เลโอนิด เบรจเนฟ
เลโอนิด เบรจเนฟ | |
---|---|
Леонид Брежнев | |
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต | |
ดำรงตำแหน่ง 14 ตุลาคม 2507 – 10 พฤศจิกายน 2525 | |
ก่อนหน้า | นิกิตา ครุสชอฟ |
ถัดไป | ยูรี อันโดรปอฟ |
ประธานคณะผู้บริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 16 มิถุนายน 2520 – 10 พฤศจิกายน 2525 | |
ก่อนหน้า | นีโคไล ปอดกอร์นืย |
ถัดไป | ยูรี อันโดรปอฟ |
ดำรงตำแหน่ง 7 พฤษภาคม 2503 – 15 กรกฎาคม 2507 | |
ก่อนหน้า | คลีเมนต์ โวโรชีลอฟ |
ถัดไป | อะนัสตัส มีโคยัน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2449 คาเมนสโคเย, จักรวรรดิรัสเซีย |
เสียชีวิต | 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 (75 ปี) มอสโก, โซเวียตรัสเซีย, สหภาพโซเวียต |
เชื้อชาติ | รัสเซียและยูเครน |
พรรคการเมือง | คอมมิวนิสต์ |
คู่สมรส | วิคตอเรีย เบรจเนฟ |
บุตร | กาลินา เบรจเนฟ ยูรี เบรจเนฟ |
วิชาชีพ | วิศวกรโลหการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | สหภาพโซเวียต |
สังกัด | กองทัพแดง |
ประจำการ | 2484–2488 |
ยศ | พลตรี จอมพลแห่งสหภาพโซเวียต |
บังคับบัญชา | กองทัพอากาศแห่งสหภาพโซเวียต |
ผ่านศึก | สงครามโลกครั้งที่ 2 |
| ||
---|---|---|
เลขาธิการลำดับที่หนึ่ง, ต่อมาคือ
นโยบายต่างประเทศ
ระเบียงสื่อ |
||
เลโอนิด อิลยิช เบรจเนฟ (รัสเซีย: Леонид Ильич Брежнев, อักษรโรมัน: Leonid Ilich Brezhnev, สัทอักษรสากล: [ˈlʲɪɐˈnʲit ɨˈlʲjidʑ ˈbrʲeʐnʲɪf] ( ฟังเสียง); 19 ธันวาคม 2449 – 10 พฤศจิกายน 2525) เป็นนักการเมืองชาวโซเวียตที่เป็นผู้นำสหภาพโซเวียต ในฐานะเลขาธิการใหญ่คณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (พ.ศ. 2507-2525) และยังดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะอภิมุขสูงสุดแห่งโซเวียตสูงสุด หรือ สภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียต (พ.ศ. 2503-2507, 2520-2525) เบรจเนฟดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคฯเป็นเวลา 18 ปี ซึ่งเป็นการดำรงตำแหน่งยาวนานเป็นอันดับสองรองจากโจเซฟ สตาลิน การดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคฯของเบรจเนฟยังคงเป็นที่ถกเถียงกันโดยนักประวัติศาสตร์ ในช่วงเวลาการปกครองของเขามีลักษณะเฉพาะตัวในการสร้างดุลยภาพทางการเมืองและความสำเร็จของนโยบายต่างประเทศที่สำคัญ แต่ก็ยังมีการทุจริตคอร์รัปชั่น ความไร้ประสิทธิภาพ เศรษฐกิจที่ซบเซา และช่องว่างทางเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกับตะวันตก
เบรจเนฟเกิดในครอบครัวชนชั้นแรงงานในคาเมนสโคเย เขตผู้ว่าการเยคาเตรีโนสลัฟ จักรวรรดิรัสเซีย (ปัจจุบันคือกามิยันสแก ประเทศยูเครน) หลังจากผลของการปฏิวัติเดือนตุลาคมสิ้นสุดลงด้วยการก่อตั้งสหภาพโซเวียต เบรจเนฟเข้าร่วมสันนิบาตยุวชนของพรรคคอมมิวนิสต์ใน พ.ศ. 2466 ก่อนเข้าเป็นสมาชิกพรรคอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2472 เมื่อเยอรมนีบุกโจมตีสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2484 เขาได้เข้าร่วมกองทัพแดงในฐานะผู้ตรวจการและได้เลื่อนยศเป็นพลตรีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองอย่างรวดเร็ว หลังสงครามยุติ เบรจเนฟได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นคณะกรรมการกลางของพรรคใน พ.ศ. 2495 และได้ขึ้นเป็นสมาชิกโปลิตบูโรเต็มรูปแบบภายใน พ.ศ. 2500 ใน พ.ศ. 2507 เขาได้รวบรวมอำนาจมากพอที่จะปลดนีกีตา ครุชชอฟ ออกจากตำแหน่งเลขาธิการลำดับที่หนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ทรงอิทธิพลที่สุดในประเทศ
