หู จิ่นเทา
หู จิ่นเทา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
胡锦涛 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() หูในปี ค.ศ. 2011 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 – 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 (10 ปี 0 วัน) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | เจียง เจ๋อหมิน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | สี จิ้นผิง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประธานาธิบดีจีน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 15 มีนาคม ค.ศ. 2003 – 14 มีนาคม ค.ศ. 2013 (9 ปี 364 วัน) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หัวหน้ารัฐบาล | เวิน เจียเป่า | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รองประธานาธิบดี |
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | เจียง เจ๋อหมิน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | สี จิ้นผิง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รอง |
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | เจียง เจ๋อหมิน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | สี จิ้นผิง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เกิด | ไท่โจว, มณฑลเจียงซู, ระบอบวาง จิงเว่ย์ | 21 ธันวาคม ค.ศ. 1942||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พรรคการเมือง | พรรคคอมมิวนิสต์จีน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คู่สมรส | หลิว หย่งชิง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยชิงหฺวา (วท.บ.) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิชาชีพ | วิศวกรชลศาสตร์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ลายมือชื่อ | ![]() | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การเป็นสมาชิกสถาบันกลาง
การดำรงตำแหน่งอื่น ๆ
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หู จิ่นเทา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() "หู จิ่นเทา" ในอักษรจีนตัวย่อ (บน) และตัวเต็ม (ล่าง) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 胡锦涛 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 胡錦濤 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
หู จิ่นเทา (จีน: 胡锦涛; พินอิน: Hú Jǐntāo; เกิด 21 ธันวาคม ค.ศ. 1942) เป็นอดีตนักการเมืองชาวจีน ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนตั้งแต่ ค.ศ. 2002 ถึง 2012 ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่ ค.ศ. 2003 ถึง 2013 และประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลางตั้งแต่ ค.ศ. 2004 ถึง 2012 เขาเคยเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน องค์กรที่มีอำนาจตัดสินใจสูงสุดโดยพฤตินัยของประเทศตั้งแต่ ค.ศ. 1992 ถึง 2012 และเป็นผู้นำสูงสุดคนที่ 5 ของจีนตั้งแต่ ค.ศ. 2002 ถึง 2012[a]
หูก้าวขึ้นสู่อำนาจผ่านพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะเลขาธิการคณะกรรมาธิการพรรคประจำมณฑลกุ้ยโจว และเขตปกครองตนเองทิเบต ซึ่งการปราบปรามผู้เห็นต่างอย่างรุนแรงของเขานั้นได้ดึงดูดความสนใจจากระดับสูงสุดของพรรค เขาเลื่อนตำแหน่งเป็นเลขาธิการคนที่ 1 ของสำนักเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน และรองประธานาธิบดีภายใต้การนำของเจียง เจ๋อหมิน เลขาธิการใหญ่ หูเป็นผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์คนแรกจากรุ่นที่อายุน้อยกว่าผู้เข้าร่วมสงครามกลางเมืองและการก่อตั้งสาธารณรัฐ ผู้สนับสนุนที่มีอิทธิพลจากรุ่นก่อนได้ให้การส่งเสริมอย่างแข็งขันต่อการก้าวขึ้นสู่อำนาจอย่างรวดเร็วของเขา รวมถึงซ่ง ผิง หู เย่าปัง เติ้ง เสี่ยวผิง และเจียง เจ๋อหมิน[1]
ในระหว่างดำรงตำแหน่ง หูนำนโยบายควบคุมของรัฐกลับมาใช้ในบางภาคส่วนของเศรษฐกิจที่ได้รับการผ่อนปรนโดยรัฐบาลก่อนหน้าและมีความระมัดระวังในการปฏิรูปการเมือง หูร่วมกับนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า เพื่อนร่วมงานของเขา เป็นผู้นำการเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องยาวนานเกือบทศวรรษ ซึ่งผลักดันให้จีนก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจโลก เขามุ่งมั่นที่จะยกระดับความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศผ่านแนวคิดทัศนะวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการพัฒนา (Scientific Outlook on Development) ซึ่งมุ่งหวังที่จะสร้าง "สังคมนิยมที่กลมกลืน" ที่เจริญรุ่งเรืองและปราศจากความขัดแย้งทางสังคม ภายใต้การนำของเขา ทางการยังปราบปรามการก่อความไม่สงบทางสังคม การประท้วงของชนกลุ่มน้อยและกลุ่มผู้เห็นต่าง ซึ่งก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง อาทิ ความไม่สงบในทิเบตและการผ่านกฎหมายต่อต้านการแบ่งแยกดินแดน ในด้านนโยบายต่างประเทศ หูสนับสนุนแนวคิดการเติบโตอย่างสันติของจีน โดยมุ่งเน้นการใช้ซอฟต์พาวเวอร์ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และใช้วิธีการทางธุรกิจในการดำเนินนโยบายทางการทูต ตลอดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของหู อิทธิพลของจีนในแอฟริกา ลาตินอเมริกา และภูมิภาคกำลังพัฒนาอื่น ๆ ก็เพิ่มมากขึ้น
หูมีรูปแบบการเป็นผู้นำที่สุภาพและสงวนท่าที วาระการดำรงตำแหน่งของเขาโดดเด่นด้วยภาวะผู้นำร่วมและกฎการปกครองที่อิงฉันทามติ[2] คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้หูเป็นบุคคลลึกลับในสายตาสาธารณชน การบริหารของเขาเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องการมุ่งเน้นไปที่คตินิยมนักวิชาการเป็นหลัก[3] เมื่อสิ้นสุดวาระหลังดำรงตำแหน่งมาเป็นเวลา 10 ปี หูได้รับคำชื่นชมจากการที่เขาเลือกเกษียณจากตำแหน่งทั้งหมดโดยสมัครใจ เขาถูกสืบทอดตำแหน่งโดยสี จิ้นผิง หลังเจียง เจ๋อหมิน อดีตประธานาธิบดีถึงแก่อสัญกรรม หูก็กลายเป็นอดีตผู้นำสูงสุดของจีนเพียงคนเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่
ชีวิตช่วงต้น
[แก้]
หู จิ่นเทา เกิดเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 1942[4] ในอำเภอไท่ มณฑลเจียงซู ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น เป็นทายาทโดยตรงของนายพลหู จงเซี่ยน แห่งราชวงศ์หมิง ผู้มีชื่อเสียงในการต่อสู้กับโจรสลัดญี่ปุ่น[5] ครอบครัวของเขาอพยพย้ายถิ่นฐานจากอำเภอจีซี มณฑลอานฮุย มาสู่ไท่โจวในสมัยรุ่นปู่ของเขา บิดาประกอบธุรกิจค้าชาขนาดเล็กในไท่โจว ส่วนมารดาเป็นครูและต่อมาเสียชีวิตเมื่อเขาอายุได้ 7 ปี และเขาได้รับการเลี้ยงดูโดยป้า บิดาของหูถูกกล่าวโทษและประณามในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม เหตุการณ์ดังกล่าว (ประกอบกับภูมิหลังที่ค่อนข้างต่ำต้อยของตนเอง) ดูเหมือนจะมีผลกระทบอย่างมากต่อหู ซึ่งเขาได้พยายามอย่างยิ่งที่จะล้างมลทินให้บิดา[6]
เขาเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีนในเดือนเมษายน ค.ศ. 1964 ในปีนั้น เขาสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชิงหฺวา หลังศึกษาเกี่ยวกับสถานีพลังงานน้ำศูนย์กลางที่ภาควิชาวิศวกรรมการอนุรักษ์น้ำ เขาทำงานเป็นที่ปรึกษาทางการเมืองที่ชิงหฺวา[7]: 107 ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1965 หูเริ่มทำงานเป็นวิศวกร[8]
ใน ค.ศ. 1968 ระหว่างการก่อสร้างแนวรบที่สาม[9]: 179 หูได้อาสาทำงานในมณฑลกานซู่ และมีส่วนร่วมในการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าพลังน้ำหลิวเจียเสีย[10] พร้อมกันนั้นยังบริหารกิจการพรรคคอมมิวนิสต์จีนให้แก่สำนักงานสาขาของกระทรวงทรัพยากรน้ำและไฟฟ้าประจำท้องถิ่น ตั้งแต่ ค.ศ. 1969 ถึง 1974 เขาทำงานในสำนักงานวิศวกรรมซิโนไฮโดร[11]
ใน ค.ศ. 1970 หูแต่งงานกับนางหลิว หย่งชิง ซึ่งทั้งสองได้พบกันที่มหาวิทยาลัยชิงหฺวาขณะศึกษาอยู่ ทั้งสองมีบุตรด้วยกันสองคนคือ หู ไห่เฟิง และหู ไห่ชิง ส่วนลูกเขยของพวกเขาชื่อจูเลีย หว่อง และแดเนียล เหมา ต่างจากนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า เขาไม่เคยให้สัมภาษณ์ต่อสื่อแบบตัวต่อตัวเลย[12][13] เขาเป็นที่รู้จักกันดีในความชอบกีฬาเทเบิลเทนนิสและการเต้นรำบอลรูม[14] กล่าวกันว่าหูมีความสามารถในการจดจำภาพได้อย่างแม่นยำเสมือนกล้องถ่ายรูป ซึ่งปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนในช่วงที่เขาศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย[15][16]
อาชีพการเมืองช่วงต้น
