รายพระนามและชื่อประธานในพิธีเปิดโอลิมปิก
รายพระนามและชื่อประธานในพิธีเปิดโอลิมปิก ในปัจจุบันเป็นการแข่งขันหลากหลายประเภทกีฬาทั้งฤดูร้อน ฤดูหนาว รวมถึงเยาวชน โดยจะจัดขึ้นทุก ๆ 2 ปี สลับกันระหว่างโอลิมปิกฤดูร้อน และโอลิมปิกฤดูหนาว ในระหว่างพิธีเปิดโอลิมปิก ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากลในสมัยนั้น ๆ จะกล่าวสุนทรพจน์ก่อนที่จะเชิญประธานในพิธีกล่าวเปิดอย่างเป็นทางการ ตามกฎบัตรโอลิมปิก ผู้ที่จะกล่าวเปิดกีฬาโอลิมปิกอย่างเป็นทางการจะต้องเป็นประมุขแห่งรัฐของประเทศเจ้าภาพ[1]
พิธีเปิด
[แก้]เอกสารแนวปฏิบัติพิธีเปิดของไอโอซี ระบุว่า "ตามกฎบัตรโอลิมปิก ผู้ที่จะกล่าวเปิดกีฬาโอลิมปิกอย่างเป็นทางการจะต้องเป็นประมุขแห่งรัฐของประเทศเจ้าภาพ ทั้งฐานะประมุขของราชวงศ์ หรือประธานาธิบดีก็ตาม นอกจากนี้ในกรณีที่ประมุขแห่งรัฐไม่สามารถทำหน้าที่ได้ รองประธานาธิบดี, สมาชิกของราชวงศ์ หรือผู้สำเร็จราชการ จะเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่นี้แทน"[2] ตามกฎบัตรโอลิมปิกหมวดที่ 5 ข้อที่ 29 กำหนดคำกล่าวสุนทรพจน์ไว้ดังนี้
- โอลิมปิกฤดูร้อน
ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (ณ) [ชื่อเมืองเจ้าภาพ] เพื่อเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิก [ครั้งที่] ในยุคปัจจุบัน
- โอลิมปิกฤดูหนาว
ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬากีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว [ครั้งที่] ณ [ชื่อเมืองเจ้าภาพ]
อย่างไรก็ตาม ในพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูหนาว 2010 ผู้สำเร็จราชการแคนาดา มีชาแอล ชอง ได้ใช้รูปแบบสุนทรพจน์ของโอลิมปิกฤดูร้อนแทน โดยกล่าวว่า
- ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกแวนคูเวอร์ เพื่อเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ครั้งที่ 21
ในปี 1960 ประธานาธิบดีแห่งประเทศอิตาลี จิโอวานี กรองกี ได้กล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษาอิตาลี โดยกล่าวว่า
- ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกโรม เพื่อเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 17 ในยุคปัจจุบัน
ในปี 1964 สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ แห่งญี่ปุ่น ทรงกล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษาญี่ปุ่น โดยกล่าวว่า
- เพื่อเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิกยุคปัจจุบัน ครั้งที่ 18 ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกโตเกียว ณ ที่นี้
ในปี 1976 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งแคนาดา ทรงกล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษาฝรั่งเศส ตามด้วยภาษาอังกฤษ โดยกล่าวว่า
- ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกมอนทรีออล เพื่อเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 21 ในยุคปัจจุบัน
ในปี 1980 ประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียต เลโอนิด เบรจเนฟ ได้กล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษารัสเซีย โดยกล่าวว่า
- ท่านประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล! นักกีฬาทั่วโลก! แขกทั้งหลาย! สหายทั้งหลาย! ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 1980 เพื่อเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 22 ในยุคปัจจุบัน
ในปี 1984 ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา โรนัลด์ เรแกน ได้กล่าวเปิดการแข่งขันว่า
- เพื่อเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิกยุคปัจจุบัน ครั้งที่ 23 ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกลอสแอนเจลิส
ในปี 1988 ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี โน แท-อู ได้กล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษาเกาหลี โดยกล่าวว่า
- ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกโซล ณ ห้วงการเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 ในยุคปัจจุบัน
ในปี 1992 สมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน ทรงกล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษาคาตาลัน และภาษาสเปน โดยกล่าวว่า
- (ภาษาคาตาลัน) ยินดีต้อนรับทุกคนสู่เมืองบาร์เซโลนา! (ภาษาสเปน) วันนี้วันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1992 ข้าพเจ้าขอประกาศที่จะเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกบาร์เซโลนา ที่จะเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 25 ในยุคปัจจุบัน
