก์แล้วยกให้แก่ตน จากนั้นเขาได้สถาปนาวุยก๊กด้วยตัวเขาเองในฐานะจักรพรรดิองค์ใหม่ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่บ่งบอกถึงการสิ้นสุดอย่างเป็นทางการของราชวงศ์ฮั่นและเป็นจุดเริ่มต้นของยุคสามก๊กในจีน พระเจ้าเหี้ยนเต้ ผู้ถูกปลดออกจากราชบังลังก์ได้รับตำแหน่งขุนนางเป็น ซันเอียงก๋ง (山陽公 ชานหยางกง) จากพระเจ้าโจผี และทรงใช้ชีวิตที่เหลืออย่างสงบสุขและได้รับการดูแลเป็นพิเศษ พระองค์สวรรคตเมื่อวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 234 ประมาณ 14 ปีภายหลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ฮั่น

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เรียกพระเจ้าเหี้ยนเต้ในช่วงก่อนขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิว่า หองจูเหียบ ตรงกับคำภาษาจีนกลางว่า หฺวางจื่อเสีย (จีน: 皇子協; พินอิน: Huángzǐ Xié) มีความหมายว่า "ราชบุตรเหียบ (協 เสีย)"

อ้างอิง

[แก้]
  1. de Crespigny (2007), p. xxxiii.
  2. de Crespigny (2007), p. 554.
  3. de Crespigny 2007, p. 555. Cao Rui's biography in the Sanguozhi recorded that the Duke of Shanyang died on the gengyin day of the 3rd month of the 2nd year of the Qinglong era of Cao Rui's reign. This date corresponds to 21 April 234 in the Gregorian calendar. Original quote in Sanguozhi vol. 3: [青龍二年]三月庚寅,山陽公薨

  4. In the tenth month of 220 (November), various ministers proposed that Cao Pi replace Liu Xie as the emperor, citing various astrological signs. On 25 November, Liu Xie performed various ceremonies in preparation for abdicating the throne. On 11 December, Liu Xie formally abdicated the throne and Cao Pi ascended as the new emperor. Chronicle of the Three Kingdoms, Achilles Fang.


  5. On 11 December Cao Cao's son and successor Cao Pi received the abdication of the Han Emperor and took the imperial title for himself, with a new reign period Huangchu "Yellow Beginning," named in honour of the new Power of Yellow and Earth which had been foretold should succeed to the Red and Fire of Han. (Cf. note 84 to Jian'an 24.) To Establish Peace, Rafe de Crespigny

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Chen Shou (280s or 290s). Records of the Three Kingdoms. Pei Songzhi, annotation, 429. Hong Kong: Zhonghua Publishing, 1971. 5 vols. Cited as Sanguozhi.
  • de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Handbook of Oriental Studies. Section 4: China, Volume 19. Leiden: Brill. doi:10.1163/ej.9789004156050.i-1311.7. ISBN 9789004156050.
  • Fan Ye, บ.ก. (1965) [445]. Hou Han shu 後漢書 [Book of the Later Han]. Beijing: Zhonghua Shuju. Cited as Houhanshu.
  • Chen Shou (1977) [429]. Pei Songzhi (บ.ก.). Annotated Records of the Three Kingdoms 三國志注. Taipei: Dingwen Printing. Cited as Sanguozhi zhu.
  • Sima Guang, บ.ก. (1956) [1084]. Zizhi Tongjian 資治通鑑. Beijing: Zhonghua Publishing.
ก่อนหน้า พระเจ้าเหี้ยนเต้ ถัดไป
หองจูเปียน จักรพรรดิจีน
(ค.ศ. 189–220)
โจผี
เล่าปี่
ซุนกวน