[แก้]ใน ค.ศ. 1973 หูถูกย้ายไปยังแผนกก่อสร้างของมณฑลกานซู่เพื่อดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ในปีถัดมาเขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นรองเลขาธิการพรรคอาวุโส ใน ค.ศ. 1980 เติ้ง เสี่ยวผิงได้นำโครงการ "สี่ทันสมัย" มาใช้ ซึ่งมุ่งหวังที่จะผลิตผู้นำคอมมิวนิสต์ที่ "ปฏิวัติมากขึ้น อายุน้อยลง มีความรู้มากขึ้น และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางมากขึ้น" เพื่อตอบสนองต่อการค้นหาสมาชิกพรรครุ่นเยาว์ทั่วประเทศนี้ ซ่ง ผิง เลขาธิการคณะกรรมาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนกานซู่คนที่ 1 (ผู้ว่าการมณฑลกานซู่) ได้ค้นพบหู จิ่นเทาและเลื่อนตำแหน่งให้เขาหลายตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าคณะกรรมการ[17] ลูกศิษย์อีกคนของซ่งอย่างเวิน เจียเป่าก็กลายเป็นผู้มีชื่อเสียงในเวลาเดียวกัน
ใน ค.ศ. 1982 หูถูกเลื่อนตำแหน่งเป็นเลขาธิการสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์สาขากานซู่ และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการสหพันธ์เยาวชนแห่งประเทศจีน[18][1] ซ่ง ผิง ที่ปรึกษาของเขา ถูกย้ายไปปักกิ่งในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงองค์การพรรคคอมมิวนิสต์จีน และทำหน้าที่แนะนำ เสนอชื่อ และเลื่อนตำแหน่งแกนนำระดับสูง ด้วยการสนับสนุนของหู เย่าปัง (ไม่ใช่ญาติกัน) และเติ้ง เสี่ยวผิง หูจึงมั่นใจได้ว่าจะมีอนาคตที่สดใสในพรรค ตามข้อเสนอของซ่ง ผิง ใน ค.ศ. 1982 ทางการพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เชิญหูไปปักกิ่งเพื่อเข้าศึกษาที่โรงเรียนพรรคส่วนกลาง[19] ไม่นานหลังจากนั้น เขาถูกย้ายไปปักกิ่งและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสำนักเลขาธิการคณะกรรมาธิการกลางสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์ สองปีต่อมา หูถูกเลื่อนตำแหน่งเป็นเลขาธิการคนแรกของคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งถือเป็นผู้นำที่แท้จริงขององค์กร ในระหว่างดำรงตำแหน่งในสันนิบาตเยาวชน หูได้พาหู เย่าปัง เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนในขณะนั้นไปเยือนสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ หู เย่าปัง เป็นทหารผ่านศึกจากสันนิบาตเยาวชน จึงสามารถรำลึกถึงวัยเยาว์ของเขาองค์กรของหูได้[20]
ผู้นำพรรคในกุ้ยโจว
[แก้]ใน ค.ศ. 1985 หู เย่าปัง เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนผลักดันให้หู จิ่นเทาถูกย้ายไปที่กุ้ยโจวเพื่อดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำมณฑล[21] หูพยายามที่จะปรับปรุงเศรษฐกิจของมณฑลที่ห่างไกลและมีรายงานว่าได้เยี่ยมชมทั้ง 86 อำเภอของมณฑลด้วย[22] ขณะอยู่ในกุ้ยโจว หูระมัดระวังในการปฏิบัติตามคำสั่งของปักกิ่งและมีชื่อเสียงว่าเป็นคน "ไม่เผยข้อมูลส่วนตัว" เขาแทบไม่เคยแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนโยบายต่อสาธารณะเลย[22] ขณะที่โดยทั่วไปแล้วหูมักถูกมองว่าเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต แต่คนในท้องถิ่นบางส่วนกลับชอบจู โฮ่วเจ๋อ ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าเขามากกว่า ใน ค.ศ. 1987 หูจิ่นเทาจัดการประท้วงของนักศึกษาในพื้นที่ควบคู่ไปกับกำแพงประชาธิปไตยอย่างระมัดระวัง ขณะที่การประท้วงที่คล้ายกันในปักกิ่งส่งผลให้หู เย่าปังต้องลาออกโดยถูกบังคับ
ทิเบต
[แก้]หู เย่าปังถูกกวาดล้างโดยเติ้ง เสี่ยวผิงใน ค.ศ. 1987 เนื่องมาจากแนวโน้ม "เสรีนิยม" ของเขา และการออกจากเวทีการเมืองของเขาถูกมองว่าไม่เป็นผลดีต่อหู จิ่นเทา ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อาวุโสพรรคว่าไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์นักปฏิรูปที่ถูกขับออกจากตำแหน่ง[23] ใน ค.ศ. 1988 หู จิ่นเทาถูกย้ายไปเป็นเลขาธิการคณะกรรมาธิการพรรคระดับภูมิภาคของเขตปกครองตนเองทิเบต ขณะเดียวกันก็รับบทบาทเป็นกรรมาธิการการเมืองของหน่วยกองทัพปลดปล่อยประชาชนในพื้นที่ สิ่งนี้ทำให้หูกลายเป็นบุคคลสำคัญอันดับหนึ่งในภูมิภาคอันกว้างใหญ่และไม่สงบแห่งนี้ ชาวทิเบตจำนวนหนึ่งคัดค้านนโยบายของรัฐบาลในภูมิภาคนี้มานานแล้ว ความไม่สงบและความขัดแย้งทางชาติพันธุ์กำลังก่อตัวขึ้น โดยเฉพาะความรู้สึกต่อต้านชาวฮั่นในกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมชาติพันธุ์ทิเบต การปะทะเล็ก ๆ น้อย ๆ เกิดขึ้นมาตั้งแต่ ค.ศ. 1987 และเมื่อความไม่สงบมีขนาดใหญ่ขึ้น หูก็ตอบสนองด้วยการส่งตำรวจติดอาวุธประชาชนราว 1,700 นายเข้าไปในลาซาในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1989 เพื่อพยายามเตือนไม่ให้เกิดการจลาจลขึ้นอีก[24] การปะทะที่เพิ่มมากขึ้นเป็นผลให้เกิดการจลาจลรุนแรงในแกนกลางลาซาในวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1989 ห้าวันก่อนวันครบรอบ 30 ปีการก่อการกำเริบในทิเบต ค.ศ. 1959[25] สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นยังเป็นเรื่องถกเถียงกัน ผู้ก่อจลาจลกล่าวหาว่าตำรวจยิงพวกเขาโดยพลการ และตำรวจอ้างว่าพวกเขาทำไปเพื่อป้องกันตัว นอกจากนี้ ยังมีการคาดเดากันว่าหูชะลอการออกคำสั่งปราบปรามผู้ประท้วงไว้จนกระทั่งดึกดื่น จากนั้นผู้บัญชาการตำรวจจึงถูกบังคับให้ดำเนินการเนื่องจากสถานการณ์เริ่มเกินการควบคุม ผู้ประท้วงถูกปราบปรามในช่วงเช้าของวันถัดไป และหูขอให้ปักกิ่งประกาศกฎอัยการศึกในวันที่ 8 มีนาคม[26]
บทบาทของหูในการชุมนุมประท้วงและการจลาจลในวันที่ 5 มีนาคมไม่เคยได้รับการชี้แจงอย่างชัดเจน แม้โดยทั่วไปแล้ว หูต้องอนุมัติการใช้กำลังกับผู้ประท้วงอย่างน้อยโดยปริยาย แต่เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ว่าเขาออกคำสั่งจริงหรือไม่ตลอดวันที่ 5 มีนาคม[b] นอกจากนี้ จอห์น ทกาซิก ยังกล่าวว่าหูประสานงานกับภูมิภาคทหารเฉิงตูเพื่อให้เตรียมกำลังอย่างเต็มที่เมื่อสถานการณ์ดำเนินไป[24] นักวิเคราะห์การทูตบางคนเชื่อมโยงสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าเป็นการใช้กำลังอย่างโหดร้ายของหูกับการปราบปรามนักเคลื่อนไหวและนักศึกษาในจัตุรัสเทียนอันเหมิน ซึ่งเกิดขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา ไม่ว่าหูจะเป็น "แรงบันดาลใจ" ให้แก่กองทัพปลดปลอยประชาชนในวันที่ 4 มิถุนายนหรือไม่ ยังคงเป็นประเด็นถกเถียง แต่เป็นที่ชัดเจนว่าการกระทำของหูในลาซาทำให้เขาได้รับความสนใจอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนจากผู้นำระดับสูงของพรรค รวมถึงจาก "ผู้นำสูงสุด" เติ้ง เสี่ยวผิง[1] เมื่อรถถังเคลื่อนเข้าสู่จัตุรัสเทียนอันเหมิน หูเป็นหนึ่งในผู้นำระดับภูมิภาคคนแรกที่ประกาศสนับสนุนรัฐบาลกลางต่อสาธารณะ[24]
หูมีอาการป่วยจากระดับความสูงในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1990 และเดินทางกลับปักกิ่ง แต่ยังคงดำรงตำแหน่งต่ออีกสองปี ซึ่งระหว่างนั้นเขาประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม การเดินทางไปปักกิ่งของเขาถูกมองว่าเป็นเพียงข้ออ้างในการกลับเข้าสู่ศูนย์กลางทางการเมืองจีน ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเขาป่วยตามที่อ้างหรือไม่[24] มาร์ติน ไซฟ์ จากยูไนเต็ดเพรสอินเตอร์เนชั่นแนล แสดงความเห็นเกี่ยวกับปูตินและหูว่า "ทั้งคู่เป็นผู้ใช้อำนาจนิยมที่เข้มแข็งและมีความสามารถ ผู้ซึ่งมีประสบการณ์มากมายในการปราบปรามผู้เห็นต่างในระหว่างก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุด"[27]
ขึ้นสู่อำนาจ
[แก้]
ก่อนเปิดการประชุมสภาแห่งชาติพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 14 ใน ค.ศ. 1992 ผู้นำระดับสูงของพรรค รวมถึงเติ้งและเฉิน ยฺหวิน จะต้องเลือกผู้สมัครเข้าเป็นคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน (คสก.) เพื่อให้แน่ใจว่าการถ่ายโอนอำนาจจากผู้นำรุ่นที่สอง (เติ้ง, เฉิน, หลี่ เซียนเนี่ยน, หวัง เจิ้น ฯลฯ) ไปยังผู้นำรุ่นที่สาม (เจียง เจ๋อหมิน, หลี่ เผิง, เฉียว ฉือ ฯลฯ) จะเป็นไปอย่างราบรื่น เติ้งยังเสนอให้พิจารณาผู้สมัครคนอื่นสำหรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยควรเป็นคนที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปีเพื่อเป็นตัวแทนผู้นำรุ่นต่อไป[28] ในฐานะหัวหน้าองค์กร ซ่ง ผิง ได้แนะนำว่าหูเป็นผู้สมัครที่เหมาะสมสำหรับผู้มีแนวโน้มจะเป็นผู้นำในอนาคต ผลก็คือ ก่อนวันเกิดครบรอบ 50 ปีของเขาไม่นาน หู จิ่นเทากลายเป็นสมาชิกที่อายุน้อยที่สุด (อายุ 49 ปีในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1992) ในคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองที่มีสมาชิก 7 คน และเป็นหนึ่งในสมาชิก คสก. ที่อายุน้อยที่สุดนับตั้งแต่พรรคคอมมิวนิสต์เข้ารับอำนาจใน ค.ศ. 1949