ในปี 1996 ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา บิล คลินตัน ได้กล่าวเปิดการแข่งขันว่า
- ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกแอตแลนตา เพื่อเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 26 ในยุคปัจจุบัน
ในปี 1998 สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ แห่งญี่ปุ่น ทรงกล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษาญี่ปุ่น โดยกล่าวว่า
- ในที่นี้ ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ครั้งที่ 18 ณ เมืองนะงะโนะ
ในปี 2000 ผู้สำเร็จราชการเครือรัฐออสเตรเลีย เซอร์ วิลเลียม ดีน ได้กล่าวเปิดการแข่งขันว่า
- ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกซิดนีย์ เพื่อเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 27 ในยุคปัจจุบัน
ในปี 2002 ห้าเดือนหลังวินาศกรรม 11 กันยายน ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ได้กล่าวเปิดการแข่งขันว่า
- ในนามของประเทศที่มีความภาคภูมิใจ เด็ดเดี่ยว และปลื้มปีติ ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกซอลต์เลกซิตี เพื่อเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว
ในปี 2004 ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเฮลเลนิก คอนสแตนตินอส สเตฟาโนปูลอส ได้กล่าวเปิดการแข่งขันพร้อมด้วย นาวาอากาศเอก จอร์จิออส ดริทซาคอส ผู้ช่วยประธานาธิบดีแห่ง กองทัพอากาศกรีก เป็นภาษากรีก โดยกล่าวว่า
- ข้าพเจ้าขอประกาศที่จะเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ณ กรุงเอเธนส์ และการเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 28 ในยุคปัจจุบัน
ในปี 2006 ประธานาธิบดีแห่งประเทศอิตาลี คาร์โล อาเซกลิโอ ชัมปี ได้กล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษาอิตาลี โดยกล่าวว่า
- ข้าพเจ้าขอเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ครั้งที่ 20 ณ นครตูริน
ในปี 2008 ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน หู จิ่นเทา ได้กล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษาจีน โดยกล่าวว่า
- ข้าพเจ้าขอประกาศว่า การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ปักกิ่ง ครั้งที่ 29 ได้เริ่มขึ้นแล้ว
ในปี 2012 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ทรงกล่าวเปิดการแข่งขันว่า
- ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกลอนดอน เพื่อเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 30 ในยุคปัจจุบัน
ในปี 2014 ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน ได้กล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษารัสเซีย โดยกล่าวว่า
- กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ครั้งที่ 22 ณ เมืองโซชิ ข้าพเจ้าขอเปิดการแข่งขันนี้
ในปี 2016 รองประธานาธิบดีแห่งประเทศบราซิล มีแชล เตเมร์ ได้กล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษาโปรตุเกส โดยกล่าวว่า
- หลังจากการแสดงที่ตื่นตาตื่นใจ ข้าพเจ้าขอประกาศที่จะเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกริโอ และการเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 31 ในยุคปัจจุบัน
ในปี 2018 ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี มุน แจ-อิน ได้กล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษาเกาหลี โดยกล่าวว่า
- ข้าพเจ้าขอประกาศว่า การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ครั้งที่ 23 โอลิมปิกฤดูหนาวที่พย็องชัง ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว
ในปี 2020 สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ แห่งญี่ปุ่น ทรงกล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษาญี่ปุ่น โดยกล่าวว่า
- ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาที่โตเกียว เพื่อเฉลิมฉลองโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 32 ในยุคปัจจุบัน
ในปี 2022 ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สี จิ้นผิง ได้กล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษาจีน โดยกล่าวว่า
- ข้าพเจ้าขอประกาศว่า โอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 24 ณ ปักกิ่ง ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว
ในปี 2024 ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส แอมานุแอล มาครง ได้กล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษาฝรั่งเศส โดยกล่าวว่า
- ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาแห่งปารีส เพื่อเฉลิมฉลองโอลิมปิกครั้งที่ 33 ในกาลปัจจุบัน
รายพระนามและชื่อประธานในพิธีเปิดโอลิมปิก
[แก้]หมายเหตุ:
- ↑ 1.0 1.1 รายพระนามและชื่อที่เป็น ตัวอักษรย่อ เป็นผู้แทนหรือผู้แทนพระองค์ของประมุขแห่งรัฐ
- ↑ ผู้แทนของ ธีโอดอร์ โรสเวลต์ ประธานาธิบดีสหรัฐ
- ↑ ผู้แทนของ อาเล็กซ็องดร์ มีลร็อง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส
- ↑ 4.0 4.1 ตำแหน่งนี้มิใช่ประมุขแห่งรัฐในทางนิตินัย แต่เป็นประธานของสภาสหพันธรัฐ โดยรวมทำหน้าที่คล้ายประมุขแห่งรัฐ
- ↑ ผู้แทนพระองค์ของ สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินา พระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์
- ↑ 6.0 6.1 ผู้แทนของ เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ ประธานาธิบดีสหรัฐ
- ↑ คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้บันทึกตำแหน่งของฮิตเลอร์ว่า "นายกรัฐมนตรี" (หัวหน้ารัฐบาล) แต่ตำแหน่งที่ถูกต้องคือ ฟือเรอร์ ซึ่งในปี 1934 ได้สถาปนาตำแหน่งนี้ ซึ่งเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล
- ↑ ผู้แทนพระองค์ของ สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 พระมหากษัตริย์นอร์เวย์
- ↑ 9.0 9.1 ผู้แทนพระองค์ของ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระมหากษัตริย์ออสเตรเลีย
- ↑ ผู้แทนของ ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ประธานาธิบดีสหรัฐ
- ↑ ผู้แทนของ จิมมี คาร์เตอร์ ประธานาธิบดีสหรัฐ
- ↑ คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้บันทึกตำแหน่งของเบรจเนฟว่า "ประธานาธิบดี" ซึ่งประมุขแห่งรัฐในทางนิตินัยนั้นคือประธานคณะผู้บริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียต ส่วนทางพฤตินัยคือเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต
- ↑ 13.0 13.1 ผู้แทนพระองค์ของ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระมหากษัตริย์แคนาดา
- ↑ 14.0 14.1 คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้บันทึกตำแหน่งว่า "ประธานาธิบดี" อันเป็นประมุขแห่งรัฐโดยนิตินัย ส่วนทางพฤตินัยคือเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน
- ↑ ในฐานะรักษาราชการประธานาธิบดี ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากจิลมา รูเซฟถูกระงับการปฏิบัติหน้าที่
- ↑ ผู้แทนพระองค์ของ สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 พระมหากษัตริย์ออสเตรเลีย
รายพระนามและชื่อประธานในพิธีเปิดโอลิมปิกเยาวชน
[แก้]ปี | การแข่งขัน | เมืองเจ้าภาพ | ประธานในพิธี | ตำแหน่งของประธาน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
2010 | ฤดูร้อน ครั้งที่ 1 | สิงคโปร์ | เซลลัปปัน รามนาทัน | ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ | |
2012 | ฤดูหนาว ครั้งที่ 1 | อินส์บรุค ออสเตรีย | ไฮนทซ์ ฟิชเชอร์ | ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย | |
2014 | ฤดูร้อน ครั้งที่ 2 | หนานจิง สาธารณรัฐประชาชนจีน | สี จิ้นผิง | ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน[a] | |
2016 | ฤดูหนาว ครั้งที่ 2 | ลิลเลอฮาเมอร์ นอร์เวย์ | สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 | พระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์ | |
2018 | ฤดูร้อน ครั้งที่ 3 | บัวโนสไอเรส อาร์เจนตินา | เมาริซิโอ มากริ | ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอาร์เจนตินา | |
2020 | ฤดูหนาว ครั้งที่ 3 | โลซาน สวิตเซอร์แลนด์ | ซีโมเนตตา ซอมมารูกา | ประธานาธิบดีแห่งสมาพันธรัฐสวิส[b] | |
2024 | ฤดูหนาว ครั้งที่ 4 | คังว็อน สาธารณรัฐเกาหลี | ยุน ซ็อก-ย็อล | ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี | |
2026 | ฤดูร้อน ครั้งที่ 4 | ดาการ์ เซเนกัล | บาสซีรู ดิโอมาเย เฟย์ (โดยคาดการณ์) | ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเซเนกัล |
หมายเหตุ:
- ↑ คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้บันทึกตำแหน่งของสีว่า "ประธานาธิบดี" อันเป็นประมุขแห่งรัฐโดยนิตินัย ส่วนทางพฤตินัยคือเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน
- ↑ ตำแหน่งนี้มิใช่ประมุขแห่งรัฐในทางนิตินัย แต่เป็นประธานของสภาสหพันธรัฐ โดยรวมทำหน้าที่คล้ายประมุขแห่งรัฐ
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ International Olympic Committee (11 February 2010). Olympic Charter (PDF). p. 103. สืบค้นเมื่อ 6 November 2010.