ระหว่างดำรงตำแหน่ง แนวทางการปกครองแบบอนุรักษ์นิยมและปฏิบัติจริงของเบรจเนฟในการกำกับดูแลได้ปรับสถานะระหว่างประเทศของสหภาพโซเวียตอย่างมีนัยสำคัญ ขณะเดียวกันก็รักษาตำแหน่งของพรรครัฐบาลที่บ้านให้มีเสถียรภาพ ในขณะที่ครุชชอฟมักประกาศใช้นโยบายโดยไม่ปรึกษากับโปลิตบูโรที่เหลือ เบรจเนฟระมัดระวังที่จะลดความขัดแย้งระหว่างผู้นำพรรคด้วยการตัดสินใจผ่านฉันทามติ นอกจากนี้ ในขณะผลักดันให้เกิดการผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างมหาอำนาจทั้งสองในช่วงสงครามเย็น เขาได้บรรลุดุลยภาพทางนิวเคลียร์กับสหรัฐ และเสริมความแข็งแกร่งให้สหภาพโซเวียตในยุโรปกลางและตะวันออก นอกจากนี้ การสะสมอาวุธขนาดใหญ่และการแทรกแซงทางทหารที่แพร่หลายภายใต้การนำของเบรจเนฟได้ขยายอิทธิพลของสหภาพโซเวียตไปยังต่างประเทศอย่างมาก (โดยเฉพาะในตะวันออกกลางและแอฟริกา) แม้ว่าความพยายามเหล่านี้จะพิสูจน์ได้ว่ามันมีค่าใช้จ่ายสูงและจะฉุดลากเศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตในปีต่อ ๆ มา
ตรงกันข้าม การเพิกเฉยต่อการปฏิรูปการเมืองของเบรจเนฟทำให้เกิดยุคแห่งความเสื่อมโทรมของสังคมที่เรียกว่ายุคชะงักงันของเบรจเนฟ นอกเหนือจากนี้ การทุจริตที่แพร่หลายและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ถดถอย ช่วงเวลานี้ยังมีช่องว่างทางเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหภาพโซเวียตและสหรัฐอีกด้วย เมื่อมีฮาอิล กอร์บาชอฟขึ้นสู่อำนาจใน พ.ศ. 2528 กอร์บาชอฟประณามรัฐบาลของเบรจเนฟในเรื่องความไร้ประสิทธิภาพและความไม่ยืดหยุ่น ก่อนที่จะดำเนินนโยบายเพื่อเปิดเสรีต่อสหภาพโซเวียต
หลัง พ.ศ. 2518 สุขภาพของเบรจเนฟทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็วและเขาก็ปลีกตัวจากกิจการระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่ยังคงรักษาอำนาจไว้ เบรจเนฟถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 และยูรี อันโดรปอฟได้รับเลือกเป็นเลขาธิการกลางต่อจากเบรจเนฟ
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Archival footage of Leonid Brezhnev – Net-Film Newsreels and Documentary Films Archive
- Annotated Bibliography for Leonid Brezhnev from the Alsos Digital Library for Nuclear Issues
- Our Course: Peace and Socialism Collection of Brezhnev's 1973 speeches
- CCCP TV Videoprograms with L. Brezhnev on Soviet TV portal (in Russian)
- Brezhnev's rules in 14 points by RIA Novosti
ก่อนหน้า | เลโอนิด เบรจเนฟ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
นิกิตา ครุสชอฟ | เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (พ.ศ. 2507 - 2525) |
ยูรี อันโดรปอฟ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2449
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2525
- ประมุขแห่งรัฐสหภาพโซเวียต
- นักการเมืองโซเวียต
- บุคคลจากกามิยันสแก
- เลโอนิด เบรจเนฟ
- จอมพลแห่งสหภาพโซเวียต
- ชาวรัสเซียเชื้อสายยูเครน
- ผู้รอดชีวิตจากการลอบสังหาร
- วีรชนแห่งสหภาพโซเวียต
- เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต
- ผู้นำในสงครามเย็น
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์