ในปี ค.ศ. 1992 หูรับหน้าที่เป็นเลขาธิการสำนักเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนคนที่ 1 ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงานประจำวันของคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน และดูแลโรงเรียนพรรคส่วนกลาง ซึ่งสะดวกสำหรับเขาที่จะดึงผู้สนับสนุนของเขาเองจากแกนนำระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้ามา หูยังได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการทำงานเชิงอุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนด้วย แม้หูจะถือว่าเป็นทายาทโดยชอบธรรมของเจียง แต่เขาก็พยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้แน่ใจว่าเจียงจะต้องเป็นจุดสนใจอยู่เสมอ ในช่วงปลาย ค.ศ. 1998 หูส่งเสริมการขบวนการที่ไม่เป็นที่นิยมของเจียงที่เรียกว่า "สามเค้น" ซึ่งได้แก่ "เค้นการศึกษา เค้นการเมือง และเค้นสุขภาพ" โดยได้กล่าวสุนทรพจน์เพื่อส่งเสริมการขบวนการดังกล่าว ใน ค.ศ. 2001 เขาเผยแพร่ทฤษฎีสามตัวแทนของเจียง ซึ่งเจียงหวังว่าจะสามารถยกระดับตัวเองให้เทียบเท่ากับนักทฤษฎีมาร์กซิสต์คนอื่น ๆ[29] ในปี ค.ศ. 1998 หูกลายเป็นรองประธานาธิบดี และเจียงต้องการให้หูมีบทบาทที่กระตือรือร้นมากขึ้นในกิจการต่างประเทศ หูกลายเป็นเสียงสำคัญของจีนในช่วงที่สหรัฐทิ้งระเบิดสถานทูตจีนในเบลเกรดใน ค.ศ. 1999[30]
ผู้นำประเทศ
[แก้]สืบทอดอำนาจจากเจียง เจ๋อหมิน
[แก้]
วันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 หลังการประชุมสภาแห่งชาติพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 16 กรมการเมืองชุดใหม่ที่นำโดยหู จิ่นเทาได้เข้ามาสืบทอดตำแหน่งต่อจากเจียง ขณะเดียวกันหูก็ได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ส่งผลให้เขากลายเป็นผู้นำสูงสุดโดยพฤตินัย นอกจากนี้ เวิน เจียเป่า ยังกลายเป็นนายกรัฐมนตรีอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เจียงได้รับเลือกกลับคืนสู่ตำแหน่งประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง หน่วยงานทหารสูงสุด แม้หูจะเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการก็ตาม[31] เจียงลาออกจากตำแหน่งประธาน คทก. ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2004 ซึ่งเป็นตำแหน่งทางการสุดท้ายของเขา ภายหลังเจียงก้าวลงจากตำแหน่ง หูก็เข้ารับดำรงตำแหน่งในสามสถาบันหลักของสาธารณรัฐประชาชนจีน ศูนย์รวมอำนาจอย่างเป็นทางการ ได้แก่ พรรค รัฐบาล และกองทัพ
เติ้ง เสี่ยวผิงเคยแต่งตั้งเลขาธิการใหญ่สามคน ซึ่งทั้งหมดถูกวางให้สืบทอดตำแหน่ง และมีบทบาทสำคัญในการขับไล่เลขาธิการใหญ่สองคนออกไป ได้แก่ หู เย่าปังและจ้าว จื่อหยาง เจียง เจ๋อหมิน ผู้ได้รับเลือกเป็นครั้งที่สามและครั้งสุดท้าย ได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากเติ้ง แม้จะยังไม่ชัดเจนก็ตาม และเป็นเลขาธิการคนเดียวในประวัติศาสตร์คอมมิวนิสต์จีนที่ลาออกจากตำแหน่งโดยสมัครใจเมื่อสิ้นสุดวาระ
แม้ว่าเจียงซึ่งขณะนั้นมีอายุ 76 ปี จะก้าวลงจากตำแหน่งเลขาธิการและจากคณะกรรมการสามัญกรมการเมืองเพื่อเปิดทางให้กับผู้นำที่อายุน้อยกว่า แต่ก็มีการคาดเดาว่าเจียงจะยังคงมีอิทธิพลอย่างมาก เนื่องจากหูไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มเซี่ยงไฮ้ที่มีอิทธิพลของเจียง ซึ่งเชื่อว่าสมาชิก 6 ใน 9 คนของคณะกรรมาธิการสามัญที่ทรงอำนาจมีความเกี่ยวข้องด้วย อย่างไรก็ตามการพัฒนาในเวลาต่อมาแสดงให้เห็นว่าสมาชิกจำนวนมากได้เปลี่ยนจุดยืนของตน ตัวอย่างเช่น เจิง ชิ่งหง ย้ายจากศิษย์ของเจียงมาทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างสองฝ่าย[32]
หูเป็นคนอนุรักษ์นิยมส่วนใหญ่ในเรื่องการปฏิรูปการเมืองในช่วงดำรงตำแหน่งของเขา[33] ในช่วงต้น ค.ศ. 2006 หูเปิดตัวขบวนการ "แปดเกียรติยศและแปดอัปยศ" เพื่อส่งเสริมทัศนคติที่เสียสละและมีคุณธรรมมากขึ้นในหมู่ประชาชน[1] ในการประชุมสภาแห่งชาติพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 17 หูได้รับการเลือกอีกครั้งเป็นเลขาธิการคณะกรรมาธิการกลางและประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 2007 ในการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติครั้งที่ 11 หูได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีอีกครั้งในวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 2007 เขายังได้รับการเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนอีกครั้ง[34]
นโยบายภายในประเทศ
[แก้]วิกฤตซาร์ส
[แก้]วิกฤตครั้งแรกของการเป็นผู้นำของหูเกิดขึ้นในช่วงการระบาดของโรคซาร์สใน ค.ศ. 2003 หลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าจีนปกปิดและตอบสนองต่อวิกฤตอย่างล่าช้าในช่วงแรก เขาก็ได้ไล่เจ้าหน้าที่พรรคและรัฐบาลออกหลายราย รวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขที่สนับสนุนเจียง และเมิ่ง เสฺวหนง นายกเทศมนตรีปักกิ่ง ผู้ซึ่งคนส่วนใหญ่มองว่าเป็นลูกศิษย์ของหู[1]


นโยบายเศรษฐกิจ
[แก้]หูและเวิน เจียเป่าใช้แนวทางปฏิรูปแบบอนุรักษ์นิยมมากขึ้น และเริ่มพลิกกลับการปฏิรูปบางส่วนของเติ้ง เสี่ยวผิงใน ค.ศ. 2005 ผู้สังเกตการณ์สังเกตว่ารัฐบาลใช้นโยบายที่เท่าเทียมกันและนิยมประชานิยมมากขึ้น[35] ฝ่ายบริหารเพิ่มเงินอุดหนุนและควบคุมภาคส่วนการดูแลสุขภาพ[36] เพิ่มเงินทุนสำหรับการศึกษา หยุดการแปรรูป[37] และนำนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมาใช้ ซึ่งนำไปสู่การเกิดฟองสบู่ด้านอสังหาริมทรัพย์ในลักษณะเดียวกับสหรัฐที่ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นสามเท่า[38]
ภาคส่วนรัฐที่มีสิทธิพิเศษเป็นผู้รับหลักจากการลงทุนของรัฐบาล ซึ่งภายใต้การบริหารชุดใหม่ ส่งเสริมให้เกิดผู้ชนะระดับชาติรายใหญ่ขึ้นมา ซึ่งสามารถแข่งขันกับบริษัทต่างชาติขนาดใหญ่ได้[37] ในช่วงบริหารของหู รัฐบาลจีนจัดสรรงบประมาณเพิ่มมากขึ้นสำหรับการควบรวมกิจการรัฐวิสาหกิจ (SOE) โดยให้เงินอุดหนุนจำนวนมหาศาลและสนับสนุนรัฐวิสาหกิจในเรื่องกฎระเบียบ[9]: 217 ความพยายามเหล่านี้ช่วยให้รัฐวิสาหกิจสามารถเบียดเบียนคู่แข่งภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศได้ [9]: 217 อย่างไรก็ตาม ส่วนแบ่งของรัฐวิสาหกิจในจำนวนบริษัททั้งหมดยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดลงเหลือร้อยละ 5 แม้ส่วนแบ่งในผลผลิตทั้งหมดจะยังคงอยู่ที่ร้อยละ 26 ก็ตาม อัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนก็มีการเสรีมากขึ้นและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐก็ถูกตรึงไว้ ส่งผลให้ค่าเงินหยวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่ ค.ศ. 2005 ถึง 2012[39] การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10 ภายใต้การนำของหู ขณะที่เศรษฐกิจแซงหน้าสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี และญี่ปุ่น[40][39]
หลังจากเข้ารับตำแหน่ง หูและเวินเสนอให้จัดตั้งสังคมแห่งความกลมเกลียวซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเปลี่ยนรูปแบบของนโยบาย "GDP เป็นแรก สวัสดิการเป็นรอง"[41] พวกเขาเน้นไปที่กลุ่มประชากรจีนที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังจากการปฏิรูปเศรษฐกิจ และได้เดินทางไปเยือนพื้นที่ยากจนของจีนซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง โดยมีเป้าหมายที่ระบุว่าต้องการทำความเข้าใจพื้นที่เหล่านี้ให้ดีขึ้น หูและเวิน เจียเป่าพยายามที่จะเปลี่ยนจีนให้ห่างไกลจากนโยบายที่สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยไม่คำนึงถึงต้นทุนและมุ่งไปสู่มุมมองการเติบโตที่สมดุลมากขึ้น รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ ในด้านความไม่เท่าเทียมทางสังคมและความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสีเขียวในการตัดสินใจด้านบุคลากร อย่างไรก็ตาม กลุ่มของเจียงยังคงควบคุมพื้นที่กำลังพัฒนาส่วนใหญ่ได้ ส่งผลให้มาตรการควบคุมเศรษฐกิจมหภาคของหูและเวินเผชิญกับการต่อต้านอย่างหนัก[1]
สื่อมวลชน
[แก้]ในด้านนโยบายสื่อ หูหารือถึงแนวคิดเรื่อง "การถ่ายทอด" ความเห็นของประชาชน ซึ่งเป็นคำที่เขาใช้ครั้งแรกในการประชุมกรมการเมืองวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 2007[42]: 71 หูกล่าวว่าพรรคควร "คว้าพลังของวาทกรรมออนไลน์ เพิ่มความสามารถในการเชื่อมโยงการสนทนาออนไลน์ เน้นย้ำศิลปะของการ 'เชื่อมโยง' ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างแข็งขัน เพิ่มการรายงานเชิงบวก และส่งเสริมวาทกรรมกระแสหลักเชิงบวก"[42]: 71 ในการอภิปรายออนไลน์ผ่านทางสตรองไชนาฟอรั่ม (Strong China Forum) หูกล่าวว่าจีนควร "เสริมสร้างสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่ของเราและสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ในการถ่ายทอดความเห็นของประชาชน"[42]: 71–72
ทิเบต
[แก้]ฮ่องกง
[แก้]
นโยบายต่างประเทศ
[แก้]