- ↑ IOC Factsheet
- ↑ "เอเธนส์ 1896 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
- ↑ "ปารีส 1900 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
- ↑ "St Louis 1904 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
- ↑ "ลอนดอน 1908 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
- ↑ "Stockholm 1912 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
- ↑ "Antwerp 1920 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
- ↑ ครั้งที่ -olympics "Chamonix 1924 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ "ปารีส 1924 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
- ↑ ครั้งที่ -olympics "St Moritz 1928 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ "Amsterdam 1928 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
- ↑ ครั้งที่ -olympics "Lake Placid 1932 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ "Los Angeles 1932 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
- ↑ ครั้งที่ -olympics "Garmisch-Partenkirchen 1936 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ "Berlin 1936 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
- ↑ ครั้งที่ -olympics "St Moritz 1948 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ "ลอนดอน 1948 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
- ↑ ครั้งที่ -olympics "Oslo 1952 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ "Helsinki 1952 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
- ↑ ครั้งที่ -olympics "Cortina d'Ampezzo 1956 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ Kubatko, Justin. "1956 Stockholm Equestrian Games". Olympics at Sports-Reference.com. Sports Reference LLC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-31. สืบค้นเมื่อ 6 November 2010.
- ↑ "Melbourne-Stockholm 1956 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
- ↑ ครั้งที่ -olympics "Squaw Valley 1960 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ "Rome 1960 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
- ↑ ครั้งที่ -olympics "อินส์บรุค 1964 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ "Tokyo 1964 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
- ↑ ครั้งที่ -olympics "Grenoble 1968 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ "Mexico City 1968 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
- ↑ ครั้งที่ -olympics "Sapporo 1972 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ "Munich 1972 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
- ↑ ครั้งที่ -olympics "อินส์บรุค 1976 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ "Montreal 1976 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
- ↑ ครั้งที่ -olympics "Lake Placid 1980 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ "Moscow 1980 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
- ↑ ครั้งที่ -olympics "Sarajevo 1984 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ "Los Angeles 1984 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
- ↑ ครั้งที่ -olympics "Calgary 1988 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ "Seoul 1988 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
- ↑ ครั้งที่ -olympics "Albertville 1992 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ "Barcelona 1992 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
- ↑ ครั้งที่ -olympics "Lillehammer 1994 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ "Atlanta 1996 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
- ↑ ครั้งที่ -olympics "Nagano 1998 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ "Sydney 2000 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
- ↑ "Get ready to watch the Opening Ceremony: Heads of state". NBC. 24 March 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-28. สืบค้นเมื่อ 1 June 2016.
- ↑ Harvey, Randy (16 September 2000). "Down Wonders". LA Times. สืบค้นเมื่อ 1 June 2016.
- ↑ Olsen, Lisa (10 September 2000). "History Lesson Despite the stereotypes, don't expect to run into Crocodile Dundee at the Sydney Games". New York Daily News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 1 June 2016.
- ↑ "ออสเตรเลีย: Britain's Queen Elizabeth Visit". AP Archive. Associated Press. 21 March 2000.
{{cite news}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - ↑ ครั้งที่ -olympics "Salt Lake City 2002 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ "เอเธนส์ 2004 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2013. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
- ↑ ครั้งที่ -olympics "Turin 2006 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ "Beijing 2008 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
- ↑ "Governor General to Open the Vancouver 2010 Olympic ฤดูหนาว ครั้งที่ Games". Governor General of Canada. February 8, 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-02-10.
- ↑ "ลอนดอน 2012 Olympics launches with huge ceremony". BBC News. 27 July 2012. สืบค้นเมื่อ 27 July 2012.
- ↑ Sam Sheringham (February 7, 2014). ครั้งที่ -olympics/25885398 "Sochi 2014: โอลิมปิกฤดูหนาว opens with glittering ceremony". BBC. สืบค้นเมื่อ February 7, 2014.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help)