ภายใต้การนำของหู จีนยังคงดำเนินตามรูปแบบการทูตเพื่อการพัฒนาที่นำมาใช้ในสมัยเติ้ง เสี่ยวผิงและสืบทอดมาโดยเจียง เจ๋อหมิน[43] พฤติกรรมระหว่างประเทศของจีนยังคงเป็นไปตามหลักปฏิบัติและสามารถคาดเดาได้[43] หูให้คำมั่นว่าจีนจะแสวงหาการพัฒนาอย่างสันติในโลกที่มีความกลมเกลียวเพื่อให้แน่ใจกับประชาคมระหว่างประเทศว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนจะนำเสนอโอกาสและผลประโยชน์มากกว่าความขัดแย้ง[44] คุณลักษณะสำคัญของมุมมองโลกที่กลมเกลียวกันเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ ได้แก่ การสร้างและยอมรับโลกที่ประเทศต่าง ๆ มีความแตกต่างในเส้นทางการพัฒนาชาติและระบบการเมือง การอยู่ร่วมกันของอารยธรรมที่หลากหลาย และการปฏิเสธลัทธิฝ่ายเดียวและความทะเยอทะยานในการครอบงำ[45]
ใน ค.ศ. 2006 หูระบุวัตถุประสงค์การพัฒนานโยบายต่างประเทศของจีนไว้ 4 ระยะ ได้แก่ (1) มหาอำนาจเป็นหัวใจสำคัญ (2) ประเทศรอบนอกเป็นลำดับความสำคัญ (3) ประเทศกำลังพัฒนาเป็นรากฐาน และ (4) พหุภาคีเป็นเวที[44]
ใน ค.ศ. 2009 หูเรียกร้องให้มีการสนับสนุนวาระการควบคุมอาวุธในสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ โดยเข้าร่วมกับข้อเรียกร้องก่อนหน้านี้ของประธานาธิบดีบารัก โอบามา แห่งสหรัฐที่ต้องการให้โลกปลอดอาวุธนิวเคลียร์ [46]
ตลอดการดำรงตำแหน่งของหู ความร่วมมือของจีนกับประเทศโลกใต้ก็เพิ่มมากขึ้น[47]: 79
เขามุ่งมั่นที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับญี่ปุ่นซึ่งเขาได้ไปเยือนใน ค.ศ. 2008[48] เขาปรับลดระดับความสัมพันธ์กับรัสเซียเนื่องจากข้อตกลงที่ไม่บรรลุผล[49]
หูเน้นย้ำหลักการของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ว่าด้วย "ความรับผิดชอบร่วมกัน" ซึ่งกล่าวว่าจีนจะสร้างคุณประโยชน์ต่อส่วนรวมของโลก แต่จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์หลักของตนในการดำเนินการดังกล่าว และพันธกรณีของจีนจะต้องขึ้นอยู่กับพันธกรณีของประเทศอื่น ๆ[50] ในการวิเคราะห์ของจ้าว ซุ่ยเชิง นักวิชาการ ภายใต้การนำของหู "จีนยังคงเป็นมหาอำนาจที่กำลังเติบโตอย่างไม่เต็มใจและยอมรับพันธกรณีในระดับโลกและระดับภูมิภาคอย่างเลือกปฏิบัติ"[44]
ไต้หวัน
[แก้]ในช่วงแรกของการเป็นผู้นำ หูต้องเผชิญหน้ากับผู้นำฝ่ายสนับสนุนเอกราชอย่างประธานาธิบดีเฉิน ฉุยเปี่ยน ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งอยู่ในสาธารณรัฐจีน เฉินเรียกร้องให้มีการเจรจาโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ โดยปฏิเสธฉันทามติ ค.ศ. 1992 เฉินและพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (DPP) ยังคงแสดงเจตจำนงขั้นสุดท้ายในเอกราชของไต้หวันโดยนิตินัย และออกแถลงการณ์เกี่ยวกับสถานะทางการเมืองของไต้หวันที่สาธารณรัฐประชาชนจีนถือว่าเป็นการยั่วยุ การตอบสนองเริ่มแรกของหูเป็นการผสมผสานระหว่างแนวทางแบบ "นุ่มนวล" และ "เข้มงวด" ในทางหนึ่ง หูแสดงความยืดหยุ่นในการเจรจาในประเด็นต่าง ๆ มากมายที่ไต้หวันเป็นกังวล กลับกัน เขายังคงปฏิเสธการเจรจาโดยไม่มีเงื่อนไขและยังคงมุ่งมั่นต่อการรวมประเทศจีนเป็นเป้าหมายสูงสุด แม้หูจะแสดงสัญญาณบางอย่างที่แสดงถึงความยืดหยุ่นมากขึ้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการเมืองกับไต้หวันในแถลงการณ์ 17 พฤษภาคม ซึ่งเสนอที่จะพูดถึงปัญหาเรื่อง "พื้นที่อยู่อาศัยระหว่างประเทศ" สำหรับไต้หวัน แต่รัฐบาลของหูยังคงยืนกรานในจุดยืนว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนจะไม่ยอมทนต่อความพยายามใด ๆ ของรัฐบาลไต้หวันที่จะประกาศเอกราชโดยชอบด้วยกฎหมายจากจีน[51]
หลังจากที่เฉินได้รับเลือกตั้งซ้ำอีกครั้งใน ค.ศ. 2004 รัฐบาลของหูก็เปลี่ยนยุทธวิธี โดยดำเนินนโยบายห้ามติดต่อกับไต้หวัน เนื่องจากเฉินและพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้ามีแนวโน้มจะประกาศเอกราช รวมทั้งไม่เห็นด้วยกับฉันทามติ ค.ศ. 1992 รัฐบาลยังคงเสริมกำลังทางทหารเพื่อต่อต้านไต้หวัน และดำเนินนโยบายที่แข็งกร้าวในการแยกไต้หวันออกจากกันทางการทูต ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2005 กฎหมายต่อต้านการแบ่งแยกดินแดนได้รับการผ่านโดยสภาประชาชนแห่งชาติ โดยทำให้ "วิธีการที่ไม่ใช่สันติ" เป็นทางเลือกในการตอบสนองต่อการประกาศอิสรภาพในไต้หวันอย่างเป็นทางการ
รัฐบาลของหูเพิ่มการติดต่อกับก๊กมินตั๋ง อดีตศัตรูในสงครามกลางเมืองจีน และยังคงเป็นพรรคการเมืองหลักในไต้หวัน[52]: 138 การติดต่อที่เพิ่มมากขึ้นมาถึงจุดสูงสุดในการเยือนจีนแผ่นดินใหญ่ของแพน-บลู ใน ค.ศ. 2005 รวมถึงการพบปะประวัติศาสตร์ระหว่างหูกับเหลียน จ้าน ประธานก๊กมินตั๋งในขณะนั้น ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2005 นี่เป็นการพบกันครั้งแรกของผู้นำของทั้งสองฝ่ายนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง[53][54]
วันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 2008 ก๊กมินตั๋งภายใต้การนำของหม่า อิงจิ่วได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวัน และได้รับเสียงข้างมากในสภานิติบัญญัติ หลังจากนั้น หูก็หันไปใช้แนวทางการทูตที่ "นุ่มนวล" มากขึ้นทันทีและเปิดทางให้เกิดการละลายความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่าย[55] ตามมาด้วยการประชุมครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนและก๊กมินตั๋ง วันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 2008 หูได้พบกับวินเซนต์ เซียว รองประธานาธิบดีไต้หวันคนใหม่ ในฐานะประธานมูลนิธิตลาดร่วมข้ามช่องแคบในระหว่างการประชุมฟอรั่มเอเชียปั๋วอ๋าว วันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 หูได้พบกับอู๋ ปั๋วสฺยง ประธานก๊กมินตั๋ง ถือเป็นการประชุมครั้งแรกระหว่างผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนและกํกมินตั๋งในฐานะพรรครัฐบาล ในระหว่างการประชุมครั้งนี้ หูและอู๋ตกลงกันว่าทั้งสองฝ่ายควรกลับมาเริ่มต้นการเจรจาอย่างเป็นทางการอีกครั้งภายใต้ฉันทามติ ค.ศ 1992 ซึ่งก็คือ "ทั้งสองฝ่ายยอมรับว่ามีประเทศจีนเพียงประเทศเดียว แต่เห็นต่างกันในเรื่องคำจำกัดความ" อู๋ยึดมั่นต่อรัฐบาลใหม่ของไต้หวันต่อเอกราชของไต้หวัน ส่วนหูยึดมั่นต่อรัฐบาลของเขาในการแก้ไขข้อกังวลของชาวไต้หวันในเรื่องความปลอดภัย ศักดิ์ศรี และ "พื้นที่อยู่อาศัยระหว่างประเทศ" โดยให้ความสำคัญกับการให้ไต้หวันเข้าร่วมในองค์การอนามัยโลก
นอกเหนือจากการเจรจาระหว่างพรรคแล้ว ยังมีการเจรจาระหว่างรัฐบาลโดยพฤตินัยผ่านมูลนิธิแลกเปลี่ยนช่องแคบและสมาคมความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบไต้หวันในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007 ตามฉันทามติ ค.ศ. 1992 โดยการประชุมครั้งแรกจัดขึ้นที่ปักกิ่ง ทั้งหูและนายกรัฐมนตรีคนใหม่ หม่า อิงจิ่ว ต่างเห็นพ้องกันว่า ฉันทามติ ค.ศ. 1992 จะเป็นพื้นฐานสำหรับการเจรจาระหว่างสองฝั่งช่องแคบไต้หวัน วันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 2008 หูพูดคุยทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ของสหรัฐในขณะนั้น ซึ่งทำให้เขาเป็นผู้นำจีนคนแรกที่ให้การรับรองฉันทามติ ค.ศ. 1992 อย่างเป็นทางการ[56] ภายหลังการเจรจามานานหลายเดือน ในเดือนธันวาคม ค.ศ 2008 ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันที่จะฟื้นฟูความเชื่อมโยงสามประการ ได้แก่ การเปิดเส้นทางไปรษณีย์ การค้า และการเชื่อมโยงทางอากาศโดยตรงระหว่างทั้งสองฝ่ายอีกครั้ง ความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายยังคงราบรื่นดีในช่วงที่หูดำรงตำแหน่ง และการค้าก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก จนกระทั่งมีการลงนามในข้อตกลงการค้าที่ให้สิทธิพิเศษภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (ECFA) ใน ค.ศ. 2010
เปลี่ยนผ่านสู่สี จิ้นผิง
[แก้]วันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 ทันทีหลังการประชุมสภาแห่งชาติพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 18 สี จิ้นผิงได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนและประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลางโดยคณะกรรมาธิการกลางชุดที่ 18 สืบต่อจากหู[57] ในวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 2013 สีได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสืบต่อจากเขา[58]
หลังเกษียณ
[แก้]ตั้งแต่เกษียณอายุ หูได้เก็บตัวเงียบ ไม่ค่อยปรากฏตัวต่อสาธารณะ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2013 หูไปเยี่ยมบ้านบรรพบุรุษของครอบครัวในหวงชาน มณฑลอานฮุย แม้การเดินทางครั้งนี้จะไม่ได้รับการรายงานโดยสื่อของรัฐ[59] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2014 เขาปรากฏตัวในหูหนาน โดยไปเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยหูหนานและสถานที่ทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ[60] เขาเข้าร่วมการประชุมสภาแห่งชาติพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 19 ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2017[61] เขายังเข้าร่วมงานฉลองครบรอบ 70 ปีของสาธารณรัฐประชาชนจีนในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2019 และงานฉลองครบรอบ 100 ปีของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2021 ด้วย[62]
การประชุมสภาแห่งชาติพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 20
[แก้]ในพิธีปิดการประชุมสภาแห่งชาติพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 20 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 2022 หูซึ่งนั่งอยู่ข้างสี จิ้นผิง ถูกดึงออกจากที่นั่งและเชิญตัวออกจากห้องโถงโดยชายสองคนในชุดสูทและติดป้ายชื่อ[63][64][65] เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนการลงคะแนนในวันนั้น ซึ่งหูไม่ได้เข้าร่วมเนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าว[66][67] สำนักข่าวซินหัว สื่อทางการของจีนรายงานว่าหูมีอาการไม่สบาย[68] ขณะที่สื่อต่างประเทศคาดการณ์ว่าหูป่วยจริงหรือไม่หรือนี่เป็นการส่งสัญญาณทางการเมืองโดยเจตนาจากสี[69][70][71] เหตุการณ์นี้ไม่ได้ถูกออกอากาศในประเทศจีนและชื่อของหูและลูกชายของเขาถูกบล็อกโดยผู้ตรวจพิจารณาของจีน[72]
พิธีศพของเจียง เจ๋อหมิน
[แก้]หลังจากที่เจียง เจ๋อหมิน อดีตผู้นำถึงแก่อสัญกรรม หูได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการจัดงานศพ โดยอยู่ในอันดับที่ 36 จากรายชื่อทั้งหมดกว่า 700 ชื่อ[73] หูปรากฏตัวต่อสาธารณชนพร้อมกับสี จิ้นผิง ในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2022 โดยเข้าร่วมพิธีอำลาศพก่อนที่ร่างของเจียงจะถูกฌาปนกิจ ณ สุสานปฏิวัติปาเป่าชาน[74] เขามาโดยมีผู้ช่วยติดตาม
มรดก
[แก้]หูเป็นผู้นำในช่วงทศวรรษแห่งการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง นำพาจีนผ่านพายุวิกฤตการเงินโลกโดยได้รับผลกระทบน้อย และยกระดับสถานะของจีนในเวทีโลกอย่างมาก[75] ความสำเร็จของจีนภายใต้หูรวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของจีนให้ทันสมัย การส่งยานอวกาศที่มีลูกเรือลำแรกของจีน และการเป็นเจ้าภาพจัดงานระดับนานาชาติที่ประสบความสำเร็จสองงาน ได้แก่ โอลิมปิกปักกิ่ง 2008 และเซี่ยงไฮ้เอ็กซ์โป 2010[75] นอกจากนี้ "แนวทางที่อ่อนโยน" ของหูต่อไต้หวัน ซึ่งตรงกับการเลือกตั้งรัฐบาลก๊กมินตั๋งในไทเป ได้ปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่กับไต้หวัน การค้าและการติดต่อระหว่างทั้งสองฝ่ายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงวาระของหู นโยบายประชานิยมของหูและนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่าได้ส่งผลให้มีการยกเลิกภาษีการเกษตรสำหรับเกษตรกร มีนโยบายที่ยืดหยุ่นมากขึ้นต่อแรงงานข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในเมือง การพัฒนาที่สมดุลมากขึ้นระหว่างภูมิภาคชายฝั่งและพื้นที่ตอนใน การบังคับใช้ค่าจ้างขั้นต่ำในเมือง และการส่งเสริมการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ยั่งยืนและราคาไม่แพง หูได้รับการยกย่องในประเทศจากการรับมือกับวิกฤตสาธารณสุขโรคซาร์ส และการขยายการประกันสุขภาพครั้งใหญ่แก่ประชาชนผู้มีรายได้ปานกลางถึงน้อย[76]
ในด้านนโยบายต่างประเทศ นักวิจารณ์ของหูกล่าวว่ารัฐบาลของเขาแสดงออกถึงอำนาจใหม่ที่ก้าวร้าวเกินไป ประเมินขอบเขตอำนาจของตนสูงเกินจริง และสร้างความโกรธเคืองและความหวาดระแวงแก่ประเทศเพื่อนบ้านต่าง ๆ รวมถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และญี่ปุ่น นโยบายเหล่านี้ถูกมองว่าเป็นการยั่วยุสหรัฐ[77] นักวิจารณ์ภายในประเทศ รวมถึงชนชั้นนำ ปัญญาชน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เห็นต่าง ชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องต่าง ๆ ของรัฐบาลหูและความล้มเหลวในการดำเนินนโยบาย "สังคมนิยมกลมกลืน" ซึ่งเป็นนโยบายหลักของเขา พวกเขาอ้างว่า ตัวอย่างเช่น งบประมาณความมั่นคงภายในของจีนนั้นสูงกว่างบประมาณทางทหารในช่วงที่หูดำรงตำแหน่ง เนื่องจากมีการประท้วงและ "อุบัติการณ์มวลชน" อื่น ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ[78] สัมประสิทธิ์จีนีของจีนเพิ่มขึ้นเป็น 0.47 ใน ค.ศ. 2010 บ่งชี้ถึงช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนที่อาจไม่ยั่งยืน[75] การที่รัฐบาลของหูไม่สามารถควบคุมช่องว่างความมั่งคั่งได้ และการเน้นย้ำบทบาทของรัฐวิสาหกิจ (SOEs) ในระบบเศรษฐกิจอีกครั้ง ทำให้นักเศรษฐศาสตร์บางคนเชื่อว่าหูพลาดโอกาสสำคัญในการปฏิรูปและปรับโครงสร้าง[79] การสนับสนุนที่เพิ่มขึ้นของหูต่อรัฐวิสาหกิจ รวมถึงการควบรวมและรวมกิจการ เป็นแนวโน้มที่ยังคงดำเนินต่อไปในรัฐบาลของสี จิ้นผิง[9]: 217
นโยบายที่เข้มงวดต่อการทุจริตของหูมีผลลัพธ์ทั้งในด้านบวกและด้านลบ แม้จะมีความพยายามบ้างในการเพิ่มความโปร่งใสในการใช้จ่ายของหน่วยงานราชการและข้าราชการ แต่ปัญหาเชิงระบบที่ฝังรากลึกที่เป็นสาเหตุของการเติบโตของการทุจริตยังคงไม่ได้รับการแก้ไข นอกจากนี้ เรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการทุจริตครั้งใหญ่ที่เกี่ยวพันกับกองทัพในไม่ช้าหลังจากหูพ้นจากตำแหน่งแสดงให้เห็นว่าหูไม่สามารถจัดการกับผลประโยชน์ที่ฝังรากลึกในกองทัพได้ ในสุนทรพจน์อำลาของเขาเองในการประชุมสภาแห่งชาติพรรคครั้งที่ 18 หูเน้นย้ำว่าการทุจริตที่ไม่ถูกควบคุมจะทำลายพรรคและประเทศอย่างรุนแรง ยิ่งไปกว่านั้น การที่รัฐบาลของหูยังคงยืนหยัดในการตรวจพิจารณาและจำกัดเสรีภาพในการแสดงความเห็น ได้ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากองค์การสิทธิมนุษยชนและรัฐบาลตะวันตก[75] ขณะที่ศิลปินและนักเขียนภายในประเทศก็ตำหนิการเพิ่มข้อจำกัดการแสดงออกทางวัฒนธรรมในช่วงวาระของหู แม้ว่าในช่วงต้นของการดำรงตำแหน่งของเขา หูจะพยายามบุกเบิกรูปแบบของ "ประชาธิปไตยในพรรค" ที่เรียกร้องให้สมาชิกระดับล่างมีส่วนร่วมมากขึ้นในการกำหนดนโยบายและเลือกผู้นำ แต่ก็มีหลักฐานเพียงเล็กน้อยที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อโครงสร้างการปกครองและกระบวนการตัดสินใจของพรรค[78] การที่เขาให้ความสำคัญกับประชาธิปไตยในพรรคส่งผลให้เกิดระบบรายงานการทำงานของกรมการเมืองและการเชิญชวนสมาชิกคณะกรรมาธิการกลางประมาณ 200 คนให้ลงคะแนนเสียงแบบไม่มีผลผูกพันสำหรับผู้สมัครกรมการเมือง[80]: 67
การตัดสินใจโดยฉันทามติกลายเป็นเอกลักษณ์ของสมัยหู หูไม่เคยเป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาด ไม่ได้ปกครองด้วยกำปั้นเหล็ก และมักถูกมองว่าเป็นเพียงคนแรกในบรรดาผู้เท่าเทียมกันกับเพื่อนร่วมคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองของเขา บางคนเรียกภูมิทัศน์ทางการเมืองของจีนในสมัยของหูว่าเป็น "เก้ามังกรปราบน้ำ" (九龙治水) นั่นคือสมาชิกคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองทั้งเก้าคนต่างปกครองเขตอำนาจของตนเอง นอกจากนี้ หูไม่เพียงต้องเผชิญกับกลุ่มผลประโยชน์พิเศษและกลุ่มการเมืองจำนวนมากภายในพรรค แต่ความสามารถของเขาในการดำเนินโครงการที่สอดประสานกันยังถูกจำกัดด้วยอิทธิพลของเจียง เจ๋อหมิน อดีตผู้นำอีกด้วย[81] ด้วยเหตุนี้ จึงมีการถกเถียงกันว่าหูมีอำนาจส่วนตัวมากน้อยเพียงใดในการสร้างการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม ภายใต้กรอบของระบบที่เขาทำงานอยู่ หูได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ไกล่เกลี่ยและผู้สร้างฉันทามติที่มีประสิทธิภาพ[75] หูได้รับคำชมเชยสำหรับการลงจากตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายทหารโดยมอบตำแหน่งให้แก่สี จิ้นผิง ผู้สืบทอดของเขา และในขณะเดียวกันก็สละตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรคด้วย การกระทำนี้ถูกมองว่าเป็นการส่งสัญญาณถึงกลุ่มผู้มีอำนาจและเจียง เจ๋อหมินว่าผู้อาวุโสควรเกษียณตามระเบียบและไม่ควรแทรกแซงกิจการของผู้สืบทอดอำนาจของตน[82]
จุดยืนทางการเมือง
[แก้]ทัศนะวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการพัฒนา
[แก้]นักสังเกตการณ์ทางการเมืองชี้ให้เห็นว่าหูสร้างความแตกต่างจากผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าเขาทั้งในนโยบายภายในประเทศและต่างประเทศ ปรัชญาการเมืองของหูในช่วงที่เขาเป็นผู้นำนั้นสรุปได้ด้วยคำขวัญสามประการ ได้แก่ "สังคมนิยมที่กลมกลืน" ในประเทศ และ "การพัฒนาอย่างสันติ" ในระดับนานาชาติ โดยประการแรกได้รับการสนับสนุนจากแนวคิดการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งแสวงหาชุดวิธีแก้แบบบูรณาการสำหรับปัญหาทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม และตระหนักถึงความจำเป็นในการปฏิรูปการเมืองอย่างระมัดระวังและค่อยเป็นค่อยไปในวงใน[41] ทัศนะวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการพัฒนาถูกบรรจุลงในธรรมนูญพรรคคอมมิวนิสต์จีนและรัฐธรรมนูญของประเทศใน ค.ศ. 2007 และ 2008 ตามลำดับ บทบาทของพรรคได้เปลี่ยนแปลงไป จากพรรคปฏิวัติไปสู่พรรครัฐบาล ตามที่เติ้ง เสี่ยวผิงกำหนดและเจียง เจ๋อหมินนำไปปฏิบัติ ในช่วงดำรงตำแหน่งของเขา เขาสานต่อนโยบายการปรับปรุงพรรคให้ทันสมัยโดยเน้นย้ำถึง "ความก้าวหน้า" ของพรรคควบคู่ไปกับการเพิ่มความโปร่งใสในการปกครอง
จากปรัชญาเหล่านี้ในมุมมองของหู สิ่งที่ปรากฏออกมาคือประเทศที่มีแนวทางที่เป็นระบบต่อโครงสร้างและการพัฒนาชาติ ซึ่งผสมผสานการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบพลวัต ตลาดเสรีที่ขับเคลื่อนด้วยภาค "นอกภาครัฐ" ที่แข็งแกร่ง (กล่าวคือ ภาคเอกชน) การควบคุมการเมืองและสื่ออย่างเข้มงวด เสรีภาพส่วนบุคคลแต่ไม่ใช่เสรีภาพทางการเมือง ความห่วงใยต่อสวัสดิการของพลเมืองทุกคน การตรัสรู้ทางวัฒนธรรม และแนวทางเชิงประสานพลังต่อประเด็นทางสังคมที่หลากหลาย (ทัศนะวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการพัฒนา) ซึ่งทั้งหมดนี้นำไปสู่ "สังคมนิยมที่กลมกลืน" ในวิสัยทัศน์ของหู ในมุมมองของรัฐบาลจีน ปรัชญาเหล่านี้ ซึ่งได้สร้าง "รูปแบบการปกครองแบบจีน" ใหม่ขึ้นมา ทำหน้าที่เป็นทางเลือกที่ถูกต้องตามกฎหมายแทน "รูปแบบประชาธิปไตย" ของตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศกำลังพัฒนา คำพูดของหูที่ว่า "สังคมนิยมที่กลมกลืนควรมีลักษณะเด่นคือ ประชาธิปไตย หลักนิติธรรม ความเสมอภาค ความยุติธรรม ความจริงใจ ความเป็นมิตร และความมีชีวิตชีวา"[41] เขากล่าวว่าสังคมดังกล่าวจะเปิดโอกาสอย่างเต็มที่ให้กับความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของผู้คน ทำให้ประชาชนทุกคนสามารถแบ่งปันความมั่งคั่งทางสังคมที่เกิดจากการปฏิรูปและการพัฒนา และสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างประชาชนกับรัฐบาล หูยังเน้นย้ำว่าชุมชนศาสนาต่าง ๆ สามารถช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้ภายใต้เป้าหมายของการ "สร้างสังคมสังคมนิยมที่กลมกลืน"[83]
ผู้สังเกตการณ์บางคนมองว่าจุดเริ่มต้นทางการเมืองของกลยุทธ์การพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำมาจากทัศนะวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการพัฒนาของหู แม้การสนับสนุนอุตสาหกรรมในด้านนี้จะเริ่มต้นขึ้นแล้วก่อนที่หูจะกำหนดทัศนะวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการพัฒนาก็ตาม[84]: 23
การวิพากษ์วิจารณ์จากชาติตะวันตกที่มีต่อหู โดยเฉพาะในประเด็นสิทธิมนุษยชน เผยให้เห็นถึงความอ่อนไหวเป็นพิเศษของเขาต่อเสถียรภาพทางสังคม แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญมากนักกับการมุ่งมั่นใหม่ของเขาที่จะแก้ไขปัญหาทางสังคมที่หลากหลายของจีน[41] วาระการปฏิบัติจริงและไม่ยึดติดกับอุดมการณ์ของหูมีค่านิยมหลักสองประการ ได้แก่ การรักษาเสถียรภาพทางสังคมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ และการธำรงรักษาวัฒนธรรมจีนเพื่อเสริมสร้างอธิปไตยของชาติ ในเรื่องนโยบายภายในประเทศ เขาดูเหมือนจะต้องการให้รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลการทำงานและการประชุมต่อประชาชนมากขึ้น เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักข่าวของจีนได้เผยแพร่รายละเอียดการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองหลายครั้ง เขายังยกเลิกงานกิจกรรมตามธรรมเนียมหลายอย่าง เช่น พิธีส่งและต้อนรับผู้นำจีนอย่างเอิกเกริกเมื่อเดินทางเยือนต่างประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น ผู้นำจีนภายใต้หูยังให้ความสำคัญกับปัญหาต่าง ๆ เช่น ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนและการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างพื้นที่ภายในประเทศและภูมิภาคชายฝั่ง ทั้งพรรคและรัฐดูเหมือนจะเปลี่ยนจากการให้นิยามการพัฒนาที่เน้นการเติบโตของ GDP เพียงอย่างเดียวไปสู่นิยามที่รวมถึงความเท่าเทียมทางสังคมและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย[51]
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007 หูได้กล่าวสุนทรพจน์สำคัญที่โรงเรียนพรรคส่วนกลางที่แสดงให้เห็นถึงตำแหน่งอำนาจและปรัชญาชี้นำของเขา ในการกล่าวสุนทรพจน์ หูใช้โทนเสียงแบบประชานิยมอย่างมากเพื่อดึงดูดชาวจีนทั่วไป โดยกล่าวถึงความท้าทายล่าสุดที่จีนกำลังเผชิญอย่างจริงจัง โดยเฉพาะเรื่องความเหลื่อมล้ำทางรายได้ นอกจากนี้ หูยังกล่าวถึงความจำเป็นในการ “เพิ่มประชาธิปไตย” ในประเทศ[85]
การชี้นำทางศีลธรรม
[แก้]เพื่อตอบสนองต่อปัญหาทางสังคมจำนวนมากในประเทศจีน ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2006 หู จิ่นเทาได้ประกาศ "แปดเกียรติยศ และแปดอัปยศ" เป็นชุดจรรยาบรรณที่ประชาชนชาวจีนควรปฏิบัติตาม และเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเผยแพร่ข้อความดังกล่าวไปยังเยาวชน[86] ประกอบด้วยบทกวีแปดบรรทัดที่สรุปว่าพลเมืองที่ดีควรถือสิ่งใดเป็นเกียรติและควรถือสิ่งใดเป็นความอัปยศ แนวทางนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในแนวทางแก้ไขเชิงอุดมการณ์ของหู จิ่นเทาเพื่อรับมือกับปัญหาการขาดศีลธรรมที่รับรู้ได้ว่าเพิ่มขึ้นในประเทศจีนหลังจากการปฏิรูปเศรษฐกิจจีนนำมาซึ่งคนรุ่นใหม่ที่มุ่งเน้นการหารายได้และอำนาจเป็นหลักขณะที่โครงสร้างทางสังคมเปราะบางลงเรื่อย ๆ[87]
ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนมักสร้างคุณูปการของตนเองต่อทฤษฎีมากซ์–เลนิน มีการถกเถียงกันว่าสิ่งที่หูทำนั้นเป็นคุณูปการต่อทฤษฎีมากซ์–เลนินหรือไม่ แต่การตอบรับจากประชาชนจีนโดยทั่วไปอยู่ในระดับปานกลาง อย่างไรก็ตาม มีการส่งเสริมแนวคิดของเขาอย่างแพร่หลาย เช่น ในโปสเตอร์ในห้องเรียน ป้ายตามท้องถนน และป้ายแสดงผลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเตรียมการสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2008 และงานเอ็กซ์โป 2010 ในเซี่ยงไฮ้ แนวคิดของหูต่างจากแนวคิดของผู้นำคนก่อน ๆ เช่น "สามตัวแทน" ของเจียงเจ๋อหมิน "ทฤษฎีของเติ้ง เสี่ยวผิง" และ "ความคิดของเหมา เจ๋อตง" ความต่างหลักคือการที่หูเน้นการกำหนดมาตรฐานทางศีลธรรม แทนที่จะกำหนดเป้าหมายทางสังคมหรือเศรษฐกิจ[88]
ภาพลักษณ์สาธารณะ
[แก้]นิตยสารนิวส์วีกจัดให้หูเป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลเป็นอันดับ 2 ของโลกใน ค.ศ. 2009 โดยกล่าวถึงเขาว่าเป็น "ผู้อยู่เบื้องหลังเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนเร็วที่สุดในโลก"[89] ในปีเดียวกันนั้น ฟอบส์ยังจัดให้เขาเป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกอีกด้วย[90] หูได้รับการเสนอชื่อให้เป็นบุคคลทรงอิทธิพลที่สุดในโลกประจำปี 2010 จากนิตยสารฟอบส์ [91] หูถูกจัดอยู่ในรายชื่อ 100 บุคคลผู้ทรงอิทธิพลประจำปีของนิตยสารไทม์ถึง 4 ครั้ง (ค.ศ. 2004, 2005, 2007 และ 2008) ใน ค.ศ. 2010 นักข่าวไร้พรมแดน องค์กรไม่แสวงผลกำไรและองค์กรนอกภาครัฐระหว่างประเทศที่มีเป้าหมายในการปกป้องสิทธิเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูล ได้รวมหูไว้ในรายชื่อนักล่าเสรีภาพสื่อ[92]
รางวัลและเกียรติยศ
[แก้]- โคลอมเบีย:
เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งชาติ ชั้นประถมาภรณ์ (21 มกราคม ค.ศ. 1997)[93]
- คิวบา:
สมาชิกอิสริยาภรณ์โฮเซ มาร์ตี (23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004)[94]
- จอร์แดน:
เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ชั้นประถมาภรณ์ (14 มกราคม ค.ศ. 2001)[95]
- มาดากัสการ์ :
เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชาติมาดากัสการ์ ชั้นประถมาภรณ์ (25 มกราคม ค.ศ. 1999)[96]
- ปากีสถาน:
ผู้ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์นิชาน-อี-ปากีสถาน (24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006)[97]
- เปรู:
เครื่องอิสริยาภรณ์พระอาทิตย์แห่งเปรู ชั้นประถมาภรณ์ (19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008)[98]
- เติร์กเมนิสถาน:
สมาชิกอิสริยาภรณ์เครื่องอิสริยาภรณ์ซาปาร์มือรัต ผู้นำผู้ยิ่งใหญ่แห่งเติร์กเมนิสถาน (29 สิงหาคม ค.ศ. 2008)[99]
- ยูเครน:
สมาชิกอิสริยาภรณ์เจ้าชายยารอสเลาผู้รอบรู้ ชั้นที่ 1 (31 สิงหาคม ค.ศ. 2010)[100]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Ewing, Richard Daniel (20 มีนาคม 2003). "Hu Jintao: The Making of a Chinese General Secretary". The China Quarterly. 173: 17–34. doi:10.1017/S0009443903000032. S2CID 154666535. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2022.
- ↑ Elegant, Simon (4 ตุลาคม 2007). "In China, Hu is the Man to See". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 มิถุนายน 2010. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2010.
- ↑ Brown, Kerry (10 กรกฎาคม 2011). "Chinese leadership: The challenge in 2012". East Asia Forum Quarterly. 3 (2): 4–5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 สิงหาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2011.
- ↑ "Lìshǐ shàng de jīntiān – Guójiā zhǔxí Hú Jǐntāo chūshēng" [历史上的今天]国家主席胡锦涛出生 [Today in History – President Hu Jintao Was Born] (ภาษาจีน). Xinhua News Agency. 21 ธันวาคม 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มกราคม 2018. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2018. 1942年12月21日,中华人民共和国国家主席胡锦涛出生。 [On 21 December 1942, President Hu Jintao of the People's Republic of China was born.]
- ↑ Liu, Melinda (5 พฤษภาคม 2002). "The Man In Jiang's Shadow". Newsweek (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Havely, Joe (19 ตุลาคม 2007). "Getting to know Hu". Al Jazeera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2010. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2009.
- ↑ Doyon, Jérôme (2023). Rejuvenating Communism: Youth Organizations and Elite Renewal in Post-Mao China. University of Michigan Press. doi:10.3998/mpub.12291596. ISBN 978-0-472-90294-1.
- ↑ "Hu Jintao". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 มิถุนายน 2010. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2010.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 Marquis, Christopher; Qiao, Kunyuan (2022). Mao and Markets: The Communist Roots of Chinese Enterprise. New Haven: Yale University Press. doi:10.2307/j.ctv3006z6k. ISBN 978-0-300-26883-6. JSTOR j.ctv3006z6k. OCLC 1348572572. S2CID 253067190.
- ↑ "临夏旅游" [Linxia Tourism]. Linxia Hui Autonomous Prefecture Tourist Board. 2003. pp. 26–27.. No ISBN
- ↑ Nathan & Gilley, p. 79
- ↑ Brown, Kerry (15 ตุลาคม 2010). "China's leader Hu Jintao leads a country in ferment". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2017. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2017.
- ↑ Schell, Orville (19 ธันวาคม 2007). "Hu Jintao". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มกราคม 2017. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2017.
- ↑ "Hu Jintao". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2017. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2017.
- ↑ "Asia-Pacific | Profile: Hu Jintao". BBC News. 16 กันยายน 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มกราคม 2010. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2010.
- ↑ Wo-Lap Lam, Willy (2006). Chinese politics in the Hu Jintao era: new leaders, new challenges. M.E. Sharpe. p. 5. ISBN 978-0-7656-1773-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2020.
- ↑ Nathan & Gilley, p. 40
- ↑ "Hu Jintao". People's Daily. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 มิถุนายน 2010. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2010.
- ↑ Nathan & Gilley, p. 42
- ↑ People's Daily Bio
- ↑ Sisci, Francesco (9 พฤศจิกายน 2005). "Democracy with Chinese characteristics". Asia Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 พฤษภาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2008.
{{cite news}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) - ↑ 22.0 22.1 Lam, Willy Wo-Lap (2006). Chinese Politics in the Hu Jintao Era. ME Sharpe. p. 31. ISBN 0-7656-1773-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2020.
- ↑ Lam, 8
- ↑ 24.0 24.1 24.2 24.3 Tkacik, John (29 เมษายน 2002). "Who's Hu? Assessing China's Heir Apparent: Hu Jintao". The Heritage Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มิถุนายน 2010. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2010.
{{cite web}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) - ↑ Lam, 9
- ↑ 26.0 26.1 Lam, p. 9
- ↑ Wo-Lap., Lam, Willy (2006). Chinese politics in the Hu Jintao era : new leaders, new challenges. Armonk, N.Y.: M.E. Sharpe. pp. 31. ISBN 9780765617743. OCLC 608483173.
QUOTE: "Both are tough and able authoritarians who had extensive experience of repressing dissent on their rise to the top."
- ↑ Nathan & Gilley, pp.42-43
- ↑ Nathan & Gilley, p. 84
- ↑ 资料:1999年5月9日胡锦涛就我驻南使馆遭袭击发表讲话 [Source: Hu Jintao delivered a speech on the attack on the Chinese Embassy in Yugoslavia on May 9, 1999] (ภาษาChinese (China)). Sina Corp. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 มกราคม 2019. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2019.
- ↑ 豪, 陳世 (2015). 胡錦濤與江澤民的權力分配與權力互動(2003.11-2004.9) (วิทยานิพนธ์ Master's Thesis) (ภาษาจีน). 淡江大學. doi:10.6846/tku.2015.00333. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2020. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2020.
- ↑ Wu, Zhong (7 กุมภาพันธ์ 2007). "Power in China: Through a glass, darkly". Asia Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กรกฎาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2008.
{{cite news}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) - ↑ Luard, Tim (11 มกราคม 2005). "China's leader shows his stripes". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2010.
- ↑ "Hu Jintao reelected Chinese president". China Daily. Xinhua News Agency. 15 มีนาคม 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2023.
- ↑ Naughton 2008, p. 129
- ↑ Ramzy, Austin (9 เมษายน 2009). "China's New Healthcare Could Cover Millions More". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 สิงหาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2023.
- ↑ 37.0 37.1 Scissors, Derek (พฤษภาคม–มิถุนายน 2009). "Deng Undone: The Costs of Halting Market Reform in China". Foreign Affairs. 88 (3). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 เมษายน 2015. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2014.
- ↑ Chovanec, Patrick (8 June 2009). "China's Real Estate Riddle" เก็บถาวร 14 มิถุนายน 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Far East Economic Review. Retrieved 13 March 2010.
- ↑ 39.0 39.1 Orlik, Tom (16 พฤศจิกายน 2012). "Charting China's Economy: 10 Years Under Hu". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2023.
- ↑ "China overtakes Japan as world's second-biggest economy". BBC News. 14 กุมภาพันธ์ 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 สิงหาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2023.
- ↑ 41.0 41.1 41.2 41.3 "Kuhn, Robert Lawrence: Hu's Political Philosophies" (PDF). Esnips.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 มีนาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2010.
- ↑ 42.0 42.1 42.2 Wang, Frances Yaping (2024). The Art of State Persuasion: China's Strategic Use of Media in Interstate Disputes. Oxford University Press. ISBN 9780197757512.
- ↑ 43.0 43.1 Zhao, Suisheng (2023). The dragon roars back : transformational leaders and dynamics of Chinese foreign policy. Stanford, California: Stanford University Press. p. 11. ISBN 978-1-5036-3415-2. OCLC 1332788951.
- ↑ 44.0 44.1 44.2 Zhao, Suisheng (2022). The dragon roars back : transformational leaders and dynamics of Chinese foreign policy. Stanford, California: Stanford University Press. p. 51. ISBN 978-1-5036-3415-2. OCLC 1332788951.
- ↑ Zhao, Suisheng (2023). The dragon roars back : transformational leaders and dynamics of Chinese foreign policy. Stanford, California: Stanford University Press. p. 75. ISBN 978-1-5036-3088-8. OCLC 1331741429. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2023.
- ↑ Zhao, Suisheng (2023). The dragon roars back : transformational leaders and dynamics of Chinese foreign policy. Stanford, California: Stanford University Press. p. 237. ISBN 978-1-5036-3088-8. OCLC 1331741429. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2023.
- ↑ Garlick, Jeremy (2024). Advantage China: Agent of Change in an Era of Global Disruption. Bloomsbury Academic. ISBN 978-1-350-25231-8.
- ↑ Spencer, Richard (6 พฤษภาคม 2008). "China's President Hu Jintao visits Japan". The Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2022.
- ↑ Pei, Minxin. "Chinese Foreign Policy After Hu". thediplomat.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มีนาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2020.
- ↑ Zhao, Suisheng (2023). The dragon roars back : transformational leaders and dynamics of Chinese foreign policy. Stanford, California: Stanford University Press. p. 76. ISBN 978-1-5036-3088-8. OCLC 1331741429. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2023.
- ↑ 51.0 51.1 Zhao Suisheng, "Chinese foreign policy under Hu Jintao: The struggle between low-profile policy and diplomatic activism." Hague Journal of Diplomacy 5.4 (2010): 357-378.
- ↑ Hammond, Ken (2023). China's Revolution and the Quest for a Socialist Future. New York, NY: 1804 Books. ISBN 9781736850084.
- ↑ Sisci, Francesco (5 เมษายน 2005). "Strange cross-Taiwan Strait bedfellows". Asia Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 พฤษภาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2008.
{{cite news}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) - ↑ Zhong, Wu (29 มีนาคม 2005). "KMT makes China return in historic trip to ease tensions". The Standard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มิถุนายน 2008. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2008.
- ↑ Sisci, Francesco (28 มิถุนายน 2006). "Hu Jintao and the new China". Asia Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กรกฎาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2008.
{{cite news}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) - ↑ "Chinese, U.S. presidents hold telephone talks on Taiwan, Tibet". Xinhuanet. 27 มีนาคม 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 พฤษภาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2008.
- ↑ "China Confirms Leadership Change". BBC News. 17 พฤศจิกายน 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 กรกฎาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2012.
- ↑ Demick, Barbara (13 มีนาคม 2013). "China's Xi Jinping formally assumes title of president". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 มีนาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2013.
- ↑ Boehler, Patrick (13 กันยายน 2013). "Social media records rare public appearance of former president Hu Jintao". South China Morning Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2023.
- ↑ Chen, Andrea (10 เมษายน 2014). "Retired president Hu Jintao makes rare public appearance in Hunan". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2023.
- ↑ Choi, Chi-yuk (18 ตุลาคม 2017). "Long time no see: elder statesmen make rare public appearance at China's top table". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2023.
- ↑ Mai, Jun (1 กรกฎาคม 2021). "China's Communist Party sticks to the script on a day for young and old". South China Morning Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2023.
- ↑ Graham-Harrison, Emma; Davidson, Helen (22 ตุลาคม 2022). "Former Chinese president Hu Jintao unexpectedly led out of party congress". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2022.
- ↑ "Hu Jintao escorted out of China party congress". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 22 ตุลาคม 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2022.
- ↑ Areddy, James T. "Hu Jintao's Exit from China's Party Congress Causes a Stir". The Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2022.
- ↑ "二十大闭幕 大会表决通过中委中纪委报告及党章修正案 - RTHK". Radio Television Hong Kong (ภาษาจีน). 22 ตุลาคม 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2022.
- ↑ 李, 宗芳 (22 ตุลาคม 2022). "影/中共20大/閉幕表決胡錦濤中場離席 依舊不見江澤民出席 | 中天新聞網". CTi News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2022.
- ↑ McDonell, Stephen (22 ตุลาคม 2022). "Hu Jintao: The mysterious exit of China's former leader from party congress". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2022.
- ↑ Palmer, James (22 ตุลาคม 2022). "What the Hell Just Happened to Hu Jintao?". Foreign Policy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2022.
- ↑ "Was Hu Jintao's removal from China's 20th party congress suspicious or not?". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 28 ตุลาคม 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 ธันวาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2022.
- ↑ "Xi Jinping has surrounded himself with loyalists". The Economist. ISSN 0013-0613. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2022.
- ↑ "Hu Jintao argued about official papers before being escorted out of congress". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 25 ตุลาคม 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2022.
- ↑ "江泽民遗体北京八宝山火化 习近平胡锦涛等到场送别" [Jiang Zemin's Body Cremated in Babaoshan, Beijing, Xi Jinping, Hu Jintao and Other Officials Attended the Farewell]. Zaobao. 5 ธันวาคม 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 ธันวาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2022.
- ↑ "江泽民遗体北京八宝山火化 习近平胡锦涛等到场送别" [Jiang Zemin's Body Cremated in Babaoshan, Beijing, Xi Jinping, Hu Jintao and Other Officials Attended the Farewell]. Zaobao. 5 ธันวาคม 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 ธันวาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2022.
- ↑ 75.0 75.1 75.2 75.3 75.4 Li, Cheng; Eve Cary (20 ธันวาคม 2011). "The Last Year of Hu's Leadership: Hu's to Blame?". Jamestown Foundation: China Brief. 11 (23). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 พฤษภาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2012.
- ↑ Wang, Lei (16 มีนาคม 2015). 胡锦涛时代遗患 为官不为遭炮轰. Duowei News (ภาษาจีนตัวย่อ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 มีนาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2015.
- ↑ "America in the Asia-Pacific: We're back". The Economist. 19 พฤศจิกายน 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2012.
- ↑ 78.0 78.1 Wines, Michael (17 กรกฎาคม 2012). "As China Talks of Change, Fear Rises on the Risks". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2012.
- ↑ Johnson, Ian; Keith Bradshear (8 พฤศจิกายน 2012). "On Way Out, China's Leader Offers Praise for the Status Quo". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2012. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2012.
- ↑ Tsang, Steve; Cheung, Olivia (2024). The Political Thought of Xi Jinping. Oxford University Press. ISBN 9780197689363.
- ↑ Zhang, Guangzhao (21 ธันวาคม 2012). 公正评价胡锦涛的十年. Financial Times Chinese (ภาษาจีนตัวย่อ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 เมษายน 2015. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2015.
- ↑ Jia, Qi. 如何正确评价胡锦涛裸退的历史意义 [How to correctly evaluate the historical significance of Hu Jintao's complete resignation]. Duowei News (ภาษาจีนตัวย่อ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 เมษายน 2015. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2015.
- ↑ "China". Berkley Center for Religion, Peace, and World Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 มีนาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2011. See drop-down essay on "An Era of Opening"
- ↑ Lewis, Joanna I. (2023). Cooperating for the Climate: Learning from International Partnerships in China's Clean Energy Sector. Cambridge, Massachusetts: The MIT Press. ISBN 978-0-262-54482-5.
- ↑ Zhou, Kate Xiao. Democratization in China, Korea and Southeast Asia?: Local and National Perspectives (Politics in Asia). Routledge; 1 edition.
- ↑ 胡锦涛关于“八荣八耻”的论述 [Hu Jintao regarding 'The eight honors and eight shames'] (ภาษาจีนตัวย่อ). Sohu. 20 มีนาคม 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มกราคม 2009. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2008.
- ↑ Alice Miller, "Hu Jintao and the sixth Plenum." China Leadership Monitor 20 (2007): 1-12. online เก็บถาวร 29 กันยายน 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Guoxin Xing, "Hu Jintao's Political Thinking and Legitimacy Building: A Post-Marxist Perspective." Asian Affairs 36.4 (2009): 213-226.
- ↑ "The NEWSWEEK 50: Chinese President Hu Jintao". Newsweek. 5 มกราคม 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 มีนาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2010.
- ↑ Noer, Michael; Perlroth, Nicole (11 พฤศจิกายน 2009). "The World's Most Powerful People". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2009. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2010.
- ↑ Perlroth, Nicole (3 พฤศจิกายน 2010). "The Most Powerful People On Earth". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2010.
- ↑ "Reporters Without Borders puts Russia's Putin, China's Hu on list of press 'predators'". Fox News. Associated Press. 3 พฤษภาคม 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2023.
- ↑ "胡锦涛会见哥自由党领导人". Yunnan Provincial Library (ภาษาจีน). Beijing: People's Daily (ตีพิมพ์ 21 มกราคม 1991). 23 มกราคม 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2022.
- ↑ Xinhua News Agency. 卡斯特罗表示古巴钦佩传奇和革命的中国 [Castro says Cuba admires legendary and revolutionary China]. news.sina.com.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2022.
- ↑ "阿卜杜拉二世会见胡锦涛 胡锦涛离约旦抵塞浦路斯". People's Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 พฤษภาคม 2004. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2022.
- ↑ "圆满结束马达加斯加之行开始对加纳访问 胡锦涛副主席抵达阿克拉 (附图片)". People's Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มกราคม 2004. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2022.
- ↑ "President Hu presented Pakistan's highest civilian award". China Daily. Reuters. 24 พฤศจิกายน 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2022.
- ↑ "胡锦涛访问秘鲁接受十字勋章[组图]". news.ifeng.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กรกฎาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2022.
- ↑ "Г.Бердымухамедов одарил Ху Цзиньтао раритетным орденом "Первый Президент Туркменистана Великий Сапармурат Туркменбаши"". centrasia.ru. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 เมษายน 2017. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2021.
- ↑ Yanukovych, Viktor (31 สิงหาคม 2010). "Про нагородження орденом князя Ярослава Мудрого". Verkhovna Rada of Ukraine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ หู จิ่นเทา
ก่อนหน้า | หู จิ่นเทา | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจียง เจ๋อหมิน | ![]() |
เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน (15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 – 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012) |
![]() |
สี จิ้นผิง |
เจียง เจ๋อหมิน | ![]() |
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน (15 มีนาคม ค.ศ. 2003 - 14 มีนาคม ค.ศ. 2013) |
![]() |
สี จิ้นผิง |
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/>
ที่สอดคล้องกัน
- CS1 maint: unfit URL
- ใช้วันที่รูปแบบวันเดือนปีตั้งแต่December 2023
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2485
- ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน
- รองประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน
- เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน
- ผู้นำสูงสุดของจีน
- นักการเมืองจีน
- บุคคลจากไท่โจว
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยชิงหฺวา
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์